การจัดองค์กรความปลอดภัยในโรงพยาบาล


1. Engineering (ความรู้หรือวิชาทางด้านวิศวกรรม) 2. Education (การให้การศึกษา อบรม สัมมนา) 3. Enforcement (การออกกฎระเบียบข้อบังคับ)
  การป้องกันการเกิดอันตรายขึ้นภายในโรงพยาบาลด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้างความปลอดภัยใน
โรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ ทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยมักว่าด้วยหลักการ 3E เป็นหลัก โดยดำเนินการ
ทั้ง 3 พร้อม ๆ กันอย่างเหมาะสม อันได้แก่
               1. Engineering (ความรู้หรือวิชาทางด้านวิศวกรรม)
               2. Education (การให้การศึกษา อบรม สัมมนา)
               3. Enforcement (การออกกฎระเบียบข้อบังคับ)
              
              จะเห็นได้ว่า " Safety First " ในโรงพยาบาลก้าวไปได้ช้า หรือบางแห่งไม่เกิดขึ้นเลยเพราะความรู้ความเข้าใจ
ในเรื่องนี้ยังอยู่ในวงแคบ โดยเฉพาะผู้บริหารโรงพยาบาลเองก็ยังไม่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก มองข้ามความสูญเสีย
อย่างมหาศาลที่เกิดจากอุบัติเหตุ เจ้าหน้าที่ คนงาน ได้รับการ ศึกษาอบรมในด้านนี้น้อยมาก โดยมากทำงานอยู่กับสิ่ง หรือ
สถานที่ที่สามารถก่อให้เกิดอันตราย ได้อย่างใหญ่หลวงโดยที่ไม่ทราบ ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้เกิดอันตรายมากต่อมาก

             ดังนั้น การสร้างความปลอดภัย หรืองานด้านวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล จะต้องเริ่มต้นที่ นโยบาย
โดยการจัดให้มีระบบงานและสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่มีความปลอดภัยสูงต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งออกมาตรการ
ป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยที่ยั่งยืน การการจัดองค์กรความปลอดภัยในโรงพยาบาล ที่ดีควรมีขั้นตอนที่เป็นลำดับดังนี้

             1. จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ อทิเช่น คณะกรรมการดำเนินการเพื่อความปลอดภัย คณะกรรมการฝ่ายบริหาร
เพื่อความปลอดภัย หรือในรูปของคณะกรรมการอะไรก็ตามแต่ต้องมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการทางด้านความปลอดภัย
ในโรงพยาบาล โดยต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำโรงพยาบาลที่เป็นตัวหลักในเรื่องนี้ในฐานะผู้ปฏิบัติ

             2. ค้นหาสาเหตุ การค้นหาสาเหตุก็ไม่จำเป็นที่จะค้นหาเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว การค้นหาสาเหตุที่อาจนำ
ไปสู่อันตรายก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

            3. วิเคราะห์สาเหตุที่เกิดขึ้น อาจวิเคราะห์ด้วยตัวเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเอง หรือประสานงานกับผู้ชำนาญการ
ด้านนั้น ๆ จากหน่วยงานอื่นก็ได้แล้วแต่โอกาสและสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดหรืออาจจะเกิด

           4. ออกมาตราการป้องกัน การออกมาตรการหรือข้อกำหนดใด ๆ ควรออกในรูปของคณะกรรมการ ระดับผู้บริหาร
แต่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์และนำเสนอ

           5. นำมาตรการไปประยุกต์ใช้งาน เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากข้อ 2 - 4 เพื่อนำข้อบกพร่องผิดพลาดหรือ
ปรับปรุงสิ่งที่ดีกว่าเข้ามาแก้ไข ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงานด้านนี้เรื่อยไปไม่สิ้นสุด


คำสำคัญ (Tags): #รพช.
หมายเลขบันทึก: 15887เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท