นำเสนอ..การใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำ


EBPเรื่อง การใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำ

วันที่ 17 มกราคม 2551 คณะกรรมการพัฒนางานวิจัย ได้นำเสนอผลงานที่คณะกรรมการได้นำไปใช้ในแผนกการพยาบาลต่างๆ

การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล 

เรื่อง   การใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำ

เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตันปลายเข็มฉีดยาชนิดล็อค 

 

1 ปี ที่เรานำโครงการนี้ลงไปให้พยาบาล  ทดลองทำตามแนวปฏิบัติ

 

<h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">กระบวนการนำไปใช้กับผู้ป่วยและการประเมินประสิทธิผล คณะผู้ศึกษาได้นำแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ในหน่วยงานโดย</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">1    ชี้แจงโครงการในที่ประชุมหัวหน้าหอผู้ป่วยขอความร่วมมือและประกาศข้อตกลงร่วมกันพร้อมขอรายชื่อผู้รับผิดชอบแต่ละหน่วยงาน</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">2    ชี้แจงโครงการให้แก่ผู้รับผิดชอบแต่ละหอผู้ป่วยและให้ความรู้และฝึกทักษะเกี่ยวกับการนำแนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันผ่านเข็มฉีดยาชนิดล็อค ใช้เวลา 1 วัน พร้อมแจกคู่มือ การใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำ ผ่านเข็มฉีดยาชนิดล็อค  หอผู้ป่วยละ 1 ฉบับ</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">3  ติดตามประเมินผลโดยการ</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">  3.1  ให้พยาบาลตอบแบบสอบถามตามแบบประเมินกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำชนิดล็อค</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> 3.2  ให้พยาบาลตรวจสอบการปฏิบัติตามการใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำชนิดล็อคของพยาบาลที่อยู่ในหน่วยงานตนเอง</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">  3.3  ให้พยาบาลผู้รับผิดชอบประเมินคุณภาพของการใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำชนิดล็อคในผู้ป่วยที่ใช้</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">3. วิเคราะห์ข้อมูล</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผลการประเมิน</h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผลประเมินกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำชนิดล็อค  โดยพยาบาลประเมินตนเอง พบว่า </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </h2> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">1.  พยาบาลสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติใหม่ </h2>

  • ทำได้ทุกครั้งเป็นส่วนมาก ร้อยละ 90 ขึ้นไป

  •  สำหรับข้อการล้างมือให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง  ทำได้ทุกครั้ง ร้อยละ 72.2 เนื่องจาก  ใช้ waterless แทน ก็ถือว่ายังเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ   

  • ส่วนในการหยุดใช้อุปกรณ์สำหรับให้ยาเป็นครั้งคราว (NSS lock) พบว่า มีการบันทึกเหตุผลการหยุดใช้อุปกรณ์ และภาวะแทรกซ้อนในแบบบันทึกทางการพยาบาลได้ทุกครั้ง ร้อยละ 76.8  ได้บางครั้ง ร้อยละ 20

 

2.ผลการประเมินคุณภาพของการใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำชนิดล็อคในผู้ป่วยที่ใช้

  • จากการเก็บข้อมูลมียาฉีดทั้งหมด 266 ครั้ง คุณภาพด้านการเปิดโล่ง พบว่า ปลายเข็มเปิดโล่ง 200 ครั้ง ร้อยละ 75.2 มีการอุดตันของปลายเข็ม 66 ครั้ง ร้อยละ 24.8

  • คุณภาพด้านระดับการเกิดหลอด-เลือดดำอักเสบ เกรด 0 (ไม่เกิด) จำนวน  206 ครั้ง ร้อยละ 77.4  เกรด 1 จำนวน  36 ครั้ง ร้อยละ 20  เกรด 2 จำนวน 20 ครั้ง ร้อยละ 7.5 เกรด 3 จำนวน 3 ครั้ง ร้อยละ 1.1 และเกรด 4 จำนวน 1 ครั้ง     ร้อยละ 0.4  ส่วนจำนวนวันที่ใช้เข็มฉีดยาชนิดล๊อค 1 วัน ร้อยละ 35, 2 วัน ร้อยละ 22.9 และ 3  วัน ร้อยละ 36.1 โดยร้อยละ 10 (26 ครั้ง) เป็นการหยุดใช้ก่อนครบ 3 วัน

การนำเสนอครั้งนี้...คุณจิราพร พรหมพิทักษ์กุล หัวหน้าโครงการฯ เป็นผู้นำเสนอ

         

คุณจิราพร พรหมพิทักษ์กุล นำเสนอในที่ประชุมหัวหน้าหอผู้ป่วย ประจำเดือน มกราคม 2551

        

พี่ชูศรี คูชัยสิทธิ์ หัวหน้าพยาบาลและหัวหน้าหอฯ ฟังอย่างตั้งใจ

ตอนสุดท้าย...ท่านหัวหน้าพยาบาล  ฝากให้หัวหน้าหอฯทุกท่าน  ช่วยติดตามและนิเทศการนำ NSSมาใช้แทน Heparine ในการหล่อหลอดเลือดและให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอย่างใกล้ชิด

ข้อเสนอแนะ 

เราฝากให้...หัวหน้าหอผู้ป่วยช่วยนิเทศและติดตามการนำแนวปฏิบัตไปใช้  เพื่อให้ผู้ใช้บริการปลอดภัยจากการคาเข็มไว้เพื่อฉีดยา ไม่มีการติดเชื้อและไม่มีอาการอักเสบของหลอดเลือดดำ 

 

</span>

หมายเลขบันทึก: 162012เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นค่ะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

เราวางแผนเขียนรายงานวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในโอกาสต่อไปค่ะ

ขอบคุณพยาบาลทุกคน หัวหน้าหอผู้ป่วยและผู้บริหารทุกท่านที่อนุญาตให้เก็บข้อมูล จนงานสำเร็จ

ที่สำคัญ ทีมผู้วิจัยค่ะ

คุณอิ๊ด  เก๋ คิม แก้ว  หน่า

            ขอบคุณค่ะ

        จาก   อุบล  จ๋วงพานิช

ประธานคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย

ฝ่ายการพยาบาล รพ ศรีนครินทร์ มข

กำลังเขียน  manuscript ค่ะ

มีผู้สนใจต้องการอ่าน ต้องรอนะคะ

ไม่นานเกินรอค่ะ

อยากเลิกHeparine มานานแล้ว เห็นช่องทางแล้วหละค่ะ มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ป่วยเด็ก บอกด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะคุณเกวลิน

ลองไปอ่านงานของ  วรรณา คงวิเวกขจรกิจและเรณู พุกบุญมี (ทำในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก)

Research Utilization Project :การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล  เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันปลายเข็มฉีดยาชนิดล็อคในผู้ป่วยเด็ก จำนวน 30 ครั้ง   หล่อ  NSS 2 cc    ไม่พบอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดที่ปลายเข็มฉีดยาชนิดล็อคในผู้ป่วยเด็ก

เอกสารอ้างอิง  

วรรณา  คงวิเวกขจรกิจ และเรณู  พุกบุญมี. 2547. Research Utilization Project :การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันปลายเข็มฉีดยาชนิดล็อค.รามาธิบดีพยาบาลสาร.10(3):239-251.

อยากทราบว่ามีบทความและงานวิจัยที่เดี่ยวข้องกับการป้องกันการเกิด phlebitisบ้างรึเปล่าคะมีบทความหรืองานวิจัยที่แนะนำบ้างไหมค่ะ.......................ขอบพระคุณมากๆค่ะ

น้องนุ่มนิ่ม

มีมากมายค่ะ ต้อง advance search ดูนะคะ มีทั้งของในประเทศและต่างประเทศค่ะ

ขอทราบผลเปรียบเทียบระหว่างการใช 0.2 % hepsrin in nss กับการใช้ pure nss ว่ามีผลแตกต่างกันอย่างไรในเด็ก newborn ถึง 5 ปีค่ะ ถ้ามีความรู้อื่นๆก็ขอน้อมรับเพิ่มค่ะ ขอบคุณค่ะ

คุณnu

เราไม่ได้ในเด็กค่ะ สนใจหาอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ

สนใจอยากทำวิจัยเรื่องนี้บ้างค่ะ อยากนำผลงานวิจัยมาปฏิบัติจริงในตึกผู้ป่วยในค่ะ

อยากจะขอคำแนะนำค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณ nurse crezzy

ถ้าสนใจ ติดตามอ่านได้ เราตีพิมพ์แล้วค่ะ

จิราพร พรหมพิทักษ์กุล  วีรวรรณ   อึ้งอร่าม อุบล จ๋วงพานิช  ลดาวัลย์  บูรณะปิยะวงศ์  สุธีรา ตั้งตระกูล และกาญจนา  สิมะจารึก  Research Utilization Project:การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล  เรื่อง   การใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตันปลายเข็มฉีดยาชนิดล็อค วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2553;33(1): 62-68.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท