เคยได้ยินคำว่า AI ในบริษัทของเรา ที่หมายถึง Artificial Intelligence แต่ในงาน KM แห่งชาติ AI คือ Appreciative Inquiry
การเข้าร่วมกิจกรรมในห้อง Play and Learn ในวันที่สองของการสัมมนา มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 4 ที่อิมแพค เมืองทองธานี มีแรงจูงใจสืบเนื่องมาจากงานรวมพล Inno FA รวมรุ่น 1-3 ที่เชิญ อ.ดร.คนไร้กรอบ มาพูดคุย ให้ข้อมูลใหม่ๆ ซึ่ง AI เป็นคำ คำหนึ่งที่อาจารย์เขียนบนกระดาน อ้อ บอกก่อน AI ในบริบทนี้ย่อมาจาก Appreciative Inquiry หรือเครื่องมือการสร้างความรู้ใหม่โดยเน้นการชื่นชมเป็นหลัก <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> พอเห็นสูจิบัตรงานนี้ ก็เลยตกลงใจว่าต้องไปรับรู้หาข้อมูลเพิ่มเติมเสียหน่อยว่าเป็นอย่างไรบ้าง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ในระยะเวลาครึ่งวัน ครึ่งแรกเป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ AI โดยการนำของทีมวิทยากร อ.ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ ซึ่งกำลังทำ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ รวมกับทีมงานจาก โรงพยาบาลพิจิตร ที่ทดลองนำเครื่องมือใหม่นี้เข้าไปจัดการความรู้ โดยเน้นที่เรื่องราวความสำเร็จของบุคคล</p> กระบวนการของ AI มี 4D ส่วนเรื่องของ ทรัพยากร คน และวัฒนธรรมเป็นบริบทเกื้อหนุนกระบวนการ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">
</p> การเริ่มต้นกระบวนการ อยู่ที่การค้นหาศักยภาพของคน ทีมงานต้องคิดบวก ปรับกระบวนทัศน์ในการคิด มองหาแต่สิ่งดี วิธีการนี้ก็ต้องมีทีมพี่เลี้ยง หรือ Facilitator ช่วยทำให้กระบวนการขับเคลื่อน ซึ่งต้องมีใจรักอยากจะทำ สื่อสารเก่ง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ขั้นค้นหาความรู้จากความสำเร็จ ต้องศึกษาก่อนว่า ใครเก่งเรื่องอะไร ต้องเข้าไปขอสัมภาษณ์ให้เขาเล่าเรื่องความสำเร็จ ตั้งคำถามเชิงบวก ผู้จดบันทึกต้องจับให้ได้ว่า </p> <ul>
เขามีความรู้อะไร
ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เขาทำงานนั้นสำเร็จ
และในอนาคตเขาอยากทำอะไรต่อไป
</ul> .....ระหว่างพูดคุยต้องมีการชื่นชม เป็นระยะ มีข้อแม้ว่า การให้คำชื่นชมต้องอยู่บนพื้นฐานความจริง และจริงใจ ชมทั้งหน้า ปาก และ ตา เรียกว่าหัดชมให้เป็น <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> หลังจากทีมวิทยากรให้ความรู้พื้นฐาน พร้อมบอกเล่าประสบการณ์ในการทำ AI แล้ว ช่วงหลังเบรกเช้า ให้พวกเราผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 70 คน มาล้อมวง มีกิจกรรมให้สัมผัสมือกันกับคนข้างๆ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> กิจกรรมที่สองฝึกสติ จากเพลงปูเอ๋ยปู เมื่อจบเพลงถ้าเราเอานิ้วที่แหย่เข้าไปในวงนิ้วของเพื่อนทางขวา พร้อมกับหนีบนิ้วของเพื่อนที่อยู่ทางซ้ายได้ ก็สำเร็จการทดสอบสติ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่กิจกรรมจริง ที่พวกเราจะจับกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม เพื่อผลัดกันเป็นผู้สัมภาษณ์ ผู้ถูกสัมภาษณ์ และผู้จดบันทึก โดยต้องตอบคำถาม 3 ข้อ</p> <ol>
ให้เล่าความดีหรือความสำเร็จที่มีความภาคภูมิใจนำเสนอ
ปัจจัยอะไรที่ทำให้ทำสำเร็จ
ในอนาคตคิดอยากทำความดีอะไรต่อไปเพื่อผู้อื่นอีก 3 เรื่อง
</ol> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> สำหรับตัวเอง ถ้าให้นึกถึงความสำเร็จ พอจะนึกออก แต่ถ้าถามว่าความดีอะไรที่ทำเพื่อส่วนรวมตอนนั้นนึกไม่ออกเลย เพราะคิดว่าความดีส่วนใหญ่ที่ทำเหมือนไม่ได้ทำเพื่อสังคมโดยตรง อย่างพี่ๆ อีกสองท่านที่อยู่กลุ่มเดียวกัน พี่คนหนึ่งเป็นพยาบาลผู้แก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว อีกท่านทำอยู่หน่วยงานปราบปรามยาเสพติดระดับประเทศ ดูแล้วสิ่งที่เราทำมันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มากเลย บังเอิญเวลามีจำกัด ดิฉันเลยไม่ได้เล่าเรื่องของตัวเองให้พี่อีกสองท่านฟัง </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">……..สุดท้ายวิทยากรจะนำข้อมูลที่จดบันทึกมาเขียนบนกระดานที่จะรวมจากกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ถ้าทำครบกระบวนการจะต้องนำมาเล่าแลกเปลี่ยนกันในวงที่มีประมาณ 12-15 คน สุดท้ายจะได้ความฝันออกมามากมายที่มาจากแต่ละคน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> แล้วถ้านำไปใช้ในองค์กรจริง กลุ่มจะต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหาข้อสรุปเรื่องหลักที่องค์กรอยากทำ ซึ่งต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ อยู่ในขอบเขตที่เราทำได้ มีความเฉพาะเจาะจง ทุกคนต้องเห็นพ้องและอยากทำร่วมกัน ในช่วงของ dream ต้องมีกิจกรรมนำมาก่อน เพื่อให้สมอง จิตใจสงบ มีสมาธิ ที่จะเฟ้นหาฝันเดียวร่วมกัน และบอกให้ได้ว่า ถ้าจะไปถึงฝั่งฝันนั้น เราต้องมี หรือทำอะไร จึงจะทำให้ฝันเป็นจริงได้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> บอกตามตรงว่า ในรายละเอียดของกระบวนการคงมีสิ่งที่ปลีกย่อย อีกมากมาย ที่ไม่สามารถรับรู้ได้หมด ในการมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>สำหรับตัวเองแล้วการจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้ประโยชน์ คงต้องลองทำ พร้อมกับศึกษาหาข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์หลายแห่ง ในที่สุดอาจจะต้องนำไปปรับให้เหมาะสมกับบริบทในบริษัทอีกทีนึง นอกเหนือจากการมารับรู้เรื่องราวใหม่ๆ สิ่งที่ได้รับคือ รู้สึกชื่นชมในการทำความดีของคนที่ทำงานราชการจริงๆ เลยค่ะ และขอปรบมือให้กับทุกท่านรวมทั้งทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลพิจิตรที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆ พร้อมรอยยิ้มที่อบอุ่นค่ะ</p><p>แนะนำ website เพิ่มเติม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">AI คืออะไรhttp://en.wikipedia.org/wiki/Appreciative_inquiry</p>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตัวอย่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ AI (แบบนมเนย)</p>
http://www.aiconsulting.org/success.htm <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>