EeePC พอลุ้นได้


ที่ UsableLabs เราตั้งเป้าหมายที่จะลดความแตกต่างของโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศที่มีคุณค่าต่อชีวิต (หรือที่เรียกว่าปรากฎการณ์ "digital divide") ในประเทศไทยให้มากที่สุดเท่าที่เราทำได้

หนึ่งในสิ่งที่เราพยายามค้นหาคือ "เครื่องรับส่งสารสนเทศ" ที่ "ธรรมดา" ที่ "ใครๆ ก็ใช้ได้" ครับ

เนื่องจากประเทศไทยเราไม่มีทรัพยากรในการทำ hardware เอง เราจึงเล็งที่จะประยุกต์ใช้เครื่องที่เขาทำขายอย่างแพร่หลายไว้หลายเครื่องทีเดียวครับ แต่เครื่องเหล่านั้นโดยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีการนำมาขายในประเทศไทย ด้วยเหตุผลประการใดก็แล้วแต่ ซึ่งป่วยการที่จะพูดในตอนนี้ครับ

แต่หนึ่งในเครื่องเหล่านั้นก็อุตส่าห์หลุดมาวางขายในประเทศไทยจนได้ ได้แก่ EeePC ของ Asus นั่นเอง ผมขอปรบมือยกย่องบริษัท Asus ที่เล็งเห็นศักยภาพของคนไทย ไม่ได้มองคนไทยเป็น brainless consumers เหมือนบางบริษัท รวมทั้งยอมฝ่าข้อจำกัดของภาครัฐเพื่อให้ EeePC วางขายในประเทศไทยได้ครับ

ผมได้ซื้อ EeePC รุ่น 4G มาทดลองใช้ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา แต่ผมก็ไม่ได้ใช้งานมากมายนักครับ เพราะตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมาผมไม่ค่อยสบาย ดังนั้นบันทึกนี้จะเป็นรีวิวของ EeePC จากมุมมองของคนที่เป็นไข้ครับ

เริ่มแรกสุดเมื่อได้ EeePC มา ผมทดลองใช้ระบบที่ Asus ให้มาก่อนได้แก่ Xandros ที่ปรับแต่งสำหรับ EeePC แต่ผมพบว่าระบบที่ให้มานั้น ไม่ได้เจตนาให้ใช้งานจริง มันขาดมันเกินยังไงชอบกล

หลังจากทดลองใช้ไปได้ระยะหนึ่ง ผมเชื่อว่า Asus ใส่ระบบที่มาพร้อมเครื่องเพียงเพื่อไว้ขัดตาทัพเท่านั้น เจตนาของ Asus น่าจะต้องการให้ผู้ใช้นำมาติดตั้ง Windows XP เองครับ

หลังจากผมมั่นใจว่า Xandros ไม่ได้ผลแล้ว ผมก็ทดลองติดตั้ง eeeXubuntu หลังจากทดลองใช้ไปสักพัก ผมก็เริ่มติดตั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อให้ครบตามที่ Asus ให้มาใน Xandros

หลังจากติดตั้งไปเรื่อยๆ จนจะครบแล้ว ผมก็นึกในใจออกมาดังๆ ว่า นี่ผมกำลังเปลี่ยน Xubuntu ให้กลายเป็น Ubuntu นี่หว่า

คิดได้ดังนั้นผมก็จัดการ format ใหม่ เพิ่ม RAM เป็น 1GB แล้วติดตั้ง Ubuntu เต็มรูป ปรากฎว่าได้ EeePC ที่ใช้งานได้ดีและประทับใจมาก แม้กระทั่งใช้ Compiz ก็ยังตอบสนองได้ดีครับ

ผมคิดว่า Ubuntu เหมาะกับ EeePC เพียงแต่ต้องการการปรับแต่งอีกพอประมาณเพื่อให้เข้ากับหน้าจอขนาด 800x480 ครับ

จากการทดลองใช้ ผมคิดว่าสำหรับ EeePC ที่มี RAM 1GB นั้น ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ "ช้าๆ" ครับ เป็นเครื่องที่ทำงานได้เร็วพอประมาณทีเดียว ข้อจำกัดของ EeePC ที่ทำให้ถือไม่ได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เต็มรูปคือขนาดจอที่เล็กและขนาด hard disk (แบบ solid state disk - SSD ที่ใช้ flash memory) ที่มีเนื้อที่เพียง 4GB เท่านั้นครับ

ถ้าจอ EeePC มีขนาด 1024x786 และ hard disk ขนาด 10GB แล้ว EeePC คือคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เยี่ยมยอดมากทีเดียวครับ

ในส่วน battery นั้น ผมยังไม่ได้ทดลองมากมายนัก แต่พบว่าไม่ได้นานถึงสามชั่วโมงอย่างที่ Asus โฆษณาครับ ที่จริงแล้ว battery จะหมดเร็วมากทีเดียวแม้อยู่ใน suspend mode ครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าข้องใจมาก แต่ผมก็ยังหาปัญหาไม่เจอว่าเป็นเพราะอะไรครับ

สำหรับ keyboard ที่ผู้คนคิดว่ามีปัญหาในการใช้งานกันมากนั้น ผมเองกลับไม่มีปัญหา ในตอนแรกๆ ที่ใช้อาจรู้สึกว่าเล็กมาก แต่หลังจากใช้ไปสักพักก็จะชินครับ ในตอนนี้ผมใช้ keyboard ของ EeePC สลับกับ keyboard ของ MacBook ได้อย่างไม่รู้สึกขัดมือแต่อย่างไรครับ

ในการใช้งานโดยปกตินั้น ปัญหาการประมวลผลของ EeePC ไม่ได้อยู่ที่ desktop applications แต่กลับอยู่ที่ web applications ครับ Gmail หรือ Google Reader นี่จะทำงานช้ามาก ยิ่ง Google Reader นี่ยิ่งมีปัญหาในการใช้งานในจอเล็กๆ มากทีเดียว

ผมคิดว่าการจะสนับสนุนการใช้งาน EeePC ให้แพร่หลายนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ผลิต web applications ให้ออกแบบให้สอดคล้องกับขนาดหน้าจอที่เล็ก และลดการใช้งาน JavaScript ลงพอให้เครื่องรองรับได้ครับ

ดังนั้นโดยสรุปแล้ว สำหรับ UsableLabs เพื่อหาเครื่อง "รับส่งสารสนเทศสำหรับประชาชน" เพื่อลด digital divide นั้น EeePC เป็นเครื่องที่ "ลุ้นได้" ครับ

หาก EeePC จะเป็นอุปกรณ์ที่ "ใช้ได้" นั้น ผมคิดว่าต้องมีจออย่างน้อย 1024x768 และ harddisk ขนาด 8GB ซึ่งผมคิดว่าภายในปีหน้า Asus คงออกรุ่นปรับปรุงมาให้เราซื้อหากันครับ

ต้นกล้า (สุรกานต์) ได้ปรับระบบ theme ของซอฟต์แวร์ KnowledgeVolution ของเราที่ใช้กับ GotoKnow นี้ให้รองรับหน้าจอขนาด 800x480 มาตั้งแต่ต้นเดือนครับ เป็นความพยายามที่ไม่สูญเปล่าแน่นอน เพราะ EeePC นั้นมีศักยภาพ "ลุ้นได้" ให้เป็นอุปกรณ์รับส่งสารสนเทศอย่างที่เราต้องการได้จริงๆ ครับ

หลังจากการปรับซอฟต์แวร์ของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็จะทดลอง EeePC ในมุมต่างๆ มากกว่านี้ต่อไป หากมีซอฟต์แวร์ไหนที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้ EeePC สามารถใช้งานในประเทศไทยเพื่อลด digital divide ได้ เราก็จะเข้าไปทำครับ

และในที่สุดแล้ว เมื่อเราพร้อม เราก็จะสนับสนุนให้ผู้ใช้ใช้งาน EeePC ครับ เพราะ "อิสรภาพของการเข้าถึงสารสนเทศ คืออิสรภาพของประชาชน" ครับ

หมายเลขบันทึก: 155700เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2007 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

หนิงก็สนใจค่ะอาจารย์ เจ้าEeePC  เนี่ย..อยากลองเล่นมากค่ะ  แต่ก็ได้แต่เตือนตนและท่องไว้ว่า..พอเพียงและเพียงพอ   (555 หนิงสาวก Asus ค่ะ  ) ได้มาอ่าน มินิรีวิวของอาจารย์แล้ว  ค่อยบรรเทาความอยากได้ระดับหนึ่งค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

  • ฟังดูน่าสนใจดีครับ
  • ราคาเท่าไหร่ได้ครับ
  • ...เอ้อ..ถามเพราะอยากรู้นะครับ ไม่ใช่เพราะอยากซื้อ
  • อายุถึงวัย "ตาไม่ดีแล้ว" อักษรตัวเอียด ๆ ตาไม่สู้ครับ

EeePC รุ่น 4G ราคาอยู่ที่ประมาณ 13,000 บาทครับ ขนาดการแสดงผลนั้นไม่ได้เล็กมากครับ ไม่ได้เป็นการลด proportion ลงไปเหมือน subnotebook แบบ high-end EeePC มี proportion ประมาณ notebook ปกติ (dot pitch) แต่เป็นจอเล็กครับ เลยแสดงผลได้ไม่เยอะครับ

วันนี้ที่อาจารย์มาเยี่ยมเจ้าต้นไม้ก็ลืมโชว์ EeePC ให้อาจารย์ดูครับ

เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมจะเอา EeePC ไปให้ กล้ากับมะปราง ทดลองกันต่อแล้วคงออก review กันมาเป็นระยะครับ

ผมกำลังทำความเข้าใจ EeePC  ว่ามันคืออะไร เอ...ผมเชยมากไปมั้ยครับ

ดูจากอรรถประโยชน์ที่มีแล้ว น่าสนใจดี ผมชอบเทคโนโลยี มันตื่นเต้นดี แปลกใหม่ แต่ไม่ไหวก็เรื่องราคา อรีกอย่างบางครั้งก็เกินความต้องการไป

ดูเหมือนว่า การงานต่อไปของผม สิ่งเหล่านี้ต้องนำไปใช้มากขึ้นครับ

ขอบคุณครับอาจารย์

 ----------------------------------------------------------------

The ASUS Eee PC is a 'sub-notebook' designed by ASUS and Intel. ASUS describes the name Eee (pronounced as the letter e, IPA /iː/) as deriving from "the three Es"; an abbreviation of their advertising slogan for the device: "Easy to learn, Easy to work, Easy to play"

ลงภาษาไทยได้ไหมครับ

ตอนนี้ผมใช้อยู่และอึดอัดกับการไม่มีภาษาไทย อยากได้มาก

ข้อดีคือ ใช้เป็นเครื่องอ่านเว็บ และสอนหนังสือ (พรีเซนเทชั่น) ครับ

แต่ผมใช้วิธี gen เป็นภาพ jpg แทนการใช้ ppt เพื่อแก้ปัญหาภาษาไทยแทน 

EeePC ใช้ภาษาไทยได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับระบบปฎิบัติการที่ผู้ใช้ติดตั้งในเครื่องครับ

ระบบปฎิบัติการที่มาพร้อมเครื่อง (Xandros) นั้นใช้ภาษาไทยเลยไม่ได้ครับ ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่ม

ผมเองนำ EeePC มาติดตั้ง Ubuntu และใช้งานภาษาไทยได้ไม่มีปัญหาครับ 

อยากลงเป็นจัง

 

ในชุดของ eeeXubuntu มีภาษาไทยมาด้วยเลย หรือต้องมาลงเองครับ 

ไม่มีภาษาไทยให้มาเลยครับ ต้องมาติดตั้งเองครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ธวัชชัย

เล่นน้องอี ด้วยหรอคะเนี่ย นึกว่ามือผู้ชายจะใช้ลำบากซะอีก

วันอาทิตย์ที่แล้วไปลองดูน้องอีที่ OfficeWork และเพื่อนก็ได้แรงเชียร์จากแนนซื้อมาเป็นอันเรียบร้อย (ขากลับกลัวจะเจอเด็กไถ่ไปแทบแย่)

ตอนนี้ลงภาษาไทย และทดสอบ skype กะ webcam เรียบร้อย จ๊าบมากเลยค่ะ

เล่นเน็ตในบ้านได้ เพราะเป็น admin เอง แต่ตอนนี้ยังติดต่อเน็ตของมหาลัยไม่ได้ เพื่อนเข้าไปถามคนในศูนย์คอมมา เค้าตื่นเต้นกันใหญ่เลย อิอิ ขอถ่ายรูปไว้ด้วย (ถ่ายเครื่องนะคะ) แต่...ก็ยังเซ็ตไม่ได้ เพราะเค้าใช้ WPA ต้องมี Key ซึ่งเค้าไม่มีให้ ก็งงกันไป

ว่าแต่อาจารย์คะ Ubuntu ใช้กะ 512 พอลุ้นได้มั้ยคะ 

------

สำหรับคุณ beecaad และคุณสุวรรณ นะคะ เอานี่มาฝากค่ะ

http://www.trendypda.com/modules/newbb/viewtopic.php?topic_id=825&forum=17

คุณกูรูเค้าเขียนวิธีติดตั้งภาษาไทยไว้อย่างละเอียดเลยค่ะ ลองทำดูนะคะ

เท่าที่ทดลอง Ubuntu กับ RAM ขนาด 512MB นั้นค่อนข้างอืดครับ ตอนนี้ผมใช้อยู่ที่ 1GB ครับ ราคา RAM เดี๋ยวนี้ถูกลงมากครับ ผมสนับสนุนให้ upgrade เป็น 1GB ครับ

ลง WmlBrowser addon บน Firefox 3b2 และใช้ http://www.google.com/reader/m (mobile edition) ก็น่าช่วยได้นะครับ.

 

 

แผนต่อไปของผมคือหา theme ของ drupal ที่เป็น WML แต่ว่าใช้ Drupal 6(beta) ก็เลยยังใช้ไม่ได้.

ผลการทดสอบลง eeeXubuntu บน eeepc ครับ

จำเป็นต้องลงใหม่เพราะเอาไปเปลี่ยนคีย์บอร์ดมาแล้ว ยังเป็นเหมือนเดิมคือ คีย์อันหนึ่งใช้ไม่ได้อยู่ดี ทางศูนย์สรุปว่าอาจเป็นที่ปัญหา OS เลยมาจัดการลง Xubuntu เสียเลย

 

work มาก และง่ายด้วย ในแง่ความต้องการใช้ภาษาไทย ก็สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่เริ่มต้นติดตั้งเลย โดยเลือกให้เป็นภาษาหลักไปเลย

ติดตั้งง่ายและราบรื่นดี แต่ต้องต่อเน็ตไว้นะครับ จะได้  download ส่วนประกอบมาเรียบร้อยเลย (และ เพื่อให้ ubuntu หา wi-fi เจอ คุณต้องเปิดไว้ก่อนติดตั้งด้วยนะ)

สรุปเรื่องการติดตั้งคือ work ครับ ส่วนเรื่องการใช้งาน จะมารายงานต่อไปครับ 

ราคา RAM SO-DIMM 1GB bus 667 MHz. Kingston ณ วันที่ผมซื้อ อยู่ที่ 860 บาท และทางศูนย์ ASUS แจ้งว่า ซื้อ RAM ไปให้ทางศูนย์ติดให้ฟรีได้เลย เพราะศูนย์ไม่อยากให้เปิดฝาหลังเองครับ
P
ไปติดตามข่าวมา ทราบว่า ทางอเมริกาhit มากนะคะ ลูกยังเชียร์ให้ซื้อเลย แต่เขาบอกว่า ที่อเมริกา เป็นwireless  มันwork
แต่ไม่รู้จะซื้ไปทำไม เพราะที่บ้าน ที่ทำงานก็มี ไปไหนๆก็มี ฟรีด้วย
ไปทานอาหาร ยังมีเลยค่ะ
เมื่อวานไปFortune กัน เอา Mac เก่าไป turnเป็น รุ่นใหม่ รุ่นAir ค่ะ บางดีจัง แต่ต้องเพิ่มเงินอีก
Mac นี่เป้นอะไร ที่ขายdesignจริงๆนะคะ
ล่อให้พวกสาวก ต้องหาทาง เปลี่ยนของเก่า ใช้รุ่นใหม่ เก่งจังค่ะ
ตอนนี้เครื่องที่ใช้จอใหญ่ ไม่อยากเปลี่ยนเป็นอะไร ที่จอเล็กๆ
แต่ต่อไป ไม่แน่ อาจบ้าจี้ ซื้อEeePCสักเครื่องก็ได้
โอ๊ย ไปกันใหญ่แล้ว สงสัย จะมากไป อิๆๆๆๆอยู่กับลูกhi-techก็พลอยไปกับเค้าด้วย....

EeePC ตอนนี้ยังถือได้ว่าเป็นของทดลองสำหรับคนด้านเทคโนโลยีอยู่ครับ ระบบปฎิบัติการในเครื่องนี้ต้องทำให้ user-friendly กว่านี้ถึงจะสามารถใช้งานได้โดยทั่วไปครับ

แต่แนวโน้ม subnotebook นี่มาแรงมากครับ ในปีนี้จะมีออกมาอีกหลายเจ้าทีเดียวครับ

ส่วน MacBook Air นี่ Apple เขาถือว่าเป็น subnotebook ของเขา น้ำหนักเบา แต่ราคาไม่เบาเลยครับ 

ผมว่านอกจากจะหน้าตาดี แล้วก็ใช้งานดีด้วยนะครับ. ใช้แล้วรู้สึกว่าเสถียรและง่ายกว่า Windows XP หรือแม้แต่ Ubuntu อีก โดยเฉพาะเรื่อง Wifi.

ถ้าออกเครื่องสำหรับคนรายได้น้อยบ้างคงดี (จริงๆตอนนี้ก็มี MacMini). ถ้ามีขอบแบบ Eee-PC แต่เป็น Mac OS X ก็ท่าจะดีเหมือนกัน.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท