"เรื่องเล่า" แน่ใจได้อย่างไร? ว่าได้ฟังแล้วจะมีคนนำไปปรับใช้ต่อ


ยอมรับว่าในปีแรกของการขับเคลื่อน KM ผ่านทางเวที ลปรร.ยังไม่ได้คิดหาวิธีการวัดผลของ Outcome ที่เกิดขึ้น

      ตลอดปี 2550 ที่ผ่านมา ทีมแกนนำ KM โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้จัดเวทีให้มีการ ลปรร.ประสบการณ์ทำงานด้านการเดินเครื่องและงานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้ารวม 16 ครั้ง มีพนักงานเข้าร่วมประมาณ 800 คน ได้เรื่องเล่าดีๆที่กลั่นจากประสบการณ์ทำงานของแต่ละคนที่สะสมมา 10-25 ปี  แต่สุดท้ายยังมีคำถามอยู่ในใจทีมแกนนำ KM ค้างอยู่ว่า เรื่องเล่าดีๆเหล่านี้ได้ถูกนำไปปรับใช้ต่อ หรือนำไปพัฒนาต่อยอดกันอีกหรือไม่?  Outcome ที่เกิดจากเรื่องเล่าเหล่านี้ จะสามารถวัดให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้อย่างไร?  คำถามแบบนี้นอกจากทีมงานจะสังสัยอยู่ในใจแล้วยังมักถูกถามจาก ผู้คนที่มาดูงาน คำถามในระหว่างการ ลปรร.การดำเนินการขับเครื่อน KM ของทีมงานที่มาเยือน หรือ แม้แต่ทีมงาน สคส.ที่เชิญทีมโรงไฟฟ้าแม่เมาะไปร่วมเสวนาบนเวที Lead&Learn งาน NKM4 ก็สนใจถามถึง Outcome ที่เกิดขึ้นจากเวทีเรื่องเล่าที่ได้จัดขึ้นทั้งปี  สรุปว่าใครๆก็อยากรู้ว่าผลมันออกมาอย่างไร

      ยอมรับว่าในปีแรกของการขับเคลื่อน KM ผ่านทางเวที ลปรร.ยังไม่ได้คิดหาวิธีการวัดผลของ Outcome ที่เกิดขึ้น วัดกันแค่ว่าได้จัดเวทีครบตามจำนวนครั้งที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้  เวลามีคนถามถึง เรื่องเล่าว่ามีใครนำไปใช้บ้าง ทีมงานก็มักจะตอบแบบคิดเอาเอง+เข้าข้างตัวเองว่าเคล็ดลับดีๆที่ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้นเมื่อมีโอกาสที่จะต้องใช้ทุกคนก็จะนึกถึงเคล็ดลับที่เคยได้ฟังมาจากเรื่องเล่าแล้วนำไปใช้กันแน่อยู่แล้ว แบบไม่ต้องสงสัย พร้อมกับยกตัวอย่าง ใกล้ๆตัวว่าถ้าคุณเกิดสอึกขึ้นมา คุณก็ต้องนึกถึงเคล็ดลับการแก้อาการสอึกที่เคยได้ยินได้ฟังมาจากคุณย่าคุณยายหรือจากเพื่อนๆก็ตาม  คุณก็ต้องลองแก้ด้วยวิธีต่างๆจนกว่าจะหายสะอึก  หากดูแล้วคนฟังยังคลางแคลงใจก็จะยกอีกตัวอย่าง เป็นเรื่องเล่าจากเหมืองแม่เมาะซึ่งคุณศิริวัฒน์เคยเล่าให้ฟังว่า รถปิกอัพหากเกิดล้อหลังข้างหนึ่งติดหล่มหมุนฟรี ล้อหลังที่เหลือก็จะไม่มีกำลังฉุดให้รถขึ้นจากหล่มได้เพราะกำลังขับจะถูกส่งผ่าน Differential Gear ไปยังล้อที่หมุนฟรีเพียงล้อเดียว วิธีแก้ก็เพียงดึงเบรคมือเพื่อทำให้ล้อที่หมุนฟรีหมุนช้าลงเพราะเบรคมือ กำลังเครื่องยนต์ก็จะสามารถแบ่งส่งผ่าน Differential Gear ไปยังล้อข้างที่ไม่ติดหล่มหมุนพารถให้ขึ้นจากหล่มได้ วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะรถขับเคลื่อนล้อหลังเช่นรถปิกอัพ รถเก๋งทั่วๆไปใช้ไม่ได้เพราะขับเคลื่อนล้อหน้า ถึงตอนนี้คนฟังก็จะเริ่มคล้อยตาม เพราะหากคุณขับรถปิกอัพไปติดหล่มตามที่เล่ามาผมแน่ใจว่ายังไงคุณก็ต้องลองใช้วิธีจากเรื่องเล่าแน่ๆ แล้วคุณผู้อ่านละคิดกันอย่างไรบ้างครับ

 

      

หมายเลขบันทึก: 156619เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2007 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ดิฉันคิดว่า เรื่องการประเมินผล อย่างไร การไฟฟ้าก็คงต้องหาวิธีการประเมิน ในปีต่อๆ ไปนะคะ
  • แต่ว่า ดิฉันเห็นเรื่องเล่าของไฟฟ้าแม่เมาะ ที่มีผู้สนใจ และนำไปต่อยอดเพื่อให้เกิดการเล่าเรื่อง ที่ดีมีประโยชน์ ที่นี่ค่ะ เปิดเวทีสัญจรโดยไม่ได้คาดฝัน ผู้ประสานงานองค์ กร
  • มีเนื้อหาการอ้างอิง ก็คือ
  • "... เล่าถึงเรื่องเล่าเร้าพลังหลายๆ เรื่อง
    ... ที่เด็ดสุดคือ  เรื่องเชื่อมท่อ ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะว่าทำมาเป็น 10 ปี ไม่เคยบัง ไม่เคยปิด แต่ไม่เคยเล่า
    ... พอเปิดเวทีให้ได้เล่า  คนอื่นๆได้ประโยชน์ เอาไปทำตามทุกหน่วย ลด คนที่ต้องเข้ามาช่วยจับท่อ ไปตั้งครึ่งและงานง่ายขึ้นมากๆ
    ... ดูบรรยากาศ คนในห้องสนใจ OTOP   ดิฉัน วิ่งไป หาใน ข้อมูล ใน Emailที่เพิ่งส่งให้ทีมเด็ก ที่นี่
    ... ททท ทำทันทีค่ะ ทำเอกสารแจกเลย"
  • พอจะสรุปได้ว่า เรื่องเล่า ไม่ได้มีประโยชน์ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น นะคะ ... แต่ว่าเป็นตัวแบบให้กับผู้อื่นได้ด้วยเหมือนกัน
  • อย่างฟังเรื่องเล่าของแม่เมาะ อีก เยอะๆ ค่ะ
  • ขอบคุณคุณหมอนนท์มากครับที่ช่วยเชื่อมโยงจนทำให้ได้ทราบว่าที่ รพ.เชียงราย มีเวทีสัญจรที่น่าสนใจมาก อยากจะขอเอามาปรับใช้บ้าง
  • แต่ไม่รู้ว่าคุณหมอรวิวรรณทราบเรื่องเล่าของแม่เมาะได้อย่างไรครับ?
  • ตามมุมมองของคุณหมอนนท์ในเรื่องประโยชน์ของเรื่องเล่าที่สามารถเป็นตัวแบบให้กับทีมงานKMอื่นๆได้ มุมนี้ไม่เคยมองเห็นมาก่อนเลยครับ  เดิมคิดว่าจะใช้ได้เฉพาะคนในวงการช่างเท่านั้น 
  • เรื่องการประเมินผล Outcome คุณหมอมีตัวอย่างหน่วยงานไหนแนะนำบ้างครับ

 

  • สวัสดีค่ะ คุณพินิจ
  • สิ่งที่ท่านดำเนินการมาทั้งหมดนั้น ในความคิดเห็นส่วนตัว ดิฉันว่ามัน "สุดยอด" (คำพูดของหัวหน้าลำดวน
  • เคล็ด เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มีความสำคัญในการปฏิบัติงาน หากใครติดขัดในเรืองนั้น เขาต้องใช้แน่
  • แค่ทำน้ำปลามะนาวตามที่ท่านเล่า ยังอร่อยจริง ๆ ปกติ จะใส่นำปลาก่อน ตามด้วยพริก แล้วจึงตามด้วยน้ำมะนาว
  • พอได้เคล็ดลับจากท่าน จึงลอง อร่อยจริง ๆ ก็ต้องตามแบบอย่างอยู่แล้ว
  • แค่นี้ท่านก็ประเมินผลได้แล้ว ว่าเรื่องทำน้ำปลามะนาวที่ท่านเล่า ก็มีคนนำมาใช้
  • ก็จัดเวทีให้เขาเล่าเรื่อง ที่นำมาต่อยอด ก็พอจะประเมินผลได้ ส่วนหนึ่ง
  • เชื่อว่าปราชญ์ อย่างท่านพินิจ ต้องทำสำเร็จ ค่ะ ขอให้กำลังใจ แล้วจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมอีกคะ
  • เป็นคำถามที่น่าสนใจมากเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับที่นำมาแลกเปลี่ยน
  • แวะมาสวัสดีปีใหม่ครับ

ขอชื่นชมคุณพินิจ ที่สร้างบรรยากาศการ ลปรร.ทางบล็อกได้เยี่ยมมากค่ะ และขอเข้ามาshareด้วย อาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ แต่ก็ขอเสนอความคืดเห็นด้วยคนนะคะ

คุณพินิจเคยลองหากลวิธีทำให้ผู้ที่นำความรู้จากเรื่องเล่าของเพื่อนไปปรับใช้ ได้เปิดเผยตัวออกมาบ้างหรือไม่คะ จำได้ว่าคุณหมอวิจารณ์ได้แนะนำไว้คราวไปบรรยายให้ที่ กฟผ. คุณหมอแนะให้ใช้แรงจูงใจทำให้เขาเผยตัวออกมา ถ้าทำได้ ก็น่าจะเชื่อมโยงถึงการเป็นกิจกรรมหนึ่งของการทำให้เกิดวัฒนธรรมเรียนรู้ได้ด้วยนะคะ

ของดี มีคนเอาไปใช้แน่นอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท