รายได้ของมหาวิทยาลัยในกำกับมาจากทางใดบ้าง


 

 พ.ร.บ. มน.

 

พ.ร.บ. มหิดล 

มาตรา ๑๔   รายได้ของมหาวิทยาลัยมีดังนี้
  (๑) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี
  (๒) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย

มาตรา ๑๖

รายได้ของมหาวิทยาลัย มีดังนี้
   (๑) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี
   (๒) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย

    (๓) เงินกองทุนที่รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้น และรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุนดังกล่าว       (๓) เงินกองทุนที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น และรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุนดังกล่าว
    (๔) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย      (๔) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
    (๕) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการร่วมลงทุนหรือการลงทุน และจากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
    (๕) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการดําเนินการตามมาตรา ๑๕ (๔) และ (๑๐) และจากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย 
    (๖) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ที่ราชพัสดุหรือจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุซึ่งมหาวิทยาลัยปกครอง ดูแล หรือใช้ประโยชน์      (๖) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ที่ราชพัสดุหรือจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุซึ่งมหาวิทยาลัยปกครอง ดูแล หรือใช้ประโยชน์
    (๗) รายได้หรือผลประโยชน์อย่างอื่น
  เงินอุดหนุนทั่วไปตาม (๑) นั้น รัฐบาลต้องจัดสรรให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและการพัฒนามหาวิทยาลัย เพื่อประกันคุณภาพการศึกษา
     (๗) รายได้หรือผลประโยชน์อย่างอื่น
   เงินอุดหนุนทั่วไปตาม (๑) นั้น รัฐบาลพึงจัดสรรให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาการอุดมศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย 
         ในกรณีที่รัฐบาลได้ปรับเงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง ค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดแก่ข้าราชการ ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปเพิ่มเติมให้ แก่มหาวิทยาลั ยในสัดส่วนเดียวกันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้พนักงานมหาวิทยาลัยด้วย 
    รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ      รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ ต้องนําส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 
    ในกรณีรายได้ตามวรรคหนึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม และมหาวิทยาลัยไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้ รัฐบาลพึงจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพิ่มเติมให้แก่มหาวิทยาลัยตามจำนวนที่จำเป็น       ในกรณีที่รายได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนไม่เพียงพอสําหรับค่าใช้จ่ายในการดําเนินการของมหาวิทยาลัยและค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม และมหาวิทยาลัยไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้  รัฐบาลพึงจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพิ่มเติมให้แก่มหาวิทยาลัยตามความจําเป็นของมหาวิทยาลัย  
      ในกรณีที่รัฐบาลได้ปรับเงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง ค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดแก่ข้าราชการ ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนเพิ่มเติมให้แก่มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นรายจ่ายดังกล่าวให้พนักงานมหาวิทยาลัยด้วย     
  • มาตรานี้น่าจะตอบคำถามได้ดี สำหรับผู้ที่สงสัย คลางเคลงใจว่า เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว แปลว่า มหาวิทยาลัยจะต้องหาเงินเองใช่หรือไม่?  เป็นเหมือนมหาวิทยาลัยเอกชนใช่หรือไม่?  ตอนนี้ทราบแล้วใช่ไหมคะ ว่าไม่ใช่แน่นอนค่ะ  รัฐจะต้องอุดหนุน (ด้วยเงินภาษีอากร) เหมือนเดิม  แถมถ้าไม่พอใช้ รัฐต้องให้เพิ่มให้พอด้วย 

คลายเครียด 

สัญลักษณ์แสดงความแตกต่างระหว่างคนยุโรปกับคนเอเซีย : 
การแสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ

 

คนยุโรป 

            คนเอเชีย 

 

 

หมายเลขบันทึก: 152383เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2007 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ได้ตามอ่านของอาจารย์มาหลายวันแล้วครับ ได้เห็นความแตกต่างเพิ่มเติม ของ พ.ร.บ.

แต่วัตถุประสงค์หลักของการออกนอกระบบในยุค IMF ก็เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล โดยให้มหาวิทยาลัยสามารถบริหารงาน และเลี้ยงดูตัวเองได้ (ใช่ไหม ? ครับ) ซึ่งในช่วงแรก รัฐจะเป็นผู้ลงทุนให้ตามความต้องการของมหาลัย แล้วค่อย ๆ ลดเงินสนับสนุนลง แต่จากข้อความนี้ เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว แปลว่า มหาวิทยาลัยจะต้องหาเงินเองใช่หรือไม่?  เป็นเหมือนมหาวิทยาลัยเอกชนใช่หรือไม่?  ตอนนี้ทราบแล้วใช่ไหมคะ ว่าไม่ใช่แน่นอนค่ะ  รัฐจะต้องอุดหนุน (ด้วยเงินภาษีอากร) เหมือนเดิม  แถมถ้าไม่พอใช้ รัฐต้องให้เพิ่มให้พอด้วย     ซึ่งก็เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของรัฐมากขึ้น (จากการขึ้นเงินเดือนให้พนังงาน สายต่าง ๆ ) เมื่อรวม ๆ กันของทุกมหาลัยแล้ว จำนวนเงินมากขึ้นเกือบเท่าตัว แล้วรัฐจะหาเงินมาจากไหน ครับ  แต่ถ้าเราบริหารงานแล้วค่อย ๆ ลดค่าใช้จ่ายของรัฐลงได้คงจะดี โดยที่ต้องพัฒนาการศึกษาให้เพิ่มขึ้น ปัญหาอยู่ที่การบริหารงานอย่างไรให้ดีขึ้น ????  การใช้จ่ายเงินอุดหนุนการศึกษาให้ถูกประเภท ให้ถูกวิธี จึงจะเป็นการทำงานเพื่อช่วยให้สังคม ให้ประเทศไทยของเราดีขึ้นครับ ปล. การได้เงินงบประมาณสนับสนุนมาก ๆ ไม่ได้หมายความความจะทำให้การศึกษาดีขึ้นครับ แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ...

          นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งค่ะ ที่อาจารย์ภูคาติดตามอ่านบันทึก ซีรี่ส์ "ออกนอกระบบ" ของดิฉันมาโดยตลอด 

          และที่ดิฉันยินดีเป็นอย่างที่สุดก็เพราะ  อาจารย์เป็น "อาจารย์" ท่านแรกในมหาวิทยาลัยนเรศวร (ที่เปิดเผยตัว) ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้

          ดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะว่า  แม้ระบบจะดี  ถ้ากลไก ฟันเฟืองเสื่อมสภาพ ก็ไปไม่รอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ผู้บริหาร" ระดับสูงของมหาวิทยาลัย  นี่เป็นสัจธรรม ไม่ว่าเราจะอยู่ในระบบราชการเหมือนเดิม หรือออกนอกระบบก็ตาม

          ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศไทยเรา ที่เป็นภาวะคุกคามของระบบการศึกษาก็เช่นเดียวกัน  ดูเหมือนจะยังมองไม่เห็นอนาคตที่สดใสภายในชั่วอายุของเรา (กระมัง) ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในระบบเดิม หรือออกนอกระบบ เศรษฐกิจก็ยังคงถดถอยต่อไป

          เพียงแต่....ระบบที่มีผู้รู้เพียรพยายามสร้างขึ้น (หลายสิบปีมาแล้ว) เพื่อฉุดคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตกต่ำลงให้สูงขึ้นภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย  ก็คือ การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยนั่นเอง

          ระบบที่ ออกแบบให้เราใช้เงินเท่าเดิม แต่สามารถคัดสรรคนดีดี  มีคุณภาพ  หรือให้กำลังใจคนดีดี มีคุณภาพ ที่ทำงานอยู่แล้ว ให้ทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น  โดยสามารถโละคนที่ไม่มีประสิทธิภาพออกไปจากระบบได้

          ถ้าเราสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราขณะนี้ให้ดี  เราจะเห็นความเชื่อมโยงที่ทำนายอนาคตได้  ไม่ว่าระบบประกันคุณภาพการศึกษา  ระบบการทำคำรับรองปฏิบัติราชการ  การปรับปรุงระบบการจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนของข้าราชการ  ระบบการเบิกค่ารักษาพยาบาลการเบิกค่าเช่าบ้านที่กลั่นกรองเข้มงวดมากขึ้น การจำกัดประเภทยาที่สามารถเบิกได้  ฯลฯ ล้วนเป็นสัญญาณเตือนให้เราทราบว่า ในอนาคต  เงินเดือน สวัสดิการ  ค่าตอบแทนต่างๆ  จะได้รับมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสมรรถนะของคนทำงานเป็นสำคัญ  เงินมีให้แต่กับคนทำงานอย่างคุ้มค่าเท่านั้น คนไม่ทำงานไม่อาจลอยนวลอยู่ต่อไปได้

          คนรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ ซึ่งมีอายุ อยู่ระหว่าง 45 - 55 ปี ในทศวรรษนี้  จะเป็นคนที่อยู่คาบเส้นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นธรรมดา ที่จะสับสน วุ่นวายใจ และบ้างอาจยอมรับไม่ได้กับความเปลี่ยนแปลง

          จริงอย่างที่อาจารย์กล่าวว่า  "การได้เงินงบประมาณสนับสนุนมาก ๆ ไม่ได้หมายความความจะทำให้การศึกษาดีขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด" 

          จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง สำหรับผู้จัดการระบบ ในมหาวิทยาลัยนอกระบบ เพราะเขาจะไม่มีวันได้รับงบประมาณมากๆ มาบริหารงาน (นอกจากว่าเขาจะสามารถหาเองได้)  แต่เขาต้องมีวิธีการจัดการให้การศึกษาดีขึ้น (ทัดเทียมนานาชาติเสียด้วย) ภายใต้งบประมาณเท่าเดิม (ก็บอกแล้วงัยว่า.....ไม่น้อยกว่าเดิม)          

          ขอขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งที่เข้ามาให้ความคิดเห็น  ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือขัดแย้ง  ดิฉันคิดว่า ทุกถ้อยคำมีประโยชน์และมีคุณค่ามาก   

สวัสดีอีกบันทึกหนึ่งครับ อาจารย์มาลินี

  • ติดตามอ่าน .. ก็สนุกดีครับ :)
  • สำหรับเรื่องรายได้ ... ถ้าไม่เพียงพอแล้วนั้น รัฐจะต้องอุดหนุน
  • อาจารย์ไม่เคยได้ยินเรื่อง รัฐถังแตก หรือครับ
  • กรณีศึกษามาจาก 30 บาท รักษาทุกโรค จากรัฐบาลที่แล้ว
  • ถ้ารัฐไม่มีเงินมาอุดหนุนล่ะ ... มหาวิทยาลัยจะเลี้ยงตัวอย่างไร ...
  • แต่ไม่ว่าจะเกิดปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับเงินรายได้นั้น ... สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับสุดท้าย คือ
  • มาตราที่ ๑๔  (๔) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
  • ต้องไม่ให้ "นักศึกษา" เป็นผู้แบกรับ
  • และต้องไม่ให้ "พนักงานมหาวิทยาลัย" ถูกตัดเงินเดือน (พูดให้ร้ายไว้ครับ)

อาจารย์คิดว่าเป็นไปได้ไหมครับ :)

สวัสดีครับอาจารย์

ผมได้อ่านบันทึก การบริหารการเงินและการระดมทุนเพื่อการบริหารอุดมศึกษา ขออาจารย์ มาติดใจในเรื่องหนึ่งคือ

ปัจจุบัน  สัดส่วนค่าใช้จ่ายโดยรัฐ : ผู้เรียน ประมาณ 75 : 25  สัดส่วนลงทุนโดยรัฐ : เอกชน   ประมาณ  5 : 1  และพบว่าทรัพยากรเพื่อการอุดมศึกษาจาก แหล่งในข้อ (4)  (5) และ (6) ยังมีน้อยมาก

ในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย มีสัดส่วนดังนี้
   รัฐบาล :   ผู้เรียน  :  ขายบริการวิชาการ
      1    :     1        : 1

ปัจจุบันรัฐลงทุน 75 % เมื่อเทียบกับประเทศที่มีการพัฒนา รัฐลงทุนเพียง 33 % โดยประมาณ  สิ่งที่น่าสังเกตุคือ การขายบริการวิชาการ 33 % ซึ่งในมหาลัยของไทย มีสักกี่แห่งที่สามารถทำได้ สมมุติ ถ้างบลงทุนการศึกษาสำหรับอุดมศึกษาแห่งหนึ่งประมาณ 2000 ล้านบาท  เราจะต้องหารายได้จากการขายบริการวิชาการให้ได้ ประมาณ 660 ล้านบาทต่อปี  จุดนี้จะเป็นตัวชี้วัดการบริหารงานของผู้บริหาร.... ปัจจุบัประเทศเรามีผู้บริหารงานที่ใช้และจัดการงบประมาณเก่ง  แต่เรื่องการหาเงิน(รายได้) ในสถาบันการศึกษาเรายังต่ำมาก ๆ (ตามความเป็นจริง) ซึ่งอาจมีหลายปัจจัย เช่น

 - การติดยึดกับการใช้เงินมากกว่าการหาเงิน(จากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ของรัฐ) มาใช้

- มุมมองหรือคุณภาพของผู้บริหารที่มีระบบการคิดแบบวิชาการ ไม่ใช่แบบธุรกิจ(การค้า) ซึ่งตรงจุดนี้จะต้องแบ่งให้ออกว่า การศึกษาไม่ใช้การค้า แต่จะต้องหารายได้มาเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพแบบธุรกิจ 

- มุมมองของบุคลากรในสถาบันการศึกษาเองยังมองเป็นเรื่องภายในสถาบัน เป็นเรื่องของผู้บริหาร ทำให้ไม่เกิดความมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน(ทั้งเรื่องปฏิบัติ และแนวคิด) ส่วนใหญ่ทำงานตามคำสั่ง ซึ่งมุมมองที่ค่อนข้างแคบ ไม่ได้เปรียบเทียบกับมหาลัยอื่น ๆ  หรือกับประเทศอื่น ๆ  ทุกคนรู้ปัญหา แต่ไม่มีช่องว่างที่จะให้แสดงออก  โดยไม่ต้องกังวลกับแรงกดดันต่าง ๆ (กลัวผู้บริหาร) เป็นต้น

โดยส่วนตัวผมคิดว่าบุคลากรต้องการให้เกิดการพัฒนาและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นครับ

 

 

ชอบมากเลยค่ะ กับประโยคสุดท้ายของอาจารย์ที่ว่า

"โดยส่วนตัวผมคิดว่าบุคลากรต้องการให้เกิดการพัฒนาและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นครับ"

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท