สรุปเนื้อหารายงาน


สู้เพื่อแม่
  7 – eleven  แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน
1.Input
- ภาวะผู้นำ
- วัฒนธรรม
- เจนตคติ
- การส่งเสริม
- การสร้างบรรยากาศ
- การยกย่องชมเชย
- การมีส่วนร่วม
2.Process
- Motivate To Learn & Share
3.Output
1. ความรู้สู่องค์กร
2. ความสัมพันะที่ดี
3. สังคมแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปัน
4. สังคมแห่งการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการแบ่งปัน
5. ผลิตภาพที่ดีขึ้น
6. ขีดความสามารถในการแข่งขันและบรรลุเป้าหมายองค์กร
7. การเติบโตที่ยั่งยืน

 AIS
บริษัทAISจัดการความรู้โดยการสร้างวิทยากรภายใน  ในการจัดการความรู้ของบริษัทAIS เพื่อช่วยลดบทบาทระดับบุคคลลง เพื่อให้เกิดการพัฒนาในภาพรวม โดยการสร้างศูนย์กลางของผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งการสร้างวิทยากรภายในนั้นจะเป็นการถ่ายทอดความรู้ประเภทTatic ที่วิทยากรมีไปเป็น Tatic ของผู้เรียนอีกหลายๆคน
ขั้นตอนดังนี้
 กำหนดขอบเขต
คือ กำหนดขอบเขตของโครงการเสียก่อนว่า  สิ่งที่ต้องการได้จากโครงการนี้คืออะไร  บริษัทต้องการมีวิทยากรกี่ท่าน  มีคู่มือผู้สอนกี่หลักสูตร  จากประสบการณ์
กำหนดชื่อหลักสูตร
เชิญตัวแทนจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องมา เพื่อร่วมกำหนดรายชื่อหลักสูตรที่ต้องการมี  ชื่อหลักสูตรมาจากข้อมูลความจำเป็นในการฝึกอบรมของบริษัท  
แต่งตั้งคณะทำงาน
 - มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในเรื่องที่จะได้รับมอบหมาย
-  มีทักษะในการสื่อสารและการนำเสนอที่ดี 
- เคยได้รับโอกาสในการนำเสนอเป็นครั้งคราว
เขียนแผนการสอน
แผนการสอน คือ แนวทางที่วิทยากรเตรียมการไว้ล่วงหน้าว่าจะดำเนินการอย่างไรในการฝึกอบรม
จัดทำสื่อการสอน และอุปกรณ์ต่างๆ  เช่นPowerPoint  เกมส์  เป็นต้น
จัดทำคู่มือผู้สอน  บรรจุเอกสารลงในแฟ้ม ซึ่งประกอบด้วย
                                -   รายละเอียดหลักสูตร
                                -   แผนการสอน 
                                           -   เอกสารที่พิมพ์จาก PowerPoint  รวมถึง ไฟล์คอมพิวเตอร์
ทดสอบสอน ควรมีการทดสอบสอน โดยใช้คู่มือที่ผู้เรียนเป็นผู้พัฒนา  ในครั้งแรกควรให้เวลาประมาณ 15 นาที 
ติดตามผล  ควรมีผู้ให้การวิพากษ์ เพื่อให้ผู้ทดสอบสอนนำข้อเสนอแนะกลับไปปรับปรุงอีกครั้ง
ขึ้นเวทีจริง  ควรจัดการฝึกอบรม โดยให้โอกาสวิทยากรมือใหม่ได้มีโอกาสในการลองเวที 
ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข  พนักงานติดงาน  ไม่มีเวลา แนวทางแก้ไข ควรเลือกเวลาที่เหมาะสมสำหรับทำโครงการ  เลือกช่วงที่ไม่มีงานเร่งด่วน ซึ่งจะทำให้พนักงานร่วมโครงการอย่างเต็มใจ
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
อุดมการณ์   ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย  ดังนี้
“ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม ”  โดยพื้นฐานต้องมีความเป็นธรรมต่อคน 3 กลุ่ม (In General) คือ
            1.  ผู้ถือหุ้น ถ้าหากไม่มีผู้ถือหุ้น ก็ไม่มีเครือซิเมนต์ไทย
            2.  ลูกค้า ถ้าไม่มีลูกค้ามาซื้อสินค้า เครือซิเมนต์ไทยก็อยู่ไม่ได้
3.     พนักงาน ต้องให้ผลตอบแทน สวัสดิการ และโบนัสที่เหมาะสม
       “ มุ่งมั่นความในความเป็นเลิศ ”  โดยรับพนักงานส่วนใหญ่ ที่มี GPA ไม่ต่ำกว่า 2.75 และแต่ละปีรับนักศึกษาที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ประมาณ  20 คน จากจำนวนที่รับ 120 คน มาเป็นพนักงาน และเน้นการฝึกอบรมและพัฒนา มีห้องฝึกอบรมราคา 10 ล้านบาท มีอุปกรณ์ที่ดีที่สุด ซึ่งดีกว่า Harvard Business School  และ Stamford University เพราะได้ส่งคนไปดูงาน และดูว่าอะไรที่ดีที่สุดในโลก จะนำมาดัดแปลงและพัฒนาให้ดีกว่าและจัดหามาไว้ให้พนักงานได้ใช้
       “ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ”   ให้ความสำคัญต่อ คุณค่าของพนักงาน และถือว่าเขาเหล่านั้นคือสมบัติ ที่มีค่าที่สุดพยายามคัดสรรบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาร่วมงาน ให้การฝึกฝน พัฒนา และดูแลอย่างดี ด้วยสวัสดิการ และผลตอบแทนตามสมควร
       “ ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ”  ในขณะที่ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤต บริษัทปูนซีเมนต์ไทยประสบภาวะขาดทุนหลายหมื่นล้านบาท  แต่บริษัทฯ ไม่ได้ lay off  พนักงานเลย จะรักษาพนักงานไว้ทุกคน โดยประกาศว่าบริษัทมี Non Lay Off Policy เพราะเชื่อว่า     “ Employees are important and valuable resources”

Strategies  กลยุทธ์ของเครือซีเมนต์ไทย
  1. Merit System : Promote excellent and good person
ระบบคุณธรรม : ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์  มีการโปรโมท ยกย่อง แต่งตั้ง คนเก่ง คนดี ทำงานดี ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นได้ตลอดเวลา
2. Fairness : Committee/everyone
มีความเป็นธรรม : มีเหตุผล มีข้อมูลสนับสนุนในการเลื่อนลำดับขั้น หรือเลือกคนให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยไม่มีความลำเอียง ไม่มีการเลือกสถาบัน  มีระบบคณะกรรมการดูแลพนักงานทั้งเครือ
  1. Best recruit and retain : Labor market and business                                                             
มีกระบวนการในการสรรหาที่ดีที่สุด
4.        Training and Development : Fully utilized capability ใช้งบประมาณ 400-500 ล้านบาท/ปี
เฉพาะ Classroom Training  ซึ่งยังไม่รวม On the job training หรือส่งไปอบรมทั้งในและต่างประเทศ
TOYOTA
หลักการที่สำคัญ
l      พัฒนาตนเองอยูตลอดเวลาและอยางตอเนื่อง เรียกวา Kaizen
l      ในการปฏิบัติงานก็มีระบบการใช้ความรู้ในการวิเคราะห์ในแทบทุกกระบวนการ ซึ่งเรียกว่า 5 Whys
l      การแลกเปลี่ยน tacit knowledge ระหว่างกันในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ จะยึดหลัก Genchi-Genbutsu (Go and See)
l       "การเรียนรู้" ของโตโยต้าเน้นที่ OJT - on the job training
l      การนำเสนอ "ความรู้" ระดับบุคคล  ได้แก่  Suggestion System
l      การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำวัน   เรียกว่า Morning Talk
Blog Solutions
- บล็อก คือ เว็บไซต์เพื่อการบันทึกไดอารี่
- เน้นกลุ่มผู้ต้องการบันทึก ถ่ายทอด และ แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ และ เทคนิคการทำงานต่างๆ
- เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ + เผยแพร่ความรู้ + แลกเปลี่ยนความรู้
Blog Solutions       – gotoknow.org = เขียน
-          planet  matter = รวบรวม
-          feedspring = เผยแพร่
-          blog express = อ่าน
TRUE
การบวนการ KM Cycle Impementation
1. การปรับเลี่ยนและจัดการพฤติกรรม
2. การสื่อสารทั่วทั้งองค์กร
3. การจัดหากระบวนการและเครื่องมือ
4. การเรียนรู้
5. การวัดผล
6. การสร้างแรงจูงใจ


กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสรมการเกษตรได้กำหนดวิธีการดำเนินงาน
เป็น  3  ขั้นตอนหลัก  คือ
-ขั้นตอนการเตรียมการ  เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะต้องสร้างความเข้าใจในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
-ขั้นตอนการดำเนินการ  จะดำเนินการตามแนวการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร  มีการจัดทำเป้าหมาย  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
-ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล  จะติดตามผลว่า การดเนินงานนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร  เพื่อจะได้นำมาแก้ไข  ปรับปรุง  และวางแผนขยายผล

 
ไม้เรียง
ชุมชนเข้มแข็ง  ไม้เรียง
๑. ชุมชนเข้มแข็งเพราะเป็นชุมชนเรียนรู้ 
ชุมชนเช่นนี้ไม่มีวันอ่อนแอไม่มีวันนั่งรอความช่วยเหลือจากรัฐหรือภายนอกแต่จะขวนขวายหาทางแก้ไขปัญหาด้วยสติปัญญาของตนเองชุมชนใดมีความรู้ มีปัญญาแม้ว่ามีทรัพยากรน้อยก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆมีเงินน้อยก็จะมีเงินมาก
๒. ชุมชนเข้มแข็งตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
ไม่ใช่คิดอะไรไม่ออกไปบอกไปถามนักการเมือง ข้าราชการ  พ่อค้า นักวิชาการ เอ็นจีโอ ซึ่งให้แนะนำได้เสมอ ดีๆ   ทั้งนั้น แต่เมื่อเอาไปทำแล้วเจ๊ง คนเสียหายคือชาวบ้าน ไม่ใช่คนที่แนะนำ ชาวบ้านต้องมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ  มีเป้าหมายการพึ่งตนเองอย่างมั่นคง ไม่ใช่คิดแต่จะรวย มืดบอดไปเพราะความโลภ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ใครบอกว่าทำอะไรรวยก็รีบทำ
๓. ชุมชนเข้มแข็งจัดการ "ทุน" ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
ทุนซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่หมายถึงทรัพยากร  ความรู้ภูมิปัญญา ทุนทางสังคมวัฒนธรรม และอื่นๆ  โดยการค้นหาทุนเหล่านั้นให้พบให้มากที่สุด  เรียนรู้ว่าจะจัดการอย่างไรจึงจะพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง
๔. ชุมชนเข้มแข็งมีธรรมาภิบาล มีการบริหารจัดการที่ดีโปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจ
ผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ บ้านหนองกลางดง สามร้อยยอด  ประจวบคีรีขันธ์บอกว่า
"การรวมตัวกันต่อเนื่องเป็นตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้มั่นใจว่าเราแก้ปัญหาในหมู่บ้านได้  ที่เกินกำลังค่อยบอกข้างนอกมาช่วย พูดง่ายๆ 

โรงพยาบาลศิริราช
แผนปฏิบัติการ
โครงการ “ การจัดการความรู้ในองค์กร ”
1. Transtition and Behavior Management
- การวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการจัดการความรู้  + ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในโครงการ ฯ และเป็นแบบอย่างที่ดี + มีแนวทางดำเนินงานและประเมินผล
2. Communication
- มีการสื่อสารเรื่องการจัดการความรู้ในองค์กรทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง
3. Process and tools
- มีฐานข้อมูล CQI และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ CQI
- มีชุมชน ( Cop ) ทั้งกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมในโครงการ
- มีการแลกเปลี่ยนความรู้ CQI ในกลุ่ม Cop อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
- มีระบบสารสนเทศที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการความรู้
4. Learning
- จัดฝึกอบรมทักษะที่เกี่ยวข้องในการแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่บุคลากรทางคลินิก
5. Measurements
- มีเครื่องชี้วัดการดำเนินโครงการ
6. Recognition  and  Reward
- มีระบบการให้รางวัลบุคลากรที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้
กรมอนามัย
มีบทบาทหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสืบทอดความรู้ ของระบบการจัดการความรู้ของกรมอนามัย โดยเป็นแหล่งทั้งส่วนสนับสนุน และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนแนวปฏิบัติด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการจัดการทั้งภายในและภายนอกกรมอนามัย
วัตถุประสงค์
n      เป็นแหล่งรวบรวม ประมวลความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ
n      เป็นศูนย์กลางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของศูนย์ความรู้ของกรมอนามัย
n      สนับสนุนและส่งเสริมให้กรมอนามัยก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
n      ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเผยแพร่ความรู้ และประสบการณ์
การจัดการความรู้เพื่อพิจิตรแข็งแรง
 คุณลักษณะทั่วไปขององค์กร
n      วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
n      สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
n      สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผู้มีน้ำใจ
n      เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรปลอดสารพิษ            
n      ส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน
n      ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
n      พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจชุมชน
n      ผลักดันนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมายสู่ภาครัฐ
ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตเกษตรกร 
n      ด้านเศรษฐกิจ
n      ด้านสังคม
n      ด้านจิตวิญญาณ 
n      ด้านสิ่งแวดล้อม
n      ด้านสุขภาพ

โรงเรียนชาวนา
กระบวนการสำคัญในการจัดการความรู้สู่นักเรียนชาวนา
n      ประกอบด้วย  3 เวที คือ
1. เวทีชาวบ้าน : จะช่วยให้เกิดการอภิปราย การวิเคราะห์ประเด็นและปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น นำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดมุมมองจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลจะช่วยแสดงความคิดความอ่าน
2. เวทีวิชาการ (เชิงปฏิบัติการ) : เจ้าหน้าที่โครงการจะทำหน้าที่ 'คุณอำนวย' คือเป็นผู้ประสานและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เชื่อมโยงความรู้จากตำรา จากภายนอกมาสู่นักเรียน โดยเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สอนเทคนิควิธีการ เพื่อจะให้นักเรียนชาวนานำไปปฏิบัติ
3. เวทีอื่นๆ : สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนา ได้แก่ การไปศึกษาดูงานที่แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ นอกชุมชน การเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาในเวทีต่างๆ ทั่วไป ที่จัดโดยองค์กรและหน่วยงานทั้งของภาครัฐบาลและเอกชน
หลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนชาวนา 
  1. ระดับประถมศึกษา = หลักสูตรการจัดการศัตรูพืชโดยวิธี หลักสูตรนี้จะเรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพรที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช และระบบนิเวศในแปลงนา 
    2. ระดับมัธยมศึกษา = หลักสูตรการปรับปรุงบำรุงดินโดยไม่ใช้สารเคมี นักเรียนชาวนาจะได้เรียนรู้โครงสร้างของดิน และวิธีการปรับปรุงดินโดยวิธีธรรมชาติ 
    3. ระดับอุดมศึกษา = หลักสูตรการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน  
  
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
แนวทางการดำเนินงานของ สคส.
1.สร้างขีดความสามารถในด้านการจัดการความรู้
เน้นการส่งเสริมงาน   “พัฒนาและวิจัย”   ศาสตร์และรูปแบบการจัดการความรู้ในองค์กร(Organization-based), การจัดการความรู้เป็นรายประเด็น (Issued-based) และเป็นรายพื้นที่  (Area-based)  ภายใต้บริบทของไทย  พร้อมทั้งสร้างการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายภาคีเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนส่งเสริมการสร้างนักประสานงาน นักอำนวยความสะดวกจัดการความรู้ ณ จุดปฏิบัติการต่างๆ
2.สร้างกระแสการจัดการความรู้ในสังคมไทย
ใช้การจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น “มหกรรมความรู้” หรือ “ตลาดนัดความรู้” ทั้งในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ การตั้งรางวัลชุมชนกิจกรรมความรู้แห่งปี เพื่อสร้างกระแส และกระตุ้นให้คนในสังคมไทยเกิดความสนใจในการใช้การจัดการความรู้ เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งใช้วิธีการอื่นๆ และใช้การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ กับสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง
หมายเลขบันทึก: 15051เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท