Nonlinear Regression แบบ "ทำมือ" ใน spreadsheet ตอน 1


เกริ่นนำ และขอบเขต

มีงานบางรูปแบบ ที่ต้องทำ nonlinear regression แต่ไม่ต้องการความ "แม่นยำสูงสุด" ในงานที่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น

  • การประมาณการเพื่อการ interpolation เช่น การทำ standard curve สำหรับกรณีที่มีความโค้ง (การกรองสัญญาณรบกวนความถี่สูงออกจากแนวโน้มที่ไม่ใช่ฟังก์ชันเส้นตรง)
  • การสร้าง lowerbound หรือ upperbound function ของกลุ่มข้อมูล หรือ การพยากรณ์กรณีดีที่สุด (best-case) หรือเลวที่สุด (worst-case)
  • การพยากรณ์แนวโน้มของชุดข้อมูลที่มีความแปรปรวนสูงใช้ objective function บางรูปแบบที่ไม่เป็นที่นิยม เช่น การใช้ MAD (median of absolute deviation from the mean) ซึ่งจะไม่ไวกับ outlier มากเหมือนการทำ least square minimization ตามปรกติ

หากการทำนายได้ดี คือเป้าหมายหลัก 

การทำ nonlinear regression แบบ "ทำมือ" ที่ ง่าย และไม่ต้องเขียนโปรแกรมด้วย มีอยู่ในโลกครับ

แต่ต้องใช้โปรแกรม spreadsheet เป็น...

ผมจะเรียบเรียงเรื่องนี้เป็นตอน ๆ เพราะมีแนวคิดพื้นฐาน ที่ต้องเข้าใจตรงกันก่อน จึงจะไปต่อได้ ซึ่งถ้าเข้าใจแนวคิดชัดเจน จะรู้ว่า ทำง่ายมาก

หลัง ๆ ผมเองก็ชักติดนิสัย เลิกใช้โปรแกรม หันมา "ทำมือ" ในงานวิจัยบางเรื่อง เพื่อสามารถหลุดพ้นขีดจำกัดบางอย่างที่อาจพบในซอฟท์แวร์สำเร็จรูป และไม่อยากจ่ายแพง ๆ เพื่อวิ่งไล่ตามซอฟท์แวร์ที่เปลี่ยนกันรายวัน

ถามว่า ดีกว่าไหม เชื่อถือกว่าไหม ตีพิมพ์ได้ไหม

คำตอบคือ ไม่ ครับ

แต่ มันส์กว่าเยอะ

 

หมายเลขบันทึก: 155450เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2007 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ครับ linear หรือ nonlinear regression นี่ผมอ่านจาก 3 มาไม่ได้ครับ ต้องมาเริ่มที่ ตอน 1 ก่อน

ทราบเบื้องต้นว่า ถ้า slope ที่เกิดขึ้น เป็นสัดส่วนเสมอกันไป จะทำให้เกิด เส้นตรง อย่างนี้ถูกต้องมั๊ยครับ ส่วนที่เป็นเส้นโค้ง หรือเส้นอื่นๆ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอาจารย์จะกรุณา ปรับเป็นภาพ แล้วยกตัวอย่างการใช้ regression พิสูจน์งาน ให้เป็นรูปธรรมครับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาปรับใช้สำหรับงานวิจัยน่ะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ P  ครูน้อย

 

  • เรื่องกราฟใน regression ว่าจะมีหน้าตาออกมายังไงนี่ เป็นเรื่องของเรขาคณิตวิเคราะห์ ผมไม่กล้าเขียนถึง เพราะตัวเองไม่ได้ใช้งานบ่อย
  • แต่เรื่องใช้ regression พิสูจน์อะไรบางอย่างในงานวิจัยนี่ อยู่ในคิวจะเขียนถึง แต่เข้าใจว่ายังอีกนานพอสมควร
  • ผมเขียนแบบ บ่ม คือเจาะทีละประเด็นเล็ก ๆ แล้วเริ่มละเลียดไปเรื่อย ๆ ตามโอกาสและอารมณ์จะอำนวย
  • เดือนละตอนได้ก็ถือว่าตัวเองเขียนเร็วแล้วครับ เขียนวิชาการหนัก ๆ ไปเลยง่ายกว่า แต่เขียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเยาวชนนี่ ยากกว่ามาก เพราะความท้าทายคือการมองให้ออกมาเป็นภาพนี่ เป็นงานศิลปะจริง ๆ เพราะสั่งแล้วมันไม่มาให้ดังใจเท่าไหร่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท