เฮ้ย นี่มัน ERP นี่นา


ในกระบวนการทำธุรกิจหนึ่ง ๆ หัวใจสำคัญคือ ลูกค้า โดยการที่จะทำให้ลูกค้าเหล่านั้น สนใจตัวสินค้าหรือบริการของเรานั้น เราต้องคำนึงถึง สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด นั่นคือ ความพึงพอใจ นอกจากความพึงพอใจในตัวสินค้าแล้ว ยังมี การบริการ ที่เป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งในกระบวนการธุรกิจ การบริการที่ดี ต้องมี ความถูกต้อง รวดเร็ว มากที่สุด ในแต่ละขั้นตอนของธุกิจก็จะมีฝ่ายต่าง ๆ คือ 1.ฝ่ายการตลาด 2.ฝ่ายผลิตฝ่ายจัดการวัตถุดิบ 3.ฝ่ายบัญชีการเงิน 4.ฝ่ายบุคคล โดยทั้ง 4 ฝ่ายนี้ ต่างมีส่วนร่วมในกระบวนการธุรกิจทุก ๆ ประเภท สมมติว่า บริษัทผลิตไม้แปรรูป ก็ต้องการขายสินค้าของตนให้ได้มากที่สุด ก็ต้องมีการวางแผนการขายล่วงหน้า การสำรวจความต้องการของลูกค้า( ฝ่ายการตลาด ) ,บริษัทนี้จะนำไม้ชนิดต่าง ๆ เข้ามาในกระบวนการผลิต และทำการแปรรูปในขั้นตอนของโรงงาน( ฝ่ายผลิตและจัดการวัตถุดิบ ) โดยภายในโรงงานนั้น ๆ ก็จำเป็นจะต้องมีคนงานคอยดูแลควบคุมการผลิต ( ฝ่ายบุคคล ) ยอดขายรวมถึงกระแสเงินรายรับรายจ่ายรวมถึงค่าจ้างของพนักงาน( ฝ่ายบัญชีและการเงิน ) ข้อมูลที่หมุนเวียนภายในบริษัท ไม่ว่าจะเป็น จำนวนสินค้าที่ตลาดต้องการ, ชนิดไม้ที่ตลาดต้องการ, จำนวนวัตถุดิบที่สั่งซื้อเข้ามา , รายรับ-รายจ่าย , จำนวนคนงานภายในบริษัทฯ ต่างก็มีความสำคัญต่อฝ่ายนั้น ๆ รวมถึงต่างฝ่ายกันด้วย ( เช่น ฝ่ายผลิตต้องการข้อมูลของรายการสินค้าที่ลูกค้าสั่งเข้ามาจากฝ่ายการตลาด ) ในอดีตนั้น แต่ละครังที่มีการส่งข้อมูลกันระหว่างฝ่าย จะต้องมีการพิมพ์ออกมาในรูปแบบเอกสารเพื่อที่จะส่งต่อให้อีกฝ่ายหนึ่งนำไปป้อนเข้าฐานข้อมูลของตัวเอง ทำในเกิดความล้าช้า รวมทั้งอาจจะก็ให้เกิดความผิดพลาด จนเมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทภายในสังคมมากขึ้น จึงมีความคิดที่จะพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่ฐานข้อมูลส่วนกลาง ฝ่ายใดต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถดึงออกไปใช้ได้ ระบบนี้มีชื่อว่า ERP ( Enterprise Resource Planning ) โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีรูปแบบการใช้งานที่ครอบคลุมทุก ๆ ฝ่ายการทำงานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของกระบวนการธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาส่วนเพิ่ม add-on และการทำงานบนหลาย ๆ ระบบปฏิบัติการเพื่อความยืดหยุ่นของตัวโปรแกรมเอง โปรแกรมนี้ยังมีส่วนพิเศษคือ เราสามารถเลือกโปรแกรมการทำงานเพียงบางส่วนที่เหมาะกับลักษณะบริษัทหรือองค์กรที่เราต้องการจัดการได้ เพราะบางบริษัทอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีฝ่ายโรงงานควบคุมการผลิตก็ได้ นับว่า ERP เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถครอบคลุมกระบวนการธุรกิจได้ดีระบบหนึ่งทีเดียว

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15768เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท