นายศักดิ์ณรงค์
นาย นายศักดิ์ณรงค์ ศักดิ์ บุญออน

พระธาตุสบฝาง องค์พระมหาเจดีย์ที่ชาวพุทธไม่ควรลืมไม่สักการะครั้งหนึ่งในชีวิต


สถานที่บรรจุพระนลาฏธาตุ(กระดูกในส่วนหน้าผาก)ของพระพุทธเจ้า

(รูปถ่ายนี้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีผู้ใดจัดสร้างขึ้น รู้แค่ว่ามีผู้พบมาตั้งแต่ 80 กว่าปีมาแล้ว)

                      ด้วยความดีใจและตื้นตัน เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงศรัทธา ที่ได้เดินทางไปกราบนบน้อมต่อองค์พระธาตุสบฝางอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวพุทธหลายท่านยังไม่เคยไปสัมผัส      เพื่อกราบไหว้ต่อองค์พระศาสนดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้มาประดิษฐาน ณ ดินแดนล้านนาแห่งนี้เป็นเวลาเกือบ 1,600 ปี

                     ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เกิดมาเป็นลูกหลานของคนแม่อาย ไม่เคยรับรู้ถึงประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของศาสนสถานแห่งนี้ ประชาชนในเขตภาคเหนือก็อาจเป็นเช่นเดียวกันกับข้าพเจ้า  พระธาตุสบฝาง ปู่ย่าตายายเคยบอกไว้ว่ามีเจดีย์แห่งนี้ แต่ไม่รู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเจดีย์แห่งนี้เลย ทำให้หลายคนยังไม่รู้เรื่องราวความเป็นมา จนในวันที่ข้าพเจ้าได้ย้ายมารับราชการที่บ้าน ณ เดือนมกราคม 2551 คุณลุงหนานซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของข้าพเจ้าได้นำหนังสือประวัติศาสตร์ของพระธาตุสบฝางมาให้ข้าพเจ้าอ่าน ข้าพเจ้าจึงตั้งจิตอธิฐานเอาไว้ว่าจะเดินทางไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคงในครั้งหนึ่งของชีวิต และในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 นี้เองข้าพเจ้าก็ได้ไปเยือนสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

                        พระธาตุสบฝาง ตั้งอยู่บนดอยสบฝาง บนฝั่งแม่น้ำกก ของอำเภอแม่อาย ห่างจากบ้านท่าตอนไปทางทิศตะวันออกไปประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.923 1600 กว่าปีมาแล้ว โดยพระเจ้าพรหมมหาราช เจ้าเมืองไชยปราการ ที่ได้สร้างเจดีย์เอาไว้บนยอดเขาดอยสบฝาง เพื่อบรรจุพระนลาฏธาตุของพระพุทธเจ้า(กระดูกในส่วนหน้าผาก) ที่แบ่งมาจากการบรรจุพระธาตุลงในพระธาตุจอมกิตติ  ของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน(ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอนาจักรโยนกนครหรือเชียงแสนสมัยก่อน) โดยสมัยก่อนพระเจ้าพรหมมหาราชได้รับมาจากพญาเรือนแก้วซึ่งเป็นบิดา ที่ได้รับพระราชทานมาจากพระองค์พังคราช กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ(ตามประวัตศาสตร์ของอนาจักรสิงหนวัติในสมัยพุทธศตวรรษที่ 9 พระพุทธโฆษาจารย์ได้เดินทางไปศึกษาธรรมะจากประเทศศรีลังกา และกลับเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอนาจักรพม่า มอญ สุโขทัยและโยนกนคร) โดยได้การกลับมาได้นำพระบรมธาตุมาถวายพระองค์พังราช กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติด้วย)

                      ต่อมาพระเจ้าพรหมหาราชได้ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์จำนวนมาก ซึ่งปัจุบันหลังจากในปี 2476 ได้เกิดไฟไหมและกระจายไปเก็บไว้ยังวัดต่างๆ ของอำเภอแม่อายอยู่หลายแห่ง

                        ในปี 2467 ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้รับรู้ถึงตำนานของพระธาตุสบฝางจุงได้เดินทางมาบูรณะพระธาตุสบฝาง (ซึ่งข้าพเจ้าได้รับรู้มาว่า ยังมีเกจิอาจารย์มากมาย เช่นหลวงปู่โต๊ะ ที่ได้เดินทางมากราบไหว้พระธาตุสบฝางแห่งนี้)

                        ในปี 2532 พระครูวุฒิญาณพิศิษฎ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่อายได้ทำการบูรณะพระเจดีย์อีกครั้งโดยใช้ปูนฉาบทับพระเจดีย์องค์เดิม ทำให้พระธาตุสบฝางเกิดความสวยงามจนถึงทุกวันนี้

                        ในปี 2547 พระราชสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ) ได้เข้ามาฟื้นฟูและพัฒนา

พระธาตุสบฝางในปัจจุบันหลังจากมีการบูรณะแล้วในปี 2547

โดยจากคำกล่าวของรักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุสบฝาง  คำบอกเล่าของชาวบ้านใกล้เคียงและผู้เข้ามานั่งวิปัสนาซึ่งส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนกรุงเทพที่ศรัทธาในองค์พระธาตุ ได้เล่าให้ผมฟังว่า องค์พระธาตุสบฝางจะแสดงอภินิหาร มีลำแสงดวงไฟสีเขียว พุ่งออกจากพระธาตุ ในช่วงของวันสำคัญ เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันออกพรรษา เป็นต้น โดยผู้ที่รักษาศีล และเจริญในธรรมเท่านั้นที่จะเห็นได้

พระธาตุจอมกิตติ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นพระธาตุองค์พี่ ของพระธาตุสบฝาง อำเภอแม่อาย ที่ก่อสร้างโดยพระเจ้าพรหมมหาราช ในเวลาไม่ห่างกันนัก

พระเจ้าพรหมหาราช ผู้ก่อสร้างพระธาตุสบฝาง ในปี พ.ศ.923

ครูบาศรีวิชีย นักบุญแห่งล้านนาไทยได้เข้ามาบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2476

หลวงปู่โต๊ะหนึ่งในเกจิอาจารย์ที่ได้เข้ามาสักการะพระธาตุสบฝาง

ซากอิฐ ซึ่งเป็นหลักฐานเก่าแก่มาเป็นระยะเวลา 1600 กว่าปี

บันไดทางขึ้นวัดพระธาตุสบฝางที่ครูบาศรีวิชัยได้สร้างไว้ เมื่อปี พ.ศ.2476

ความงดงามของพระธาตุสบฝาง

ในชีวิตนี้แม้จะตายไปข้าพเจ้าก็ไม่เสียดาย เพราะได้เข้ามาก้มกราบพระพุทธองค์แล้ว

และในวันดังกล่าวข้าพเจ้าได้เข้าไปถวายสังฆทาน แก่ หลวงพ่อศรีทน ซึ่งหลวงพ่อ อายุ 70ปี ซึ่งเป็นพระที่จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้เพียงคนเดียวมาหลายปีแล้ว

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 มีเพียงคณะเดินทางของข้าพเจ้าเท่านั้นที่เข้าไปกราบไหว้พระธาตุสบฝาง เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งข้าพเจ้าเสียดายแทนคนในประเทศไทย ที่ยังคงเดินทางไปกราบไหว้เจดีย์ยังต่างประเทศ  แต่กลับลืมศาสนสถานที่มีค่าแห่งนี้

วิวบริเวณวัดพระธาตุสบฝาง ที่มีความร่มรื่นสำหรับผู้ที่ชอบมานั่งวิปัสนาธรรม

หมายเลขบันทึก: 164618เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2008 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ

         ขอบพระคุณมากที่นำสาระดี ๆ มาบอกกล่าวแก่ผู้มีใจเป็นธรรมทั้งหลาย รับรู้เรื่องราวและเห็นภาพแล้วอยากไปกราบมากครับ เสียดายอย่างเดียว น่าจะบอกเส้นทางการเดินทางด้วย เพราะคนพื้นล่างอย่างผม ไปไม่ค่อยถูก แต่อย่างว่าไปเริ่มต้นที่อำเภอแม่อาย คงไม่ยากเกินความพยายามนะครับ  ขอบพระคุณอีกครั้งนะครับ

เส้นทางอยู่ห่างจากอำเภอแม่อายไปไม่กิโลเมตรครับ ไปง่าย มีป้ายบอกทางจนไปถึงวัดครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณที่เอาสาระดีดี

มาเผ่ยแผร่ครับ

ผมก็คนแม่อายเช่นกันครับ

อายุ 14

เลยยังไม่ค่อยรู้จักพระธาตุสบฝาง ปิดเทอมนี้ว่าจะไปเที่ยว ไปกราบไหว้ด้วย

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

ยังไงผมก็ลูกหลานชาวแม่อาย

ก็ต้องกราบไหว้

สักครั้งในชีวิตด้วยเช่นกัน

^_O

บ้านผมเอง ผมบวชอยู่วัดนี้มา สี่ปี  บอกตรงๆ  เงียบมาก สงบ สวย อากาศบริสุทธิ์   วิวสวย


เหมาะกับการปฏิบัติธรรม   วิปัสสนากรรมฐาน

หลวงปู่โต๊ะท่านไปบูรณะในปี 2520  ถึง 2521 ได้สร้างพระเครื่องไว้ แจกจ่ายให้กับผู้มาสบทบทุนบูรณะพระธาตุ หลาย ๆรุ่น หลาย ๆ แบบ ปัจจุบันไม่ทราบว่ายังหลงเหลืออยู่หรือไม่ ท่านใดมีวาสนา อาจจะได้มาบูชาสักองค์


คงมีโอกาสได้ไปกราบพระธาตุสบฝางสักครั้งหนึ่ง

 

สวัสดีค่ะ

พอดีกำลังศึกษาเรื่องเมืองโบราณของเมืองฝางเก่า แต่ยังไม่มีโอกาสได้ไปวัดพระธาตุสบฝางซักที เพราะต้องมาเรียนอยู่ กทม. เห็นกำแพงอิฐที่คุณศักดิ์ณรงค์ถ่ายภาพไว้น่าสนใจมากเลยค่ะ ไม่ทราบว่าถ่ายรูปนี้มานานหรือยังคะ กำแพงส่วนนี้ตั้งอยู่บริเวณวัดหรือเปล่า ถือว่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญมาเลยค่ะ บ้านเราก็มีของดีมากมาย หากมีคนช่วยกันดูแล ช่วยกันอนุรักษ์ก็คงอยู่ให้ลูกหลานได้ชื่นชมไปอีกนานนะคะ

ขอบคุณมากค่ะื สำหรับข้อมูลดีดี 

ฝ้าย

  • เส้นทางไปไม่ยากครับ สามารถนำรถเก๋งขึ้นไปได้สบายทางขึ้นเขาสั้นๆประมาณไม่เกิน ๔๐๐ เมตร เป็นถนนราดยาง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าท่านใดจะไปท่าตอนขอให้นึกถึงสถานที่ของบรรพบุรุษไทยแห่งนี้ด้วยครับ (พระเจ้าพรหมราชมหาราช) ขอให้ไปร่วมอุปถัมป์สืบทอดสมบัติของคนไทยและพุทธศาสนาครับ ปล.ผมไปมาแล้วทั้งพระธาตุจอมกิตติ พระธาตุดอยตุง พระธาตุสบฝาง พระธาตุดอยอ่างขาง ใช้ฮอนด้าซิตี้ และโตโยต้า altis นั่งสามคนครับ อัครินทร์ (แจ้งวัฒนะ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท