สวนลำใย ส้มโอ


ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม
สวนลำใย ส้มโอ  1. เรื่องที่ศึกษา รวบรวม           การทำสวนลำใย 2. ที่ตั้ง          เลขที่ 84  .4  ตำบลบางนางลี่  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม 3. ประวัติความเป็นมา                                 ในปัจจุบัน สังคมไทยมีการพัฒนาขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและในโลกยุคโลกาภิวัตน์ สมุทรสงครามเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและกสิกรรม ได้แก่ การทำสวนมะพร้าว การทำสวนผลไม้ ลิ้นจี่ ส้มโอ กล้วย พืชผักต่างๆ และทำประมง แต่ในปัจจุบันจำนวนประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและกสิกรรมได้ลดจำนวนลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เปลี่ยนชุมชนชนบทมาเป็นชุมชนเมือง เปลี่ยนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและกสิกรรมมาเป็นอาชีพอื่นมากขึ้น         

                                คุณพัชลี พิทักษ์เกิด อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 84 หมู่ 4 .บางนางลี่ อ.อัมพวา              .สมุทรสงคราม การศึกษา จบชั้น ป.7 มีสามีชื่อ คุณบุญมา พิทักษ์เกิด อายุ 46 ปี จบการศึกษาชั้น ป.7 เช่นเดียวกัน ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นพนักงานสหกรณ์ประมงแม่กลอง มีรายได้ 7,500 บาท/เดือน ครอบครัวของคุณพัชลี มีบุตร 2 คน ชื่อ นายอมร พิทักษ์เกิด อายุ 17 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.5 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย และ ด..พงษ์เทพ พิทักษ์เกิด อายุ 10 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้น ป.5 โรงเรียนวิริยะ

คุณพัชลี ประกอบอาชีพทำสวนลำใยและส้มโอมานานประมาณ 6 ปี ซึ่งก่อนที่จะมาทำสวนลำใยและส้มโอ เคยทำสวนมะพร้าวและทำน้ำตาลมะพร้าวมาก่อน แต่ได้ผลผลิตไม่ดีจึงหันมาปลูกลำใยและส้มโอบนพื้นที่ 3 ไร่ ส่วนอีก 2 ไร่ยังคงปลูกมะพร้าวอยู่ โดยเก็บผลขายเพียงอย่างเดียว ลำใยที่ปลูกเป็นพันธุ์อีดอ ส่วนส้มโอเป็นพันธ์ขาวใหญ่

 

พื้นที่เพาะปลูกของคุณพัชลี อยู่ติดกับลำกระโดงซึ่งแยกมาจากคลองบางแค สภาพน้ำเป็นน้ำจืด มีประตูน้ำซึ่งสร้างไว้สำหรับปิดเปิดเพื่อกักน้ำตามความต้องการของพืชที่ปลูกเพราะสวน ลำใยต้องการน้ำมาก การบำรุงรักษาดินคุณพัชลีเล่าให้ฟังว่า ใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ รวมถึงการใช้

ซากพืช ได้แก่ ต้นไม้ต้นหญ้าที่ดายแล้วทิ้งไว้บนพื้นดินเพื่อเป็นปุ๋ยธรรมชาติอีกทางหนึ่ง แต่จะไม่ดายหญ้าให้โล่งเตียน เพราะต้องอาศัยพืชอื่นให้มีปกคลุมดินเพื่อรักษาหน้าดินตามธรรมชาติไว้ ปุ๋ยเคมีที่ใช้จะเป็นสูตร 17 17 17 ส่วนปุ๋ยชีวภาพจะมีทั้งสูตรเร่งการออกดอก-ไข่ สูตรเร่งโตผลเล็กขั้วเหนียว สูตร

ซุปเปอร์สมส่วน คุณพัชลีเล่าว่า เธอได้รับความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพมาจากการฟังรายการวิทยุของทหารชื่อ พท.วีระ ใจหนักแน่น ใช้ชื่อรายการว่า คิม ซา กิดรายการวิทยุเล่าถึง คุณวันเพ็ญ สนลอย เป็นเกษตรกรทำสวนทุเรียน ซึ่งประสบปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทำสวนทุเรียนจนแทบหมดตัว แต่ก็ต่อสู้หลังจากได้ฟังรายการวิทยุแห่งนี้ เก็บข้อมูลมาศึกษาปรับปรุงลองผิดลองถูก จนสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพสูตรต่างๆ มาจำหน่ายให้เกษตรกร โดยตั้งเป็นชมรมชื่อว่า ชมรมสีสันชีวิตไทยและสวนวันเพ็ญพันธุ์ไม้ผู้ผลิตตั้งอยู่ที่ 62/1 .5 .ไม้เด็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25230 โทร 037-405026 , 08-1803-4930 จากนั้นคุณพัชลีจึงติดต่อเพื่อหาซื้อปุ๋ยชีวภาพดังกล่าวซึ่งมีจำหน่ายที่เรือนจำจังหวัดสมุทรสงคราม เริ่มใช้มานาน 2 ปีแล้ว ได้ผลผลิตดี เพราะปุ๋ยชีวภาพดังกล่าวมีส่วนผสมที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงดิน บำรุงพืช เช่น สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พืชหมัก กวาวเครือขาว ทำให้ขั้วเหนียว ดอก เมล็ด ผลสุกจากธรรมชาติ สาหร่าย ไข่ นม ช่วยเร่งให้ออกดอกเร็วขึ้น ดอกแข็งแรงและสมบูรณ์    นอกจากนี้คุณพัชลียังบอกสูตรทำปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วยให้ทราบอีก มีวิธีทำคือ เอาหน่อกล้วย     มาสับ ใส่รำข้าวงลงไป 1 กิโลกรัม เติมน้ำตาลเคี่ยวไหม้ลงไป หมักเข้าด้วยกัน แล้วเติมโยเกิร์ตหรือนม ใช้รดน้ำต้นไม้ได้ดีมาก

 

คุณพัชลีได้ศึกษาวิธีการควบคุมการออกผลผลิตของลำใยเพื่อให้มีผลผลิตสำหรับเก็บได้ตลอดปีและไม่ให้ตรงกับผลผลิตลำใยของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งจะออกราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพราะหากให้ผลผลิตออกมาตรงกับลำใยเชียงใหม่ ผลผลิตของคุณพัชลีจะจำหน่ายสู้กับผลผลิตลำใยจากเชียงใหม่ไม่ได้ จึงต้องคิดวิธีการควบคุมการออกผลผลิตของลำใย โดยปกติลำใยจะออกผลปีละ    1 ครั้ง สวนลำใยของคุณพัชลี ปลูกลำใยไว้ 56 ต้น จะแบ่งลำใยออกเป็นโซนๆ ละ 10 ต้น หมุนเวียนกันออกผลผลิต โดยการดูแลบำรุงดิน บำรุงต้น ใส่ฮอร์โมนไข่ เร่งการออกดอก ซึ่งทำให้คุณพัชลีมีงานทำตลอดทั้งปี เพราะคุณพัชลีไม่ได้จ้างแรงงาน ทำอยู่คนเดียว มีสามีและลูกช่วยบ้างหากมีเวลาวางจากการทำงานและในช่วงปิดเทอม จากการคิดค้นวิธีการควบคุมการออกผลผลิตสามารถทำให้คุณพัชลีมีลำใยออกจำหน่ายได้ตลอดปี ส่วนส้มโอมีอยู่ประมาณ 100 ต้น ใช้การดูแล บำรุงดิน และบำรุงต้นตามปกติ ไม่ต้องมีการควบคุมการออกผลผลิต โดยปกติคุณพัชลีสามารถเก็บส้มโอจำหน่ายได้เฉลี่ยต้นละ 3 ผลต่อเดือน

 

การเก็บผลผลิตลำใยและส้มโอเพื่อจำหน่าย เมื่อผลผลิตโตเต็มที่พร้อมจำหน่าย      คุณพัชลีจะเก็บลำใยใส่เข่งๆ ละ 25-30 กิโลกรัม นำมาขายให้กับแม่ค้าในตลาดแม่กลองในราคากิโลกรัมละ 25 บาท ส่วนส้มโอหากมีน้ำหนักผลละ 2 กิโลกรัมขึ้นไป จะขายตามน้ำหนักกิโลกรัมละ 15 บาท หากน้ำหนักน้อยกว่า 2 กิโลกรัม จะขายเป็นผลราคาผลละ 7-15 บาท คุณพัชลีเล่าว่า ผลิตลำใยเก็บครั้งหนึ่งจะจำหน่ายได้ประมาณ 50,000 บาท ส่วนส้มโอเก็บผลผลิตครั้งหนึ่งจะได้ประมาณ 500-600 กิโลกรัม รวมรายได้ของสามีแล้วก็เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว เพราะที่ดินก็เป็นของตนเอง ไม่ได้จ้างแรงงาน แหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกก็มีตามธรรมชาติ รายจ่ายที่มีก็เป็นรายจ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ซื้อปุ๋ย และการศึกษาของบุตรเท่านั้น

 

4. องค์ความรู้ของเรื่องที่ศึกษา รวมรวม

                4.1 ด้านสาระ คุณค่า

-          การศึกษาวิธีการควบคุมการออกผลผลิตของลำใย เพื่อให้มีผลผลิตสำหรับการเก็บจำหน่ายได้ตลอดปี

-          วิธีการดูแลบำรุงดิน บำรุงต้น ให้แข็งแรง และออกผลผลิตที่มีคุณภาพ

-       การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทำเกษตรกรรมจากพ่อแม่ และมีการศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมในปัจจุบัน

-          การใช้ซากพืชเป็นปุ๋ย เป็นการใช้ธรรมชาติช่วยในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

-          สูตรการทำปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ไว้ใช้เอง และเผยแพร่ให้ผู้อื่น

4.2 ด้านการปฏิบัติ / จัดทำ / การผลิต

                คุณพัชลี ควบคุมการออกผลผลิตลำใยให้สามารถเก็บเพื่อจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี    โดยการแบ่งพื้นที่การปลูกและการดูแลออกเป็นโซนๆ ละ 10 ต้น และดูแลบำรุงดิน บำรุงต้น            ใส่ฮอร์โมนไข่ เร่งการออกดอก ซึ่งคุณพัชลีจะเป็นผู้ดูแลการเพาะปลูกเอง จนถึงการเก็บผลผลิตลำใยและส้มโอออกจำหน่าย

  5. การถ่ายทอด / สืบทอด / เผยแพร่ รวมทั้งการจัดเก็บความรู้

                คุณพัชลี ได้เล่าเรื่องราวการทำสวนลำใยและส้มโอให้กับผู้อื่นฟัง เป็นการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้อื่นรวมทั้งการไปศึกษาดูงานเพื่อรับความรู้ใหม่ๆ และการที่ผู้อื่นมาศึกษาดูงานจากสวนของเธอ ทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ไปยังผู้อื่นได้

 6. ลักษณะของความรู้

6.1 ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge)

                                -  ไม่มีการบันทึกข้อมูลในเอกสาร

6.2 ความรู้โดยนัย (Tacit knowledge)

1)    การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมในปัจจุบัน กล่าวคือ การคิดค้นหาวิธีการควบคุมการออกผลผลิตลำใยให้มีจำหน่ายได้ตลอดปี เพื่อให้มีงานทำและมีรายได้ตลอดปี และมีเวลาการดูแลบำรุงผลิตผล เนื่องจากทำเพียงคนเดียว

2)      วิธีการดูแลบำรุงดิน บำรุงต้น

3)      การทำปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์

4)      การมีประสบการณ์ ในการทำการเกษตรสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่

 

7. การพัฒนา / สร้างสรรค์ความรู้เพิ่มขึ้น

                7.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน

                7.2 การศึกษาดูงานนอกสถานที่

                7.3 การเข้าร่วมประชุม / อบรมต่างๆ

 

8. ผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้

                8.1 ทำให้ทราบว่าผู้ที่เป็นเกษตรกรต้องเป็นผู้ที่มีความรักในอาชีพ มีความขยัน อดทน และ สนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอเพื่อนำความรู้มาพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

                8.2  การศึกษาหาความรู้อยู่เสมอทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมได้

  9. ปัญหา อุปสรรค

                9.1 หาผู้สืบทอดอาชีพการทำเกษตรกรรมได้ยากในสังคมเมืองในปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้ความรู้ เทคนิคต่างๆ สูญหายไป

                9.2 สภาพสังคมเมืองมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ภูมิปัญญาด้านการทำสวนลำใย ส้มโอ ของ คุณพัชลี ไม่มีการสืบทอดต่อมายังรุ่นลูกหลาน

   

ชรินทร์      อุทกเวช

                                                                                               4930123100237

J J J J J J J J J

คำสำคัญ (Tags): #สวนลำใย ส้มโอ
หมายเลขบันทึก: 157078เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท