การจัดการความรู้: เครื่องมือพัฒนาทักษะ...การเรียนรู้


การจัดการความรู้: เครื่องมือพัฒนาทักษะ...การเรียนรู้


        เมื่อเร็วๆนี้ดิฉันได้รับความเอื้อเฟื้อจากพี่ที่ในสำนักงาน "พี่น้อง " (พี่ปรานอม ภูวนัตตรัย) นำหนังสือ(สัจจสาร) ฉบับเล็ก ขนาดเอ5 ความยาว 26 หน้า มาเป็นของฝาก ...
       เนื้อหาในเล่ม คัดต้นฉบับจากสวนโมกข์ ชื่อ "กาลามสูตร ช่วยด้วย!" ซึ่งเป็นธรรมพจน์รจนาเรื่องหนึ่งของท่านพุทธทาส

      ความในเนื้อหาเป็นหลักคิด...ที่สะกิดให้หวนถึงบล๊อก..เล่าเรื่อง ...คำถามสุดฮิต  ติดปากชาวกรมอนามัย... ที่ได้เขียนไป  ซึ่งดิฉันได้กำหนดกติกาให้กับตัวเองว่า ขอเขียนในแบบสบายๆ ..และคำตอบของคำถาม...ก้อ!!...จะเป็นการตอบบนฐานของประสบการณ์บวกความพยายามนำเหตุผลที่น่าจะเป็นจากแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมายึดโยงหรือร้อยเรียงกัน...เป็นคำตอบ

        ประเด็นสำคัญคือ ดิฉันสะกิดตัวเองและท่านผู้อ่านว่า "ข้อควรระวัง ...โปรดใช้วิจารณญาณในการเรียนรู้" ... ด้วยเจตนาที่จะบอกกล่าว ว่า... นี่เป็นคำตอบที่เป็นความคิดเห็นของดิฉัน... ศรีวิภา แต่เพียงผู้เดียว อาจใช่หรือไม่ใช่ ...ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากชวนเชิญเพื่อนๆKM  ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ 


            การพยายามตอบคำถาม...สิ่งที่พี่ๆเพื่อนๆสงสัย...หรือคาดว่า..เราน่าจะช่วยค้นหาคำตอบให้ได้นั้น ดิฉันจึงพยายามที่จะทำ(กำหนดจิตตัวเอง..และถือเป็นหน้าที่...แต่ไม่อยากกดดันตัวเองให้เป็นความเครียด...จึงเขียนกติกาให้ตัวเองในการปฏิบัติแบบสบาย...สบาย...สไตล์KM)...ด้วยปรารถนา...จะตอบสนองความคาดหวังที่ส่งมอบให้...บวกกับ...ความต้องการพัฒนาตัวเองให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อต้องหาคำตอบ ย่อมต้องค้นหาที่มาของคำตอบ  


           การจัดการความรู้ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ...จึงน่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 

            

           ด้วยเหตุที่  KM...ส่งเสริมให้เกิดทักษะการฟัง(deep listening)   

                ...พัฒนาจิตให้เป็นกุศล...ชื่นชมกับความสำเร็จของผู้อื่น(mental model)

        ...พัฒนาให้คิดอย่างเป็นระบบ (systematic thinking) 

...เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ (KM ไม่ลอง...ไม่รู้ ) และ.......ฯลฯ

เมื่ออ่าน ... "กาลามสูตร ช่วยด้วย! "  จึงเห็นว่า ...ทุกสรรพสิ่ง ล้วน...ใช่เลย *_*

(คุณ..คุณ ..มีความเห็นอย่างไร ค่ะ...อ่านดูแล้ว บอกต่อว่า...ที่ดิฉันคิด...ใช่หรือเปล่าค่ะ...???

๑. มา อนุสสเวน : อย่ารับเอามาเชื่อโดยการฟังบอกต่อๆกันมา


๒. มา ปรมปราย : อย่ารับเอามาเชื่อโดยที่มีการทำตามๆสืบๆกันมา


๓. มา อิติกิราย   : อย่ารับเอามาเชื่อตามเสียงที่กำลังเล่าลืออยุ่อย่างกระฉ่อน


๔. มา ปิกสมปทาเนน : อย่ารับเอามาเชื่อด้วยเหตุเพียงว่ามีที่อ้างในปิฎก    

    "ปิฎก" หมายถึงสิ่งที่ได้เขียนหรือจารึกลงไปแล้วในวัตถุสำหรับเขียน  เป็นสังขารชนิดหนึ่งที่อยู่ในกำมือของมนุษย์ ทำขึ้นได้ ปรับปรุงได้ เปลี่ยนแปลงได้โดยมือของมนุษย์ จึงไม่อาจถือเอาได้ตามตัวอักษรเสมอไป


๕. มา ตกกเหตุ : อย่าเชื่อโดยเหตุที่ว่ามันถูกต้องตามเหตุผลทางตักกะ

     "ตักกะ" คือสิ่งที่เราเรียกกันว่า Logics ซึ่งมันก็ยังผิดได้ ถ้าข้อมูลมันผิดหรือวิธีคำนวณมันพลาด


๖. มา นยเหตุ : อย่าเชื่อโดยเหตุที่ว่ามันถูกต้องตามเหตุผลทางนยะ ซึ่งเราเรียกกันในเวลานี้ว่า    ฟิโลโซฟี่ ซึ่งได้ให้คำแปลว่า ปรัชญา  นยะ หรือนยายะ เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการคำนวณโดยมีสมมติฐานหรือ Hypothesis มันก็ยังผิดได้เพราะการคำนวณผิดหรือการใช้สมมติฐานไม่เหมาะสม


๗. มา อาการปริวิตกเกน: อย่าเชื่อหรือรับเอามาเชื่อด้วยการตรึกตรองตามอาการ ที่เราเรียกสมัยนี้ว่า คอมมอนเซ็นส์ ซึ่งเป็นเพียงความคิดชั่วแวบตามความเคยชิน


๘. มา ทิฏฐินิชฌานกขนติยา : อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่าข้อความนั้นมันทนได้ หรือเข้ากันได้ กับความเห็นของตนซึ่งเป็นอยู่เดิมซึ่งมันก็ผิดได้อยู่นั่นเอง หรือวิธีพิสูจน์และทดสอบมันไม่ถูกต้อง มันก็ไม่เข้าถึงความจริงได้ ข้อนี้มีวิธีการคล้ายกับทางวิถีทางวิทยาศาสตร์ แต่มันก็เป็นวิทยาศาสตร์ไปไม่ได้ เพราะไม่มีการพิสูจน์และทดลองที่เพียงพอ


๙. มาภพพรูปตาย : อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่าผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อ ลักษณะภายนอกกับความรู้จริงในภายใน ไม่เป็นสิ่งเดียวกันได้


๑๐. มา สมโณ โน ครู-ติ : อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่า สมณะ(ผูพูด) นี้เป็นครูเรา พระพุทธประสงค์อันสำคัญเกี่ยวกับข้อนี้ก็คือ ไม่ต้องการให้ใคร เป็นทาสทางปัญญาของใครแม้แต่พระองค์เอง แต่เชื่อเมื่อได้ใคร่ครวญด้วยเหตุผลอันเพียงพอและได้ลองปฏิบัติดูแล้ว


       กาลามสูตรทั้ง ๑๐ ข้อนี้ เป็นหลักประกัน ความไม่เป็นตัวของตัวเอง หรือการไม่ใช้สติปัญญาของตัวเองในการตอบรับสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ที่เรียกกันในภาษาธรรมว่า ปรโตโฆษะ เมื่อได้ยินได้ฟังอะไร ก็ต้องกระทำโยนิโสมนสิการ(การพิจารณาโดยแยบคาย คิดเป็น)ในสิ่งนั้นอย่างเต็มที่  มีเหตุผลจะเป็นประโยชน์มีผลดับทุกข์ได้จริง จึงค่อยเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์

       คัดย่อจาก สัจจสารของวัดพุทธปัญญา ซึ่งได้พิมพ์ขึ้นแจก และ..ข้อความตอนหนึ่งในส่วนท้ายของเรื่อง "รู้จักวัดพุทธปัญญา " (หน้า๒๑).......ท่านเจ้าอาวาสวัดพุทธปัญญา(พระอธิการศรีธวัช)  ได้นิพนธ์ ว่า ขอให้สัจจสารจากสวนโมกข์ฉบับนี้เป็นส.ค.ส.ตามกาลสมัยของปีพ.ศ.๒๕๔๙ และจงเป็นส.ค.ส.ทุกวันตลอดชีวิตของท่านพุทธบริษัททุกฐานะ ทุกเพศ ทุกวัย   จะได้เป็นพุทธศาสนิกที่ดีถูกต้องสมบูรณ์ตามพุทธประสงค์ที่ทรงประทานกาลามสูตรไว้เป็นคู่มือคู่ชีวิตทุกท่าน

        หมายเหตุ อาจมีความผิดพลาดในการพิมพ์ภาษาบาลีบ้าง จึงขออภัยมา ณ โอกาสนี้*_*

                                                             

         

...
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16277เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท