ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน โดย Carol S. Dweck


สมองเปรียบเสมือนกล้ามเนื้อ ยิ่งฝึกฝนยิ่งแข็งแรง
เพื่อที่จะเสริมสร้างแนวคิดแบบงอกงามให้กับเด็กผ่านการยกย่องชมเชย ผู้ปกครองและครูสามารถจะช่วยได้ด้วยการสั่งงานที่มีกระบวนการทำงานชัดเจน โดยพยายามทำให้เด็กมีจิตใจเหมือนกับเป็นกลไกการเรียนรู้ เมื่อไม่นานมานี้ ดิฉันและ แบล็กเวลล์ เธร็สนิวสกี ได้ช่วยกันออกแบบปฏิบัติการ 8 ตอน ให้กับเด็กนักเรียน 91 คนที่ได้คะแนนคณิตศาสตร์ตกต่ำลงในช่วงปีแรกของชั้นมัธยมต้น นักเรียน 48 คนได้รับงานที่มีการฝึกทักษะด้านการเรียนเพียงอย่างเดียว ขณะที่เด็กคนอื่นได้รับทั้งงานที่ฝึกทักษะด้านการเรียนร่วมกับการเข้าชั้นเรียนที่จะสอนพวกเขาให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดแบบงอกงาม และการนำไปใช้ประกอบการเรียนหนังสือในชั้นเรียนเกี่ยวกับแนวคิดแบบงอกงาม นักเรียนกลุ่มนี้จะได้อ่านบทความเรื่อง คุณสามารถปลูกสมองของคุณได้ และอภิปรายเนื้อหาร่วมกัน พวกเขาได้รับการสอนว่าสมองเป็นเหมือนกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงขึ้นถ้าได้ถูกใช้งาน  และจะถูกสอนว่าการเรียนรู้จะช่วยกระตุ้นให้เซลล์ประสาทในสมองสามารถงอกเส้นประสาทเชื่อมต่อกันได้ จากคำสอนดังกล่าวนี้ นักเรียนหลายคนได้เริ่มที่จะมองตัวของพวกเขาเองว่าสามารถผู้ที่จะพัฒนาสมองของพวกเขาเองได้ นักเรียนหลายคนที่เคยยุกยิกหรือแสดงท่าทางเบื่อหน่ายกลับเริ่มนั่งนิ่งและลงมือจดบันทึก ที่น่าสนใจมากคือเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่รู้กันดีว่าเป็นเด็กดื้อมากกลับเงยหน้าขึ้นระหว่างที่มีการอภิปรายและพูดว่า คุณครูหมายความว่า ผมไม่จำเป็นต้องทึ่มไปตลอดชีวิตใช่ไหม?  ระหว่างที่การเรียนเทอมนั้นดำเนินไป คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กที่ได้ฝึกแต่ทักษะด้านการเรียนกลับมีคะแนนลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่นักเรียนกลุ่มที่ได้ฝึกแนวคิดแบบงอกงามกลับมีเริ่มมีคะแนนคงที่ และเพิ่มสูงขึ้นจนกลับไปสู่ระดับเดิมก่อนหน้านี้ ยิ่งไปกว่านั้น พวกคุณครูซึ่งไม่ได้ทราบมาก่อนว่ากำลังมีการเรียนการสอนอยู่ 2 แบบได้รายงานว่า พวกเขาสังเกตเห็นชัดถึงการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของแรงจูงใจในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีเด็กในชั้นเรียนปฏิบัติการแนวคิดแบบงอกงามถึง 27% ที่มีแรงจูงใจเพิ่มขึ้น เทียบกับเพียงแค่ 9% ของเด็กในกลุ่มควบคุม คุณครูคนหนึ่งเขียนรายงานว่า ผมว่าปฏิบัติการของพวกคุณใช้ได้ผล แอล (เด็กผู้ชายดื้อของเรา) ซึ่งผมไม่เคยเห็นว่าจะทุ่มเทกับการเรียนมาก่อนและมักจะไม่ค่อยส่งการบ้านทันเวลา กลับกลายเป็นชอบอยู่เย็นเพื่อทำการบ้านให้เสร็จก่อนเวลา จนผมสามารถจะตรวจการบ้านนั้นได้ก่อน และให้โอกาสเขากลับไปแก้ไขมาใหม่ ตอนนี้เขาได้เกรดบีบวกแล้ว (จากที่เคยได้แค่เกรดซีหรือต่ำกว่านั้น)ผลการทดลองของเราสอดคล้องกับงานวิจัยของคนอื่น แคเธอรีน กู้ด นักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ โจชัว อารอนสัน และ ไมเคิล อินซลิกต์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ได้รายงานในปี ค.ศ. 2003 ว่าการทำปฏิบัติการแนวคิดแบบงอกงามได้ช่วยให้เด็กชั้น ม. 1 ประสบความสำเร็จในการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ในขณะที่ผลการศึกษาของอารอนสัน กู้ด และเพื่อนร่วมงานของพวกเขาในปี ค.ศ. 2002 ได้แสดงให้เห็นว่านักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเริ่มที่จะสนุกกับงานในชั้นเรียนมากขึ้น หรือให้คุณค่ากับมันมาก รวมทั้งได้เกรดที่ดีขึ้น หลังจากได้ผ่านการฝึกฝนที่สร้างให้เกิดแนวคิดแบบงอกงาม
หมายเลขบันทึก: 158972เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์ อาจารย์พอจะมีตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมต้นไหมคะ ถ้าไม่มีเอาระดับประถมก็ได้ค่ะ พอดีหนูต้องทำวิจัยในชั้นเรียนในเทอมนี้ค่ะ หาตัวอย่างยากเลยลองส่งเมลมาค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

อาจารย์มีอีเมล์ไหมครับ

ผมจะส่งเอกสารภาษาอังกฤษให้อ่าน

เผื่อจะได้ไอเดียครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท