GotoKnow

ตัวอย่างการวิเคราะห์บทความวิจัย

นาย ศราวุธ จ้อน อยู่เกษม
เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2549 21:56 น. ()
แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2555 03:27 น. ()
ตัวอย่างแนวทางการวิเคราะห์ของกลุ่มเพื่อนมาให้ดูเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆกลุ่มอื่นๆ

บทความวิจัย

การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

การวิเคราะห์และการประเมินรายงานวิจัย

แนวทางการวิเคราะห์


1.       ชื่อเรื่อง
-          สะท้อนเรื่องที่จะวิจัยชัดเจน คือ การศึกษาการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
-          เขียนได้อย่างกระชับ
-          มีการระบุตัวแปรที่สำคัญ คือ ตัวแปรต้น : การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
-          มีการระบุประชากรที่ชัดเจน คือ ผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
-          ไม่ได้ระบุสถานที่ที่จะศึกษา
-          ชื่อเรื่องไม่สะท้อนแนวทางการศึกษาและการวิเคราะห์

2.       บทคัดย่อ
-          ไม่ได้กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ว่าเป็นอย่างไรทำไมถึงต้องมีการศึกษาในกรณีนี้ บอกเพียงว่าวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ละเปรียบเทียบภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณในช่วงระยะกรเปลี่ยนผ่านระหว่างก่อนและภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหักขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
-          ระเบียบวิธีการศึกษา คือ แบบสอบถามภาวะสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
-          ผลการวิจัย คือ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อ สะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีการเปลี่ยนผ่านภาวะสุขภาพไปด้านทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( t = 18.82, p < .001 )
-          บทคัดย่อไม่ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
-          บทคัดย่อมีจำนวนคำและความยาวที่เหมาะสม
-          บทคัดย่อมีความกระชับ แต่ยังไม่ชัดเจน
-          บทคัดย่อสะท้อนเรื่องที่จะศึกษาที่ชัดเจน

3.       ปัญหาการวิจัย
-          มีการเขียนปัญหาการวิจัยที่ชัดเจน โดยกล่าวไว้ในส่วนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เขียนเป็นประโยชน์บอกเล่า
-          มีข้อสนับสนุนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-          บทความในปัญหาการวิจัยได้กล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและมีการชี้ให้เห็นว่างานวิจัยนี้มีความเหมือนกับงานวิจัยอื่น เช่น ผลของความเจ็บปวดจะทำให้ผู้ป่วยมีความสนใจเกี่ยวกับจิตวิญญาณและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเพิ่มมากขึ้น เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นและสร้างความผาสุกทางด้านจิตวิญญาณให้กับตนเอง
-          งานวิจัยนี้จะเติมช่องว่างของความรู้ คือ เป็นความรู้พื้นฐานอันจะเป็นประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลประกอบกับการหาแนวทางการดูแลช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุสตรีสามารถประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านของชีวิตที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีภาวะข้อสะโพกหักได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความผาสุกในชีวิตได้ต่อไป
-          มีการระบุตัวแปรที่ชัดเจน คือ
ตัวแปรต้น  : การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ตัวแปรตาม : การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
กล่าวว่าตัวแปรทั้ง 2 ตัวแปรมีความสัมพันธ์กัน คือ เมื่อเกิดภาวะข้อสะโพกหักจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุสตรีและหากมีการเปลี่ยนผ่านในชีวิตที่ดีก็สามารถมีการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพด้านต่างๆดีตามด้วย
-          มีการระบุธรรมชาติของประชากรที่ศึกษา ในความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาได้กล่าวว่า ภาวะข้อและสะโพกหักมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุสตรี
-          มีการมองปัญหาภายใต้บริบทของกรอบแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม
-          ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการศึกษาปัญหานี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการพยาบาล นำความรู้พื้นฐานอันจะเป็นประโยชน์ในการนำประยุกต์ใช้ในการพยาบาลประกอบกับการหาแนวทางการดูแลช่วยเหลือ

4.       วัตถุประสงค์ของการวิจัย
-          มีความเหมาะสมกับเรื่องที่วิจัย
-          มีความชัดเจนว่าผู้วิจัยมีแผนเพื่อศึกษาการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
-          เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุสตรีที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 79 คนได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ว่ามีข้อสะโพกหักและได้รับการรักษาตามอาการที่หอผู้ป่วยกระดูกหญิง โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

5.       การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
-          มีการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมอย่างกว้างแต่ยังไม่ลึกซึ้ง แต่สามารถครอบคลุมตัวแปรต่างๆได้
-          มีการนำเสนอในบทนำและปัญหาการวิจัย
-          ให้ข้อมูลความรู้ที่มีอยู่ ช่องว่างของความรู้และบทบาทของงานวิจัยเรื่องนี้ในการขยายหรือทดสอบความรู้
-          มีการใช้ข้อมูลทั้งเชิงทฤษฎีและงานวิจัย
-          มีการกล่าวถึงแหล่งอ้างอิงสำคัญหรือข้อมูลสำคัญไว้ครบถ้วน
-          มีการเขียนเรียงความเป็นลำดับต่อเนื่อง น่าอ่านและน่าติดตาม
-          มีการเขียนเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาตนเองของผู้วิจัย
-          ไม่สะท้อนอคติของผู้วิจัย
-          ไม่มีการเขียนถึงการวิพากษ์ เปรียบเทียบ
-          มีการสรุปสถานการณ์ภาพองค์ความรู้ในหัวข้อ

6.       คำจำกัดความ
-          ไม่มีการเขียนถึงความหมายของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

7.       กรอบแนวคิดทฤษฎี
-          มีการระบุกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ชัดเจน
-          แนวคิดทฤษฎีสอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษา
-          ให้ความหมายของตัวแปรที่ชัดเจน
-          สมมติฐานได้มาจากกรอบแนวคิดทฤษฎี
-          มีการระบุข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
-          การใช้แนวคิด ทฤษฎีมีความสม่ำเสมอตลอดงานวิจัย
-          ทฤษฎีที่ใช้มาจากศาสตร์ทางการพยาบาล

11.      เครื่องมือการวิจัย
-          มีการระบุเครื่องมือ โดยใช้แบบสอบถาม แหล่งที่มาผู้วิจัยสร้างมาจากการทบทวนวรรณกรรม ระบุวัตถุประสงค์  เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ชัดเจน ลักษณะเครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 7 ข้อ, ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย 5 ข้อ, แบบสอบถามภาวะสุขภาพในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย 15 ข้อ ด้านจิตใจ 11 ข้อ ด้านสังคม 8 ข้อ ด้านจิตวิญญาณ 20 ข้อ โดยเครื่องมือมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ
-          ไม่ได้บอกจุดแข็ง จุดอ่อนและเหตุผลของการเลือกเครื่องมือ
-          เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา
-          เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวอย่างทุกคนเหมือนกัน
-          ได้รายงานความตรงของเครื่องมือ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน
-          ได้รายงานค่าความเชื่อมั่น โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ 0.81
-          ไม่ได้บอกวิธีการใช้เครื่องมือ

12.      วิธีการรวบรวมข้อมูล
-          เก็บข้อมูลโดยการสอบถามผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และในบางครั้งได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ดูแลหลัก
-          วิธีการเก็บข้อมูลเหมาะสมกับงานวิจัย
-          ไม่ได้ชี้แจงขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลมี่ชัดเจนสำหรับตัวอย่างทุกคน
-          ผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัยที่ผ่านการเตรียมความพร้อมจากผู้วิจัยและมีความเข้าใจในการใช้เครื่องมือเป็นอย่างดี
-          ไม่ได้แสดงว่าข้อมูลรวบรวมในสถานการณ์ใด มีความกดดันไหม มีคนอื่นในขณะเก็บข้อมูลไหม

13.      การวิเคราะห์ข้อมูล
-          เลือกใช้สถิติได้เหมาะสมกับระดับข้อมูลประชากร
-          การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถตอบวัตถุประสงค์ / ทดสอบสมมติฐานครบถ้วน
-          มีการนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน  นำเสนอในรูปแบบตารางและพรรณนา
-          ในการทดสอบสมมติฐานมีการกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ < .001
-          การนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตาราง มีลักษณะการนำเสนอที่เหมาะสม

14.      การอภิปรายผลและการสรุป
-          มีการอภิปรายผลโดยแสดงเหตุผลของผลการวิจัยว่าทำไมการเปลี่ยนผ่านจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ
-          มีการนำผลงานวิจัยอื่น แนวคิด ทฤษฎีมาใช้ประกอบการอภิปรายผล
-          สะท้อนให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะภาวะสุขภาพ่างด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก
-          มีการสรุปผลการวิจัยที่ชัดเจน ตอบคำถามการวิจัย / นำเสนอผลการทดสอบสมมติฐานที่เหมาะสม
-          ไม่ได้ระบุจุดอ่อน / ข้อจำกัดของการวิจัยนี้

15.      ข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะ
-          มีการเสนอข้อบ่งชี้ในการนำผลการวิจัยไปใช้ในทางคลินิก
-          ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1.       ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ทำให้ผู้สูงอายุสตรีที่มีภาวะข้อสะโพกหักมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม
2.       ศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญในการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุผ่านช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน
3.       ศึกษาวิจัยพัฒนาโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพในช่วงการเปลี่ยนผ่าน

16.      เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม
-          เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมครอบคลุมเอกสารที่อ้างอิงในส่วนเนื้อหา
-          เขียนรูปแบบที่กำหนดของแบบอ้างอิง

17.      อื่นๆ
-          เขียนกระชับ ชัดเจน เป็นระบบ เขียนถูกตามหลักภาษา  รูปประโยค วรรคตอน และเขียนเชิงวิชาการ
-          ตีพิมพ์วารสารเป็นที่ยอมรับ
-          ผู้วิจัยเป็นผู้มีความรู้  ประสบการณ์ในเรื่องที่วิจัย
แนวทางการประเมินรายงานวิจัย
1.       คำถามการวิจัย
-          ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน ไม่มีการะบุตัวแปรที่ชัดเจน
ข้อเสนอแนะ 
-          คำถามการวิจัย  คือ  การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณอย่างไร
-          ตัวแปรการวิจัย
ตัวแปรต้น คือ  การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ตัวแปรตาม คือ  การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
-          ประชากรที่ศึกษา ระบุไว้ชัดเจน คือ  ผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
-          งานวิจัยสามารถตอบคำถามการวิจัยครบถ้วน
2.       ผู้ให้ข้อมูล
-          มีการระบุลักษณะและวิธีการได้มาของผู้ให้ข้อมูลแต่ไม่ชัดเจน  ควรระบุวิธีการเก็บข้อมูลที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ชัดเจนกว่านี้
-          จำนวนประชากรของผู้ให้ข้อมูลไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเหมาะสมหรือเปล่าเพราะไม่ทราบจำนวนประชากรทั้งหมด ควรระบุให้ชัดเจนเพื่อจะได้วิเคราะห์ว่าควรมีกลุ่มตัวอย่างเท่าไร
3.       การวิเคราะห์ข้อมูล
-          กลยุทธ์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
-          ไม่ได้ระบุรายละเอียดการบันทึกลงรหัสข้อมูล
-          แก่นเนื้อหาสัมพันธ์กับข้อมูลสนับสนุน
4.       การประเมินการยืนยันผลการวิจัย
-          ความเชื่อถือได้ ไม่ได้ระบุว่าผู้ให้ข้อมูลได้ตรวจสอบผลการวิจัยสะท้อนประสบการณ์ที่แท้จริงหรือไม่
-          การตรวจสอบ ไม่ทราบว่ามีผู้ติดตามในการเก็บข้อมูลหรือไม่
-          ไม่ได้กล่าวว่ามีการนำไปอ้างอิง / สอดคล้องผลการวิจัยในสถานการณือื่นๆ

สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ


ความเห็น

นายรุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย
เขียนเมื่อ

การวิเคราะห์งานวิจัยมีประโยชน์ในการนำไปใช้และพิจารณาว่าเหมาะสมกับบริบทของเราหรือไม่ครับ คุณศราวุธฝึกวิเคราะห์งานวิจัยบ่อยๆนะครับ ตอนทำ thesis จะช่วยตอบคำถามช่วงที่สอบ thesis ได้ครับ

Mr_jod
เขียนเมื่อ

ขอบคุณพี่มากนะครับ

กรุณา
เขียนเมื่อ

เป็น Knowledge sharing ที่ดีมากค่ะ

จินตนา โพธิ์ชัย
เขียนเมื่อ

กำลังหาแนวทางในการวิเคราะห์งานวิจัย ขอบคุณคะ

  • ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้กำลังใจนะครับ

แสวง เชยโพธิ์
เขียนเมื่อ

นับว่าเป็นวิทยาทานมากครับ ผมกำลังต้องการตัวอย่างอยู่พอดี ขอคุณมากครับ ขอให้ท่านมีความสุขนะครับ

small man
เขียนเมื่อ

เข้ามาศึกษาครับ

เขียนเมื่อ

ขอบคุณค่ะ กำลังหาพอดี

ธิวาภรณ์ ไตรทอง
เขียนเมื่อ

เพิ่มจะเรียกวิจัยในการพยาบาล

ตอนนี้เหมือนยังหาเข็มในมหาสมุทร

งงมากเลย

แล้วอาจารย์ก็ให้วิจารณ์

วิจารณ์ไม่เป็นเลยอ่ะ

งงมากมาก

ถึงอ่านแล้วก็ยังงงอยู่ค่ะ

ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เขียนเมื่อ

วิจารณ์งานวิจัย กับวิจารณ์วิทยานิพนธ์ เหมือนหรือต่างกันหรือไม่ การวิจารณ์ใช้หลักเดียวกันได้หรือไม่ เพิ่งเริ่มเรียนเทอม 1/53

เริ่มไม่ถูกเหมือนกัน ช่วยแนะนำจุดเริ่มต้นให้ด้วย ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เขียนเมื่อ

ขอขอบคุณกับสิ่งดีๆที่คุณเขียนค่ะ....ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค่ะ

pure
เขียนเมื่อ

กำลังหาแนวทางในการวิเคราะห์งานวิจัย ขอบคุณคะ....ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค่ะ

กำลังต้องการตัวอย่างอยู่พอดี ขอคุณมากครับ ขอให้ท่านมีความสุขนะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย