คุณสังวาลย์ กันธิมา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอคลองขลุง มีประสบการณ์ในการทำงานมากว่า 20 ปี ปัจจุบันรับผิดชอบ 2 ตำบล เป็นอีกท่านหนึ่งที่ทีมงานได้เชิญมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (ลิงค์ดูรายละเอียด) ซึ่งคุณสังวาลย์ได้เล่าถึงหลักและเทคนิคการทำงานในพื้นที่ให้แก่น้องๆ นักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ดังนี้
-
ในเบื้องต้นจะต้องมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นที่ ที่เราจะเข้าไปทำงาน เช่น ทะเบียนข้อมูลเกษตรกร หรือข้อมูลต่างๆ เป็นต้น
-
ต้องมีการจัดทำแผนการทำงาน แผนการเรียนรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล
-
การทำงานเมื่อดำเนินการเสร็จและ ต้องมีการประเมิน และรายงานผลการปฏิบัติงาน
-
ต้องทำงานทั้งในพื้นที่ และในสำนักงาน โดยการประสานกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง
-
ต้องเข้าพื้นที่ หรือการดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ และมีการจัดเก็บข้อมูลผู้มารับบริการไว้ด้วย
-
เน้นการทำงาน โดยการประสานงานกับ อบต.และหน่วยงานต่างๆ
-
ในการทำงานหากมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ต้องแบ่งหน้าที่ให้คณะทำงานของศูนย์ฯ เข้าร่วม เช่น การประชุมร่วมในพื้นที่ เป็นต้น
-
ในเบื้องต้นต้องทำงาน/ประสานงานกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ก่อน และพัฒนากิจกรรมไปสู่การสนับสนุนจาก อบต.
และสุดท้ายยังได้ย้ำใน 3 ประเด็น คือ 1) ต้องมีแผนพัฒนาการเกษตรที่ชัดเจน 2) มีแผนพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของพื้นที่ และ 3) ต้องมีกลุ่มอาชีพที่จะเข้าไปร่วมทำงานด้วย
เป็นเรื่องเล่าของคุณสังวาลย์ กันธิมา ที่ผมสรุปได้ในวันนี้ และน้องนักส่งเสริมมือใหม่ ได้สอบถามและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างหลากหลาย เพราะว่าทุกคนได้ลงพื้นที่มาระยะหนึ่งแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประสานงาน และการค้นหากลุ่มที่จะเข้าไปทำงาน
วีรยุทธ สมป่าสัก 16/02/49