ใช้ KM เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาความยากจน


ใช้ KM เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาความยากจน


          ดังได้เล่าแล้วว่า   วันที่ 25 ก.ค.48   ผมไปร่วมในการประชุมปฏิบัติการโครงการนำร่องการ บูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่   เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน   ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์


          พื้นที่นำร่องมี 12 จังหวัด   ที่น่าสนใจในเชิง KM คือ จ.อุทัยธานี นำ KM ไปเป็นเครื่องมือ   โดยดำเนินการจัดการความรู้ 4 ประเด็น   ได้แก่
·       เกษตรปลอดภัย
·       ป่าชุมชน
·       น้ำ
·       ผ้าทอพื้นเมือง


          ผมไม่ได้ไปฟังการประชุมกลุ่มของ จ.อุทัยธานี   แต่ได้เห็นในเอกสาร PowerPoint ของจังหวัด   มีระบุ Road Map การจัดการความรู้ภาคประชาชน จ.อุทัยธานี   ว่ามีการประชุมทุกปลายเดือน   โดยมีเป้าหมายหรือ “ธง” (หัวปลา) คือ “พัฒนาความรู้ใหม่  นักจัดการความรู้ภาคประชาชนกำหนดยุทธวิธีในการพัฒนาสู่ภาครัฐ”    ทราบข่าวว่าคุณทรงพล  เจตนาวณิชย์ไปช่วยทุกเดือน


          เท่ากับว่ากระบวนการ KM จะช่วยให้ฝ่ายประชาชน/ชุมชน (demand – side) รู้จักตนเองและสภาพแวดล้อมของตัวเองดีขึ้น   การทำแผนชุมชนอันนำไปสู่ข้อเสนอภาคประชาชน   ไปบรรจบกับแผนองค์กรส่วนท้องถิ่น   และแผนยุทธศาสตร์จังหวัด   ก็จะมีลักษณะ knowledge – based มากขึ้น


          ผมมองว่า KM ในระดับชาวบ้านเช่นนี้   จะก่อผลยิ่งใหญ่ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อทำข้อเสนอของภาคประชาชนต่อรัฐบาล   ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือ   จะช่วยให้ความสัมพันธ์ภายในชุมชนเปลี่ยนไป   เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (trust) มากขึ้น   เกิดความเคารพและเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน   ความมั่นใจตัวเองที่จะเรียนรู้   เน้นที่การเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ


                                                                                      วิจารณ์  พานิช
                                                                                        26 ก.ค.48

คำสำคัญ (Tags): #km#ท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 1625เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2005 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท