พัฒนานโยบายและกฎหมายเพื่อควบคุมโรค (1)


25 ม.ค51 มีประชุมเพื่อพัฒนานโยบายและกฎหมายเพื่อควบคุมโรคร่วมกับคณะนิติศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์ รามคำแหง และมหิดลระยะที่ 2 ที่โรงแรมนารายณ์ กทม.

สืบเนื่องจากที่กรมควบคุมโรคได้เคยลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันไปแล้วเมื่อ 24 กันยายน 50 ดิฉันกับพี่อ้อมได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงานในส่วนของบำราศฯเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานทบทวนองค์ความรู้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

          ช่วงเช้า อาจารย์ อภิชัย มานิตยกุล จาก ม.รามคำแหงนำเสนอการศึกษาทบทวนกฎหมายเกี่ยวข้องกับการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนในประเทศไทยเปรียบเทียบกับ 8 ประเทศ  ได้แก่ อเมริกา นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมัน แคนาดา จีน และญี่ปุ่น

          ข้อเสนอแนะ 

         1.พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของเด็กเท่ากับผู้ใหญ่ ควรกำหนดให้แตกต่าง( น้อยกว่า)

          2.พรบ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มีปัญหาในการบังคับใช้เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่มีความผิดในตนเอง  มีเพียงโทษปรับ  และผ่อนผันกันมากไปจนต้องนำมาตรการอื่นมาใช้ เช่น โครงการจัดระเบียบสังคม จึงควรมีการให้ข้อมูลและเข้มงวดในการบังคับใช้

          3.พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ 2546 กำหนดคุ้มครองอายุไม่เกิน 18 ปีเท่านั้น โทษสำหรับผู้ปกครองเบาไป และหน่วยงานอื่นๆ เช่นกรมสรรพสามิตดำเนินนโยบายตรงกันข้าม ควรพิจารณาออกกฎหมายเฉพาะเยาวชน และกำหนดอายุมากกว่า 18 ปี

           กฎหมายควบคุมการสูบบุหรี่แก่เยาวชนของไทยเปรียบเทียบกับ 6 ประเทศ  ได้แก่ อาร์เจนตินา จีน  เช็ค  เยอรมัน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ซึ่งข้อเท็จจริงโดยรวมจะครอบคลุมเป็นต้นแบบที่ดีแก่ประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมเพียงบางมาตรการ ได้แก่พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ2535 คำว่า โฆษณาควรรวมถึงการวางแสดงไว้ในร้านค้า ไม่ว่าจะมีเจตนาโฆษณาหรือไม่ ก็ให้จัดเป็นการโฆษณาด้วย และควรแก้เพิ่มโทษจำคุกด้วยกรณีฝ่าฝืนการห้ามโฆษณา 



ความเห็น

สวัสดีค่ะ

ขอแวะมาเก็บความรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท