CoP ในกรมอนามัย


CoP เกิดขึ้น ... และยังคงอยู่ ในศูนย์อนามัยที่ 1

CoP กรมอนามัย ... เกิดขึ้น ... และยังคงอยู่ในศูนย์อนามัยที่ 1

หนึ่งในเรื่องราวของ CoP กรมอนามัย ที่อยากหยิบมาเล่าสู่กันฟัง...

     CoP ที่เห็นเป็นรูปธรรมเด่นชัดที่สุดเวลานี้ของกรมอนามัย มีที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากผลงานของ KM Team ในปลายมิถุนายน 2548 ซึ่งช่วงนั้น ทพญ.ณัฐฎา บูรณสรรค์ เป็น CKO และคุณอัญชิษฐา วงศ์บุญมี พยาบาลประจำคลินิกตรวจโรคทั่วไป และคลินิกสุขภาพ เป็น Facilitator คนสวย ตากลม ที่เข้มแข็ง เธอบอกกับศรีวิภา หลังจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ KM ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง ในเดือน มิถุนายน 2548 (ซึ่งการประชุมครั้งเป็นการประชุมนัดแรก และมีอาจารย์หมอวิจารณ์ และคุณอ้อ เป็นวิทยากร) ว่า เราชอบหล่ะตัวเอง รู้สึกปิ๊งกับ KM ... เดี๋ยวกลับไปเราจะไปลองใช้ในงานของเราดู ... และหลังจากนั้น ก็เริ่มต้นปรับกระบวนการทำงานจากเดิม ที่เคยเป็นผู้สอนให้ความรู้กับผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (โรคเบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิตสูง) ในเรื่อง อาหารและการออกกำลังกาย มาใช้วิธีการ KM โดยจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ผู้รับบริการ (ทุกวันจันทร์เช้า เวลา 9.00 -10.00 น.) ที่มีประสบการณ์ในการใช้วิธีการต่างๆ ดูแลสุขภาพ หรือมีวิธีการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆแต่ได้ผล เป็นผู้มาเริ่มต้นเล่าเรื่องให้เพื่อนผู้รับบริการด้วยกันฟัง เธอเล่าว่า ... บางคนก็มาเล่าถึงวิธีการดัดแปลงการปรุงอาหารที่อร่อย แต่ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม หรือไม่ทำให้ไขมันในเลือดสูง บางคนก็เล่าถึงวิธีออกกำลังกายง่าย ตามสไตล์ที่ถนัด แต่กลับทำให้อาการปวดหลัง ปวดขา ปวดศีรษะดีขึ้น และบางคนก็เล่าเรื่องการสวดมนต์ ทำจิตใจให้สงบ เราในฐานะ Fa จะคอยกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเล่า แสดงความคิดเห็น และรวบรวมประเด็นสำคัญ สรุปเป็นความรู้ นำเผยแพร่บน intranet ของโรงพยาบาล

     ซึ่งคุณอัญชิษฐา ยังบอกต่อว่า ... ตัวเอง...ช่วงแรกๆนะ..เรา (Fa) ยังงง อยู่ว่า เล่าไปแล้วจะเป็นอย่างไร เพราะเรื่องที่เล่า จริงๆ แล้วทุกคนก็รู้ทั้งนั้นว่า อะไรควรกิน ไม่ควรกิน และต้องออกกำลังกายด้วย แต่ ... พอเวลาผ่านไปเข้าเดือนที่ 2 ... กลุ่มผู้รับบริการคนเดิมมาเจอกัน กลับได้พบความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ คน ที่เดิมเล่าว่าไม่ชอบออกกำลังกาย และยังอดไม่ได้ เรื่องการกินอาหารหลายๆ อย่าง แต่ในครั้งนี้ กลับมาเล่าให้ฟังว่า ได้ลองไปทำตามที่เพื่อนเล่าให้ฟัง ได้แก่ แกว่งมือวันละ 100 ครั้ง รู้สึกว่าตัวเองไม่เหนื่อยง่ายเหมือนเมื่อก่อน บางคนก็ไปลองทำอาหารหรือใช้วิธีที่เพื่อนแนะนำ ปฏิบัติกับตนเอง พบว่า ผลของนำตาลในเลือดดี (ไม่สูงขึ้นมาก) จากวันนั้นถึงวันนี้ KM กลุ่มเสี่ยงย่างเข้าสู่ เดือน 3 ... 4 และ 5... พบว่า สมาชิกในกลุ่มแต่ละคน โดยส่วนใหญ่สนุกสนาน อยากมาเล่าเรื่องดีๆ ให้เพื่อนฟัง อยากมาเจอกัน และเมื่อมาก็จะถามหากัน บางครั้งนัดกันเอาข้าวถุง แกงถุง มาร่วมวงกินกันไป แลกปลี่ยนเรียนรู้กันไป .... คนที่ผลเลือดยังไม่ดี หรือน้ำหนักตัวยังไม่ดีขึ้น (สามารถลดลงได้) กลุ่มก็ให้กำลังใจต่อกัน และชักชวน นัดหมายมาพบกันในครั้งต่อไป

     การทำ KM เป็นอย่างนี้หรือไม่ ... คุณไม่ทำ ... แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไร ว่า อะไรคือ KM  คุณอัญชิษฐา หรือคุณอุ้ย ... บอกต่อว่า ... เรา ในบทบาทของ Fa ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในครั้งนี้ โดยเอางานประจำที่ทำอยู่ มาผนวกกับกระบวนการ KM ช่วยต่อยอดการทำงานให้ได้ผลดีขึ้น กว่าการทำงานแบบวิธีเดิมๆ ที่เป็นผู้ให้ความรู้อยู่ฝ่ายเดียว ผู้รับบริการก็อาจเรียนรู้ได้น้อยกว่า เนื่องจากขาดแรงสนับสนุน จากนักปฏิบัติตัวจริง ซึ่งเป็นผู้รับบริการที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน

     เธอเล่าต่อว่า ... เราว่า ... เรามันส์นะ ... เราคิดว่า ... ราชการให้เงินเดือนเราแยะนะ ... เราอยากทำอะไรให้ดีที่สุดกับหน้าที่ และเงินเดือนที่หลวงให้มา

     ปลื้ม!!! จริงๆค่ะ เราฟังเธอ และได้พา KM Team กรมอนามัย ไปชื่นชมผลงานในเช้าวันจันทร์ที่ 16 ม.ค.49 ที่ผ่านมา พบว่า ... มาถึง ณ เวลานี้ เธอเข้มแข็ง แม้ว่าอ่อนแรงบ้าง ในเวลาที่เหนื่อย แต่ยังคงเป็น Fa แถวหน้าของกรมอนามัย ที่เดินเครื่องไม่หยุด ... มีเรื่องเล่าผ่านทางโทรศัพท์ เพื่อแลกเปลี่ยน และเรียนรู้กับทีมของเราอย่างตลอดเวลา ขอปรบมือ และเป็นกำลังใจให้อย่างจริงใจ

 

หมายเลขบันทึก: 14914เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2006 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อ่านเรื่องราวที่คุณศรีวิภา เขียนไว้ทำให้เห็นภาพการทำงานของตัวเองชัดเจนจังคะ  แต่อยากเล่าเพิ่มอีกเรื่องว่า KM ได้เกิดแผ่ขยายไปในงานอื่นของ ร.พ ส่งเสริมสุขภาพ นั้นคือการพัฒนาคุณภาพ โดยรวบรวมเรื่องเล่าความภาคภูมิใจของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน และร่วมกันสรุปประเด็นที่ทำให้สิ่งนั้นสำเร็จหรือภูมิใจ  เก็บเป็นคลังความรู้ จนสามารถนำมาปรับใช้ ลองใช้กับงานเลย(นำมาแทรกเข้ากับ วิธีปฏิบัติงานที่เคยเขียนไว้ในระบบ ISO) หน่วยงานนั้นก็คือ ห้องคลอดห้องผ่าตัด  และหน่วยงานตรวจโรคทั่วไป ก็ได้นำเอา KM ไปใช้ในการพัฒนางานที่มีอยู่คือนำไปใช้กับผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ที่คุณศรีวิภา ได้เล่าไว้  แต่ในขณะเดียวกันต้องมาบันทึกเรื่องเล่าของเจ้าหน้าที่ในแผนก ที่มีทั้งความภูมิใจต่อคำชมที่ผูรับบริการมอบให้ตลอดจนมีขนมของกินมาฝากอยู่เสมอ  รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้วยกันในศูนย์ยังชมเชยการให้บริการของน้องๆในแผนกอีก   ทางหน่วยงานจึงคิดว่าเพื่อเป็นการต่อยอดการดึงคลังความรู้นั้นมาเป็นวิธีการปฏิบัติ  และสามารถทำให้น้องๆในแผนกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานที่มีการก้าวกระโดดได้มากกว่า จะนำมาซึ่งการปรับตัวและพัฒนาตัวเองและหน่วยงานได้อย่างแนบเนียนไม่รู้ตัว และอาจจะแทรกเข้าไปอยู่ในเนื้องานนั้นที่เรียกว่าทำด้วยใจจริงๆ  การข้ามห้วยนี้เกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง 17มี.ค บรรยากาศดีมาก ทุกคนหน้ายิ้มแย้ม เล่าสิ่งดีๆ พูดแล้วมีความสุข  คนที่มาร่วมสังเกต ก็บอกว่าการทำอย่างนี้ทำให้เรารู้ว่ายังมีอะไรดีๆในศูนย์เราเยอะที่เราเองอาจไม่หราบ วันนี้ได้เห็นแล้วรู้เลย  เราจะทำต่อนะ แต่เสียดายที่วันนั้นหลายๆคนไม่ได้เข้าไปแต่ก็มีท่าน ผ.อ ร.พ เข้าไปร่วมด้วย  ทีม FA ของร.พ ตั้งใจไว้และจัดทีมเป็นคาราวาน FA เข้าไปกระตุ้นแต่ละแผนกของ ร.พ ตอนนี้ก็จัดตารางไว้แล้ว  หมุนเวียนไปขึ้นอยู่กับแต่ละแผนกจะเลือกเอาวันไหน  ดูก็สนุกดี ถ้าไม่คิดอะไร หลายอย่างคงไม่เหมือนอย่างที่เราคิด แต่หลายอย่างก็คงไม่ผิด ที่เราจะคิดและทำ  อย่าลืมมาเยี่ยมให้กำลังใจบ่อยๆนะจ้ะ
ดีใจกับอีกก้าวหนึ่งของการจัดการความรู้ในร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ของศูนย์อนามัยที่1 ซึ่งนอกจากเกิดCoP ในแต่ละกลุ่มหรือแผนกแล้ว ยังนำทีมนำข้ามสายมา ลปรร.ระหว่างกัน ได้ข่าวจากคุณฉัตรลดา และคุณหมอณัฎฐา ว่า มีเรื่องน่าประทับใจแยะ ทั้ง2ท่านเป็นปลื้ม และคำพูดเด็ดๆที่ออกมาจากใจของผู้ปฏิบัติงาน ฟังแล้วก็ปลื้มตามด้วยค่ะ ...อยากฟังเรื่องเล่าอีก มีความก้าวหน้าอย่างไร เมื่อไร บอกด้วยนะค่ะ แล้วจะตามไปให้กำลังใจค่ะ
การข้ามห้วย ลปรร ระหว่างหน่วยงาน ได้ผลออกมาดีค่ะ ถึงแม้ว่าจะมีคนสังเกตุการณืน้อยไปหน่อย  แต่เมื่อได้ทำ AAR น้องๆ และผู้เข้าร่วมหลายท่าน ที่แสดงความรู้สึกว่าได้อะไรหลายอย่าง และเป็นสิ่งที่สวยงาม ทุกคนมีความสุข  ส่วนในหน่วยงานของตัวเองก็ได้มีการทำ AAR กันอีกครั้งในวันนี้  และหาข้อสรุปร่วมกันเพื่อจะนำสิ่งดีๆจากการเล่ามาปรับใช้ในงานต่อไป ในส่วนที่เป็นFAของร.พ ก็ได้วางแผนกันต่อเพื่อที่จะกระตุ้นให้แต่ละงานนำ KMไปปรับใช้ในงานของตนเอง โดยทีมFA จะจัดเป็นทีมหมุนเวียนกันไปแต่ละแผนก ขึ้นอยู่กับแผนกจะพร้อมวันไหน เราจะเดินไปพร้อมๆกัน จะช่วยกัน แล้วเราคงจะเปิดเวทีแลกเปลี่ยนข้ามห้วยอีก  เราเชื่ออย่างนั้น  เพราะตอนนี้ทีม FA มีคิวยาวมากเลย (คุณขอมา)  อย่าลืมให้กำลังใจ ทีม FA ด้วยนะจ้ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท