ความเดิม : บล็อก
เป็นเทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ที่ฝังลึกเป็นเสมือนสมุดบันทึกหรือไดอารี่ของแต่ละบุคคลที่เน้นการ
“ให้ทาน” ซึ่งเป็นความรู้แก่บุคคลอื่น
ผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต
โดยเน้นการบันทึกเป็นตัวหนังสือ, รูปภาพ หรือ ไฟล์ข้อมูลต่างๆ
ที่ใช้บรรจงแสดงความคิด, ความรู้, ประสบการณ์ และ/หรือเทคนิคการทำงาน
อันจะนำมาซึ่งผลงานแห่งความสำเร็จต่างๆ ทีละเล็กละน้อย
โดยนำเสนอหนึ่งหรือสองประเด็นต่อบันทึก และเขียนโดยสม่ำเสมอตั้งแต่วันละบันทึกจนถึงสัปดาห์ละบันทึก
สะสมไปเรื่อยๆ
ซึ่งเป็นเทคนิคการเขียนที่พบว่าจะสามารถสร้างจำนวนผู้อ่านประจำได้ดีกว่าการเขียนบันทึกอย่างไม่มีความสม่ำเสมอ
ยิ่งเขียนยิ่งสร้างความมั่นใจให้ตนเองในสิ่งที่ตนเองรู้
(Confidence)
และยิ่งเขียนก็ยิ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ตนเอง
(Creditability)
ในการจัดการความรู้ นั้น
ให้ความสำคัญอย่างมากกับความรู้ฝังลึกที่เกิดจากการปฏิบัติ
(Tacit Knowledge)
แต่การพยายามถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึกนี้ออกมาเป็นตัวอักษรนั้น
ก็เป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้ปฏิบัติเช่นกัน
ในมุมมองของผู้ถ่ายทอดนั้น ความท้อแท้หรือท้อถอยในการถ่ายทอดความรู้ที่มีคุณภาพมักเกิดขึ้นได้ง่าย
แต่สิ่งที่ทำให้คนเหล่านี้ยังคงถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง
คงเนื่องมาจากเรื่องของการเป็นผู้ที่ถูกยอมรับ
(Recognition)
ว่าตัวเองเป็นผู้มีความรู้และให้ความรู้ต่อมนุษยชาติ
ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ
นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องของกำลังใจที่มีผู้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทำให้ความรู้ถูกยกระดับให้สูงขึ้น
มีความเชื่ออีกเช่นกันว่า “เงินทองหรือของรางวัล”
คงไม่สามารถจูงใจให้ผู้ที่มีความรู้
ถ่ายทอดความรู้ออกมาเป็นตัวอักษรได้ ดังนั้น
ควรมีระบบที่จัดระเบียบความรู้ ซึ่ง GotoKnow version 1.0
ได้ทำหน้าที่มาอย่างดีพอสมควรแล้ว (มีเมฆความรู้,มีคำหลักหรือkeyword,
มีระบบค้นหา)
แต่จะดีขึ้นอีกหากได้มีการปรับปรุงระบบดัชนีชี้วัดคุณภาพของบันทึกหรือบทความใน
GotoKnow version 2.0
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมมีความเห็นว่า “ต่อให้เขียนบันทึกหรือบทความดีอย่างไร”
หากไม่มีคนอ่านหรือมีคนยอมรับนำไปปฏิบัติแล้ว
งานชิ้นนั้นย่อมด้อยค่าลงไปเอง แต่ถ้าหากเราตั้งกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขมากเกินไป
เราก็อาจจะไม่ได้เพชรเม็ดงามในวงการ KM ทางที่ดีที่สุดคือทางสายกลางครับ
ขณะนี้เรากำลังมาหาทางสายกลาง ที่มีความลงตัวพอดี (ในยุคสมัยหนึ่ง)
ให้กับผู้พัฒนาระบบ Gotoknow ครับ
ตามความคิดของผม ซึ่งมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์เท่าหางอึ่ง แต่ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้
-
การนับจำนวนบันทึกในบล็อก ยังจำเป็นต้องมี เพื่อให้ผู้บันทึกทราบว่า เขียนไปเท่าไหร่แล้ว {มีระบบการ count ต่อเดือน และรวมทั้งหมดตั้งแต่ต้น (summary)}
-
มีการวัดคุณภาพของบันทึก ด้วยการคำนึงถึงผู้เข้ามาอ่าน (ควรบันทึกเวลาของการอ่านได้ด้วย เช่น การอ่านแบบมีคุณภาพควรอ่านบันทึกละ 1-2 นาที ถึงจะมีการ Count) มีการเฉลี่ยค่าการอ่านออกมาเป็น Rating/หน่วยเวลา เช่น ต่อวัน, ต่อสัปดาห์ และต่อเดือน
-
มีการนับจำนวนผู้อ่านบันทึก (ตรวจสอบจาก IP address)
-
มีการนับจำนวน Comments ของบันทึก (ควรมีค่าถ่วงน้ำหนักด้วย เช่น IP address หนึ่งจะนับได้ไม่เกิน 3 ครั้ง เอาไปรวมไว้ใน Summary) และอื่นๆ
-
มีการติดตั้งแผนที่ เพื่อทราบกลุ่มลูกค้าว่าอยู่ที่ใดกันบ้าง
-
มีการหาค่า C/M ratio (จำนวน Comment/Memo)
-
จำนวนครั้งของการอ้างอิง (Link มายังบันทึก)
-
จำนวนครั้งของการเชื่อมโยงผู้อ่าน, ผู้ Comment และผู้เขียนบล็อก
-
จำนวนครั้ง ของการถูก copy ข้อมูล (ถ้าทำได้)
*************************************
หมายเหตุท้ายบันทึก
-
ข้อ 1-9 ต้องซ่อนไว้ในระบบ เพื่อที่ว่าผู้เขียนบันทึกหน้าใหม่จะได้ไม่รู้สึกเกร็งจนเกินไป
-
ข้อเขียน นำข้อมูลส่วนใหญ่มาจากท่านอาจารย์จันทวรรณ
-
โปรดอ่านข้อเขียนและ LinK ของอาจารย์ประพนธ์ด้วยที่นี่ <Click>
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย beeman 吴联乐 ใน 25th Anniversary Beeman
คำสำคัญ (Tags)#การจัดการความรู้#บล็อก#ข้อคิดเห็น#gotoknow#แลกเปลี่ยนเรียนรู้#การเขียนบันทึก
หมายเลขบันทึก: 16566, เขียน: 23 Feb 2006 @ 22:45 (), แก้ไข: 25 Jul 2013 @ 15:56 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก