GotoKnow

ชมความคิดคนกันเองอีกที...ดัดแปลงเพิ่มเติมเพียงนิด หาง่ายขึ้นเยอะ

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2549 07:42 น. ()
แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2556 17:17 น. ()
แค่ key เพิ่มเข้าไปอีกหน่อย หาง่ายขึ้นเยอะถือเป็น Better practice ได้ แต่จะเป็น Best practice นีไม่รู้ต้องเทียบกับใครดี

มีโอกาสไปนั่งทำงานจุด B คือออกผลจากเครื่อง Hitachi 917 โดยมีพระเอก (ของใครบางคน) ถวิลเป็นคนจุด A คือคุมเครื่อง เรามีระบบ interphase ซึ่งผลจากเครื่องจะออกไปสู่ระบบเลย โดยคนจุด A จะต้องเป็นคนหยิบ sample เข้าเครื่องและ key รายการทดสอบลงไปในเครื่องทีละราย แล้วคนจุด B จะเป็นคนตรวจสอบว่าผลที่ส่งออกมาจากเครื่องมีค่าที่ถูกต้อง และข้อมูลที่ patch เข้ามาตรงกัน เช่น ชื่อ HN, ward, เวลาที่ส่ง, test ที่ส่งมามีผลครบถ้วน ถ้ามีค่าสูงหรือต่ำผิดปกติก็ตรวจสอบดูว่าเคยมีประวัติหรือไม่ ต้องตรวจซ้ำเพื่อเช็คไหม

แต่เนื่องจากระบบ interphase ยังไม่สามารถส่งผลทุกการทดสอบได้ (ไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีทางเป็นไปได้หรือไม่ เมื่อไหร่) ยังมี sample บางชนิดเช่น Hematocrit tube, urine ที่คนจุด B จะต้องมาดูที่ใบ print ผลแล้วก็จดค่าของแต่ละรายเพื่อจะเอาไป key เข้าเครื่องเพื่อรายงานผล โดยผลการตรวจจากเครื่องทุกรายจะถูกพิมพ์ออกมาทั้งหมด (ทั้งที่ผ่าน interphase ด้วย) จึงมีผลจำนวนมากพิมพ์ออกมาเรื่อยๆ และเวลาออกผลเครื่องจะไม่ได้ออกเรียงตามเบอร์ที่เราสั่ง จะมีระบบจัดการว่า test ไหนทำได้เร็วกว่าก็ออกก่อน ทำให้เวลาต้องไปหาว่าผลจาก urine ออกหรือยังนั้นหาไม่ง่ายเลย ต้องสาวกระดาษขึ้นๆลงๆกว่าจะหาเจอรายที่ต้องการท่ามกลางหมู่ผลทั้งหลายที่ทะยอยพิมพ์ออกมาไม่ขาดสาย (โดยเฉพาะช่วง peak hours)

ดังในรูปนี้

แต่ปรากฎว่าคุณถวิลผู้แสนฉลาด ได้เพิ่มจำนวนตัว u เวลา key รายการทดสอบสั่งเครื่องทำ ทำให้เวลามองหาในใบ print out ก็หาเจอง่ายขึ้น ดังรูป 

เพราะมันจะดูโดดเด่นออกมาจากรายอื่นๆที่ส่งผ่าน interphase ออกมาเอง

จะเห็นว่า เพียงแค่การดัดแปลงเล็กๆน้อยๆเท่านี้ก็สามารถช่วยให้งานง่ายขึ้นได้ ต้องขอชมน้องหวินหน่อยค่ะ งานนี้ไม่แน่ใจว่าจะมีใครเอาไปใช้ได้ไหม เพราะลักษณะของงานค่อนข้างแปลก (จะว่าไฮเทคก็ไม่ไฮเทคให้หมดทั้งขั้นตอน ต้องใช้คนทำเป็นช่วงๆ เหมือนที่เคยคุยมาแล้วในบันทึกก่อนๆจากคนในหน่วยของเรา)

สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน


ความเห็น

พี่เม่ย
เขียนเมื่อ

ไอเดีย “บรรเจิด” มากค่ะ  พี่เม่ยขออนุญาตจดจำไว้ก่อน ถ้ามีโอกาสจะนำมาประยุกต์ใช้บ้างนะคะ

mitochondria
เขียนเมื่อ
It's a great idea. Simple but effective.  Sure, very smart too.
อิจฉาคนที่กำลังจะเป็นเจ้าของจัง!
ศิริ
เขียนเมื่อ

เห็นเงียบ ๆ อย่างนี้ล่ะก็มีเทคนิคอะไรดี ๆ อีกเยอะน๊ะ ไม่เช่นนั้นคงไม่มีเจ้าของ

nidnoi
เขียนเมื่อ

ในที่สุด  น้อง willium ของเรา  เอ๊ย….ของน้องสุดสวย   ก็ได้เวลาเผยไต๋    (หมายถึงไอเดียดีๆ  น่ะ)  ออกมาแล้ว


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย