เก้าอี้ไฟฟ้า


เก้าอี้ไฟฟ้า..ระบาดหนัก

ฝากเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ กลุ่มที่เราเรียกว่า "เก้าอี้ไฟฟ้า"

ฝากเตือน
คนที่ซื้อเครื่องไปแล้วเปิดให้บริการ ระวัง..ผิดกฎหมาย อย่างน้อย
๑) เปิดสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต
๒) ประกอบโรคศิลปะโดยที่ตนเองไม่ใช่ผู้ประกอบโรคศิลปะ
๓) หากมีการโฆษณาด้วย และไม่ได้ขออนุญาตโฆษณาจากกระทรวงสาธารณสุข ก็จะผิดอีกกระทง
๔) หากเครื่องที่ใช้บริการ ยังไม่ขอแจ้งรายละเอียดกับ อย. กระทรวงสาธารณสุข ก็อาจจะผิดอีกหนึ่งกระทง
ดังนั้น ใช้กับตนเองก็พอ การไม่เพียงพอทำให้ทุกข์ เกิดกิเลส

ดูคำเตือนของทางราชการได้ที่

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/view_news_page.php?Submit=Clear&ID_Inf_Nw_Manager=0000000295

หมายเลขบันทึก: 151226เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2007 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล ผมได้นำไปใช้ในการจัดรายการวิทยุ ทางสวท. พอดีเลย... จะเข้ามาติดตามความคืบหน้าต่อไป... 

ขอความกรุณาตรวจสอบบริษัท นิฮอนเซลฟ์ เมดิคัล ไทยแลนด์ ที่ตั้งอยู่ที่ ซอยสุขุมวิท 71 ด้วยนะครับ เขาเช่าอาคาร พีบีทาวเวอร์ ชั้น 18 หรือ 19 ไม่แน่ใจ แต่ตอนนี้อาจจะปิดกิจการหรือปิดบริษัทไปแล้ว เนื่องจากว่าได้อบรมพนักงานที่ถูกหลอกเข้าไปให้ขายตรง มิยาบิ 9000 หรือเก้าอี้ไฟฟ้าสถิตย์จากญี่ปุ่น อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง อาทิ รักษาโรคเบาหวานได้ ลดความดันโลหิตได้ ตลอดจนรักษามะเร็งได้ มีผู้คนจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อ ด้วยการที่ทดลองให้นั่งฟรี เพื่อโน้มน้าวใจให้ซื้อในภายหลัง เพราะติดใจ ผมว่าเป็นแค่ความรู้สึกดีเท่านั้น เพราะผู้ป่วยก็ต้องทานยาลดความดัน ยาลดเบาหวานต่อไป ไม่ได้หายขาด และราคา่ร่วมหลายแสนบาท ขอยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะผมเองเคยทำงานให้เขาแค่ 1 เดือนเศษ แต่ลาออกเองเพราะทนความเลวของพวกเขาไม่ไหว เพราะต้องหลอกพี่น้องประชาชนของประเทศผมเอง ผมยอมรับไม่ได้ ขอความกรุณาตรวจสอบด้วยครับ

ผมขอขอบคุณมากครับที่ให้ข้อมูล ซึ่งผมจะส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เขตพื้นที่ดำเนินการต่อไปครับ

้อมูลอ้าอิง

จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)กำหนดให้เก้าอี้ไฟฟ้าเป็นเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ให้ผลในการบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตย์ (Static current)ดูที่ http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/doctor/equip.htm ซึ่งเก้าอี้ไฟฟ้าทางภาครัฐโดยกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รับรองเรื่องของการรักษาบำบัดโรคใดๆ แต่ให้แจ้งสรรพคุณของเครื่องเพียงเพิ่มการไฟลเวียนของเลือด และ/หรือบรรเทาอาการปวด เท่านั้น โดยการโฆษณาต้องได้รับการอนุญาตเนื้อหาและ/หรือ รูปภาพ ที่จะสื่อสารเผยแพร่ก่อน และต้องโฆษณาตามเนื้อหาและ/หรือ รูปภาพ ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ข้อคิดเห็น

เพื่อนร่วมงานให้ข้อมูลว่า สินค้าเหล่านี้เป็นของนอก ราคาสินค้าแพงมากหลักแสน แต่มาจ้างคนไทยเพียงค่าจ้าง(อาจจะ)ไม่ถึงหมื่น เงินที่ได้ออกนอกประเทศไปมากมาย อย่างเช่น ที่ จ.อุดรธานี มีบริษัทหนึ่งขายสินค้านี้ในราคา 100,000 บาท จำนวน 35 เครื่อง (เป็นเงินรวม 3,500,000 บาท) ในเวลา 3 เดือน ซึ่งจ้างพนักงานประมาณ 2-3 คน ๆ ละ 10,000 บาท ต่อเดือน (เป็นเงินรายจ่ายเฉพาะพนักงาน = 3 คน x 10,000 x 3 เดือน = 90,000 บาท) คิดง่าย ๆ 3 เดือน ประเทศไทยต้องเสียดุลทางการค้าเฉพาะรายนี้ประมาณ 2,000,000 บาทต่อศูนย์บริการ 1 จังหวัด และถ้าบริษัทเหล่านี้เปิดบริการและจุดประสงค์เพื่อขายเครื่องในแต่ละจังหวัด 3 เดือน ฉะนั้นใน 1 ปี ประเทศไทยสูญเสียเงินให้ต่างชาติเหล่านี้มากถึง 12,000,000 บาท ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ชาติไทยถูกดูดเลือดไปทีละนิดทีละน้อยหากเทียบกับมูลค่าการค้าขายกับต่างชาติ

ส่วนเรื่องของพนักงาน นอกจากไม่ให้ค่าคอมจากการขายสินค้า พนักงานเหล่านี้สุ่มเสี่ยงต่อกฎหมาย ซึ่งก็น่าเห็นใจ เนื่องจากบริษัทก็จะมีทางเลี่ยงว่าไม่ได้เป็นคนบอกให้พนักงานกล่าวอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เป็นการกระทำของพนักงานกันเอง (ซวย) นั้นคือคนไทยทะเลาะกันเอง

และยิ่งผู้เคยใช้บริการบางรายหัวใสหัวการค้า แต่ขาดการศึกษาข้อกฎหมาย ซื้อสินค้าไปเปิดบริการเช่นกันและเรียกเก็บค่าบริการ ก็เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายสถานพยาบาลอีกด้วย

ข้อเตือน

โรคบางโรคไม่ใช้ หรือบางโรคใช้ก็หาย โรคหลายโรคใช้ก็ไม่หายก็มีถมไป และมีบางโรคใช้แล้วกำเริบก็มี (สินค้าเหล่านี้ อย.จะให้บริษัทระบุคำเตือนหรือข้อห้ามใช้ในโรคบางโรค) ไม่มีอะไรที่วิเศษ จึงอยากฝากเตือนสติไว้บ้าง อยากให้คนไทยศึกษาสิทธิตนเอง เช่น การรู้จักอ่านฉลากทำความเข้าใจกับฉลากสินค้าให้มาก ๆ

ข้อเสนอแนะ

อยากเห็นคนไทยตื่นตัวในการปกป้องสิทธิพื้นฐานของสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นพลังบริสุทธิอันยิ่งใหญ่

ณ วันนี้ที่ อ.เมือง ขอนแก่น มีผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเตียงนวดไฟฟ้า ๓ แห่ง บน ถ.กลางเมืองทั้งหมด

ทั้งสามเจ้าเป็นเตียงนำเข้าจากเกาหลี ราคาเตียงนวด บางเจ้า ๙๕,๐๐๐ บาท ช่วงแรกขายได้ ๓๐ ตัว (คิดเป็นเงิน ๒,๘๕๐,๐๐๐ บาท) บางเจ้า ๑๐๓,๕๐๐ บาท รายนี้ไม่บอกจำนวนที่ขายได้ว่ากี่ตัว (คิดง่าย ๆ ว่าสัก ๑๐ ตัว ก็เป็นเงิน ๑,๐๓๕,๐๐๐ บาท) ส่วนอีกเจ้าเพิ่งมาเปิดใหม่ยังไม่มีข้อมูล สิ่งที่น่าคิดให้กับคนไทยคือ เม็ดเงินที่เป็นรายได้ของผู้ประกอบการนำเข้าซึ่งเป็นคนเกาหลี (๒ เจ้า) มีถึง ๓,๘๘๕,๐๐๐ บาท (เชียวนะ) หากคิดค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าจ่ายพนักงาน ค่าน้ำไฟประปา ค่าเช่าอาคาร ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อย่างง่าย ๆ เป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ นั่นหมายความว่า เม็ดเงิน (ของคนไทย) ที่คนเกาหลีที่นำกลับประเทศเกาหลีมีตั้งเกือบ ๒ ล้านบาทต่อเดือน 

คนไทยง่ายจัง ไทยถูกปล้นเงินไปปีละ ๒๐ กว่าล้านเอง

ต้องเห็นใจบริษัทด้วยนะค่ะ ที่นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย มาให้คนไทยได้รู้จัก

และทดลองเครื่องที่ทันสมัย เพราะการที่บริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินธุรกิจในเมืองไทย

ถือเป็นการเจริญเติบทางธุรกิจด้วย อย่าคิดด้านเดียวซิค่ะ เพราะบางทีเครื่อง

ของบริษัทเค้าก็ดีจิงๆนะค่ะ

ความคิดที่ 5 คุณคงจะเป็นพนักงานของบริษัทอย่างว่า ซินะ แหม!ก็แน่ละเชียร์พวกเดียวกันสิ ตื่นได้แล้วนะครับคุณ ประเทศไทยแย่ขนาดไหนแล้ว ยังไม่ว่ายโดนคนไทยด้วยกันทำลายกันอีก รีบหางานใหม่เถอะ ก่อนที่จะแย่ไปกว่านี้ ไม่มีทางที่เลยที่จะรักษาโรคใดๆได้ด้วยไอ้เก้าอี้ปัญญาอ่อนแบบนั้น อย.จ้องเล่นงานอยู่นะ เตือนไว้ก่อน อย่าได้เอาอนาคตตัวเองไปทิ้งไว้ที่องค์กรเน่าๆแบบนั้นเลย

สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าได้ทดลองจริง เพราะว่าเคยไปใช้บริการ

แล้วดีจิงๆ ปวดไมเกรน นอนไม่หลับ ปวดรอบเดือน พอไปใช้บริการเก้าอี้ตัวนี้แล้ว

ปวดไมเกรนก้อไม่ปวด นอนหลับสบาย ไม่ปวดรอบเดือนด้วย

เกิดมาเป็นคนต้องเปิดใจให้กว้งกว่านี้นะคะ

กระทรวงสาธารณสุขออก พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 2551 โดยมีเนื้อหาที่เพิ่มเติมแก้ไขต่างจากฉบับเดิม อย่างเช่น

- คำว่า "โฆษณา" ซึ่งเดิมไม่มี

- คำว่า "การส่งเสริมการขาย" ซึ่งเดิมไม่มี

- ความรับผิดชอบทางแพ่งเมื่อเกิดความเสียหายจากการใช้เครื่องมือแพทย์

ดังนั้นผู้ประกอบการและผู้บริโภคควรที่จะต้องศึกษากันไว้ สามารถดูกฎหมายฉบับสมบูรณ์ได้ที่เวบของกฤษฎีกา www.krisdika.go.th

แล้วคำว่าโฆษณา มีความหมายว่าอย่างไร

"ส่งเสริมการขาย" หมายความรวมถึง ขายด้วยหรือป่าว

ช่วยตรวจสอบค่ายทหารที่ปีเลน เจาะไอร้อนด้วยค่ะ

ความหมายของคำว่า "การส่งเสริมการขาย" ตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.๒๕๕๑ กำหนดว่า "การให้ข้อมูล การชักชวน หรือการกระทำโดยวิธีใด ๆ เพื่อชักนำให้เกิดการขาย"

ถือว่ากว้างมากกินความหมายหลาย ๆ ด้านที่นำไปสู่การขายเครื่อมือแพทย์

กฎหมายนี้น่าจะใช้ควบคู่กับ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕ ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี แต่น่าเสียดายพอถึงระดับจังหวัดแล้วไม่ถูกหยิบขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากนัก

ตอบข้อคิดเห็นที่ ๑๐

การตรวจสอบเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ในแต่ละจังหวัดจะอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้น ๆ ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดูแลทั้งประเทศ

ตามความเห็นที่ 2 มีการตรวจสอบหรือยังคะ เพราะตอนนี้บริษัท นิฮอนเซลฟ์ เมดิคัล ไทยแลนด์ ได้มาทำการทดลองเก้าอี้ไฟฟ้าให้ชาวบ้านใช้มาเป็นเดือนแล้วค่ะ มีชาวบ้านจำนวนมากที่เข้ามาใช้บริการและเชื่อว่าเก้าอี้ไฟฟ้ารักษาโรคได้ ทำให้หลายคน ตัดสินใจซื้อเครื่องนี้ไปใช้ที่บ้าน เครื่องแพงมากค่ะ ราคาตัวละ100000-126000 บาท ทั้งๆที่ไม่มีอะไรเลย แค่ตัวเครื่องทำไฟฟ้าสถิตย์เท่านั้นเอง ดิฉันเคยค้นประวัติบริษัทนี้ ว่าเคยโดนคดี เกี่ยวกับการโฆษณาเกินจริง และไม่มีการรับรองจาก อย. แต่ตอนนี้ทางบริษัท ได้ทำอย. ผ่านแล้วค่ะ เพราะเขามีใบมายืนยันเรื่องการขออนุญาตการนำเข้าและสามารถขายได้ มีชาวบ้านที่เชื่อว่าเครื่องนี้ดีเป็นจำนวนมาก บางคนตัดสินใจซื้อทั้งๆที่ไม่มีเงิน จนยอมเป็นหนี้นอกระบบเลยค่ะ ดิฉันอยากช่วยชาวบ้านแต่ไม่รู้จะทำยังไง เพราะคนที่ใช้เขาก็บอกว่าดีทุกคน เพราะมีแต่คนแก่ๆไปนั่งทั้งน้นเลยค่ะ และตอนนี้เซลล์ของบริษัทนี้ก็กำลังจะย้ายไปทำการทดลองกับชุมชนถัดไปแล้วค่ะ เพราะตอนนี้ชุมชนของดิฉํน ซื้อกันไปเยอะแล้วค่ะ เห็นแล้วน่าสงสารชาวบ้าน พอจะมีทางแก้ไขไหมคะ

ลักษณะการทำธุรกิจแบบนี้ เป็นการทำธุรกิจเชิงแฝงประกอบกับคนไทยชอบของฟรี พอฟรีแล้วมองเห็นว่าน่าจะซื้อไปเปิดให้บริการได้ หาเงินได้ เมื่อมีใครมาต่อว่าธุรกิจนี้ก็เป็นคนค้านแทนนายทุนเหล่าแถมยังโปรโมทให้เป็นอย่างดี

ทำให้ชาวต่างชาติเหล่านี้นำสินค้าดังกล่าวมาขายให้คนไทย (ปล้นเงินไทยไปนอก) ยิ่ง ณ วันนี้การค้าขายภายใต้ AFTA ยิ่งต้องระวังเงินไหลออกมากขึ้น และเงินเข้าอาจจะน้อยถ้าคนไทยที่ค้าขายไม่ซื่อสัตย์ในการค้า ดังนั้นหน่วยงานรัฐควรเตรียมการเรื่องต่าง ๆ ไว้ เช่น กลุ่มผู้ขายเก้าอี้ไฟฟ้าและเตียงไฟฟ้าต้องจ่ายภาษีคืนประเทศไทยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก่อนนำเงินออกประเทศไทย และมีอีกหลายมุมมองที่ภาครัฐพึงปฏิบัติซึ่งเชื่อว่าหลายท่านคงมองออก และอยากให้เสนอแนะให้เป็นรูปธรรม

ตามความเห็นที่ 13 มาถึง ณ วันนี้ ผมคิดว่าทางบริษัทคงไปดำเนินการวิ่งเส้นสายเอาเงินฟาดหัวทาง อย. แล้วล่ะครับ ไม่ได้พยายามที่จะทำให้มันถูกต้องตามกฎหมายและศึลธรรมหรอก แต่คุณคงไม่หลงเชื่อไปด้วยอีกคนหรอกนะครับ ผมขอยืนยันเหมือนเดิมว่าทางการแพทย์ไม่มีการรองรับแต่อย่างใด ถ้าแน่จริง ทำไมเมื่อปีกลาย ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาประกาศเตือนทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 9 โมเดิรน์ไนน์ล่ะครับ ว่าประชาชนอย่าได้หลงเชื่อ??เพราะทางบริษัทได้โฆษณาเกินจริง พวกเขาได้หลอกให้ผมและเพื่อนๆทีมงานพูดไปตามบทที่เขามีมาให้แล้ว หากไม่พูดตามนั้น ก็จะให้ลาออก พวกเขาฉลาดนะครับ บังคับให้ทุกคนเขียนใบลาออกเอง เพื่อที่พวกเราไม่สามารถเอาผิดได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาถึง ณ วันนี้ มีพนักงานจำนวนมากถูกให้ออก และรับพนักงานหน้าใหม่ที่ไม่รู้ประสีประสามาทำงานให้ แต่เมื่อได้ทำการสาธิตตามสถานที่ที่ได้เลือกไว้แล้วตามจุดต่างๆ แล้วต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมาทำการจับกุม ทางบริษัทฯได้แต่นิ่งเฉย ปล่อยให้คนไทยดำเนินการเอง แล้วบอกปัดความรับผิดชอบต่างๆ ว่าไม่รู้ไม่เห็น แถมยังบอกด้วยว่า พนักงานพูดเกินเลยเอง บริษัทไม่เกี่ยวข้อง คุณคิดดูให้ดี ให้ละเอียด ลึกซึ้งนะครับ ว่าจะต้องมีคนไทยที่เป็นพนักงานของเขาถูกจับกุมอีกตั้งเท่าไหร่ ถึงจะจบ..ปีที่แล้วก็โดนอีกราย ที่จังหวัดอุทัยธานี ภายในวัด(ชื่ออะไรผมจำไม่ได้)พนักงานเข้าไปอยู่ในห้องขังตั้งนาน กว่าจะมาประกันตัวออกมาได้ หมดเลย อนาคต ผมขอฝากไว้เลยนะครับ ว่า จำชื่อบริษัท นิฮอนเซลฟ์ เมดิคัล ให้ดี ระวังไว้ด้วย พยายามเตือนกันต่อๆไปว่า แท้จริงแล้ว เป็นแผนของไอ้ยุ่นที่มันพยายามหลอกคนไทยโดยให้คนไทยทำต่ออีกทอดหนึ่ง น่าเวทนานะครับ เคยแจ้งอย.ไปทีหนึ่งแล้ว แต่ทางอย.กลับบอกว่า ต้องมีหลักฐาน...

คนไทยควรตั้งสติก่อนที่จะทำอะไร ไม่ว่าจะซื้อข้าวซื้อของใดๆ พิจารณาดูว่าจำเป็นในการดำรงชีพหรือไม่ ไม่ใช่ว่าต้องการหรือไม่ เพราะความต้องการเป็นกิเลส มีความโลภครอบงำ

ลองทบทวนสิ่งของเครื่องใช้ที่เรามีอยู่รอบ ๆ ก็ได้ มันสามารถจัดสิ่งของเครื่องใช้เหล่านี้เป็น "สิ่งที่จำเป็น (ในช่วงเวลานั้น)" กับ "สิ่งที่อยากมีอยากได้"

ตอนนี้เห็นมีอยู่ในพื้นที่ อำเภอนาทวี จ.สงขลา มีการโฆษณาเรื่องเก้าอี้ไฟฟ้าเหมือนกันค่ะ ไม่แน่ใจว่าเป็นบริษัทเดียวกันไม๊

แล้วเราจะมีวิธีช่วยคนที่เค้าหลงเชื่อไปแล้วอย่างไรดีค่ะ เพราะว่ามีชาวบ้านไปนั่งรอคิว วันนึงเป็นร้อยๆคนเลยค่ะ

สงสารคนที่ไปนั่งมากเลยค่ะ กลัวเค้าจะเป็นอันตราย

จะว่าไปแล้วทุกธุรกิจก็มุ่งหวังผลกำไรใช่ไหมคะ

แล้วทำไมถึงต้องไปคิดแทนเขาด้วย

ถ้าเป็นคุณคุณก็ทำ

อีกอย่างดิฉันเคยเห็นที่เขาไปทำจากการสอบถาม

หลายๆคนก็บอกว่าก็ดีเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ไม่แปลกที่เขาจะขายไม่ว่าจะถูกหรือแพงแต่ถ้าได้ผล

ถ้าเราเจอกับตัวเองเราจะรู้ค่ะ

แต่เสียตรงที่อาจจะมีบางส่วนที่ยังขัดต่อบางองค์กรหรือ

บางส่วนที่ยังไม่ถูกต้องก็ควรจะทำให้ถูกต้องก็จะดีมากนะคะ

ถ้าลองเปิดใจดูดิฉันว่าก็ไม่เลวเท่าที่เข้าใจถ้าเลือดเราไหลเวียนดี

อาการต่างๆที่เคยเป็นก็จะดีตามเองจริงมั๊ยค๊ะ

เป็นผมผมจะไม่ทำเด็ดขาด เรารู้อยู่แล้วนิว่ามันไม่จริง และยังพิสูจน์ไม่ได้100เปอร์เซ็นต์ทางการแพทย์ และจะหลอกลวงประชาชนไปเพื่ออะไรเล่า?? ถ้าดีจริงๆ เจ้าเครื่องนี้มันต้องแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ทำไมยังอยู่ในวงแคบล่ะ ฝรั่งตะวันตกไม่เห็นเคยใช้เลยนิ ลองมองหลายแง่หลายมุมด้วยนะครับ จริงใจต่อคนไทยด้วยกันจริงๆ ผมเองก็ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรหรอกครับ เพียงแต่ไม่อยากเห็นคนไทยงมงายมากไปกว่าที่เป็นอยู่

ตอนนี้เก้าอี้ไฟฟ้าที่ว่านี้ กำลังเปิดให้บริการที่อ.ชะอำมาได้1 เดือนแล้ว

ส่วนตัวดิฉันลองไปนั่งโดยใช้บริการได้3 วันยังไม่มีสิ่งไดเปลี่ยนแปลง

แต่ ณ ที่ให้บริการประชาขนให้ความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะผู้สูงอายุ พระ

และชาวต่างชาติ อัตตราค่าบริการ บอกว่า ฟรี แล้วแต่จะให้ และบอกว่าเงินที่ได้นำไปมอบให้ ชายแดนภาคใต้

ไม่รู้จริงหรือเปล่า ...รบกวนผู้ที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบด้วยนะคะ

เรียน คุณminami จากกระทู้ที่ ๒๐ ท่านสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานจังหวัด ที่ศาลากลางจังหวัด เหตุเกิดที่ใดแจ้งที่จังหวัดนั้นครับ และต้องขอบคุณที่ให้ข้อมูลมากครับ

เชิด_ขก

ของแบบนี้อย่าไปขัดใจกันเลย เป็นทางเลือกของผู้บริโภค บางครั้งไปหาหมอก็ใช่ว่าจะหายหรือสบายใจ เผลอ ๆ โดนหมอต่อว่าให้ใจฝ่อไปอีก (เงินก็เสียมาเจ็บใจอีก คุ้มมั้ยละ ถามหน่อย...) ในเมื่อเขานั่งแล้วมีความสุขอย่าไปเป็นเดือดเป็นแค้นแทนเขาเลย ทุกวันนี้สังคมไม่สงบสุขก็เพราะคนชอบคิดแทนคนอื่น หรือให้คนอื่นต้องมาคิดตามตัวเอง พอใครเห็นต่างก็เป็นฟืนเป็นไฟ ยาบางครั้งก็ใช้กับคนบางคนไม่ได้ผล รางเนื้อชอบรางยา มิเช่นนั้นจะมีเหรอแพทย์ทางเลือก โรคบางโรคแพทย์แผนปัจจุบันไม่มีปัญญารักษาให้คนไข้กลับไปตายที่บ้าน แต่ปัจจุบันยังเดินโทง ๆ ๆ อยู่ก็เพราะเขาไปรักษากับแพทย์ทางเลือก เช่นสมุนไพร ฯลฯ ขอซะทีเถอะ

หลักของการทำธุรกิจคือการกระทำหรือปลุกกระแสความอยาก มันมากกว่าคำว่า "ความจำเป็น" ใด ๆ ที่มีผู้ใช้บริการแล้วสุขสบายไม่เดือนร้อนก็ไม่ว่ากัน และไม่มีอะไรฟรีในโลก โดยเฉพาะโลกธุรกิจ สิ่งที่(เหมือน)ให้ฟรี เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการปลุกความอยากของคน บางคนอยากมีสินค้านั้นเป็นของตนเอง บางคนอยากมีไว้เพื่อการค้าเพราะเห็นคนมารับบริการมาก และอีกอย่างที่ธุรกิจไม่อาจพูดถึงได้คือ การพูดความจริงไม่หมด ไม่มีธุรกิจใดพูดถึงว่าสินค้า/บริการของตนเองมีขอบเขตเพียงใด มีข้อจำกัดเพียงใด ต้องระวังอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นจริยธรรมทางการค้า แต่น้อยนักจะปฏิบัติกัน

  • เพียงเพื่อเตือนใจให้สกิด คิดแยกแยะใคร่ครวญว่า "จำเป็น" หรือ "อยาก"

ถ้างั้น ก็ขอเชิญโง่บรมต่อไปละกัน อนิจจา คนไทย

ต่างชาติมองรู้ไส้เราว่าขดอย่างไร แลกกับการเปิดให้บริการฟรีๆ นั่งเย็นสบายในห้องสงบเงียบ คุยกับเพื่อนวัยไร้เรี่ยกัน ปรับทุกข์สุขกันละกัน ถ้าทุกคนไปใช้บริการเฉยๆ ก็ได้สบายเนื้อตัวดี แต่บางคนซิ อยากได้เป็นของส่วนตัวหรือไม่ก็นึกไว้ว่าถ้าซื้อเครื่องไปให้บริการน่าจะดี ตัวเองก็ใช้อยู่แล้วแถมใครมารับบริการก็จ่ายสตางค์..คุ้ม.ซะเมื่อไหร่

แต่ละเดือนขายเครื่องแค่ วันละเครื่องก็คุ้มค่าน้ำไฟพนักงานแล้ว ไปดูที่เกาหลีญี่ปุ่น เค้าก็เฉยๆกัน ไม่ค่อยมีใครซื้อไปใช้สักเท่าไหร่เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท