การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น


การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ร่วมกันใน  ภาคเช้า  “การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น : ฐานคิดทิศทางสู่การปรับกระบวนการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผ.อ.  สุรัตน์  ดวงชาทม    กล่าวต้อนรับแนะนำจังหวัดโดยใช้คำขวัญของจังหวัด  “พุทธมณฑลอีสาน  ถิ่นฐานอารยธรรม  ผ้าไหมล้ำเลิศค่า  ตักศิลานคร”   จังหวัดมหาสารคาม
ดร.เปรื่อง  กิจรัตน์ภร  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
                                                “เข้าใจมหาสารคามที่เป็น  สะดื้ออีสาน”  จาก  ผ.อ. สุรัตน์  ดวงชาทม
                                                -  ความเหมาะสมของโรงเรียนเม็กดำ  ที่  ผ.อ.สกว.  ตัดสินใจตั้งถูกต้อง  เพราะการพัฒนาท้องถิ่น คือการพัฒนาจากปัญหาในท้องถิ่น
                                                -  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  จัดหลักสูตร  การศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระดับดุษฏีบัณฑิต  ก็เนื่องด้วยตระหนักในประเด็นนี้เช่นกัน
                                                - วันนี้ขอให้ใช้เวทีนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เดียวกัน ปัญหาของท้องถิ่น เพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป
ผอ.สุรพล  แสนบุญ / ศูนย์การศึกษาพิเศษพระนครศรีอยุธยา นักศึกษาปริญญาเอกการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เทคนิควิธีสังเกตเด็กพิเศษ
1.       ความบกพร่องมีกฎหมายเกี่ยวข้อง  2  ฉบับ   ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการกำหนดความพิการเป็น  9  ประเภท
2.       สาธารณสุข  1  ประเภท
กระทรวงศึกษาธิการจะต้องแยก เด็กที่มีความบกพร่อง   9  ประเภทให้ได้    เช่น  
การเขียนกลับหัว   เป็นต้น
ผู้ร่วมเสวนา       รศ.ดร.เปรื่อง  กิจรัตน์ภร , ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์, ผอ.  สุรัตน์  ดวงชาทม
ศ.ดร.ปิยะวัฒน์  บุญหลง,  รศ.ดร.สมเจตน์  ภูศรี, สว.ทองใบ ทองเปาว์ และคุณไตรภพ ผลค้า
1.  ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์    ท่านมีคำถามที่ว่า  การศึกษาที่ให้  คนทิ้งท้องถิ่นจริงหรือ
                                -  มีทั้งจริงทั้งเท็จอยู่ด้วยกัน  เพราะคนทิ้งก็มี  คนไม่ทิ้งก็มี
                                -  คนอีสานมีความรู้ไม่พอใช้  ทำให้มีปัญหา
     เชิงการพัฒนา  :  ไม่รู้จะทำอย่างไรให้ดีขึ้น
                                  :  โจทย์ชีวิตเปลี่ยน  แต่คนอีสานไมเปลี่ยน
     ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์    จบ ป. 6 กับ  ม. 6  ทำงานในที่เดียวกันหน้าที่ต่างกันได้เงินเดือนต่างกัน
2.  ผ.อ.  สุรัตน์  ดวงชาทม  :  กระบวนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  10 ปี  ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
                                จะพัฒนาชาติ   ต้องพัฒนาคน  จะพัฒนาคน  ต้องพัฒนาการ  การศึกษาสร้างคน  คนสร้างชาติ   เราจำเป็นต้องพัฒนาการจัดการศึกษาให้ดีที่สุด  
ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์    เสนอแนะให้เปลี่ยนฐานคิดของครูให้ทำงานบนความพร้อมให้ได้
                                ไม่มีเจ้าภาพตัวจริงว่าให้เป็นตัวอย่างว่าดี
คำถาม  มี Case   ที่ให้ความร่วมมือกับท้องถิ่นได้ผลอย่างไรให้ประสมผลสำเร็จอย่างไร
ผู้แทนกรรมการศึกษาโรงเรียนบ้านหัวช้างโคกม่วง  เสนอว่าควรร่วมมือการแก้ปัญหาท้องถิ่นร่วมกันอย่างจริงจัง   
  -  ท่าน  สว.ทองใบ  ทองเปาว์  ในฐานะผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนให้โรงเรียนไปอยู่ใน  อปท.  ที่เขียนให้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
-  การศึกษาเขียนว่าให้รับเป็นผู้จัดและคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นด้วย
-  ต่อคำถามที่ว่าการสอนบุตรหลานบูรณาการอาชีพในท้องถิ่นจะสอน  RNT  ได้หรือ
                ตอบ  พ่อชาวนาส่งลูกเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจอเมริกากลับเมืองไทยไม่มีงานทำทำให้ว่างงาน  คุณพ่อฉลาดหรือไม่
 ศ.ดร.ปิยะวัฒน์  บุญหลง
                เป็นผู้บริหาร  สกว.   การใช้ความรู้การหาความรู้ให้สอดคล้องกับตนเอง  ต้องมีคนอยากรู้  สกว.  จะช่วยในการหาความรู้  เช่น  คำถามว่า  จะทำอย่างไรกับขยะที่มันล้นเมือง
ศ.ดร.ปิยะวัฒน์  บุญหลง
                ที่ไป  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  เรื่องมาที่  เม็กดำ
                มาที่นี้  เพราะปรัชญา  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  36  คือ  เพื่อท้องถิ่นเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  ที่ต่อมาส่งเสริมให้ท้องถิ่นรู้จักคิดเพื่อส่วนร่วมของประเทศชาติ 
โจทย์ของ  สกว.  ชุมชน + สถานศึกษา +  ท้องถิ่น  เนื่องจากอดีตปัจจุบันแยกส่วนการแก้ปัญหาซึ่งลมเหลว  แต่หากบูรณาการดูจะช่วยแก้ปัญหาท้องถิ่นได้หรือไม่
               
                รูปแบบการจัดการศึกษาโครงการปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 
                1.  เรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร    16  สัปดาห์
                2.  กลับไปแก้ปัญหาที่ท้องถิ่นแล้วกลับมาคุยกัน
รศ.ดร.  สมเจตน์  ภูศรี  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
                ราชภัฏทุกราชภัฏเป็นทางเลือกให้สังคม
ฐานคิดที่โจทย์รายงายนี้
                จะสร้างอะไรก็ตามต้องสร้างคนก่อน
                เครื่องมือสร้างคนคือ  การศึกษา
                การมีส่วนร่วมของบุคคลชุมชนและท้องถิ่นตามกฎหมายนี้เราได้ทำแล้ว
                ทิศทางจะจะเท่าไร  บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องมีกระบวนการคิดจะขับเคลื่อนได้อย่างไร
                ต้องมองดูเป้าหมายของเราก่อนว่าอย่างไร  เช่น  เก่ง  ดี  มีสุข
                หลักที่ต้องคิดคือ
                การขับเคลื่อนโดยการบริหารจัดการที่ดี
               
คุณไตรภพ  ผลค้า   กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสารคามพิทยาคม
:  จุดอันตรายของการศึกษา
-          ทุกวันนี้ยังมีการเรียนพิเศษอยู่
-          ยังมีสาวกระโปรงเหี่ยนไปโรงเรียนก็ไปไม่ถึง
-          การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อไม่มีคัดคนเก่ง
-          การทำธุรกิจเชิงรุกของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเน้นสาขาฯ
:  ตนเองรอดสังคมรอด
:  การศึกษาอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้เขาประสบความสำเร็จได้
:  ชาวบ้านถ้าค้นมากๆ จะพบปัญหามากกว่าปัญหา
:  ประชุมแล้วต้องลงมือทำ
ที่มาของเม็กดำ ของผู้ใหญ่บ้าน คือมีต้นเม็กเกิดขึ้นอยู่บริเวณหนองน้ำดำ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านเม็กดำ
                : อบต.สร้างแต่คน งานไม่ได้สร้างเลย
ผู้นำชุมชน:
·       การร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่ต่างหน้าที่
·       กับต้องมีคุณธรรมจึงจะร่วมกันอย่างประสบความสำเร็จได้
·       ทำอย่างไรการศึกษาจึงจะตอบสนองทุกบริบทของชุมชน
อะไรคือตัวชี้วัดที่สำคัญของความร่วมมือ
ครูบาสุทธินันท์ :
-          การเตรียมทุกฝ่ายให้พร้อม
-          ลองดูว่าบุรีรัมย์+ มหาสารคาม ว่าจะเป็นอย่างไร
-          การศึกษาเชิงรุกจะทำอย่างไร
ดร.ปิยะวัฒน์  :
-          ความเปลี่ยนแปลงโดยมีคนในเป็นตัวกำกับ
ผอ.สุรัตน์  ดวงชาทม :
-          ศธ.ขาดครู 110,000 คน การศึกษาจะทำอย่างไร
-          อัตราการขาดแคลนครูรูปแบบการจัดเชิงเรียบ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นให้สถานศึกษาเขาคัดนวัตกรรมการบริหารได้เอาอะไรก็ได้
-          เราจำเป็นต้องเชิงแก้ปัญหาการค้นหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชี้วัดของคนให้ได้อย่างแท้จริง
-          การออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับสากล ,ไทย ,ท้องถิ่น
-          การจัดการต้องใช้ SBM ให้เป็นรูปธรรมให้ได้โดยให้ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกับร่วมกันจัดการศึกษาให้ยึดว่า การศึกษาเป็นของประชาชน คือการศึกษาโดยประชาชนโดยเร็ว
ดร.เปรื่อง :
                ฐานการเรียนรู้ในท้องถิ่น มีมากมาย โดยปราชญ์ชาวบ้าน แต่ต้องดูว่ามีอะไรบ้าง ใช้และพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สว.ทองใบ  ทองเปาว์ :
                ปฏิรูปการเรียนรู้ +การปฎิรูปการศึกษา ครั้งที่ 2  ควรมีหรือไม่
-          ศีลห้า ควรยึดถือ จะแก้ปัญหาสังคมได้
-          บุตรเรียนจากอนุบาล ถึง ม.6 กรวดวิชาตลอด
-          เกิดอะไรขึ้น ก่อนเข้าเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามต้องเสียเงิน 8 หมื่น ถึง หนึ่งแสน
-          การค่ำบาตรคนชั่ว เป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาสังคม
-          การเรียนเก่งดีมีคุณธรรม และยึดถือความถูกต้อง
คุณไตรภพ  ผลค้า :
-          ข้อคิด คนเก่งที่รู้ทางหนีที่ได้ รัฐธรรมนูญแล้วใช้เป็นช่องทางให้ตนเองรวย ถูกต้องหรือไม่อย่างไร
-          ฝากให้การศึกษาให้อีก ความแตกต่างของบุคคล
-          สากลได้
-          ไทยได้                                          
-          ท้องถิ่นได้ ตามศักยภาพ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15048เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท