10 ขั้น กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ (3)


กลุ่มพัฒนาครูที่สอนด้วยกระบวนการวิจัย

วันนี้จะขอเล่าถึงผลการดำเนินงาน ของ  10   ขั้น   กระบวนการจัดการความรู้   เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ ต่อจากเมื่อวาน  ถึงขั้นที่ 10  การสรุปผลการดำเนินงานและการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของโรงเรียน               

 หลังจากที่โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ ได้เข้าร่วมโครงการ EdKM และนำเครื่องมือ       การจัดการความรู้มาปรับใช้ เพียงระยะเวลา 1 ปีกว่า ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นใน กลุ่มพัฒนาครูที่สอนด้วยกระบวนการวิจัย คือ               

งานดีขึ้น เพราะทำให้ครูเข้าใจแนวทางและวิธีการสอนด้วยกระบวนการวิจัยมากขึ้น แต่เดิม         ครูบางท่านต้องทำงานและเผชิญปัญหาอย่างโดดเดี่ยว จับต้นชนปลายไม่ถูก แต่เมื่อมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงทำให้รู้สึก มีเพื่อนร่วมทาง เมื่อมีปัญหาก็จะปรึกษาเพื่อนครูด้วยกันและต่างรู้ดีว่า ครูท่านใด มีประสบการณ์และเก่งเรื่องใดเปรียบเสมือนเข็มทิศในการดำเนินงานไปข้างหน้าโดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์               

บรรยากาศในการทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีมากขึ้น จากเดิมครูแต่ละคน ต่างคนต่างสอน ไม่ค่อยได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันและกัน ส่งผลให้บรรยากาศการทำงาน ช่วยเหลือ แบ่งปันความรู้และเทคนิค        การสอนแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน ปรากฏให้เห็นมากขึ้น

วัฒนธรรมการเรียนรู้ของครูปรากฏเด่นชันขึ้น เริ่มต้นจากบรรยากาศของการฟังกันและกันมีมากขึ้นได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ค้นพบศักยภาพที่ดีเด่นในแต่ละคน มาประยุกต์ใช้ตามความสามารถของแต่ละคน เป็นการเติมเต็มให้กันและกัน เกิดความภาคภูมิใจในผลงานร่วมกันในลักษณะที่เป็น Teamwork

การยกระดับความรู้การสอนด้วยกระบวนการวิจัยของครูผู้สอนสูงขึ้น ทำให้ครูที่สอนด้วยกระบวน การวิจัยได้เรียนรู้และต่อยอดความรู้ในการทำงานวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้น กลุ่มเพื่อนครูได้เรียนรู้วิธีการสอนด้วยกระบวนการวิจัยของคนอื่นๆ ทำให้เกิดแนวคิดและแบบอย่างในการสอนด้วยกระบวนการ วิจัยของตนเอง โดยการสอนด้วยกระบวนการวิจัยของครูคนหนึ่งอาจเป็นแรงบันดาลใจให้กับครูอีกหลายคนแต่สิ่งที่ยังเห็นไม่ชันเจนในขณะนี้ เนื่องจากอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น คือ การรวบรวม สรุปและสังเคราะห์การสอนด้วยกระบวนวิจัยในชั้นเรียนที่ครูแต่ละคนได้ดำเนินการในแต่ละภาคการศึกษา นำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการสอนด้วยกระบวนการวิจัย รวมไปถึงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ทั้งในส่วนที่เสริมจุดเด่น และแก้ปัญหาจุดด้อย ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับความรู้ของการสอนด้วยกระบวนการวิจัยให้ก้าวกระโดยและมีนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น

ผู้เรียนได้รับประโยชน์มากขึ้น เพราะเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยที่เข้มข้น ได้ฝึกการคิดโจทย์     การค้นหาคำตอบ และการตอบโจทย์ รวมไปถึงการทำงานเป็นทีมมากขึ้น โดยมีครูทำหน้าที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนด้วยเทคนิควิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเจาะลึกในเรื่องที่สนใจได้ลึกซึ้งขึ้น รวมไปถึง   การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อันเป็นเป้าหมายอันดับแรก    ของการสอน การทำวิจัย และใช้ผลงานวิจัย

 

หมายเลขบันทึก: 152966เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2007 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท