ศิลปะบำบัดในเด็กโรคมะเร็ง


Art therapy: Nonpharmacological approach

ศิลปะ ช่วยให้คนเรามีจิตใจอ่อนโยน เมตตา กรุณา ต่อตนเองและเพื่อนร่วมโลก คิดนอกกรอบแบบสร้างสรรค์ได้มีการนำศิลปะมาใช้เพื่อบำบัดเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล โดยเฉพาะเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่นโรคมะเร็งที่ต้องอยู่กับโรคเรื้อรังตลอดระยะเวลาการรักษา รักษานานเป็นปีๆ หรือหลายๆ ปี เมื่อโรคกลับมา เด็กได้รับความทุกทรมานจากทั้งตัวโรค การรักษา หัตถการทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิดความปวดเฉียบพลัน เช่น เจาะเลือด เจาะหลัง เจาะไขกระดูก นอกจากนี้อาจมีปวดเรื้อรังในกรณีที่มะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจาย ความทุกข์ที่เด็กได้รับทางกายดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว หากไม่ได้รับการดูแลประคับประคองอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการในเด็กแต่ละวัย

มี Evidenced support ว่าการนำศิลปะมาใช้กับเด็กป่วย สามารถลด ความกลัว วิตกกังวล ความปวดในเด็กโรคมะเร็งได้ ดังที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เรามีการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กและครอบครัว มีโครงการเพื่อคุณภาพชีวิตเด็กป่วย(Child life program) มีครูรับผิดชอบ เพราะการเล่น(ศิลปะ) ทำให้เด็กมีความสุขอย่างแท้จริง โดยเด็กสามารถควบคุมตัวเองได้ ภาคภูมิใจ เพิ่มสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเด็ก ผู้ดูแลรักษา และครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ดังภาพที่นำมาฝาก ไม่มีใครอยากเจ็บป่วย "เพราะความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ"

Case นี้มารับยาเคมี หงุดหงิด ไม่อยากอยู่ รพ. ทราบว่าเด็กชอบวาดรูป และวาดสวย เราก็ offer ให้ทันที เด็กเตรียมดินสอ เหรียญการ์ตูนมาจากบ้าน โทรตามครู (Child life worker) ให้นำกระดานวาดภาพ และอื่นๆ ที่เด็กต้องการมาให้ เด็กพอใจ ดูสงบขณะวาดภาพดรากอนบอล ซึ่งเด็กเลือกตัวที่ชอบที่สุดมาวาด (จากเหรียญการ์ตูนจำนวนมากที่เตรียมมา)

วาดได้เหมือนและสวย ให้คำชม เด็กมีความสุข พุ่งความสนใจในกิจกรรมที่ชอบ และให้ความร่วมมือในการรักษา

นักศึกษาพยาบาล approach case ที่รับผิดชอบ โดยให้เด็กระบายสี และสะท้อนความรู้สึกออกมา เด็กสามารถจินตนาการโดยไม่มีขีดจำกัด ทำให้สนุก ผ่อนคลาย เป็นการเยียวยาที่ดี (alternative healing)

แม้แต่เด็กระยะที่โรครักษายาก ต้องเปลี่ยนแผนการรักษาเป็นแบบประคับประคอง(palliative treatment) เพื่อหวังผลคุณภาพชีวิตที่ดี ก็เข้ากลุ่มทำให้เด็กมีความสุข  ผ่อนคลาย

มีความสุข มีกลุ่มเพื่อนๆ (peer group)

แม่พาทำ เด็กมุ่งความสนใจในกิจกรรมนั้นๆ

ครู พยาบาล เด็กและครอบครัว  มีกิจกรรมกล่มร่วมกันทุกสัปดาห์ ที่เห็นทำดอกไม้ในวันวาเลนไทน์

เป่าสี เด็ก pre-school และ วัยเรียนตอนต้นจะชอบมากเป็นพิเศษ

febrile nuetropenia วัยรุ่น ALL การรักษาดีมาตลอด แต่ขาดการรักษาเนื่องจากไม่มีเงิน ตอนนี้ต้องเริ่มต้นรักษาใหม่ เล่นกีตาร์ที่ตัวเองชอบ distract จากปวดท้อง (pain score 7/10 และได้ยาแก้ปวดด้วย)  เด็ก report ว่าความปวดก็ยังมีอยู่ แต่มีความสุขได้เล่นกีตาร์

ตอนนี้เด็กและครอบครัวชอบพับหงษ์ โดยขอสติ๊กเกอร์ยาที่ห้องยาไม่ได้ใช้ ขายได้ ตัวนี้ 200 บาท (ฉันซื้อเอง) เอาไปใส่ดอกไม้ที่บ้าน ก็สวยดี

 

เราช่วยเขาในฐานนะเพื่อนมนุษย์ เท่าที่เราจะช่วยได้ ศิลปะ (กิจกรรมหลากหลายที่เด็กชอบ จากการสำรวจความคิดเห็นเด็กวัยเรียนโรคมะเร็ง 74 ราย  พบว่าส่วนใหญ่ชอบกิจกรรม วาดภาพระบายสี เป็นอันดับ 1 )

บทสรุป ศิลปะ (ช่วยให้เด็กได้คิดอย่างอิสระ) .......สะท้อนคิด สะท้อนความรู้สึกภายในออกมา(express feeling).......บรรเทาหรือลด อาการไม่สุขสบาย เช่น ความปวด กังวล กลัว

หมายเลขบันทึก: 165687เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2008 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาชื่นชมการทำงานค่ะ

วันหลังจะเชิญน้องเกศ มาช่วยสอนศิลปบำบัดในผู้ใหญ่ได้ไหมคะ

ก็น่าจะได้ แต่เกศดูเด็กมะเร็ง แต่แนวคิดการนำมาใช้ไม่น่าจะต่างกัน พี่เล็กรัชนีพรก็เคยเข้าอบรม Art therapy ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท