AAR การเรียนรู้การผลิตพืชปลอดภัย


การจะไปส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิตพืชปลอดภัย ต้องเริ่มต้นกระบวนการที่การทำความเข้าใจ คือเริ่มที่จิตใจของคนผลิตก่อน ให้เห็นด้วยและปรารถนาที่จะทำการผลิตพืชปลอดภัย

          ช่วงท้ายของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ในวันสัมมนาเชิงปฏิบัติการนักส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดกำแพงเพชร สายที่ 1 โดยวันนี้สำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่ายเป็นเจ้าภาพ(ลิงค์อ่านบันทึกในช่วงเช้า)  หลังจากนั้นเวลาประมาณ 14.00 น. นักส่งเสริมการเกษตรได้ศึกษาดูงานการผลิตพืชปลอดภัยของตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย (ลิงค์อ่านบันทึกการศึกษาดูงานพืชปลอดภัย)  ช่วงเย็นหลังจากศึกษาดูงานและ ลปรร.กับเกษตรกรที่ทำการผลิตแล้ว ได้รวมกลุ่มกันทำ  AAR

                                          บรรยากาศการทำ AAR 21 ก.พ.49

          AAR ของวันนี้ ผมทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับคุณเสนาะ  ยิ้มสบาย นักส่งเสริมฯ ตำบลคลองพิไกร ผมตั้งคำถามไว้ 3 คำถาม และผลของแต่ละคำถามพอสรุปได้ดังนี้ครับ

          1. วันนี้เราได้เรียนรู้อะไร...?

  • สภาพการปลูกพืชของเกษตรกร มีความหลากหลาย การใช้ศัตรูธรรมชาติของแปลงเกษตรกรจึงใช้ได้ผล เพราะมีพืชอาศัย/หลบภัย
  • ได้เรียนรู้ว่า เกษตรกรก็มีกระบวนการเรียนรู้และปรับตัว เช่น การใช้มูลสุกรแม่พันธุ์(ที่เลี้ยงอาหารตามธรรมชาติ) ทดแทนขี้วัวที่มีเมล็ดวัชพืช
  • ได้เห็นความตั้งใจจริงของเกษตรกรที่จะลด ละ เลิก การใช้สารเคมี
  • คนบริโภค ยังมีทัศนคติและค่านิยมในการบริโภคผักที่สวยงาม ไม่ตระหนักถึงพิษภัยและกำลังใจของคนที่ผลิต
  • แม้มีสินค้า-ผลผลิตที่ปลอดภัย/อินทรีย์ แต่ก็ยังมีช่องทางการตลาดที่ไม่กว้างขวางมากนัก

          2. อะไรที่ได้เรียนรู้แล้วคิดว่าจะนำกลับไปใช้ในการทำงานได้บ้าง...?

  • การจะส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืชปลอดภัย ต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่ที่มีพืชที่หลากหลาย เพราะจะทำให้ศัตรูธรรมชาติสามารถมีที่อาศัย/หลบภัย และแพร่ขยายพันธุ์ได้
  • การจะไปส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิตพืชปลอดภัย ต้องเริ่มต้นกระบวนการที่การทำความเข้าใจ คือเริ่มที่จิตใจของคนผลิตก่อน ให้เห็นด้วยและปรารถนาที่จะทำการผลิตพืชปลอดภัย
  • ต้องทำงานและจัดกระบวนการ ลปรร.  ศึกษา เรียนรู้และพัฒนาร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
  • ในด้านการตลาด ควรปรับการทำงานเป็น 2 แนวทาง คือ 1) หา/ขยายตลาด เพื่อจำหน่ายผลผลิตที่มีอยู่แล้ว และ 2) หาความต้องการสินค้าพืชปลอดภัยแล้วทำการผลิต

          นอกจากความรู้ที่ได้ในวันนี้ ยังมีนักส่งเสริม ที่ได้เรียนรู้การผลิตพืชปลอดภัยและการขยายการตลาดของจังหวัดเชียงใหม่ คือ 1)เริ่มที่การทำความเข้าใจและปลุกจิตสำนึกของนักเรียนในโรงเรียนมัธยม 2)ให้นักเรียนกลับไป ปชส. ให้ผู้ปกครอง และ 3)นำผลผลิตไปจำหน่ายในโรงเรียน

          3. ข้อเสนอแนะสำหรับทีมงานในการปรับกระบวนการ....?

  • นักส่งเสริมการเกษตรหลายท่านยังไม่ร่วมจนครบทุกขั้นตอนของการสัมมนา ทำให้ขาดโอกาสในการ ลปรร.
  • ยังมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ ในวันสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทำให้ต้องแบ่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมกิจกรรมเหล่านั้นด้วย

          เป็นบันทึกการทำ AAR การศึกษากระบวนการผลิตพืชปลอดภัยของนักส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดกำแพงเพชร  ก็คงต้องเรียนรู้และปรับกระบวนการกันต่อไป โดยค่อยๆ ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เพื่อนๆ นักส่งเสริมฯ  ท่านที่สนใจและทำงานในลักษณะเดียวกันก็อาจเห็นช่องทางที่จะปรับใช้ หรือ ลปรร.มาได้นะครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  21/02/49

                                        

หมายเลขบันทึก: 16268เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2006 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท