Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๐)


Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๐)

ห้องเรียน KM (3)

ดร.สมาน  อัศวภูมิ: ผู้ทรงคุณวุฒิ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
          ขอบคุณ ดร. ปฐมพงศ์ สวัสดีชุมชนผู้รักการเรียนรู้ทุกท่าน   รู้สึกว่าท่านเป็นผู้ที่ฟังที่ดีมากตั้งใจฟังผู้เล่าเป็นอย่างดี  ขออนุญาตใช้เวลา  5 นาทีให้ข้อสังเกตดังนี้
เรื่องที่หนึ่ง ผมคิดว่าทุกคนคงได้อ่านการจัดการความรู้คืออะไร แต่อย่างไรก็ตามก็จะสรุปให้ตรงกันคือ การจัดการความรู้ไม่ใช่เป้าหมายแต่เป็นเครื่องมือ จะเห็นว่าทุกท่านที่พยายามเล่ามาจะเห็นว่ามีเป้าหมายอยู่แล้ว แล้วใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ แล้วผมจะสรุปว่าใครใช้อะไรเป็นเครื่องมือตามทัศนะของผม  ผมก็มาเรียนรู้ด้วย
         เรื่องที่สอง ถ้าจะมองแล้วคณะจัดงานให้มีการสะท้อนเรื่องเล่าเร้าพลัง  อยากจะบอกว่าเร้าพลังอย่างไร ผมมองว่าเร้าพลังอยู่สองจุด หนึ่งเร้าพลังผู้เล่าเมื่อเราได้เล่าสิ่งที่ประสบผลสำเร็จ เราก็เร้าพลังตัวเอง กลับไปต้องทำให้ดีขึ้น  เป็นการเร้าพลังคนฟังด้วยรวมทั้งตัวผมด้วย เชื่อว่าหลายท่านอาจตกผลึกตนเองแล้วจากประสบการณ์ที่เพื่อนเล่า แล้วมองย้อนกลับไปคิดถึงตัวเอง ที่โรงเรียน ที่ทำงาน แต่เป็นการเร้าพลังสองส่วน แต่เรื่องเล่าเร้าพลังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมด ซึ่งถ้าจะมองแล้วแต่ละคนจะมีเป้าหมายของตนเองอยู่ว่าจะทำอย่างไร แล้วจะมีวิธีการต่างๆ นานานั้นจะเป็นวิธีการ  กระบวนการจัดการความรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหลังมีรากเหง้าอันยาวนาน ทุกสิ่งที่กล่าวมา แต่ละคนลองผิดลองถูกมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเอามือซุกขี้ควาย  ผมก็เคยลองทำ มาจนถึงการที่จะดึงความรู้หลายๆ แหล่ง ทั้งของตนเอง ของเพื่อนฝูง ทั้งของเครือข่าย รวมทั้งที่เป็นองค์ความรู้ของตำราต่างๆ ทั้งหมดเอามาเพื่อจะจัดการความรู้ หลังจากนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมาก  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของท่านทั้งหลายที่เล่าก็ทำที่โรงเรียน วันนี้เอาเป็นตัวอย่างมาแลกเปลี่ยนที่นี่ แน่นอนแต่ละท่านที่เล่าจะมีเบื้องหลังที่แตกต่างกัน แน่นอนว่าการเล่านี้อาจจะไม่เชื่อมโยงกับสิ่งท่านมีประสบการณ์อยู่  แต่อาจเป็นตัวอย่างในการที่ทำจะไปจัด สุดท้ายจะทำให้เกิดการสรุปขุมความรู้มากมาย ท้ายสุดจะเล่าว่าเท่าที่รู้เข้าใจอย่างไรในมุมมองของผม  นั้นคือผมมองเป็นกระบวนการ  ตอนนี้จะมองสรุปอันหนึ่งผมจัดกลุ่มความรู้เป็น 4 กลุ่ม 
         กลุ่มแรก  นำ KM มาประยุกต์ใช้การสอนคือ อ.วิมลศรี อ.สมควร อ.รัตนา อ.ศิริพงษ์  และ อ.สิทธิพล  ได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนมาก
         กลุ่มที่สอง นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการการทำงาน คือ อ.จิรัฐติกาล  โรงเรียนนี้น่าสนใจมาก ผมอยากไปดูสักวัน
         กลุ่มที่สามนำมาใช้ในการแก้ปัญหาคือ  อ.ทองดี
         กลุ่มที่สี่ การใช้  tacit knowledge ที่เป็นประโยชน์ มากคือ อ.กนกพร และ อ.ชัยวัฒน์  ที่ใช้ tacit knowledge ที่ชัดเจนมาก เริ่มต้นแล้วลุย 
         สุดท้ายสังเกตว่า ทั้งหมด ผมตกผลึกสามสี่ประเด็น คุณกิจที่เล่าทั้งหมด เห็นว่าคุณกิจมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะทำอะไรอันที่หนึ่ง  อันที่สองทุกคนได้ดึงความรู้ทุกแหล่ง อันที่สามกล้าลองผิดลองถูก  การเรียนการสอนกลัวผิด  ผมเองก็ลองอยู่  อันที่สี่ทุกคนต่างก็ตกผลึก นี่คือผลึกของท่าน  ทุกผลึกคือปัญญาของไทย  ขอบคุณมากครับ

ดร.วิโรจน์  ศรีโภคา: ผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาศรีปทุม  วิทยาเขตชลบุรี 
         เรียนท่านผู้ดำเนินรายการ คุณกิจที่เยี่ยมยอด ท่านสมาชิกร่วมสัมมนาทุกท่าน ผมในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นว่า KM เป็นหัวใจของการปฏิรูปของการเรียนรู้  เพราะว่าทำอย่างไรจะให้เด็กเรียนในห้องเรียนอย่างมีความสุข เพราะว่าส่วนมากจะเรียนอย่างมีความทุกข์ เมื่อไรจะพ้นทุกข์ก็คือหมดเวลาอย่างที่คุณกิจได้เล่าให้ท่านฟัง  ผมอยากจะสรุปให้เห็นชัดเจนไว้  3 ประการว่าถ้าอารมณ์ของผู้เรียนเปลี่ยน ประการที่หนึ่งที่ทำให้เกิดตัวสำคัญ  ประการที่สองความคิดผู้เรียนจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ดังที่คุณกิจได้บอกไว้ และตัวที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุดตัวที่สามคือการกระทำเปลี่ยน 
        สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราไม่ต้องไปบอกครูว่าให้ครูใช้สื่อ ให้สอนเด็กโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ตัวนี้เป็นยาสูตรสำเร็จที่ครูหาทานประจำวันโดยไม่รู้ตัว ที่จะแก้การปฏิรูปการศึกษาได้ดีสุดได้อย่างเบ็ดเสร็จ  โดยที่ไม่ต้องให้รัฐบาล ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาเป็นคนบอก

         ครูมีจิตสำนึกเป็นผู้ให้  ผมขอชื่นชมตรงนี้ ตัวที่สำคัญที่ อ.ชัยวัฒน์ทำ ผมอยากให้พวกเราทราบว่าทุกวันนี้การจัดกิจการการเรียนรู้เป็นการให้ความรู้มากกว่าร้อยละ 90  ผมชื่นชม อ.ชัยวัฒน์ ที่ได้จัดกิจกรรมเรียนรู้ที่สร้างความรู้  ส่วนมากเป็นการบอก ไม่ได้ให้เด็กเกิดองค์ความรู้ ตัวนี้เป็นสุดยอดที่สุดที่สร้างให้เด็กมีปัญญา สิ่งต่างๆ KM นี้เป็นเสมือนแบตเตอรี่  แบตเตอรี่เครื่องใดมีไฟมากก็ถ่ายไปไฟน้อย  ในองค์กรจะเกิดสังคมสมานฉันท์  สุดยอดเลยถ้ามีทีมเกิดขึ้น  เมื่อคนพูดกัน คนในองค์กรนี้จะ care กัน  เมื่อคน  care กัน จะ share  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  สุดยอดเลยตัวนี้ อยากให้วัฒนธรรมนี้เกิดขึ้นในองค์กร  วัฒนธรรมภายในองค์กรเปลี่ยนจากวัฒนธรรมที่ซึมเศร้าต่างคนต่างอยู่รอ early  ครูดีดีจะ early  กันหมด  เพราะวัฒนธรรมในองค์กรขณะนี้มันซึมเศร้า เบื่อหน่าย  ผมอยากให้วัฒนธรรมตัวนี้มากระตุ้น ผลักดัน ขับเคลื่อนจากภายใน อีกตัวหนึ่งเป็นตัวที่กระทรวงศึกษาน่าจะใช้ตัวนี้เป็นตัวพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา  ตัวนี้เป็นตัวหัวใจ KM เป็นการพัฒนาตนเองโดยตนเอง  ในประเทศไทยในขณะนี้แม้แต่สถาบันศึกษาหรือสถาบันอะไร จัดการพัฒนาตนเองโดยให้คนอื่นมาพัฒนาทั้งนั้น วันนี้มีอีก 80 เปอร์เซ็นต์ตั้งใจจะเอามาม่าจาก สคส.  พอมาเห็นเขาทำไม่ได้เรื่อง เดินกลับ  มองระดับที่ความคิดที่นับว่าผิด  วันนี้ไม่มีสูตรสำเร็จขึ้นอยู่กับบริบทขึ้นอยู่กับสภาพต่างๆ มีตัวแปรมาก เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องไปปรับเอง  เป็นตัวที่สำคัญ เพราะฉะนั้นวันนี้คนที่นั่งอยู่ที่นี่เป็นคนที่มีพรแสวงทั้งนั้น จะพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ  ผมอายุ 62 แล้วจะต้องอ่าน กลับไปต้องอ่าน ทำให้ตนเอง และต้องสอนหนังสืออยู่ รู้เพราะสอนปริญญาโทอยู่ เพื่อไม่ให้ตกตลาดความรู้
         ทีนี้มาดูที่กระบวนการ  เมื่อพระหยิบตาลปัตรขึ้นมา บางวัดมีคำว่า  ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น  สิ่งนี้เป็นกระบวนการหรือไม่ อันไหนเป็นกระบวนการ ไปไม่กลับก็คือตาย หลับไม่ตื่นก็คือตาย  พื้นไม่มีก็คือตาย  หนีไม่พ้นก็คือตาย   แต่เกิดเป็นขั้นที่หนึ่ง แก่  เจ็บ  ตาย เป็นขั้นเป็นตอนมีวัตถุประสงค์  อาจารย์ทั้งสิบท่านเป็นผู้ที่ยอดเยี่ยม อ.ชัยวัฒน์ บอกชัดว่าเด็กทุกคนกำหนดเป้าหมาย  เพราะฉะนั้น KM บอกชัดว่า จะทำอะไร เพื่ออะไร    จุดที่สองค้นหาความรู้ที่ไหน จัดการความรู้อย่างไร อย่างเช่น อ.ศิริพงษ์ ให้เด็กจัดการโดยจากภูมิปัญญาของผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่ผู้เสนอทั้งสิบคนจะต้องเสนอเพื่อสร้างขึ้นมาให้ได้ ทำให้เด็กกระตือรือร้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้  เห็นความสำคัญเห็นคนไม่เก่งอยู่กับคนเก่ง  เอาคนไม่เก่งแสดง ตัวนี้เป็น high light ที่อยากฝากไว้ว่าเป็นฝีมือ เพราะสื่อที่ดีคือกิจกรรมที่ดี  จะต้องไปซื้อสื่อทำไม อยากให้ software  อยากให้ KM เป็นตัวที่แสดงฝีมือของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน   ตัวที่สามตัวที่เป็นตัวกลั่นกรองความรู้อยากคัดเลือกลงไปที่ตัวเด็ก  เมื่อ brainstorming ออกมามาก   ถามว่าเด็กจะเลือกบริโภคที่ไหน  ตรงนี้ความรู้ที่เด็กรู้แล้วเอาออก ความรู้ที่เด็กไม่รู้ทำอย่างไร เอาออก  แล้วเด็กจะเทียบได้อย่างไร  ให้ดูจาก tacit knowledge  เทียบกับ explicit เทียบกับตำราและทฤษฎีต่างๆ เด็กจะได้รู้จักวิเคราะห์ กับสิ่งต่างที่ได้รู้ขึ้นมา จะได้อัพขึ้นไปเลยเป็นองค์ความรู้ เพราะว่าสุดยอดอยู่ตรงนี้เหมือนกันว่า คือตัวคัดเลือกกลั่นกรองความรู้ที่ออกมา จะทำอย่างไร ที่จะเขาให้คัดเลือกในความรู้ตรงนี้   ตัวต่อไปคือตัวการจัดระบบ  เด็กจัดระบบ มีขั้นตอน  แล้วเอาไปเผยแพร่ ติดบอร์ด จุก เปีย โก๊ะ จะล้วงกระเป๋าดูว่าของเขาได้ขึ้นบอร์ด เพราะแล้วมาจะเป็นสมศรี มลฤดี และแอนขึ้นบอร์ด  ทำอย่างไรที่ได้เผยแพร่ ลงในจดหมายข่าว นี้เป็นตัวสำคัญ ตัวต่อไปเอาไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ แล้วเก็บเป็นแหล่งของมหิดลสุดยอดศูนย์วิทยบริการ ตัวสุดท้ายอยากให้มีการประเมินกับสิ่งที่เกิดกับการเรียนการสอนว่า เด็ก growth หรือไม่  ขั้นแรกก่อนเรียนระดับนี้ แล้วมีพัฒนาอย่างไร โดยสรุปแล้ว KM จะช่วยปฏิรูปการเรียนการสอน ก็คือการศึกษา ผมเองก็เกษียณแล้ว ขอชื่นชมและมีความหวังกับการศึกษาชาติ

นายแพทย์ชาตรี  เจริญศิริ: ผู้ทรงคุณวุฒิ  โรงพยาบาลน่าน 
         ขอกราบสวัสดีครูบาอาจารย์ทั้งหลายครับ หน้าที่ของผมคือจะคลี่ให้ดู  สิ่งแรกจะคลี่คือ fact  หรือความจริงที่สัมผัส ตอนนี้มีคนแน่นมีเก้าอี้ว่าง ประมาณ 20 ตัว  ในห้องประชุมนั้นมีเก้าอี้ 300 ตัว มีผู้ลงทะเบียน 245 คน ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นภาคสาธารณสุข นอกนั้นเป็นครูบาอาจารย์  ผมเป็นตัวแทนคนกลุ่มน้อย  สภาพแสงในห้องนั้นน้อยไป  ทรมานคนแก่ ผมต้องเอาแว่นมาใส่เช่นกัน และเห็นว่าประมาณครึ่งห้องจดเช่นกัน ผมได้บันทึกไว้ด้วยวิธีโดยเจ้าของกรณีได้ยกขึ้นบ่อย ด้วยวิธีการ mind map เป็นเรื่องที่แปลกว่าผู้ที่อยู่ในห้องประชุมนี้ใช้ mind map  มีน้อย  ทั้งที่เรื่องเล่าเป็นที่กระจัดกระจาย   เสียดายเลขตัวเล็กไปหน่อยผมพยายามพูด10 กรณีเป็นเรื่องเดียวกัน  ลองยกตัวอย่างว่าถ้าเป็นเรื่องเดียวกันว่าจะตั้งชื่อตอนว่าอย่างไร
 เริ่มแรกว่า ความรู้นั้นลิ้มลองได้  ใช่ไหมครับเริ่มต้นจากส้ม,  เรื่องที่สองรักต้องมาก่อน เรื่องนี้ผมก็ชอบ  สิ่งแวดล้อมรอบโรงเรียนคือตำรา  inquiry ติดตามอยากรู้ สัญชาตญาณให้เกิดการเรียนรู้  นี่คือตัวอย่างจะสอนทั้งหมด จะสอนแบบแนะ และมีขุมความรู้ด้วย  inspire  โดยครู   คือครูเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ หรือหาโจทย์มากระตุ้นความคิด เริ่มจากกองขี้ควายถ้าคิดไม่ออกก็เอามือซุกกองขี้ควาย   หรือการสร้างสภาวะให้เกิดการเรียนรู้ มันมีจุดพลิกผันจากกะลาครอบเป็นกะลาหงายทันที   นี่คือตัวอย่างของการที่เราจะไปบันทึกเรื่องเล่าอย่างสนุกสนาน การบันทึกเรื่องเล่าเหล่านี้เกิดจากที่เราอยากบันทึก ตัวอย่างเช่นคุณแม่ของแดจังกึมก็บันทึกไว้แล้วซุกไว้ที่เหนือเตาไฟ  สองวันก่อนมาที่นี่ในโรงพยาบาลน่านมีการสัมมนาเรื่องการจัดการความรู้ในกลุ่มพยาบาลที่อยากทำวิจัย ถามว่าทำอย่างไรหมอชาตรีจึงทำงานวิจัยการจัดการความรู้ได้ ผมจึงขอเปลี่ยนว่าการจัดการความรู้ทำที่ไหนก็ได้ เราใช้แดจังกึมเป็นตัวดำเนินเรื่องของการจัดการความรู้ มีตอนสอง ตอนสาม สนุกมาก ของเขามี 70 ชั่วโมง  ของโรงพยาบาลน่านมีร้อยตอน

         นี่ตัวอย่างทำให้เกิดความสนุกสนานได้  ผมขอ high light อะไรบางอย่าง เนื่องจากการบันทึกด้วย mind map นั้น อาจจะบันทึกเรื่องราวไม่หมด แม้ว่าพยายามจะจัดหมวดหมู่ว่าองค์ประกอบของการเล่าเรื่องเป็นอย่างไร การเล่าเรื่องอย่างทรงพลังเป็นอย่างไร เรื่องราวเป็นอย่างไร บรรลุเป้าหมายประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้หรือไม่ หรือ entry  point  จุดเข้า ตอนหลังเห็นข้อจำกัดเลยทำอีกวิธี ที่เรียกว่าเพชรที่พบ นี่เป็นตัวอย่างที่สามารถบันทึกในสิ่งที่กระจัดกระจาย แต่สามารถที่จะไปเล่าต่อได้  มีคำว่า ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น พื้นไม่มี หนีไม่พ้น เรื่องของความรู้นี้ยาวกว่านี้เยอะ  ในเพชรที่พบยังไม่ได้หยิบยก case ยกตัวอย่างว่าท่านอาจารย์ท่านหนึ่งใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแกน  ผมเติมไว้นิดหนึ่งว่า งอกเพิ่มด้วยลีลาของผู้สอนทำให้ลิ้มลองได้ ผมอธิบายถูกนะครับไม่งั้นช็อคโกแลตข้างในอาจจะขมก็ได้  เด็กเห็นแล้วก็ไม่อยากกิน เรื่องของโรงเรียมหิดลไม่ได้สำคัญที่ครูสอนน้อยลงและแนะไว้มากขึ้น

         สำคัญที่ขุมความรู้ ถ้าไม่มีการลิขิตไว้ขุมความรู้ที่อยู่หายเกลี้ยงไปหมด เรื่องที่สามเป็นเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ คำนี้เป็นคำใหญ่มาก บริษัททรูใช้คำว่า being  inspire  ได้รับแรงบันดาลใจอย่างแรง  แต่ไม่แน่ใจ pattern ของการเล่า ไม่ได้เนื้อหา บางทียังงงว่าอาจารย์สอนเรื่องอะไร และไม่มีใครสักคนที่เล่าถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เด็กสอบได้ที่เท่าไร ไปเอนทรานซ์ที่ใด เกือบทั้งหมดเล่าวิธีการ กระบวนการและความประทับใจ และท่านใช้เวลามากคือเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร ถ้าเราสามารถจำลองตลาดนัดแบบนี้ไว้ในห้องเรียน เราก็คงไม่เริ่มต้นจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและไม่ได้เริ่มต้นที่เนื้อหาก่อนด้วย ผลพวงคือครูได้ไปเรียนอะไรใหม่ๆ มา บางเรื่องครูก็เพิ่งรู้ บางเรื่องครูไปทดลองทำก่อนจึงไปถ่ายทอด  แต่เรื่องจุดพลิกผันนั้น ในหนังสือที่แจกไว้ในถุงผ้าเรื่องถักทอสายใยความรู้เล่มล่าสุด เขียนโดย Malcolm Gladwell ชื่อ Tipping Point (จุดพลิกผัน: เรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ได้อย่างไร) ผมไม่ได้เป็นคนแนะนำ คนที่แนะนำคืออาจารย์กรกฎ แต่เรื่องนี้ผมเป็นคนอ่านเมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว เราจะทำเรื่องที่เราถ่ายทอดให้เหนียวหนึบเหมือนกับหมากฝรั่งที่ติดก้นกางเกงได้อย่างไร เล่มนี้ถ้ายังไม่ได้อ่านภาคภาษาอังกฤษก็ลองไปอ่านนะครับ  หนังสือถักทอสายใยความรู้ที่อยู่ในถุงผ้า มีอยู่สองหน้ารับรองว่าจะเหนียวหนึบ  ถ้าเกิดว่าสิ่งที่เล่าไปยังพอจะมีประโยชน์และยังเหนียวหนึบอยู่บ้างตอนบ่ายค่อยพบกัน แบบเหนียวๆ หนึบๆ แล้วกัน  เท่านี้ก่อนนะครับ
 
ดร.ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ :
       เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าที่จริงออดนานแล้ว แต่ห้องเราเป็นห้องที่เหนียวหนึบจริงๆ  ภาคบ่ายนี้อยากจะขอเรียนเชิญท่านมาพบกันอีกครั้งหนึ่ง อยากจะนัดหมายท่านเรื่องเวลา ขอพบท่านในเวลา 13.30 น.  ขอเรียนเชิญท่านรับประทานอาหารอย่างมีความสุขครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15884เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รู้สึกชื่นชมในความสามารถของ"คุณลิขิต"และ"ทีมงาน สคส." ทุกท่าน ในงานมหกรรมการจัดการความรู้ครั้งที่ 2 และหวังว่าคงได้พบกันอีกในเดือนธันวาคม 2549 นี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท