Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๔)_๑


ห้องเรียน KM (7)

ประเด็นนำเสนอ        เสวนาบทบาทของ CKO  ต่อการจัดการความรู้ในโรงเรียน (๑)
                             เรื่องเล่าจากการปฏิบัติของ CKO  บทบาทของผู้ผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
ผู้ดำเนินรายการ        ดร.ปฐมพงศ์        ศุภเลิศ  
                            อาจารย์จิรัชฌา     วิเชียรปัญญา 
ผู้ที่เข้าร่วมเวที         ประกอบด้วย
ผู้เล่าเรื่อง  ( CKO) 
                 อาจารย์ธิดา         พิทักษ์สินสุข    โรงเรียนเพลินพัฒนา  กรุงเทพ
                 อาจารย์ชาญเลิศ    อำไพวรรณ     โรงเรียนวัดศรัทธาธรรม  สมุทรสงคราม 
                 อาจารย์จิระพันธุ์    พิมพ์พันธุ์     โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา  พระนครศรีอยุธยา 
                 อาจารย์สุเมธ        ปานะถึก      โรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคาร  หนองบัวลำภู 
คุณลิขิต
ผู้ประสานงาน
                 คุณนภินทร           ศิริไทย      สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส)
ผู้ร่วมเวที 
                 อาจารย์  นักวิชาการศึกษา บุคคลากรสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ
                 สาธารณสุข 
วัน/เวลา        วันศุกร์ที่ 2  ธันวาคม 2548  เวลา 09.00 – 14.30 น.

คุณนภินทร  ศิริไทย :
         สวัสดีตอนเช้าในวันที่สอง เริ่มกันเลยนะคะ  ก่อนที่จะเริ่มอยากจะให้ท่านเห็นขุมความรู้เมื่อวานนี้ที่ทุกท่านได้เข้าร่วมประชุม ซึ่ง note taker ได้กลับไปทำการบ้านมาแล้ว ซึ่งน่าสนใจมาก  ก่อนที่จะนำลงwebsite ท่านสามารถ download ได้ เรียนเชิญอาจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ ดำเนินรายการในช่วงนี้ ขอเรียนเชิญค่ะ

 ดร.ปฐมพงศ์  ศุภเลิศ :
         สวัสดีตอนเช้าครับท่านนักจัดการความรู้ เมื่อวานนี้เรามีโอกาสได้มาร่วมกิจกรรมห้องเรียน KM หลายท่านที่กลับไปถึงบ้านก็บอกแม่บ้านว่า มาร่วมกิจกรรม KM  แม่บ้านบอกว่าเดี๋ยวนี้ไม่กินข้าวในบ้านแล้ว ไปกินข้าวที่ MK เราต้องทำความเข้าใจกันสักนิดหนึ่ง  KM ก็คือ knowledge management การจัดการความรู้  ส่วน  MK  เป็น  manager knowledge  นักจัดการความรู้   ในส่วนของเมื่อวานนี้คุณกิจทั้ง 10 ท่านได้มาเล่าเรื่องสะท้อนผลการปฏิบัติซึ่งเขาดำเนินการมาตลอดระยะเวลาหนึ่งปีการศึกษา  หลายคนต่อว่าทำไมให้เวลาน้อย   ถ้าหากเห็นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งกระบวนการได้  ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพแต่อาจจะไม่พอใจ  เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการจัดการความรู้  ปกติแล้วเราเล่าเรื่องให้เด็กฟังจากหนังสือ ในช่วงเช้าส่วนใหญ่เป็นการกระตุ้นให้ไปอ่านหนังสือต่อ  ว่าที่ครูเล่ามาที่เหลือให้ไปอ่านในห้องสมุด  รับรองว่าเด็กจะไปอ่านกันยกใหญ่    วันนี้เราจะเอาสิ่งที่  note  taker  หรือคุณลิขิตที่ได้กรุณาจดบันทึกให้เราเมื่อวานนี้ มาเสนอให้ท่านฟัง  เราจัดกลุ่มเรื่องเล่าเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ  ขุมความรู้ที่ 1  การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่ 1 ถึง เรื่องที่ 6    ขุมความรู้ที่ 2  การจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาเป็นเรื่องที่ 7-9 และเรื่องสุดท้ายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพผู้เรียน 
         ขุมความรู้เรื่องที่ 1 ความรู้นี้ลิ้มลองได้ ประตูสู่การเรียนรู้  เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  เด็กได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรียนรู้จากสิ่งที่เห็น เรียนรู้จากการเรียนรู้จากการได้สัมผัส (ปฏิบัติ)  เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยน  ซึ่งต่างคน - ต่างเห็น - ต่างคิด – ต่างทำ  เป็นความหลากหลายที่มีสีสัน และเป็นความหลากหลายที่มีประโยชน์  ต่างคน  ลองลิ้ม – ชิมรส  ตั้งวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ทบทวน คิดใหม่และทำใหม่  ท้ายที่สุดก็ตกตะกอนความรู้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนำมาซึ่งการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนด้วยตัวของนักเรียนเอง ตัวครู รวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
         ขุมความรู้ที่สองนั้น วิถีครูวิทย์ กล้าคิด กล้าลองผิด ลองถูก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และท่านอาจารย์กานดา เป็นผู้เล่า กลยุทธ์การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ท่านก็ได้ถอดขุมความรู้ออกมา ทบทวนวิธีการแบบเดิม เทียบเคียง/เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากแหล่งอื่น เลือกรับปรับใช้    สร้างวิธีการใหม่ ทดลองใช้ด้วยตนเอง ทดลองใช้ในห้องเรียน และเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนในสถานการณ์จริง  ศิษย์กับครูเรียนรู้ด้วยกัน   เชื่อมโยงเครือข่ายนอกโรงเรียน  ศิษย์ & ครู จูงมือเรียนรู้/ออกแบบบทเรียนร่วมกันจากเครือข่าย ประสบการณ์ที่ได้จากเครือข่าย จากนั้นจัดกิจกรรมบูรณาการสร้างความเข้มแข็งภายในโรงเรียน   สร้างเป็นบทเรียน
         ขุมความรู้ที่สามนั้นเป็นของท่านอาจารย์รัตนา สถิตานนท์   วิถีคนกล้าบูรณานอกกรอบ    หลักคิดก็คือลองผิดลองถูก แต่ว่ามีกระบวนการที่ค่อนข้างจะบูรณาการหลายวิชาสอดแทรกเข้าด้วยกัน  อันดับแรกบูรณาการข้ามสาระ แบ่งครูผู้สอนตามความถนัด  บูรณาการผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  เน้นบทบาทผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนักเรียนมีส่วนร่วม  ทำแผนที่ความคิดของนักเรียน   เปลี่ยนเป็นหัวข้อโครงงาน นำโครงงานสู่การปฏิบัติจริง  ท้ายที่สุดนักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่อยากเรียน ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น
         ขุมความรู้ที่สี่  เป็นการพลิกฐานพีระมิด เปลี่ยนความคิดสร้างขุมคลังแห่งความรู้  โดยท่านอาจารย์ชัยวัฒน์ เชื้อมั่ง อาจารย์เองให้ความสำคัญกับเด็กเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ ครูเป็นแบบอย่าง ให้โอกาส สร้างเครื่องมือ และชี้แนะแนวทาง  นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ได้เรียนรู้ตามความต้องการและได้แสดงความสามารถในทุกๆ ด้านอย่างเต็มศักยภาพ แล้วก็กิจกรรมที่จัดขึ้นนั้น ไม่โดดเด่นเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว    รับฟัง feedback จากศิษย์เก่าปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการสอนจาก “ยึดครูเป็นศูนย์กลาง” เปลี่ยนเป็น “เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง” นำไปใช้ โดยเน้นบทบาทครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง  ให้โอกาสและสนับสนุนนักเรียนในการแสดงออกอย่างเต็มศักยภาพโดยใช้ทักษะครบทุกด้าน พยายามพัฒนาและสร้างสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ รวบรวมเป็นคลังความรู้สำหรับการค้นคว้าด้วยตนเอง  นอกจากนั้นมีการตรวจสอบจากภายนอกตรวจสอบคุณภาพ  สร้างศรัทธาด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี
         ขุมความรู้ที่ห้า  พระเอกเนื้อหอมเพื่อนรุมตอมกันเกรียว    โดยท่านอาจารย์สิทธิพล  พหลทัพ โดยบทบาทของครูนั้นเพิ่มบทบาทของนักเรียนให้มากขึ้น โดยเน้นให้นักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำได้มีบทบาทโดดเด่น  อันนี้ก็เป็นวิธีคิดอันหนึ่งเหมือนกันนะครับ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยถอดบทเรียนเครื่องมือชุด “ธารปัญญา” ของ KM นำไปสู่กระบวนการ กิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ นำไปสู่กิจกรรมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง   แลกเปลี่ยนภายในกลุ่ม   แลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม   นักเรียนรู้จักตัวเอง รู้จักกลุ่ม รู้บทบาทของตนเองและคนอื่นๆ ในกลุ่ม  เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   กระตุ้นให้เกิดการแสดงออกสิ่งที่ซ่อนเร้นนี่เป็นศักยภาพที่เป็นฝังลึกอยู่ในตัวเด็ก อยู่ในตัวของแต่ละคน เกิดการเรียนรู้ ซึมซับ เปลี่ยนแปลง ในทางสร้างสรรค์
         ขุมความรู้ชุดที่หก  สร้างรูปแบบเฉพาะที่เหมาะกับจิระศาสตร์  มีอาจารย์สมควร  พออยู่ศรีเป็นผู้เล่า  ซึ่งรูปแบบของโรงเรียนนั้น เรามีจิระศาสตร์ทีชชิ่ง โมเดล กระบวนการต่างๆ นั้น จะเป็นกระบวนการมีส่วนร่วม ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน   ออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย  จัดทำกิจกรรมร่วมคิดโดยเฉพาะการทำแผน ให้นักเรียนมีส่วนร่วม นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน นำไปสู่การค้นพบศักยภาพของนักเรียน  ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่เรียกว่าจิระศาสตร์ ทิชชิ่งโมเดล
         ขุมความรู้ที่เจ็ด  สัญชาตญานบอก  บอกอะไร   ตรงนี้เป็นการเล่าเรื่องของ อ.กนกพร  ต่วนอาสา จากสมุทรสงคราม  ใช้วิถีแห่งพุทธปัญญา ห่อหุ้มด้วยลีลาของครู  กุญแจสู่ความสว่าง  โดยนำหลักธรรมคำสอนที่สอดแทรกในสาระการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายซึมซับและนำสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ แบบค่อยเป็นค่อยไป    เช่น เด็กเรียนรู้ว่า อะไรควร/ไม่ควร รู้กาลเทศะ รู้มารยาททางสังคม  วิธีการเริ่มจากครูมองเห็นปัญหา หันหน้าเข้าหากัน  ค้นหาวิธีการแก้ปัญหา ร่วมกัน ด้วยการทำ SWOT analysis   ดึง “จุดเด่น” ในตัวครูผู้สอนแต่ละคนใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือจัดการปัญหา บูรณาการหลักธรรมทางพุทธศาสนา  สอดแทรกในแต่ละสาระการศึกษา   ซึ่งครูพยายามทำทุกอย่าง ทุกวิธีการตาม สัญชาตญาณ สภาพปัญหา สถานการณ์ และบริบทแวดล้อม
          ขุมความรู้ที่แปด  เด็กเจ้าปัญหาสร้างปัญญาจากกองขี้ควาย  ดูตรงไปแต่ก็สื่อ  ซึ่งอาจารย์ศิริพงษ์  สิมสีดา  เป็นผู้เล่า  และเล่าอย่างออกรส  อาจารย์สร้างความตระหนักร่วมกัน  สร้างสภาวะให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความรู้ เก็บเกี่ยวความรู้ นำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม   ซึ่งเด็กนักเรียนเรียนรู้จากการสังเกตบริบทแวดล้อมในชุมชน  ตั้งคำถามในสิ่งที่สนใจ  ว่าขี้ควายมีอะไรอยู่ภายใน ตั้งวงเสวนาหาคำตอบจากประสบการณ์ตรงของแต่ละคนโดยให้อิสระในการคิด การพูด  สกัดเป็นความรู้  นำไปสู่การกับปัญหาอย่างเหมาะสม  ทำให้เด็กมีความสามารถในการสกัดความรู้เพื่อแก้ปัญหาในชุมชนได้ เด็กสนิทสนมใกล้ชิดไว้วางใจครู จากกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน
          ขุมความรู้ที่เก้าเรียนรู้นอกตำรา เจ้าพระยา  I love you   อาจารย์ทองดี  แย้มสรวล  เป็นผู้เล่า ท่านพยายามกระตุ้นให้เด็กเกิดจิตสำนึก ร่วมเฝ้าระวัง จัดกิจกรรมอนุรักษ์เจ้าพระยา   เน้นการจัดการเป็นเครือข่าย  ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะนักเรียน ครู ชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งชุมชนต่างท้องถิ่น   เกิดกิจกรรมเรียนรู้ในสภาพจริง เรียนรู้ในลักษณะการสืบเสาะ แสวงหาและค้นพบด้วยตนเอง เรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น   เรียนรู้อย่างสนุกสนานผ่านกระบวนการต่างๆ ที่หลากหลาย เกิดการพัฒนาให้เกิดทักษะการคิดและวิเคราะห์ ได้เรียนรู้แบบบูรณาการใช้ทักษะจากการเรียนรู้หลายวิชามาประยุกต์ ใช้ร่วมกัน    ท้ายที่สุดครูและเด็กเกิดความสนใจในการ “ต่อยอดความรู้” ให้แตกหน่อก่อผลมากยิ่งขึ้น
         ขุมความรู้ที่สิบ  เริ่มต้นจากความรักต่อยอดเป็นความรู้  อ.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร  ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง  เริ่มต้นจากที่ครู  เป็นแบบอย่างและเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง เริ่มต้นจากการที่ “ครู” ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียน  จัดความรู้ให้เหมาะสมกับวัยและความต้องการของนักเรียน จัดกิจกรรมเป็นเวทีให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพตามความถนัด (talent show)  กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนรู้ซึ่งกันและกัน โดยเด็กนักเรียนได้ค้นพบและรู้จักตัวเองมากขึ้น ได้รับการยอมรับมากขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความรักใคร่/ สนิทสนมช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันซึ่งกันและกัน 
ในส่วนของกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ เราก็ได้ถอดบทเรียนออกมาเป็นพลังความรู้ที่เรียกว่า knowledge assets  เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบก็เป็นได้   ซึ่งพลังความรู้นี้ขออนุญาตที่จะไม่เล่านำเสนอในตอนนี้เพราะได้ใช้เวลาในที่ประชุมพอสมควร     อย่างไรก็ดีรายละเอียดนี้จะได้นำเสนอใน weblog  gotoknow  นำเผยแพร่ในวารสารถักทอสายใยในโอกาสต่อไป    ขอกราบขอบพระคุณครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16493เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2006 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท