การบริหารความขัดแย้ง


ในองค์กรซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก ย่อมมีความคิดแตกต่างกันเป็นธรรมดา แต่ถือเป็นการวัดความสามารถของผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง ว่าจะมีศักยภาพในการบริหารความขัดแย้งอย่างไร เพื่อให้เกิดความขัดแย้งแบบสร้างสรรค์ เป็นโอกาสพัฒนาองค์กรต่อไป

   

 

        เมื่อเราหมดกำลังใจหรือกำลังท้อแท้ ปัญหาเกิดจากอะไร ?

 

   แน่นอนว่ามันต้องเกิดความขัดแย้งในใจของเรา ทั้งที่ทำงานหรือที่บ้าน แต่ละคนล้วนมีทางแก้ไขปัญหาแตกต่างกันไป แต่บางคนแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ย่อมเป็นปัญหาต่อไป แต่ปัญหาในองค์กร นั้นบางท่านถึงกลับโบกมือบ๊าย บาย ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม เดี๋ยวก็ชินเอง หรือ ปล่อยให้กาลเวลาลบเลือนมันไป แล้วคุณแก้ปัญหากันอย่างไร

 

     มีหลายสถาบันพูดเป็นคอร์สกันเลย เรื่อง การบริหารความขัดแย้ง นับว่าน่าสนใจดีค่ะ บางท่านก็ปวดหัวไปเลย แค่ปัญหาตัวเองก็เอาไม่รอด แล้วไหนจะต้องมาดูองค์กรอีก

 

 

    ความขัดแย้ง ก็คือ การไม่เห็นด้วยในแนวความคิดซึ่งกันและกัน เห็นไม่สอดคล้องกัน หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจงใจกระทำ เพื่อที่จะขัดขวาง หรือแทรกแซงความพยายามของบุคคลอื่นให้บรรลุเป้าหมาย  ซึ่งเกิดได้ทุกที่

 

       ข้าพเจ้าเคยได้ยินเรื่อง การประเมินสมรรถนะแบบ 360

องศา มาคราวนี้ข้าพเจ้าได้ยินเรื่อง การบริหารความขัดแย้งแบบ 360 องศา ของท่านอาจารย์ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี น่าสนใจทีเดียวค่ะ

 

  กล่าวไว้ว่า การบริหารความขัดแย้ง 360 องศา เป็นแนวคิดใหม่  กล่าวคือ จากเดิมที่ฝ่ายตั้งรับก็เปลี่ยนเป็นฝ่ายรุกแทน   (proactive approach)  การรุกเป็นการสร้างกำแพงป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แต่เราก็ไม่ลืมเปิดประตูเล็ก ๆ เพื่อให้ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรขึ้นมาบ้าง  

 

                                               

 

    ผู้บริหารจำเป็นต้องมี ประสบการณ์และความคิดเชิงหยั่งรู้ (intuitive thinking) โดยผ่านสัญชาตญาณ (instinct)ประกอบกัน

 

   ความขัดแย้งในองค์กร  สามารถเกิดได้ทุกระดับ ด้วยเหตุนี้จึงต้องวิเคราะห์ดังนี้ คือ

 

1.หาสาเหตุที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร เช่น ดูแผน นโยบาย ว่าแผนเป็นไปตามหรือไม่ มีปัญหาด้านงบประมาณที่ขัดแย้งกับแผน ? ควรชี้แจ้งให้แต่ละฝ่าย ทราบที่มาของงบประมาณ ความเหลื่อมล้ำ

 

2.เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต  ต้องนำปัญหามาวิเคราะห์เสมอ เพราะ ถึงแม้จะเปลี่ยนแปลงไป แต่ใช่ว่าปัญหาที่เคยเกิดจะไม่เกิดในครั้งนี้ ควรทบทวน

 

3.วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มในองค์การของตน  ผู้บริหารควรดูว่ากลุ่มในองค์การมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด มีใครตั้งแง่ความคิด หรือพฤติกรรมที่มีผลเสียกับองค์กร ซึ่งต้องหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ และหาแนวทางป้องกันแก้ไข แต่หากเป็นแผนกที่บุคคลมีความสามารถสูง ก็สามารถใช้ความขัดแย้งมาใช้ในเชิงสร้างสรรค์ได้

 

   ในองค์กรซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก ย่อมมีความคิดแตกต่างกันเป็นธรรมดา แต่ถือเป็นการวัดความสามารถของผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง ว่าจะมีศักยภาพในการบริหารความขัดแย้งอย่างไร เพื่อให้เกิดความขัดแย้งแบบสร้างสรรค์ เป็นโอกาสพัฒนาองค์กรต่อไป

 

                                         

 

 

หมายเลขบันทึก: 158019เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2008 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กรณีของความขัดแย้งเกิดขึ้น ถ้าใช้หลัก KM วิเคราะห์ หมายถึง การไม่มี deep listening ในระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

ถ้าใช้ deep listenung จะไม่เกิดความขัดแย้งแน่นอน 

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ

- ยินดีที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับท่าน ทุกองค์กรย่อมปรารถนาไม่ให้มีความขัดแย้ง

- หากเราฟังdeep listening ข้าพเจ้าอาจไม่แตกฉานเรื่อง KM เท่าไหร่นัก แต่หากผู้ฟังยังขาดการหยั่งรู้ สติ การกลั่นกรองซึ่งเหตุผล การยอมรับฟังผู้อื่น ย่อมเกิด"สติแตกตามมา"

- ข้าพเจ้าชื่นชมท่านขงเบ้ง ผู้ซึ่งเหนือกว่าผู้อื่น คือ สติ ท่านสามารถทำให้คนอกแตกตายได้เพราะ "สติ" คนเราต่อให้เหนือฟ้าเท่าไหร่ ก็ย่อมมีฟ้าที่เหนือกว่า

เราพึงระลึกเรื่อง "เหนือฟ้ากับมีฟ้า" และ"เจริญสติ" เพื่อให้"รู้สติ" ของตน

คนเราทุกคนมีส่วนลึกของใจที่ไขว่คว้าอยู่   การทำความเข้าใจตนเองว่า ส่วนลึกในใจกำลังเป็นอย่างไร นั่นแหละคือสติ

ในที่นี้ ความหมาย ของ สติ คือ การรู้ตน

การมี deep listening ได้ต้องใช้สติ

การรู้ตนนั้นเพื่อให้ตนพร้อมต่อการมีปฏิสัมพันธ์เชิงลบจากผู้อื่น พร้อมต่อการเตือนตนไม่ให้หลุด ไหลตามไปมีปฏิสัมพันธ์เชิงลบตอบ 

เมื่อ deep listening  เกิด เราจะสัมผัสใจผู้อื่นและเข้าใจผู้อื่น แม้ผู้นั้นจะมีปฏิสัมพันธืเชิงลบต่อเรา

 

ขอบคุณอาจารย์

- ที่ช่วยเตือนสติ และเพิ่มความรู้ด้าน deep listening

- ขอบคุณค่ะอาจารย์

  • การบริหารความขัดแย้งที่ดีที่สุดคืออย่าให้เกิดความขัดแย้งคะ...
  • เพราะถ้าเกิดขัดแย้งแล้วผู้ใหญ่มี ego สูงจังเลยคะ ยากจนถึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้กับมาทำงานร่วมกันได้  กบพูดในแง่ของการปฏิบัตินะคะ
  • ถ้า deep listening คือเรื่องเดียวกับสุนทรีย สนทนา ก็คงเริ่มยากอีกเช่นกันในคนที่ไม่มองหน้ากัน...เหนื่อยคะงานนี้

สวัสดีค่ะ

-แล้วแต่มุมมอง หากเราไม่เจออุปสรรคหรือปัญหาเราย่อมไม่เติบโตและเข้มแข็ง

-คนเราย่อมอดทนแต่ความยากลำบาก เพื่อจะได้ไม่ลำบากหรือขื่นขมในอนาคตค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

-แล้วแต่มุมมอง หากเราไม่เจออุปสรรคหรือปัญหาเราย่อมไม่เติบโตและเข้มแข็ง

-คนเราย่อมอดทนแต่ความยากลำบาก เพื่อจะได้ไม่ลำบากหรือขื่นขมในอนาคตค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท