หัวใจสำคัญในการจัดแสดงละคร


ผู้กำกับเวที Stage Manager

         ในฐานะที่ทำงานฝ่ายโสตทัศนศึกษาและครูศิลปะ  ที่มีหน้าที่ต้องพัวพันเกี่ยวข้องนัวเนียกับผู้กำกับฝ่ายเวที  ทั้งด้านการบันทึกภาพ  แสงสีและเสียง  จึงอยากจะนำความรู้และประสบการที่ได้รับทั้งพลาดและหลุดในบางคร้ง  มาเผยแพร่แก่สมาชิกที่คิดจะทำละคร ขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง  เพื่อทำใจไว้ก่อน

ผู้กำกับเวที ( stage manager )  

         งานของผู้กำกับการแสดง ส่วนใหญ่จะดำเนินงานสร้างสรรค์ทางศิลปะ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การที่ผู้กำกับการแสดงจะสามารถใช้สมาธิและความคิดสร้างสรรค์ไปในการออกแบบการแสดงหรือจัดภาพบนเวทีให้มีความหมายลึกซึ้ง ฯลฯ ตลอดจนทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การฝึกซ้อมจนถึงเปิดวันแสดง นอกจากนั้น เมื่อละครเปิดการแสดงแล้ว ก็ต้องนับได้ว่า งานของผู้กำกับการแสดงสิ้นสุดลง แต่ผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินการแสดงละครตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบสุดท้ายได้แก่ ผู้กำกับเวที

หน้าที่ของผู้กำกับเวที 

        ผู้ที่อยู่นอกวงการละคร มักจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญของผู้กำกับเวที ส่วนใหญ่ไม่ทราบด้วยซำว่าผู้กำกับเวทีมีหน้าที่อะไรบ้าง ถ้าจะเปรียบเทียบการจัดแสดงละครเหมือนครอบครัวใหญ่ ๆ ผู้กำกับเวที่เปรียบได้กับแม่บ้านที่มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของทุกคนและดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้งานของทุกฝ่ายบรรลุผลตามเป้าหมาย ในบรรดาผู้ที่ทำงาน  "หลังฉาก" ทั้งหลาย ผู้กำกับเวทีนับว่าทำหน้าที่ " ปิดทองหลังพระ " มากที่สุดผู้หนึ่ง เมื่อมีการแสดงละคร คำชมเชยมักจะไปอยู่ที่นักแสดง ผู้กำกับการแสดง หรือผู้เขียนบทละคร แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า หากไม่ได้ผู้กำกับเวทีกับหน่วยงานหลังฉาก  ภายใต้การควบคุมของผู้กำกับเวที นับตั้งแต่ผู้ยกแก เปลี่ยนฉาก เปลี่ยนเครื่องแต่งกายให้ตัวละคร ตลอดจนจัดเครื่องประกอบการแสดงให้เรียบร้อบทุกอย่างแล้ว นักแสดง ผู้กำกับการแสดง หรือผู้เขียนบทก็จะไม่มีโอกาสเสนอผลงานได้อย่างเต็มที่ ผู้กำกับเวทีเปรียบเสมือนแขนขวาของผู้กำกับการแสดง มีหน้าที่ช่วยเหลืองานทุกด้านเพื่อให้ผู้กำกับการแสดงไม่ต้องห่วงกังวล และสามารถทุ่มเทกำลังความสามารถให้กับการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างเต็มที่ หน้าที่ของผู้กำกับเวทีจึงมีมากมาย ซึ่งพอประมวลได้ดังนี้

       1. เป็นผู้ประสานงานกับทุกฝ่ายเพื่อให้การซ้อมละคร การดำเนินงานของฝ่ายออกแบบและจัดสร้าง และการแสดงละครไปด้วยความเรียบร้อย

      2. จัดทำกำหนดการสำหรับการดำเนินงานของทุกฝ่าย โดยติดต่อหัวหน้าฝ่ายต่าง ๆและดูแลให้ทุกอย่างเสร็จตามทันเวลาที่กำหนดไว้

      3. รายงานให้ผู้กำกับการแสดงทราบถึงความคืบหน้าหรือปัญหาของงานฝ่ายต่างๆ ทุกระยะในเรื่องที่ไม่ใช่นโยบายสำคัญ ผู้กำกับเวทีก็สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาไปเองแล้วรายงานให้ผู้กำกับการแสดงทราบ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่แน่ใจ ก็ควรจะต้องปรึกษาผู้กำกับการแสดงและได้รับความเห็นชอบก่อนจึงจะดำเนินการต่อไป

     4. จัดกำหนดการอย่างละเอียดสำหรับการซ้อมละคร โดยขอความเห็นชอบจากผู้กำกับการแสดงโดยอาจจัดทำมาก่อนแล้วเสนอต่อผู้กำกับการแสดง หรือจัดทำร่วมกับผู้กำกับการแสดงโดยผู้กำกับเวทีจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเวลาว่างของนักแสดง ผู้กำกับการแสดง และสถานที่ที่จะใช้ซ้อมละครอย่างพร้อมมูล

     5. ดูแลให้นักแสดงหรือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบกำหนดการฝึกซ้อมละครที่ได้จัดทำขึ้นติดตามดูแลให้นักแสดงมาซ้อมตามวันเวลาที่กำหนดไว้ หากผู้ใดติดขัดหริอจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ใด ๆ ต้องรายงานให้ผู้กำกับการแสดงทราบทันที

     6. ต้องมาดูการซ้อมทุกครั้ง

     7. เตรียมสถานที่ในการซ้อมทุกครั้ง วันใดจะซ้อมฉากใดจะต้องเตรียมเวทีให้เหมาะสมสำหรับฉากนั้นก่อนที่ผู้กำกับการแสดงจะมาถึง  และช่วงไหนมีความจำเป็นที่จะต้องการซ้อมร่วมกับฝ่ายใดก็ต้องแจ้งใฝ่ยนั้นทราบ เช่นซ้อมพร้อมแก หรือแสงเป็นต้น

    8. ทำสมุดคู่มือการซ้อมและจดตำแหน่งของการเคลื่อนไหวของตัวละคร ตลอดจนแนวทางสำคัญของการแสดงที่ผู้กำกับการแสดงให้แก่ตัวละครลงในสมุดคู่มือการซ้อมทุกครั้งเพื่อเป็นเครื่องเตือนความจำให้แก่ผู้กำกับและนักแสดง

    9. ควบคุมบทระหว่างการซ้อมเพื่อมิให้มีการผิดพลาด เตือนนักแสดงที่ลืมบทระหว่างซ้อมโดยบอกเฉพาะคำต้นของประโยคที่ลืม ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้กำกับการแสดงต้องเสียเวลากลับมาดูบททำให้การซ้อมชะงักงันไป

   10. ควบคุมการปล่อยตัวละคร

   11. ควบคุมการดำเนินงานหลังฉาก และตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกอย่าง นับตั้งแต่วันเปิดแสดงเป็นต้นไป ทั้งนี้เพราะเมื่อละครเปิดการแสดงแล้วถือว่าผู้กำกับการแสดงหมดหน้าที่ผู้กำกับเวทีจะต้องเป็นหัวหน้างาน ดูแลความเรียบร้อยของทุกฝ่าย นับตั้งแต่ดูแลให้นักแสดงมาแต่งหน้าแต่งตัวก่อนการแสดง ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เช่น ฉาก แสง เสียงและเครื่องประกอบฉาก เพื่อให้ทุกอย่างเสร็จพร้อมก่อนเริ่มแสดงทุกคร้งและดำเนินไปอย่างเรียบร้อยระหว่างการแสดง

   12. เป็นผู้ให้สัญญานเพื่อเริ่มการแสดง เมื่อตรวจดูว่าทุกฝ่ายพร้อมแล้ว

คุณสมบัติของผู้กำกับเวทีที่ดี

         จากที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้กำกับเวที คงจะเห็นได้ว่า ผู้กำกับเวทีมีความสำคัญต่อการจัดแสดงละครแต่ละคร้งมากเพียงใด ละครเรื่องใดได้ผู้กำกับละครเวทีดี การซ้อมการแสดงก็จะดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ทำให้ผู้กำกับการแสดง นักแสดง และฝ่ายออกแบบสาขาต่าง ๆ สามารถทำงานสร้างสรรค์กันได้อย่างเต็มที่ แต่หากผู้กำกับเวทีไม่มีความสามารถ การดำเนินงานก็มักจะติดขัด ขลุกขลัก หรือบางทีถึงกับหยุดชงักลงกลางคัน เนื่องจากข้อบกพร่องผิดพลาดทางด้านการประสานงาน ดังน้นทุกครั้งที่จะจัดเสนอละคร ผู้กำกับการแสดงจึงจำเป็นต้องคัดเลือกผู้กำกับเวทีที่มีความสามารถและคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

   1. ต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง

   2. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้กำกับการแสดง นักแสดงและผู้ร่วมงานทุกฝ่ายได้เป็นอย่างดี

   3. เป็นผู้มีประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสายงานต่าง ๆ การละครเป็นอย่างดี

   4. มีความอดทน  ขยันขันแข็ง และไม่เบื่องาน

   5. เป็นคนละเอียดละออ และมีความจำดี

   6. มีวินัย และตรงต่อเวลา

   7. มีความเป็นผู้นำ สามารถสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้ร่วมงานได้

   8. มีความจริงใจต่อทุกคน สามารถทำให้เกิดความรักใคร่สามัคคีปรองดองกันในหมู่ผู้ร่วมงาน

   9. เป็นผู้เสียสละ และทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

เวทีพื้นที่แสดง Acting area

       คือบริเวณที่ใช้เป็นส่วนของการแสดง มักอยู่แต่ภายในหรือหลังกรอบโพรซีเนียม อาณาเขตของ Acting area จะสิ้นสุดที่ผนังของฉากที่อยู่ด้านหลังบางที่อาจจะเป็นยกพื้นสูงด้านในหรือด้านนอกก็ได้ เนื้อที่ของเวทีทั้งหมดอาจจะเป็น acting area ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำละครแบบที่มีการเต้นรำประกอบ เรานิยมแบ่งพื้นที่เวที ออกเป็นส่วน ๆเพื่อความสะดวกในการทำงานเบื้องหลังฉาก การออกแบบฉาก การแสดงและการกำกับการแสดงโดยอาศัยซ้ายและขวามือของนักแสดงเมื่อหันหน้ามาทางผู้ชมเป็นหลักดังนี้คือ

      1. Down stage     คือ ส่วนของเวทีที่อยู่ใกล้กับคนดูมากที่สุด 

      2. Up stage          คือ ส่วนของเวทีที่อยู่หลังสุด

      3. Center stage   คือ ส่วนของเวทีที่อยู่ตรงกลาง

      4. Off stage         คือ ส่วนที่อยู่ทางซ้ายมือและขวามมือของนักแสดงนอก acting area

มีด้านซ้ายด้านขวา Off stage right และ Off stage left 

  เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ   

   1. ฝ่ายเสื้อผ้า [Cotume] ช่วงปี บวก ช่วงสมัย พื้นของวรรณกรรม

   2. ฝ่ายเทคนิค ( แสง / เสียง )

   3. ฝ่ายสร้างฉาก  โครงสร้างของงาน

   4. ฝ่ายประสานงาน

   5. ฝ่ายแต่งหน้า

   6. ฝ่ายเครื่องประกอบฉาก prop .ใช้กับ ส่วนฉาก การแสดง และ ดารา 

   7. ฝ่ายออกแบบท่าเต้น

การนำเสนอเรื่อง

     บทนำ - เปิดตัวละคร - สถานที่ -เวลา -ความขัดแย้ง -เนื้อเรื่อง- สรุป

 

           กำลังรวมรวบเอกสารประกอบการบรรยายที่เคยเรียนปริญญาตรีเรื่องฉากละครที่โรงละครแห่งชาติ กับ อาจารย์ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการโรงละครแห่งชาติขณะนั้น แล้วต่อมาขึ้นเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ตำแหน่งคร้งสุดท้ายปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำมาเผยแพร่แก่สมาชิก gotoknow ทุกท่านและประชาชนผู้สนใจในโอกาสต่อไป

                                                     ภู่พิลาศ

 

 

 

 

                                                                                                                     

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 163418เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2008 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ฝ้าย ศิษเก่า ราชวินิตมัธยม ปี 50

ครูค่ะ ครูจำหนูได้ไม๊ ฝ้ายที่ชอบเต้นๆ อ่ะค่ะครู จบไปสองปีแล้ว ^^

ตอนนี้หนูเรียนที่ มศว เอกนาฏศิลป์ สากล

หนูกำลังหา บทความเกี่ยวกับ ผู้กำกับเวทีอยู่พอดีเลยค่ะ

จะเอาไปทำรายงาน

ขออนุญาต เอาบทความของครูไป ทำรายงานหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะครู ^^

ครูค่ะ ข้อมูลของครูมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ หนูขอฝากตัวเป็นศิษย์ละกันนะค่ะ

หนูจบปริญญาโท บริหารจัดการทั่วไป แต่ต้องช่วยน้า สอนการบริหารจัดการแสดง ซึ่งหนูเองมีความรู้แค่พอถูไถ

ถามว่ามั่นใจแค่ไหน ตอบได้เลยค่ะ ว่า 50% เพราะหนูไม่แน่ใจว่าในการแสดงแต่ละครั้ง เราจะต้องวางแผนอะไรบ้างเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด ความรู้ที่หนูมีก็แค่ การจัดการธุรกิจดนตรี และการทำคอนเสริต์ ซึ่งน่าจะนำมาประยุอต์ใช้ได้บ้าง

***แต่ยังไงก็อยากขอข้อมูลจาดครูเพิ่มเติมค่ะ เพื่อความมั่นใจและให้ข้อมูลที่จะนำไปถ่ายทอดถูกต้องที่สุด

และหนูขออนุญาต นำข้อมูลของครูไปเผยแพร่ให้น้องๆต่อไปด้วยนะค่ะ

ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

หนูขอข้อมูลไปทำใบงานหน่อยนะค่ะครู

ข้อมูลของครูเป็นประโยชน์ต่อหนูมากค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ข้อมูลเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ หนูขออนุญาต นำความรู้ที่ได้รับนี้ไปใช้ในการสอนชั้นเรียนการออกแบบของนักเรียนมัธยมนะคะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง อีกครั้งหนึ่งค่ะ

หน้าที่ของฝ่ายประสานงาน ในการแสดง มีอะไรบ้่างครับ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ขอบข่ายหน้าที่มีอะไรบ้าง ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท