Thin Client ในสำนักหอสมุด(2)


สรุปเราต้องนำทั้ง 3 ส่วนมาใช้ร่วมกันจึงจะเกิดระบบ Thin Client ในรูปแบบของ SDS ซึ่งจะแตกต่างกับระบบ Thin Client ที่กล่าวมาในตอนที่ 1 คือที่ตัวเครื่อง Client จะมีการจำลอง Harddisk (เรียกว่า eDISK)ขึ้นมาโดยการติดต่อกับเครื่อง Server SDS ผ่าน Potocol eDC และจะมีการประมวลผลที่ตัวเครื่อง Client เองเลย ไม่ต้องไปประมวลผลที่เครื่อง Server SDS ซึ่งจะทำให้มีความรวดเร็วในการทำงานกว่าระบบ Thin client ที่ทุกอย่างต้องประมวลผลที่ส่วนกลาง

สวัสดีครับ มาคุยเรื่อง Thin Client ที่สำนักหอสมุดนำเอามาใช้ต่อครับ วันนี้จะมาพูดถึง ระบบ SDS ที่เรานำเอามาใช้ในห้องสมุดของเรา

ก่อนอื่นลองเข้าไปดูข้อมูล Website ของ SDS ได้ที่นี่ครับ

http://www.fineac.com/web/index.html 

ต่อครับเดี๋ยวผมอธิบายไอ้เจ้า SDS(Service Delivery System)นิดนึงครับเอาแบบตามความเข้าใจของผมนะครับหวังว่าคงไม่ว่ากัน

 

Download ไฟล์ PDF ไท้ที่นี่ครับ
http://gotoknow.org/file/geaditk/Chapter+1+Introduction.pdf

แปลกันเอาเองเนอออ

สำหรับผมที่รู้อะนะ จะแบ่งเป็น 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องกันคือ

1. ตัวเครื่องที่ทำหน้าที่ Client หรือไอ้เจ้าเครื่องที่ใช้สำหรับสืบค้นนั้นแหละในเครื่องจะมีแค่ CPU และ ก็ RAM และก็ Card Network (NIC) เท่านั้นที่ต้องการไม่ต้องมี Harddisk ครับ

รูปเครื่อง Thin client ที่สำนักหอสมุดนำเอามาใช้ครับ

รูปเครื่อง Thin Client

2.เครืองที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server SDS ซึ่งไอ้เจ้าเครื่องนี้อะนะมันจะเป็นตัวเก็บข้อมูล Software ที่เราต้องการให้เครื่อง Client นำเอาไปใช้งาน ซึ่งจะเก็บในรูปแบบ Disk Image เอายังงี้ดีกว่าเดี๋ยวจะงงว่า Disk Image คืออะไร ผมจะเอาแบบที่ทำจริง ๆ ในห้องสมุดเลย

การทำ Disk Image ก็คือการเอา Harddisk ไปเสียบไว้ที่เครื่อง Client แล้วลงโปรแกรม Microsoft Windows XP ลง Software ต่าง ๆที่ต้องการใช้ และที่สำคัญต้อง Driver card  lan และ Software ของ SDS เข้าไปด้วย เมื่อเสร็จแล้ว ก็นำเอา Harddisk ไปต่อไว้ที่เครื่อง Server อีกที ก็จะกลายเป็น Disk Image 1 ชุดของเครื่อง Server ที่สำหรับให้บริการแก่เครื่อง Client

ซึ่งอันที่จริงแล้วไอ้เจ้าเครื่อง Server SDS เนี่ยจะต้องติดตังโปรแกรม OS ที่เป็น Linux และ Software SDS ที่ทำหน้าที่เป็น Server ก่อนถึงจะ Mount Disk Image เอาไปให้บริการแก่เครื่อง Client ได้

รูปเครื่อง PC ที่กลายมาเป็นเครื่อง Server ครับ

3. ระบบเครือข่ายครับอันนี้จะเกี่ยวข้องกับ Potocol ของ Software SDS เองซึ่งเค้าพัฒนาขึ้นมาเองชื่อว่า Electtronic Disk Comunication (eDC) ซึ่งจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม การสื่อสาร การขนส่งข้อมูลกันระหว่างเครื่อง Server SDS กับเครื่อง Client ไอ้เจ้า eDC จะวิ่งอยู่ในเครืองข่ายของห้องสมุดอีกทีครับ

รูประบบเครือข่ายสำนักหอสมุดครับ

 

สรุปเราต้องนำทั้ง 3 ส่วนมาใช้ร่วมกันจึงจะเกิดระบบ Thin Client ในรูปแบบของ SDS ซึ่งจะแตกต่างกับระบบ Thin Client ที่กล่าวมาในตอนที่ 1 คือที่ตัวเครื่อง Client จะมีการจำลอง Harddisk (เรียกว่า eDISK)ขึ้นมาโดยการติดต่อกับเครื่อง Server SDS ผ่าน Potocol eDC และจะมีการประมวลผลที่ตัวเครื่อง Client เองเลย ไม่ต้องไปประมวลผลที่เครื่อง Server SDS ซึ่งจะทำให้มีความรวดเร็วในการทำงานกว่าระบบ Thin client ที่ทุกอย่างต้องประมวลผลที่ส่วนกลาง

แต่มีข้อแม้อย่างหนึงว่าระบบ Network เนี้ยต้องเจ๋งจริง ๆนะครับ

วันนี้เอาแค่นี้ก่อนครับ เดี๋ยวคราวหน้าผมจะมาพูดถึงขั้นตอนการติดตั้ง ปัญหาที่พบครับ ซึ่งกว่าจะมีระบบให้ใช้ดังรูปข้างล่างเนี้ยก็ยุ่งเหมือนกันครับ แต่ก็ภูมิใจที่สำนักหอสมุดเราได้นำเอาระบบนี้เข้ามาใช้เป็นหน่วยงานแรก ๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวรครับ....... 

รูปการใช้งานเครื่องสืบค้น Web OPAC ของสำนักหอสมุดครับ

หมายเลขบันทึก: 150585เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2007 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่า

  1. เจ้า Thin Client นี่ มีระบบ OS ฝังอยู่ในตัวใช่หรือไม่
  2. เราสามารถปิดเครื่อง เจ้า Thin Client ได้โดยไม่ต้อง Shutdown ได้หรือไม่ เพราะไม่มี ฮาร์ดดิสก์
  3. อันนี้ ผอ.มหิดล ฝากถาม ว่า ถ้าเจ้าเครื่องแม่ทำงานไม่ได้ เครื่องทั้งหมดก็จะค้นไม่ได้ใช่หรือไม่ เราสามารถมีระบบสำรองเหมือน Backup Server ได้หรือไม่
  4. การเก็บข้อมูล ในกรณี ถ้าต่อไปดีจริงๆ เราซื้อมาทำเครื่องให้บริการอินเทอร์เน็ต แล้วเก็บข้อมูลไว้บนฮาร์ดดิสก์ สามารถสร้าง พื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับนิสิตที่เดียว กัน สมมุติ ว่าเก็บไว้ที่ Citcoms แต่แยกระบบการจัดการแยกกันระหว่างห้องสมุด กับ Citcoms ทำให้นิสิตใช้เครื่องที่ไหนก็ได้ แต่จะใช้ข้อมูลจากที่เก็บที่เดียวกันได้หรือไม่
  5. ในกรณี ที่เป็นเครื่องบริการ แล้วถ้าติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมจะทำได้หรือไม่
  6. และถ้ามีคนใช้ Application เดียวกันเยอะๆ เช่น เวิร์ด เพาเวอร์พอยต์ จะมีปัญหาเรื่องการแย่งทรัพยากรร่วมกันหรือไม่

อ.หนึ่งครับผมตอบตามความเข้าใจและที่รู้มาของผมนะครับ

  1. ที่เครื่อง Client จะไม่มี OS ใด ๆ เลยครับแต่จะใช้การ Boot On Lan โดยที่เราต้องไป Setup ที่ BIOS ก่อนว่าให้มีการ Boot on lan  ซึ่งเมื่อเรา Setup เรียบร้อยแล้วเมื่อเปิดเครื่อง Client มันจะมองหาเครื่อง Server เองแล้วเริ่มติดต่อกันเพื่อนำข้อมูลมา Boot ที่เครื่อง Client ครับ
  2. ปิดได้เลยครับไม่ต้องกลัวไฟดับข้อมูลทุกอย่างอยู่ที่เครื่อง Server SDS ซึ่งระบบนี้ Server SDS จะสร้าง Harddisk จำลองไปใช้ที่เครื่อง Client และประมวลผลที่เครื่อง Client จึงเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาเครื่องหนึ่งที่มี Harddisk แต่จริง ๆแล้วไม่มี Harddisk
  3.  แน่นอนครับอาจารย์ ถ้า Server เป็นอะไรไปทุกอย่างย่อมทำอะไรไม่ได้เลยครับ ระบบนี้มี 2 อย่างที่ต้องระวังให้มากคือ เครื่อง Server ที่ต้องดูแลเหมือนไข่ในหิน และก็ระบบ Network ต้องอย่าให้มีปัญหาครับ แต่ผมยังตอบไม่ได้เลยครับถ้าไฟดับขึ้นมาจะทำยังไงกันดี ****ความเสียงนะเนี่ย
  4. การเก็บข้อมูลเนี่ยจะเก็บที่ Server SDS อย่าเดี่ยวเลยครับเพราะการจัดการข้อมูลเค้าจะจำลองเป็น Harddisk ให้เครื่อง Client แต่ละเครื่องโดยปรกติจะให้ประมาณ 30 M ขึ้นอยู่กับการ Setup ของ Admin  ถ้าจะทำอย่างที่อาจารย์ว่าต้องให้ที่ Citcom เค้าทำที่เก็บข้อมูลประมาณว่า SAN หรือ NAS ก็ได้แล้วให้เค้าทำห้อง File Share สำหรับนิสิตแต่ละคนเพื่อไปใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ของตนเองเวลาใช้งานที่ใหนในมหาวิทยาลัยก็ทำการ Login ไปที่ SAN หรือ NAS แล้วก็ Map Drive เป็น Drive หนึ่ง Drive ก็ได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน แค่นี้ก็สามารถใช้งานข้อมูลที่ใหนก็ได้ในมหาวิทยาลัย เมื่อใช้งานเสร็จก็ Disconnect ออกจาก SAN หรือ NAS ****เป็นแค่แนวคิดครับ
  5. ติดตั้งจากเครื่องใหนก็ได้ครับเมื่อติดตั้งเสร็จก็ให้ Admin ทำการ Cover Image Disk ของเครื่อง Client เครื่องนั้น ๆ ให้เป็น Image Disk ต้นฉบับแค่นี้ทุกเครื่องก็จะเหมือนกันแล้วครับ จริงแล้วมันมีเยอะครับไอ้เรื่องการจัดการ Software เอาไว้ให้ผมเขี่ยนเป็นอีกบันทึกดีกว่าครับ
  6. ไม่ครับเพราะที่ตัว Server จะทำการสร้าง Harddisk จำลองให้แต่ละเครื่อง Client กะทำขั้นตอนการ Boot เครื่องเท่านั้นเอง และการประมวลผลทุกอยางประมวลผลอยู่ที่เครื่อง Client เองดังนั้นที่เครื่อง Client ก็จะต่างคนต่างการทำงานกันไปถ้าเครื่อง Client เครื่องใหนมี Ram เยอะกว่าก็ทำงานดีกว่าครับ ไม่เหมือนระบบอื่นที่ทุกอย่างต้องไปประมวลผลที่เครื่อง Server อย่างเดี่ยว 

ดีครับ ได้ความรู้และได้คำตอบที่ตรงประเด็น

เป็นปลื่มแทนหลายผมจริงๆคับมีห้องสมุดที่ใช้ Internet ระบบใหม่ไช้ในมหาลัย คือว่าหลานผมเรียน เทคนิคการแพทย์ พึ่งเรียนเข้าปี 51 ชื่อ บุหลัน วาปี ถ้ามีอะไร อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยคับ

หวัดดีอาจารย์นะคับ ผมทำงานอยู่มุกดาหาร จบบริหาร เอกคอม ความรู้เรื่องคอมไม่แน่นคับ สนใจในระบบ network ของอาจาร์ อยากจะทดลองทำระบบนี้ดูบ้าง แต่ทำไม่ได้ อยากของคำชี้จากอาจารย์คับ ตอนนี้ผมมีข้อสงสัยอยู่ข้อ 1 คือว่า

- ถ้าเครื่อง Client สเปคไม่เหมิอนกัน เราต้อง Imate file ไว้ทุกเครื่องใช่หรือไม่ครับ แล้วเวลาเปิดเครื่อง Client จะ Boot ได้ไหม จะมองเห็น file ตัวเองได้อย่างไร (มีหลาย fie ใน server)

ขอคำชี้แนะหน่อย ขอบคุณล่วงหน้าครับ ถ้ามีคำถามจะขอรบกวนถามอีกนะคับผม

สวัสดีครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับผมเองก็ไม่ได้เป็นอาจารย์หลอกครับเป็นเพียงบุคลากรของสำนักหอสมุดครับ ก็พอมีความรู้ด้านนี้บ้างก็เลยเขียนไว้ครับ ขอตอบเลยนะครับ

- ถ้าเครื่อง Client สเปคไม่เหมิอนกัน เราต้อง Imate file ไว้ทุกเครื่องใช่หรือไม่ครับ

สามารถทำได้ 2 อย่างครับ

คือ ทำเป็นแบบ image file เดียว กับทำแยก image file แยกเป็นของ client แต่ละสเปคครับ

ถ้าทำเป็นแบบ image file เดียว ตอนที่ทำ image file เราต้องลง driver อุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่อง client แต่ละเครื่องให้ครบครับ(อันนี้ผมไม่เดยทำครับ แต่พี่ที่บริษัทเค้าบอกผมว่าทำได้)ในกรณีนี้เราจะไม่เปลือง HDD หรือ พื้อที่สำเก็บ Image file ในเครื่อง Server

ถ้าทำแบบแยก image file อันนี้ผมว่าง่ายดีครับ แต่จะเปลือง พื้นที่เก็บหน่อยครับ

- เวลาเปิดเครื่อง Client จะ Boot ได้ไหม จะมองเห็น file ตัวเองได้อย่างไร (มีหลาย fie ใน server)

สามารถ Boot ได้ครับถ้าเราทำแบบแยก image file ที่เครื่อง client จะมีเมนูให้เราเลือกว่าจะ boot ที่ image file ใหนซึ่งจะทำการเลือกแค่ครั้งแรกครับครั้งต่อไปเครื่อง client จะเลือก boot เอง ซึ่งในกรณีนี้เราสามารถจัดการได้ที่ Software SDS Managemant ครับ

แต่มีข้อแม้อย่างหนึงว่าระบบ Network เนี้ยต้องเจ๋งจริง ๆนะครับ

อันอาจเป็นจุดอ่อนได้ครับ

ก็เลยไม่อาจบอกได้ว่าอะไรดีกัน(ขึ้นอยู่กับการใช้งานครับ)

ระหว่าง thinclient ที่ประมวลผลที่เครื่องแม่ทั้งหมด กับ

thinclient ที่ประมวลผลที่เครื่องลูกแล้วเร็วกว่า(บางทีก็ไม่แน่)

ผมกลับมองว่า thinclient ที่ประมวลผลที่เครื่องลูก ไม่ต่างอะไรกับ client server ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท