วิธีหาประโยชน์ เมื่อมีคนทำให้เราโกรธ Part I


วิธีหาประโยชน์ เมื่อมีคนทำให้เราโกรธ Part I

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ก่อนวันคริสต์มาส (หรือนัยหนึ่ง วันเลือกตั้ง) ผมจัด workshop Voice Dialogue สำหรับบุคลากรการแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. ผมได้เชิญวิทยากรคือ J'aime ona Pangaia ผู้เป็นครูสอน และทำ workshop voice dialogue มานานนับยี่สิบกว่าปี การที่เจมีมาประเทศไทยในครั้งนี้ ก็เพราะมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดคณะใหม่ คือ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education Centre) ที่นำการเรียนการสอนมิติใหม่มาสู่วงการการศึกษาของประเทศไทย และเจมีได้ทำ workshop ให้ครู อาจารย์ และผู้สนใจ เป็นเวลา 5 วัน ที่สมุทรสาคร ผลบุญที่มาในครั้งนี้ ผมเลยสามารถขโมยยืมตัวเจมีมาให้ ม.อ. ได้หนึ่งวัน

ปรากฏว่าเป็นการตัดสินใจที่คุ้มค่ามาก

เนื่องจากเจมีมีประสบการณ์ในการทำ workshop หลายระดับ ตั้งแต่เป็น facilitator เพื่อทำ personal workshop (สองต่อสอง เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความสัมพันธ์) ไปจนถึงทำเป็นกลุ่ม และในระดับ training for the trainer หรือ การพัฒนา facilitator ที่จะไปช่วยเหลือคนอื่นๆต่อไป  เธอจึงได้ปูพื้นฐานที่มีประโยชน์มากแก่พวกเราในครั้งนี้ ซึ่งมีทั้งอาจารย์แพทย์ อาจารย์พยาบาล หมอ พยาบาล นศพ. นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และเด็กอีกสองคน (ลูกผมเอง วิ่งไปวิ่งมาใน workshop)

ในสังคมของมนุษย์เรา ทั้งๆที่หลากหลาย แต่ก็มี "ราก" อะไรบางอย่าง ที่งอกเงยมาจากวิวัฒนาการเดียวกันมาแต่แรกเริ่ม ทำให้ใน "ความต่าง" ก็ยังมี "ความเหมือน" อยู่ นักจิตวิทยาสายของ คาร์ล จุง (Carl Jung) เรียกความเหมือนนี้ว่า "Archetype" ตัวอย่างเช่น ทุกๆสังคมจะมี holyman แต่ในบริบท ก็จะมีรูปร่างลักษณะไม่เหมือนกัน  บางที่ก็จะเป็นพระ เป้นนักบวช เป็นบาทหลวง เป็นอิหม่าม เป็นแรบไบ เป็นหมอผี แต่ทั้งหมดก็ hold archetype ของ holyman เหมือนๆกัน ถึงแม้ว่าจะนุ่งห่มไม่เหมือนกัน พูดคนละภาษา คนละความเชื่อ แต่ role to society เหมือนกัน

หรือทุกๆสังคมก็จะมี healer แต่อาจจะแปรตามบริบท เป็น หมอ หมอผี shaman หรือเป็น druid เป็นพระ เป็น witch wizard เป็นนักเล่นแร่แปรธาตุ คนเหล่านี้อาจจะแต่งตัวต่างๆนานา มีเครื่องมือเครื่องไม้ที่ไม่เหมือนกัน แต่บทบาทต่อสังคมก็คือ healer เหมือนกัน

ถ้าพูดให้เรียบง่ายก็คือ พอมนุษย์เกิดมาปุ๊บ มีของอะไรบางอย่างที่เป็น "คุณสมบัติพื้นฐาน" อย่างเดียวกัน และเราก็ปรับแต่งคุณสมบัติพื่นฐานนี้ไปตามภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง เหมือนกับการที่มนุษย์ทุกคนเกิดมาก็จะมี ตา หู จมูก ปาก ฯลฯ เป็นพื้นฐานมนุษย์ แต่ออกมา เติบโต เป็นปัจเจกบุคคลที่ไม่เหมือนกันเลยในภายหลัง แต่ ตา หู จมูก ปาก ก็ยังมีที่ใช้ที่เป็น "พื้นฐานเหมือนๆกัน" อยู่

Archetype เป็นเสมือน "อวัยวะทางจิต" ที่มนุษย์มีมาแต่กำเนิด และเราก็เกิดมาโดยมีอวัยวะ "ครบ" (เป็นส่วนใหญ่นะครับ)

การที่เราถูกใส่อวัยวะต่างๆลงมานี้ ไม่ได้เป็นโดยบังเอิญแต่เป็นมี "วัตถุประสงค์" ซึ่งเปิดเป็น free will หรือ ทางออกที่เลือกได้ของแตละปัจเจกบุคคลว่าจะใช้ หรือไม่ใช้ รวมทั้ง "อวัยวะทางจิต" หรือ archetype ด้วย

 (Disclaimer: อันนี้เป็นจิตวิทยาสายของจุง ซึ่งไม่เชื่อเรื่อง "บังเอิญ" แต่จะพูดถึง synchronicity ถ้าใครเกลียดจุงมากๆ ขอแนะนำให้หยุดอ่านบทความนี้ เพราะความดันท่านอาจจะขึ้นได้ขอรับ)

NEED, VULNERABILITY, AND POWER

อะไรล่ะ ที่เป็นวัตถุประสงค์ของอวัยวะต่างๆของเรา? สมดุลนั้น อาจจะมองเป็นดุลระหว่าง "ความเปราะบาง (vulnerability) และ พลัง (power)" และเกจวัดก็จะกลายเป็น "ความจำเป็น หรือความต้องการ (need)" นั่นเอง เช่น ถ้าความยากจนเป็นความเปราะบาง พลังก็คือเงิน หรือ ความสามารถในการหาเงิน สมดุลของทั้งสองก็จะกลายเป็นว่า เรามี "ความจำเป็น" เรื่องเงินมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น ตัวอย่างนี้เป็นสมดุลทางกาย แต่ในสมดุลทางจิต ก็มีเหมือนกัน เช่น ความเปราะบางเป็นความเงียบเหงา พลังก็จะเป็นการได้รับการยอมรับ ซูฮก เคารพ จากคนอื่นๆ ดังนั้น need ก็ออกมาเป็นในลักษณะเราจะ "ต้องการ" คนมาซูฮก เคารพ มากน้อยแค่ไหน เป็นต้น อย่าลืมว่าตรงนี้เป็นการรับรู้ทางจิต ไม่ใช่สภาวะทางกายภาพอีกต่อไป คนที่ดูเหมือนมีคนเคารพ ซูฮก เยอะอยู่แล้วในสายตาของคนนอก อาจจะมี need ที่จะมีคนเคารพ ยอมรับ ซูฮกมากอยู่ เพราะใน "สภาวะจิต" ของคนๆนี้ ยังไม่เพียงพอ เขายังเปราะบางเรื่องนี้อยู่นั่นเอง

Archetype ทางจิตนี้ มีได้ตั้งแต่เรียบง่ายที่สุด เช่น "ความกลัว" ที่มนุษย์ และสัตว์มีไว้เพื่อการอยู่รอด ปลอดภัย ทำให้เราหาที่พักพิงอาศัย หาอาหารกิน หาความอบอุ่น เครื่องนุ่งห่ม ความกลัวพื้นฐาน อาทิ กลัวเสียงดัง กลัวความสูง กลัวความมืด เป็นต้น แล้วก็ยังมีที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น กลัวอยู่คนเดียว กลัวไม่ถูกยอมรับเข้าพวก หรือซับซ้อนมากกว่านั้น เช่น กลัวเพราะเกิดการเปรียบเทียบ กลัวเพราะสงสัยในสภานะ ความคงอยู่ของ Self กลัวการสูญเสีย กลัวตกนรก

ในแต่ละสังคม "บริบท (context)" เข้ามาปรุงแต่ง archetype ที่เป็นพื้นฐานนี้ให้เกิดความแตกต่างกัน แต่ละสังคมก็จะเริ่มมีการ manipulate archetype ในลักษณะที่เชื่อมโยงกับภูมิลำเนา ภูมิปัญญา ความเชื่อ และความเป็นอยู่ จะเห็นความเชื่อมโยงชัดหรือไม่ชัดก็ตามกับแหล่งที่มา ที่อยู่อาศัย ตลอดเวลา เช่น archetype ของชาวเขา ที่แตกต่างจากชาวประมง ที่แตกต่างจากชาวทะเล ชาวนา หรือชนพื้นเมืองที่ราบลุ่ม ความกลัว/ความกล้า ความสวยงาม/ความน่าเกลียด ความดี/ความเลว ความขี้เกียจ/ความขยัน ฯลฯ ถูก fine tune ด้วยประเพณีและวัฒนธรรม

มนุษย์เรา "เรียนรู้" archetype สากล ด้วย "บริบท" ของเราเอง

ตั้งแต่แรกเกิด เราก็จะมี instinct to survive ด้วยการทำให้คนรัก และคนแรกๆ ที่เราทำให้รัก ก็คือ พ่อ แม่ ของเราเอง เด็กทารกเริ่มเรียนรู้จากความสามารถเพียงเล็กน้อยที่มี ว่าทำอย่างไรแล้วจะเกิดอะไร เริ่มเรียนรู้ว่าถ้ายิ้มล่ะก็ แม่ พ่อ จะชอบอกชอบใจ ถ้าหัวเราะยิ่งดี หรือบางบ้าน บางครอบครัว ก็จะเรียนรู้ว่า ถ้ายิ้ม หัวเราะ ไม่ work ก็ลองร้องไห้ดู ร้องไห้เบาๆ ร้องไห้ดังๆ เด็กก็จะค้นพบว่าเขา/เธอ สามารถ manipulate โลกรอบๆข้างได้พอสมควร เกิดเป็น basic rule setting ขึ้นมาในการมีชีวิตอยู่

พอโตขึ้นมา มีอะไรอีกมากมายให้เรียนรู้ เด็กจะคลานออกไปนอกบ้าง พ่อแม่บางคนก็จะกรีดร้อง สั่งห้าม หรือบางคนก็จะไม่ว่าอะไร เด็กหกล้ม พ่อแม่บางคนก็จะวิ่งไปตีพื้น หรือโต๊ะ ว่าทำไมทำลูกเจ็บ บางครอบครัวก็จะไม่ทำอะไร ประคองเด็กขึ้นมา หรือให้ลูกลุกขึ้นมาเอง เด็กที่เติบโตขึ้นมาในแต่ละบริบท ก็จะเริ่มเรียนรู้ archetype และ values ต่างๆ จากบริบทของเขาเองไปเรื่อยๆ มีสิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด มีสิ่งที่ไม่ควรทำ สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ต้องทำ ฯลฯ ส่งผลไปยังการได้รับรางวัลและการถูกทำโทษ ทางกาย ทางวาจา

ไม่เพียงแต่เด็กจะเรียนรู้โดยตรง จากประสบการณ์ของตัวเอง เด็กก็ยังเรียนรู้แบบ passive ได้ ช่น เห็นพี่น้องทำอะไรแล้วได้รับรางวัลหรือถูกทำโทษ เห็นเพื่อนที่โรงเรียนทำอะไรแล้วถูกชมหรือถูกตำหนิ เห็นพ่อแม่วิจารณ์ข่าวสาร รายการโทรทัศน์ แล้วเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย เห็นการใช้ภาษาที่แตกต่างกันของคนรอบข้าง ในบริบทที่แตกต่างกัน  rules ที่เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ก็มีจำนวนมากขึ้นๆ เป็นการเตรียมตัวเขา/เธอ ให้สามารถอยู่ในสังคม ในภูมิลำเนานั้นๆได้ต่อไป

ทั้งหมดนี้ เป็นการสร้างสมดุลของ vulnerability, power และ need ทั้งสิ้น

ในช่วงเวลาที่ผ่านไป archetypes บางอย่าง ถูก "กำหนด" หรือ conditioning ให้ใช้บ่อยๆ หรือไม่ใช้เลย ตามสภาพของสังคมนั้นๆเช่น ห้ามโกหกในบ้านของนักบวช ห้ามขี้เกียจในครอบครัวของนักธุรกิจ ห้ามพูดคำหยาบในบ้านของครูสอนภาษา หรือการเรียนรู้จากการสังเกตเอง เช่น ในบ้านของพ่อขี้เมา ลูกสาวก็อาจจะเรียนรู้ที่จะหลบ ทำตัว invisible เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย ในบ้านของพ่อที่เข้มงวด ลูกก็จะพยายามทำงาน ไม่ขี้เกียจ ผลลัพธ์จากประสบการณ์ตรงนั้นแทบจะพยากรณ์ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับ neuronets ของแต่ละคนที่จะสร้างขึ้นมา construct ขึ้นมาจากประสบการณ์เก่าทั้งหมด

อะไรเป็น consequences?

การที่ถูก "กำหนดเงื่อนไข" ให้ทิ้ง archetype อะไรไปนั้น ทำให้เครื่องมืออวัยวะทางจิตของเราพิการไปได้เหมือนกัน เสมือนกับเรามีเครื่องมือในกล่องเครื่องมือเราไม่กี่อัน เจอปัญหาอะไรๆก็จะใช้แต่เครื่องมือที่เหลืออยู่ในกล่องเท่านั้น มีค้อนอยู่อันเดียว ก็จะใช้ค้อนไปเรื่อยๆ ส่งกระดาษมาให้ตัด ก็ใช้ค้อนทุบเปรี้ยงๆให้กระดาษขาด ส่งกระดาษมาให้ระบายสี เราก็ยังใช้ค้อนจุ่มสีละเลงลงไป เพราะนั้นคือสิ่งที่เรา "บอกตัวเอง" ว่าเราเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะ archetypes อื่นๆนั้น เป็นสิ่งที่เราบอกตัวเอง (หรือถูกพ่อ แม่ ครู เพื่อนๆ บอก) ว่าเป็นสิ่งไม่ดี สิ่งที่ไม่ควร หรือต้องไม่กระทำ มาแต่โบราณกาล

แล้วเราควรที่จะหาแปรงทาสี ภู่กัน หรือกรรไตร มาใช้แทนค้อนบ้างหรือไม่?

หมายเลขบันทึก: 156622เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2007 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์คะ

บันทึกของอาจารย์ น่าสนใจเรียนรู้ ตามเคยค่ะ

อาจารย์ ยกตัวอย่าง เช่น....

ถ้าความเปราะบางเป็นความเงียบเหงา พลังก็จะเป็นการได้รับการยอมรับ ซูฮก เคารพ จากคนอื่นๆ ดังนั้น need ก็ออกมาเป็นในลักษณะเราจะ "ต้องการ" คนมาซูฮก เคารพ มากน้อยแค่ไหน เป็นต้น อย่าลืมว่าตรงนี้เป็นการรับรู้ทางจิต ไม่ใช่สภาวะทางกายภาพอีกต่อไป คนที่ดูเหมือนมีคนเคารพ ซูฮก เยอะอยู่แล้วในสายตาของคนนอก อาจจะมี need ที่จะมีคนเคารพ ยอมรับ ซูฮกมากอยู่ เพราะใน "สภาวะจิต" ของคนๆนี้ ยังไม่เพียงพอ เขายังเปราะบางเรื่องนี้อยู่นั่นเอง

ทำให้ดิฉัน นึกถึง Director ด้านควบคุมคุณภาพ ของบริษัทลูกค้าคนหนึ่ง มีความรู้สูงมาก จบการศึกษระดับปริญญาเอก ถึง 3 ปริญญา เป็นคนอังกฤษ

เข่เคยมาเยี่ยมเรา 2 ครั้ง ครั้งแรก ดิฉันไปรับเขาถึงสนามบิน และไปทานอาหารค่ำกับเขาด้วย ก่อนเรา จะมาเริ่ม ทำงานกัน

ในครั้งแรกที่ดิฉันพบเขา เขามีบุคคลิกที่ น่าเกรงขาม ทำตัวปั้นปึ่งมาก ซึ่งดิฉัน รู้โดยสัญชาติญาณว่า เขาต้องการคนซูฮกมาก ต้องการๆยกย่องเอาใจ ให้รู้ว่าเขาสำคัญมาก

ดิฉันก็ไม่ทำให้เขาผิดหวัง เพราะ ทำตัวเป็นนักเรียนที่ดี ให้เขาสั่งสอน ตลอดเวลา7วัน ที่มาเมืองไทย และที่สำคัญ จะต้องไม่เอ่ยชื่นชม ถึงคู่แข่ง ของเขาเป็นอันขาด นั่นคือ Marketting Director  ซึ่งดิฉันสนิทสนมมากว่า

สาเหตุหนึ่ง ที่เขาต้องการได้รับความสำคัญจากคนอื่นๆ เป็นพิเศษ โดยเฉพาะจากลูกค้า คือ ในต่างประเทศ Marketing Director จะมีpowerมากกว่า ดังมากกว่า คนรู้จักมากว่า และมักได้รายได้มากกว่า

ขอบคุณบันทึกนี้ ของอาจารย์ ที่ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ถึง various selves ของตัวเอง และของผู้อื่นค่ะ

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณ Sasinanda

เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ gotoknow จริงๆเลยนะครับ ตามมาอ่านจนเกือบชั่วโมงสุดท้ายแห่งปี ขอบพระคุณครับที่ share เรื่องราว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท