การศึกษาไทยจะไปทางไหนเมื่อหมดความหวังจากบรรดาแวดวงการศึกษา


จากงานคุณภาพการศึกษาไทย ที่เมืองทอง เวทีไหนเวทีไหนก็คงคิดแบบติดหล่ม

เมื่อวานนี้บังเอิญเห็นบล็อกพ่อครูบา  ว่าจะมาขึ้นเวทีที่เมืองทอง  เรื่องการศึกษาไทย  กะจะไปให้กำลังใจพ่อครูบา  เดินเข้าห้องประเด็น"บัณฑิตในฝัน"  บรรยากาศเฉกเช่นเคยเข้าไปฟัง UKM ที่ผ่านมามิมีผิด

เข้าห้องไปทำไมบรรยากาศมันผิดสังเกตุ  อีกห้าห้องเขาคนแน่น  แต่ห้องนี้โหรงเหรง  ฟังจนจบจึงรู้ว่า  ที่คนเขาไม่เข้ามา  เพราะเขารู้ว่าความคิดยังไม่ขึ้นจากหล่ม  แถมจมลงไปอีกถนัดใจ  ในรายการนี้มีพ่อครูบาที่ว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน  หนึ่งอธิการ  อดีต สกอ. ภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษาอีกหนึ่งคน

เห็นพ่อครูบา  ฟังเขาพูดแล้วนั่งหงอยๆผิดสังเกตุ  หันไปมาเจอน้องหนิงเลยได้แลกเปลี่ยน  การฟังเริ่มจากตัวนักศึกษา  นำมาเปิดประเด็นก่อน  เขาก็จะพูดแต่เรื่องแหล่งอบายมุขรอบมหาวิทยาลัย  อาคารต่างๆ  ฟังแล้วดูจะสู้เด็กที่เม็กดำไม่ค่อยได้ 

ฟังตัวแทนอุตสาหกรรมไทยยิ่งร้ายหนักใหญ่  จะเอาแต่แข่งขันตะบันมันแต่ต่างชาติ  ไม่รู้ว่าเกิดในท้องถิ่นใด  หนักเข้าจะตั้งมหาวิทยาลัยอัตตลักษณ์อุตสาหกรรมไทย  ที่จะเปิดสอนเอง  เรียนเอง  สร้างเอง  รับเอง  แล้วเอาไว้ทำงานเอง  (มันน่าไปสร้างประเทศเองอยู่ซะเลยถ้าไม่อยากยุ่งกับชาวบ้าน)  ทั้งๆที่ล้วนแต่เอาทุนทางธรรมชาติของประเทศไปใช้ทั้งสิ้น  ไม่เคยเหลียวแลสัมคมไทยส่วนใหญ่ในชนบท  แถมกำหนดมาตราฐานคน  มาตราฐานคิด ตามฝรั่งทั้งหมด

อธิการท่านหนึ่งพูดแล้วยิ่งทุกข์หนัก  ทั้งๆที่อยู่แหล่งคนยากจน พูดแต่ทุน  แต่เงิน สุดท้ายคนฟังเขียนขึ้นมาถามว่า  เงินไม่มาปริญญาไม่ไปใช่ใหม  มหาวิทยาลัยมุ่งแต่เงินหรือไง  ต่อไปจากหน่วยงานคุมการศึกษาไทย  จะสนองแต่มาตราฐานนายทุน  แถมไม่เข้าใจที่พ่อครูบาพูด  ทำหน้าฉงน  หนักเข้าเรียกครูบาศรีวิชัยไปนั่น  พ่อเราดังขนาดนั้น  ฮิฮิ   เพราะเขาไม่เข้าใจชีวิตชนบท  แถมบอกว่าก็จะช่วยเหลือชนบทบ้าง  งานนี้น่าจะเป็นงาน "บัณฑิตในฝันของนายทุนแท้ๆ" 
แถมท้ายผู้จัดจะสรุปส่งให้ รมต.ศึกษา "จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย  ไปที่ชอบที่ชอบเถิดนะ  อย่าได้มาผุดมาเกิดอีกเลย"
พ่อลงมาจากเวทีด้วยความเหงาหงอย  อนาถวงการศึกษาไทยจริงๆ  หลายๆสิ่งล้วนจัดตั้ง  สร้างแต่เศษกระดาษที่ขาดความคิดและจิตวิญญานสู่ชุมชนสังคมที่แท้จริง

http://gotoknow.org/blog/sutthinun/148798?page=1

คำสำคัญ (Tags): #มหาวิทยาลัย
หมายเลขบันทึก: 148889เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)
  • พ่อเล่าให้ฟัง
  • ผมยังเศร้าใจแทน
  • รู้สึกแย่เหมือนกัน
  • ขอบคุณพี่เอกมากที่ไปให้กำลังใจพ่อ
  • พร้อมกับมาเล่าบรรยากาศให้ฟังขอบคุณมากครับผม

สวัสดีครับคุณลุงเอก

  • นักศึกษาส่วนใหญ่ทุกวันนี้ มองตัวเองเป็นผู้วิเศษ เพราะเนรมิตรทุกสิ่งได้จากการขอ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง
  • แต่เมื่อจบเมื่อไรแล้ว นั่งอยู่บ้านเฉยๆ นั่นแหละจะรู้จักคิด แต่มันก็ไกล้เวลาพระฉันเพลแล้วครับ
  • สงสารแต่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หาเงินตัวเป็นเกลียว หัวเป็นนีอต กลัวลูกไม่ทัดเทียมผู้อื่น จนเขาเคยพูดกันไว้อยู่บ่อยๆที่วง่า"ขายวัวส่งควายเรียน" นั่นแหละครับ

ขอบคุณครับ

ท่านเอกครับ

บางครั้ง ผมก็ชอบฟังเพลงนี้มากๆ ครับ

อย่ายอมแพ้

อ้อม สุนิสา สุขบุญสังข์

 

...หาก วันนี้ เรา ล้มลง

ยังคง ลุกขึ้น ได้ใหม่

ยังคงมีหนทาง ถ้ายังมียิ้ม สดใส

ก้าวไป อย่าหวั่นไหวหวาดกลัว

พร้อมทนทุกข์หมองหม่น

ผจญ ความมืดหมองมัว

ไม่กลัว จะฝันถึง วันใหม่

 

หากวันใดอ่อนแอ

ท้อแท้ อย่าหวั่นไหว

ขอให้ใจ ไม่สิ้นหวัง

ปัญหา แม้จะหนัก

ก็คง ไม่เกินกำลัง อย่าหยุดยั้ง ก้าวไป

ขอ อย่า ยอม แพ้

อย่าอ่อนแอ แม้จะร้องไห้

จงลุกขึ้น สู้ไป

จุดหมาย ไม่ไกล เกินจริง

 

หากวันใดอ่อนแอ

ท้อแท้ อย่าหวั่นไหว

ขอให้ใจ ไม่สิ้นหวัง

ปัญหา แม้จะหนัก

ก็คง ไม่เกินกำลัง

อย่าหยุดยั้ง ก้าว ไป

ขอ อย่า ยอม แพ้

อย่าอ่อนแอ แม้จะร้องไห้

จงลุกขึ้น สู้ไป

จุดหมาย ไม่ไกล เกินจริง

ขอ อย่า ยอม แพ้

อย่าอ่อนแอ แม้จะร้องไห้

จงลุกขึ้น สู้ไป

จุดหมาย ไม่ไกล เกินจริง...

ขณะที่พิมพ์นี้ กำลังฟังเพลงนี้อยู่ครับ

คนในยุโรปหลายประเทศ ใช้การศึกษานอกระบบ นอกรูปแบบหาความรู้ให้ตัวเองครับ

ด้วยความปรารถนาดี

ลุงเอกครับ

  • บางทีผมก็นึกสุดโต่งไปว่า  กลับบ้านเราเถอะท่านครูบา กลับมาทำงานของเราดีกว่า บนเวทีนั่นมันจอมปลอมทั้งสิ้น เพ้อพก แล้วจะสร้างชาติสร้างประชาชน
  • หากไม่มองประชาชน ไม่พูดถึงคนส่วนใหญ่ ให้มันสมดุลกับการก้าวไปสู่โลกโลกาภิวัฒน์ มันก็เอียงข้าง
  • ผมไม่ปฏิเสธการก้าวไปข้างหน้า แต่ต้องมีส่วนลงไปชนบทด้วยเพราะหากไม่ลงไป  การก้าวไปข้างหน้าก็จะยิ่งสร้างปัญหาสังคมมากขึ้นไปอีก เป็นการถ่างช่องว่างของสังคมให้กว้างมากยิ่งขึ้น
  • ผมเดาภาพในห้องเอานะครับ
  • แต่คิดแล้วก็มานึกถึงคำพูดของลุงเอกว่า อย่างไรก็ตามเราก็ต้องไปร่วม ไปพูด อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการกระตุกความคิดคนทั้งหลายเหล่านั้นบ้าง
  • เฮ่อ....การศึกษาเมืองไทย
มุมมองจากต่างประเทศ ประเทศไทยเป็นแหล่งขุมทรัพย์มหาศาลทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรบุคคล ที่สามารถเนรมิต ประเทศไทยมีจุดแข็งที่ความเป็น สังคม และส่วนรวมอยู่มากกว่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ แต่สิ่งใดที่ทำให้การรวมตัว หรือการอยู่กันเป็นสังคม ถึงได้ไม่พัฒนา หรืออาจเป็นเพราะว่า ท่านหัวเรือที่จะนำพาประเทศชาติในด้านทรัพยากรบุคคล ไม่ได้ให้ความสำคัญของบุคคลเพื่อจะสร้างเงิน แต่เป็นการนำเงินมาซื้อตัวบุคคล ซึ่งเงินซื้อทรัพยากรธรรมชาติได้ แต่ไม่สามารถซื้อความรู้ของปัจเจกบุคคลได้ และหากจะให้ประเทศชาติพัฒนา จะต้องสร้างรากฐานของทรัพยากรบุคคลให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ประเทศชาติก็จะพัฒนา แต่หากว่านำเงินมาซื้อความรู้ เมื่อเงินหมด ความรู้ก็ไม่พัฒนาเหมือนฐานไม่ดี ใดเลยจะทำให้ยอดดีได้ พอจะมีวิธีอีกบ้างไหมที่จะปูฐานปูชนียบุคคลระดับรากหญ้าเพื่อให้อนาคตของประเทศไทยได้ก้าวไปสู่สังคมที่ไม่ใช่เพียงแต่ "สังคมบูชาเงิน" อย่างเช่นทุกวันนี้
Pเมืองไทยด้านการศึกษายังอยู่ในมิติเงินนำปัญญาตามมาตลอด  ขาดการรู้ตุณค่าของทุนทางวัฒนธรรม  ชอบแต่นำความเหมือนของตะวันตกมาใช้  หารู้ไม่จุดแข็งเราอยู่ที่ความต่างและความหลากหลาย
Pรอ อ.ขจิตเติบใหญ่ เมื่อไร เข้าไปบริหารให้ชุมชนเบิกบาน  ด้วยภูมิปัญญาไทย
Pในเมื่อผู้ให้ไม่มีจิตวิญญานต่อสังคม  แล้วจะไปหวังอะไรกับผู้ถูกผลิตออกมา
Pg2k คงต้องสู้เพื่อท้องถิ่นไทย
P
  • เราคงถอยแล้วปล่อยๆคงไม่ได้บ้านเมืองบรรลัยมามากแล้ว  เราคงยังใช้ป่าล้อมเมืองเช่นเดิม
  • พวกจอมปลอมจะได้รู้ของจริงเป็นอย่างไร  อย่าคิดแต่เห็นแก่ตัวมัวหลงแต่เงิน  เพลินกับชีวิตในเมือง  เปลืองแต่เงินชาติ
  • มองแต่โลกโลกาภิวัฒน์คือตามมันไปวันยังค่ำไม่เคยดูว่าจมูกมีเชือกร้อยอยู่  มารู้ตัวอีกทีมันมีคนดึงอยู่
  • การมีความสุขแต่ตัวเอง  ชนบทมีแต่ความทุกข์  แล้วพวกนี้จะสุขอย่างไร
  • ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีคิดชีวิตไม่ดีขึ้น

สวัสดีค่ะลุงเอก

  ยังมีคนมีอุดมการณ์จริงอยู่หลายคน พวกเราจงช่วยกัน เป็นกำลังใจให้พวกท่าน อย่าให้ว้าเหว่ ต่อไป ถึงอย่างไร เราก็ทอดทิ้งบ้านเมืองเราไม่ลง อยู่ดีค่ะ

Pต้องเป็นกำลังใจต่อกับครับ  จะค้นหาคนมีอุดมการณ์มาผ่านบล็อก

สวัสดีค่ะลุงเอก

วันที่พ่อครูบาเข้าร่วมประชุม ก่อนขึ้นเวทีก็ถามบรรยากาศท่านก็ดูไม่ค่อยสนุก หลังจากลงจากเวทีมาแล้วท่านก็ดูเหนื่อยๆ บอกว่าแย่...แต่ยังไม่ทราบรายละเอียด ... เพิ่งมาอ่านของลุงเอก..เข้าใจเลยค่ะ

เพราะเวลาที่เขาจะหาบัณฑิตที่พึงประสงค์ เขาก็จะเน้นไปแต่ที่ผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม...ไปๆมาๆ กลายเป็นว่ามหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตเพื่อนายทุน...ยังเคยถามผู้บริหารค่ะว่าแล้วบัณฑิตเพื่อชุมชนละค่ะ? ...

ในส่วนของบัณฑิตเอง ก็มองว่าเมื่อเป็นบัณฑิตก็จะมุ่งทำงานที่มั่นคง มีเงินเดือน เป็นเจ้าคนนายคน ... หากกลับไปสู่ชนบท พ่อแม่ก็ไม่อยากให้กลับเพราะเกรงว่าคนอื่นจะว่าอุตส่าห์สงเรียนสูงๆ กลับมาอยู่ชนบทเหมือนเดิม...ซะงั้นค่ะ

เรื่องนี้คงต้องมองหลายมุม ช่วยกันสร้างค่านิยมใหม่....คิดว่าน่าจะช่วยได้บ้ามั้ยค่ะ

พ่อครูบาบอกว่าชอบสอนแต่วิชาทิ้งถิ่น  แต่ได้พบครูคนนี้แล้วมีความสุขจริงๆ  ลองอ่านดูนะครับ อ.แป๋วhttp://gotoknow.org/blog/ekk-km/148990?page=1

 

ถ้าหากการศึกษามีเรื่องของเศรษฐกิจเข้าเกี่ยวข้อง คงไม่ต้องถามว่าอนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร  และที่สำคัญหากเราย้อนมองสภาพที่เป็นอยู่จริงในชุมชนท้องถิ่นแล้วนำปัญหามาบูรณาการในบทเรียนน่าจะมีประโยชนืมากกว่าที่จะสอนตามกระดาษกี่สมัยๆๆก็ไม่เคยเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น สภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่กันหลากหลายวัฒนธรรม เราจะสอนวิธีการพูดจาอย่างไรให้เกิดความสมานฉันท์ วึ่งนำไปสอดแทรกในเรื่องของทักษะการพูด หรือการปกครองเป็นต้น คืออยากจะบอกว่า  สิ่งที่เป็นท้องถิ่นและชุมชนมีอะไรให้เราได้ศึกษามากกว่าตำราบางเล่ม(บางเล่มนะครับ)ด้วยความเคารพ

P

สวัสดีหลานฟูอาด 

ทุนนิยมกับการศึกษาเขาจึงใช้เศรษฐกิจนำสนองตอบแต่นายทุน  ชุมชนท้องถิ่นนายทุนคงไม่ต้องการสักเท่าไร  โอกาสกับเราที่ต้องดูแลตัวเอง  ศึกษาจากชีวิตจริง  เลิกเรียนรู้แต่สิ่งจอมปลอมที่เราเรียกว่า  วิชาทิ้งถิ่น  สนองแต่นายทุนอุตสาหกรรม

สภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องเอามิติทางสังคมนำ  เพราะเขาอยู่กันแบบหลากหลาย  ทำอย่างไรให้เขามีความสุข  ที่ไม่มองคนเป็นศัตรูไปเสียหมด

คนภาคใต้มีทุกข์อย่าหวังเลยว่า  คนอื่นๆจะมีสุข

มาเป็นกำลังใจให้อีกคนครับพี่เอก พ่อครูบา และท่าน อื่น ๆ ที่มีความตั้งใจ ความมุ่งหวังให้ลูก หลานเรามีความรู้ เป็นคนดี คนเก่งที่ช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ และที่สำคัญที่สุด มีความสุขกับการดำเนินชีวิตครับ

การศึกษาอาจจะมองต่างมุมก็จริงคะ    แต่ความจริงที่มีความเห็นตรงกันคือพัฒนาเด็ก ๆ   ไม่ใช่หรอ    เพื่อที่จะให้อนาคตของชาติไปพัฒนาประเทศ  เพื่อให้ประเทศได้เจริญ  ไม่ใช่หรอกหรือ   แล้วกับการที่แต่ละคนมองต่างมุมไม่มันผิดหรอกคะ   มันขึ้นอยู่แค่ว่า  การศึกษามุ่งหวังให้อะไรแก่ผู้ศึกษามากกว่า    ขออย่าให้พ่อครูบาจงอย่าท้อ   จงสู้กับอุดมการณ์ต่อไปนะคะ  ขอร่วมให้กำลังใจอีกแรง  

ลุงเอกขา

หนิงก็ชอบเพลงเดียวกับท่านพลเดช วรฉัตร  เลยค่ะ

 

 

Pอาจารย์ภูคาครับ  ผมรับความรู้เรื่อง G2K  วันแรกที่ มน.ตอนนี้ใจผมไปไกลแล้วครับ  พร้อมทั้งขยาย G2K ไปสู่ยุโรปแล้วครับ  ใจกลาง  EU  เลย
Pการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็ก ๆ  แต่คง ไม่ใช่เฉพาะเด็กเมือง  อนาคตของชาติเมืองเจริญแต่ชนบทล้าหลัง  แล้วยังจะเสพสุขกันต่อไปได้อีกหรือหลานโอ้  การมองต่างมุมเป็นสิ่งดีแต่มองแบบปิดมุมนี่มันแย่  ครูบาไม่เคยท้อเพียงแต่เศร้ากับนักการศึกษาไทยครับ 
  • สวัสดีค่ะท่านลุงเอก
  • เป็นคนตัวเล็กๆ ที่ยังไม่อยากหมดหวังกับการศึกษาไทย
  • แต่อยากจะชวนกันพยายามทำในส่วนของเราให้เต็มกำลัง
  • อ่านข้อคิดเห็นของลุงเอกในบล็อกของพ่อครูบาแล้วตรงใจและได้เติมความคิดของตัวเอง 
  • ขอบคุณลุงเอกค่ะ
  • และขออนุญาตอ้างอิงถึง ที่บันทึกนี้นะคะ
Pหลานหนิงวันที่ 30 นี้ถ้าจะต้องร้องเพลงที่ท่านอัครราชทูตพลเดช  แนะนำซะแล้ว  "อย่ายอมแพ้"
Pสวัสดีครับหลานๆและน้องดวงพรไปแอบเก็บฝันมาฝาก  ลุงไม่หมดหวังกับการศึกษาไทย  แต่ไม่อยากให้ลืมท้องถิ่น  ยิ่งกำลังจะกระจายอำนาจด้านการศึกษามาให้เขา  แล้วไม่ติดปัญญาก่อน  มันจะเสียมากกว่าได้  เราคงต้องเริ่มที่เราและใกล้ตัวเราก่อนแล้วค่อยๆขยายออกไป

สวัสดีค่ะลุงเอก

เห็นบทความแล้วน่าเศร้าใจแทนเด็ก ๆ อนาคตของเขาไม่น่าฝากกับคนบางคน แทนที่จะเป็นเรื่อง ๆ ของเด็ก ๆ เอง

Pหลานเพ็ชรน้อย เขาเอาการศึกษาไทยไปฝากไว้กับนายทุนทางความคิด  ทำให้ขาดการเรียนรู้ชีวิตที่แท้จริง  เราคงต้งมาร่วมกันบันดาลสิ่งนี้ให้เกิดจงได้

การพัฒนาชนบท ที่เห็นผลประการหนึ่ง คือการติดต่อสื่สารกับโลกภายนอกได้รวดเร็ว  อยากให้เห็นถึงความสำคัญของการขนส่งคมนาคม และการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทาง และสื่อต่างๆ ที่ประเทศกำลังพัฒนามีปัญหาอยู่อีกประการหนึ่งคือความมีระเบียบเรียบร้อยของสังคม รวมทั้งความสะอาดของชุมชนต่างๆด้วย ทั้งในเมืองและชนบท  เห็นที่มาเลเซีย สิงคโปร์ เขาอยู่ไม่สะบายเหมือนบ้านเรา แต่สังคมเขาเป็นระเบียบดี ต้นไม่เยอะดี

      พูดถึงการอาชีพนั้น บ้านเราถือว่ามีกินมีใช้เลยทีเดียว แนวทางที่หลายๆประเทศทำขณะนี้คือการบริการ ให้คนมาเที่ยว ซื้อของ ใช้จ่ายที่บ้านเรา โดยรักษาทรัพยากรที่ดึงดูดใจ คือสภาพธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพรให้คงอยู่ และเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของทั้งภูมิภาคอาเซียน เรื่องแรงงานอุตสาหกรรมนี้ ขณะนี้สู้เขาไม่ได้ ยกเว้นว่าเราต้องพัฒนาแรงงานที่มีคุณภาพ ใช้เทคนิคเฉพาะที่เชี่ยวชาญ เลียนแบบยาก ให้มากขึ้น เช่นภูมิปัญญาท้องถิ่นบางเรื่อง ทราบว่าไหม อีรี่ เป็นไหมพื้นเมืองที่น่าจะพัฒนาได้ไกล และคุณสมบัติคล้ายผ้าฝ้าย และไหมผสมกัน 

อยากให้พี่บู้ลงทะเบียนด้วย  ผมจะให้น้องออตที่ทำเรื่องผ้าที่อิสานมาเรียนรู้จากพี่

มาเยี่ยม คุณลุงเอก

อ่านแล้วผมนึกถึงการแจกใบไม้แทนใบปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยสันตินิเกตัน เมืองกัลกัตตา อินเดีย จริง ๆ   เรียนกับธรรมชาติ  ครับ.

P เวลาจบแล้วแจกใบไม้เปรียบเสมือนสามารถใช้ชีวิตแบบธรรมชาติ  ถือว่าสุดยอดแล้วครับ

อาจารย์อุทัย  ครับอีกไม่นานท่านครูบาจะนำคณะใหญ่ g2k ขึ้นรถไฟไปจัดเวทีที่ใตอาจารย์ช่วยร่วมเตรียมงานด้วยนะครับ  วันเวลาจะแจ้งให้ทราบภายหลังครับ

        การศึกษาไทยอนาตนจะเป็นอย่างไร ก็ผู้ที่เกี่ยวข้องยังขาดความคิดและจิตวิญญานในการพัฒนาคนให้สำนึกถึงความเป็นคนสังคม ในชุมชน  ผลงานครูทำใมต้องทำ ลงทุนกันมากมายไม่เข้าใจการประเมินครูอยู่ที่ไหนผมอยากรู้"ความสำเร็จของเด็กน่าจะเป็นผลงานครูนะครับ"

        พัฒนาวิชาการแต่ยังไม่สามารักษาความสามัคคีของคนในชาติไว้ได้"ลุงเอกคิดดู" "ปราชญ์ชาวบ้าน"คืนบัณฑิตที่แท้จริงครับ  สุขติสุข  สมาฉันท์  ยุทธศาสตร์  ความมั่นคง คลังสมอง อยู่ที่ไหนแต่ที่นักการเมืองหาอยากครับ เราต้องช่วยกันหานะครับลุงเอก

Pเราต้องสนับสนุนและให้กำลังใจครูอุดมการณ์  ที่มีอยู่ทั่วไป  ให้มีกำลังใจต่อสู้

สวัสดีครับ

อาจารย์ลุงเอกสะท้อนความเป็นจริงได้ตรงไปตรงมา ยิ่งอ่านยิ่งศรัทธา หลายคนคิด แต่ไม่กล้าพูด

ชอบใจอาจารย์ Umi เล่า แจกใบไม้คือปริญญา เข้าท่าจริงๆ

สวัสดีครับ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ ในเรื่องของการศึกษา ผมมองว่าการศึกษาเป็นเพียงอนุระบบ ของระบบใหญ่  นั่นคือ ระบบใหญ่อันประกอบไปด้วยระบบเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง ทั้ง 3 ระบบ จะเป็นผู้กำหนดทิศทางทางการศึกษาครับ  ทั้ง 3 ระบบมาจากใหน ก็มาจากประชาชนภายในชาตินั่นแหละครับ   พูดอีกอย่างก็ได้ว่ามันเป็นค่านิยม หรือกระแส หรือ กรรม ของสังคมครับ  ที่ทำให้เรามีการศึกษาแบบนี้  ถามว่าทางออกในการพัฒนาการศึกษามีใหม ตอบได้เลยว่า มีครับ  ถามต่อไปว่า จะเริ่มที่ใคร  ตอบว่าต้องเริ่มที่ตัวเราเองครับ เริ่มที่ตัวเราและค่อยๆขยายเครือข่ายออกไป เพื่อช่วยกันสร้าง ค่านิยม  กระแสสังคม หรือ กรรมของสังคม ตามที่เราต้องการ...เด็ดดอกไม้ยังสะเทือนถึงดวงดาวได้เลยครับ
small man  สรุปแล้วมาจากระบบใหญ่จริงๆครับนี่แหละคือทุนนิยมทั้งหมด  แต่เมืองไทนเราก็มีดีที่อยู่รอดมาได้ครับ

คุณลุงเอกครับ

  • ท่านอาจารย์ได้เข้าไปเห็นกับตามมาแล้วนะว่า เมื่อคนภูมิปัญญานั่งคู่กับนักวิชาการเป็นอย่างไร (คนบางไม่เป็นไร แต่คนไม่เข้าใจนี่ซิ..)
  • ดูเหมือนว่าเขาจะพูดกันคนละเรื่องในปัญหาเดียวกัน ฝั่งหนึ่งเน้นความพอเพียง อีกฝั่งหนึ่งต้องมีงบประมาณรองรับ จัดให้
  • งานของนักวิชาการจะต้องมีหลักฐาน ร่องรอยมาแสดงเป็นแฟ้มโต ๆ มีตัวเลขมาให้หลงเชื่อด้วย
  • งานของปราชญ์ชาวบ้านเดินดูได้ตามชุมชนลูกศิษย์มีเต็มไปหมด เป็นของจริงที่น่าเสียดาย
  • ลุงเอกช่วยหามาอีก แบบนี้มันกินใจได้ความเป็นไทย ได้ชีวิต ได้จิตวิญญาณของคนเก่า ๆ ที่เป็นต้นตำนานแท้ ๆ

อ.ชำเลืองเราต้องอดทนถ้าต้องต่อสู้กับคนพวกนี้  เขาเงินนำปัญญาตาม  แต่เราเอาปัญญาสร้างคุณค่า  จึงเกิดมูลค่าตามมาครับ

Pหลานเพชรน้อย  เรามักเอาพวกทุนนิยมมาบริหารการศึกษาก็ได้อย่างนี้เอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท