บทเรียน จาก Dialogue (ตอนจบ)


Dialogue เป็นเทคนิคการเข้าใจตนเอง รู้จักผู้อื่น เป็นการฟัง คิดวิเคราะห์ และเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่น

บทเรียน  จาก  Dialogue  (ตอนจบ)
สำหรับตัวผู้เขียนคิดว่า  Dialogue  คือ การสร้างอารมณ์  การสร้างบรรยากาศ  เป็นเหมือนกับวิถีแบบไทยดั้งเดิม  ที่มีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในครอบครัวบนโต๊ะอาหารเย็น  เป็นการพูดคุยกันว่า  แต่ละคนทำอะไรกันมาบ้าง  มีเรื่องสนุก ตื่นเต้น  ประทับใจอะไร  เล่าสู่กันฟัง ผลัดกันเป็นผู้พูดและผู้ฟัง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในครอบครัว เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว  ผู้เขียนยังจำได้เมื่อตอนเป็นเด็กๆ  ตอนที่กินข้าวเย็น ทุกๆ คนจะกินกันไป  ฟังคนโน้นคนนี้เล่าเรื่องกันไป  มีการแสดงความคิดเห็น  การเล่าในเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่คล้ายๆ  กันเพื่อแลกเปลี่ยนกัน ผู้เขียนก็จะเล่าเรื่องการเรียน  การสอบ เพื่อนๆ  ครูอาจารย์ เป็นประจำทุกวัน  วันนี้เรียนวิชาอะไรบ้าง  เป็นอย่างไร  ทำข้อสอบได้ไหม  มันเป็นการช่วยสร้างความสัมพันธ์ ใกล้ชิดสนิทสนมกลมเกลียวกันในครอบครัวได้อย่างแน่นแฟ้น
ส่วนการนำ Dialogue  ไปใช้ในการทำงาน  เราสามารถนำ  Dialogue  มาใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดีเช่นกัน เพราะ Dialogue เป็นเทคนิคการเข้าใจตนเอง  รู้จักผู้อื่น  เป็นการฟัง คิดวิเคราะห์ และเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่น Dialogue  ช่วยทำให้เราหาหนทางในการปฏิบัติได้  คล้ายๆ กับว่า  สมาธิ สติมา ปัญญาเกิด  Dialogue  ช่วยทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ด้วยความมิตร  เอื้ออาทร  เข้าอกเข้าใจ ไว้ใจซึ่งกันและกัน  เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น  ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้  ล้วนส่งผลให้เรามีความสุขกาย สุขใจ  ทำกิจกรรมการงานใดๆ  ก็จะทำด้วยความเป็นสุข  ผลสัมฤทธิ์ก็จะตามมาในที่สุด
อย่างไรก็ตาม  ในวันแรกของการร่วมวง  Dialogue ผู้เขียนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Dialogue  อยู่พอสมควร  เช่น 
1. วิทยากรบอกว่า  Dialogue  ไม่เหมาะกับปัญหาหรือเรื่องที่ง่ายๆ  เรื่องไหนง่าย ไม่ซับซ้อน  ไม่ควรใช้วิธีการ Dialogue ให้ใช้วิธีการอื่นแทน
2. ทำไมการทำ Dialogue  เราถึงไม่ได้คำตอบ หรือทางแก้ไขปัญหาจากในวงนั้นเลย
3. จำนวนกลุ่มคนที่เข้าร่วมวง Dialogue  ควรมีจำนวนต่ำสุดหรือสูงสุดเท่าใด  จึงจะทำให้การทำ Dialogue  ดีที่สุด
4. คนที่เข้าร่วมวง Dialogue  ควรจะต้องมีประสบการณ์ร่วมหรือประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันหรือไม่  หากประสบการณ์  ภูมิหลังต่างกันมากๆ  จะใช้วิธีการ Dialogue  ได้หรือไม่  ถ้าใช้แล้วจะได้รับผลดีหรือไม่ 

แต่เมื่อได้เข้าร่วมวงการทำ Dialogue แล้ว  ผู้เขียนก็ได้คำตอบจากข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในวง  แต่ผู้เขียนก็ยังไม่สรุปคำตอบทั้งหมดทีเดียว  เพราะตามหลักของ  Dialogue คือ ต้องรับฟัง แล้วนำไปคิดทบทวน ใคร่ครวญ และนำไปใช้จริงๆ ก่อน  ผู้เขียนจึงจะตอบข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน ตามความคิดและความเข้าใจของตนเอง  ซึ่งหากผู้เขียนทราบคำตอบของตัวเองเมื่อไร จะบอกเล่าให้ฟังต่อไป

yayaying
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 163เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2005 04:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับทีม 3 ซ่า PO.KMI คิดถึงตอนเด็กๆพอกลับจากโรงเรียนมีอะไร  เจออะไรก็จะมาเล่าให้พ่อกับแม่ฟัง  จากนั้นก็ disscus แล้วท่านก็จะช่วยชี้แนะ  พอทำงานระหว่างรอผู้ป่วย(รอจ่ายยา) ก็จะนั่งคุย (เรื่องงาน) กับน้องๆ ได้ความคิด (Ping Vab) มาเยอะเหมือนกันแต่ไม่รู้ว่ามันคือ หลักการ KM   พอไปอบรม เมื่อ 10-11/06/05 ที่ มอ.มารู้สึกเลยว่าเราเอาไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท