ทำไมจึงต้องมีดัชนีชี้วัด GotoKnow.org


ตอบ: เพื่อ Trust, Recognition, Social network analysis, Knowledge map, Knowledge repository เป็นต้นคะ (อยากทราบรายละเอียดต้องอ่านต่อแล้วคะ แล้วอย่าลืม Comment ด้วยนะคะ ขอบคุณคะ)


 

การจัดการความรู้ ให้ความสำคัญอย่างมากกับความรู้เชิงปฏิบัติ (Tacit Knowledge) แต่การพยายามถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึกนี้ออกมาเป็นตัวอักษรหรือแม้แต่เสียงก็เป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้ปฏิบัติ

ดิฉันมองว่า ดังนั้น ในมุมมองของผู้ถ่ายทอดนั้น ความท้อถอยในการถ่ายทอดความรู้ที่มีคุณภาพจึงเกิดขึ้นได้ง่ายคะ แต่สิ่งที่ทำให้คนเหล่านี้ยังคงถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่องก็คงเป็นเรื่องของแรงจูงใจ

ดิฉันเชื่อว่า "คนเราต้องการเป็น Somebody" คะ และก็เชื่ออีกเช่นกันว่า เรื่องเงินทองคงไม่ใช่รางวัลที่จะสามารถจูงใจผู้ทีมีความรู้ (Knowledgeable Person) และพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ (Knowledge sharing) แม้ว่า การเขียนบล็อก โดยเฉพาะการเขียนบันทึกความรู้สามารถทำให้ Bloggers ระดับโลกหลายๆ คนโด่งดังและร่ำรวย มานักต่อนักแล้วก็ตาม

ดิฉันมองว่า การเป็นที่ยอมรับ (Recognition) ว่าตัวเองเป็นผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ที่ให้ความรู้ต่อมนุษยชาติต่างหากคะที่เป็นแรงจูงใจสำหรับ Knowledgeable persons และผู้ที่ใฝ่รู้และพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเอาจริงเอาจัง

หันมามองในมุมมองของผู้ "รับ" ความรู้กันบ้างคะ ท่านย่อมต้องการความมั่นใจว่า ท่านได้รับความรู้มาจาก "ใคร" ไม่ใช่แค่ว่า ชื่อเสียงเรียงนามคืออะไร แต่ท่านยอมที่จะ Trust ผู้รู้ในด้านนั้นๆ จริงไหมคะ และเขารู้จักผู้รู้ท่านใดอีกบ้าง ที่ท่านจะสามารถไป "รับ" ความรู้มาได้อีก

ดังนั้น การจะค้นหาผู้รู้ในโลก CyberSpace นั้น ไม่ใช่จะมานั่งกำหนดเลือกแบบ Manual และ Subjective อย่างที่ดิฉันทำ ณ ปัจจุบัน คะ ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge management system) จะต้องมีความสามารถในการค้นหาตัวผู้รู้และหาคุณภาพของความรู้ให้ได้ ซึ่งนั่นก็คือ เรื่องของ Degree ด้านคุณภาพความรู้ที่จะมาเป็นตัวชี้วัดความเป็นผู้รู้เพื่อสร้าง Trust ให้แก่ผู้รับ และสร้าง Recognition ให้แก่ผู้ให้ คะ

และสุดท้ายแล้ว เราก็จะได้แผนที่ความรู้ (Knowledge map) และ คลังความรู้ (Tacit Knowlege Repository) ของชาติที่มีประสิทธิภาพมาก

ดังนั้น ดัชนีชี้วัดที่ดิฉัน ดร.ประพนธ์และท่านอื่นๆ และ อ.ชุลีรัตน์ ได้พยายามค้นหาและร่วมกันชี้แนะแนวทาง จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งคะสำหรับ การจัดการความรู้ ไม่ว่าจะเป็นในระดับองค์กร หรือ ในระดับประเทศชาติ หรือ โลกคะ และดิฉันก็มั่นใจว่า นักวิจัยด้าน KM ทั้งโลกกำลังค้นหาอยู่เช่นกันคะ

ทีมงาน GotoKnow.org เองก็ยังค้นหาแนวทางของการกำหนดดัชนี้ชี้วัดนี้อยู่คะ ในเบื้องต้นทีมงานก็ทำอย่างเช่นที่เขียนไว้ที่บันทึกก่อนหน้านี้ แต่ในเวอร์ชันที่สอง ก็พยายามสร้างตัวแปรปัจจัยเพื่อการกำหนดขึ้นมาก่อนคะ โดยจะนำเอาวิธีการต่างๆ ต่อไปนี้มาใช้ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการทำดัชนี

- การนับจำนวนบันทึกในบล็อก
- การวัดคุณภาพของบันทึกด้วยการ Rating
- การนับจำนวนผู้อ่านบันทึก
- การนับจำนวน Comments ของบันทึก
- การเชื่อมโยงผู้อ่าน ผู้ Comment และผู้เขียนบล็อก (Social network)
- การวัดคุณภาพ Comment ด้วยการ Rating
- จำนวนการลิงค์มายังบันทึก (Trackback)

ดิฉันจึงบอกว่า ดิฉันถูกใจบันทึก ลองคิดดังๆ เรื่อง "ตัวชี้วัด" ใน GotoKnow ของ ดร.ประพนธ์มากคะ และยังคงค้นหาดัชนีชี้วัด GotoKnow.org กันต่อไปพร้อมๆ กับทุกๆ ท่านคะ

หมายเลขบันทึก: 16365เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2006 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ผมเข้ามาติดตามอ่านหลายตอน มีประโยชน์มากครับ แตกต่างจากหลายๆบล็อกที่ผมแวะไปเยี่ยมชม ชอบประโยคที่เขียนว่า แผนที่ความรู้และคลังความรู้มากๆครับ ขอเป็นกำลังใจให้ในความพยายามพัฒนาต่อไปนะครับ

ผมเห็นด้วยในหลักการครับที่จะทำ ดัชนีชี้วัด ซึ่งก็คงแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ ดัชนีชี้วัดด้านปริมาณ และดัชนีชี้วัดด้านคุณภาพ ซึ่งการเก็บข้อมูลสำหรับทำดัชนีด้านต่างๆ อาจารย์จันทวรรณก็ได้แสดงไว้ในบันทึกแล้ว และผมเห็นด้วยอย่างมากครับกับความเห็นของอาจารย์ประพนธ์ในเรื่องการ เปรียบเทียบด้วยเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่นจำนวนบันทึกต่อเดือน ส่วนความเห็นเพิ่มเติมนะครับ

ผมยกตัวอย่างการทำบัญชีบริษัท มีข้อมูลที่บันทึกลงในบัญชี ทั้งด้านสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ก็มีอยู่ไม่กี่ตัว ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงจากการเปรียบเทียบ แต่ยังคงมีข้อจำกัดในการใช้ แตกต่างจากการนำมาวิเคราะห์โดยการทำเป็นอัตราส่วน ซึ่งทำให้เราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลเดียวกันในฐานที่เท่ากัน และสะท้อนความเป็นจริงได้มากกว่า

ทีนี้ก็ขึ้นกับความต้องการของอาจารย์จันทวรรณละครับว่าต้องการดูอะไรบ้าง ก็เอาข้อมูลเหล่านั้นมาเทียบเป็นอัตราส่วน เช่น

1. จำนวนบันทึก ต่อช่วงเวลา

2. จำนวนความคิดเห็นต่อจำนวนบันทึก

3 ค่าเฉลี่ยคุณภาพของบันทึกต่อจำนวนบันทึก

4. จำนวน comment ต่อช่วงเวลา

5. จำนวนการ link ต่อจำนวนบันทึก

6. .......

101. การนำข้อมูลสองตัว มาทำการ crosstab กัน ก็ช่วยให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เช่นการ crosstab ข้อมูลจำนวนบันทึกต่อเดือนกับค่าเฉลี่ยคุณภาพ ก็จะทำให้ทราบว่า การเขียนบันทึกมากหรือน้อย มีผลต่อคุณภาพของบันทึกหรือไม่ และสามารถวิเคราะห์ทางสถิติได้ว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ซึ่งการ crosstab ลักษณะนี้ อาจารย์ทำได้หลากหลายครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากรู้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรไหนบ้าง

 

โดยทั้งหมดนี้ ควรมีการเก็บข้อมูลเป็นช่วงๆ แล้วเปรียบเทียบกัน เช่นจะเทียบเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือนหรือรายปี แล้วแต่ความละเอียดที่อาจารย์ต้องการ แต่ถ้าละเอียดมาก ข้อมูลจะมีความ fluctuate มาก ซึ่งในแง่ของ statistics สามารถบอกได้ว่า ความละเอียดขนาดไหนมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

ทีนี้ก็ขึ้นกับว่า อาจารย์ต้องการดูข้อมูลอะไรแล้วล่ะครับ ก็หาอัตราส่วนที่เหมาะสมมาใช้

คิดว่าน่าจะพอมีประโยชน์กับอาจารย์บ้าง

 

   ผมคิดว่า gotoknow.org version 2.0 จะมีประโยชน์มาก ๆ ทีเดียว เพราะมี ดัชนีชี้วัดหลายตัว ซึ่งเป็นการให้รางวัลผู้เขียนบันทึกทางด้านจิตใจครับ และเห็นด้วยในหลายๆ ประเด็นกับท่านอาจารย์จันทวรรณและท่านอาจารย์ประพนธ์ครับ... (หากมีเวลาผมจะลองเอาจับเอาประเด็นนี้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ต่อไปนะครับ รู้สึกว่าผมเห็นแนวทางของ gotoknow ชัดขึ้นครับ)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ ทีมงาน ท่านผู้เขียน และท่านผู้อ่าน Blogs...
  • แนวคิดของอาจารย์น่าสนใจมาก อ่านแล้วได้ข้อคิด ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ต่อไปอีกหลายอย่าง 
  • "Gotoknow" นี่เป็น "สังคมของคนเรียนรู้(Learners' societies)" ที่พัฒนาไปเร็วมากครับ...

แวะมาอ่านข้อคิดเขียนของอาจารย์ครับ

ลองหัดใช้ google reader ยังไม่รู้จะ work อะเปล่า ?

ลืมตอบไปคะว่า การ Rating นั้น ทีมงานจะทำให้ flexible คะ คือระบบจะให้ผู้ใช้เลือกว่า จะให้มีการ rate หรือไม่ เช่นเดียวกันกับที่มีอยู่ในระบบปัจจุบัน คือ เลือกไ้ด้ว่าจะใ้ห้มีการ comment หรือไม่

ครับ

สงสัย

  • ทำไม อยากให้เขียนทุกวัน บางทีเรื่องบางเรื่องที่ออกมา เหมือนไม่ค่อยมีประโยชน์
  • บางเรื่องเบาไป โต้ตอบกันเจ๊าะแจ๊ะ แซวๆกัน
  • การเขียนน่าจะ free style ไม่ต้องมีคนมาประเมินทุกวัน และใช้บันทัดฐานอะไรครับ
  • การเขียนๆให้สนุก แต่ไม่น่าสนุกเกินไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท