การศึกษาดนตรี


การเรียนดนตรี

ดนตรี   เป็นศิลปะประเภทมองไม่เห็น    ใช้เสียงเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้สึกการสะเทือนอารมณ์   ใช้เวลาเป็นการกำหนดขอบเขต   แสดงจุดเริ่มต้นและการจบการใช้เสียงวาดลวดลายต่างๆ   ลงไปบนช่องว่างของเวลาประดุจจิตรกรกำลังใช้ปลายพู่กัน   วาดลายเส้นอยู่บนผืนผ้าใบ   ความงามของเสียงแต่ล่ะเสียงความปราณีตของอารมณ์แต่ล่ะอารมณ์    จะถูกถ่ายทอดมายังผู้ฟัง   ซึงจำเป็นต้องมีภูมิความรู้ในการฟังดนตรีเป้นย่างดีเช่นเดียวกับผุ้ที่ชอบม้า   ก็พยายามเรียนรู้เรื่องของม้าให้มากที่สุดหรือผู้ที่ชอบหนังสือก็ต้องขวนขวายหาหนังสือมาอ่านให้ถึงที่สุด

         การศึกษาดนตรี  จำเป็นต้องมีพื้นฐานและองคืประกอบการศึกษาหลายด้าน  เช่นในด้านสังคมศาสตร์   และมนุษย์ศาสตร์  การศึกษาในแง่ของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเผ่าพันธ์มนุษย์แต่ล่ะเผ่า   การศึกาในแง่ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่   สภาพภูมิประเทศ ตลอดถึงทรัพยากร  วัสดุต่างๆที่หาได้งายในแต่ล่ะสภาพท้องถิ่น   หรือการศึกษาในแง่ของภาษาศาสตร์ที่จำเป้นมากในการเรียนดนตรี  เช่นคนภาคกลาง   ไปฟังดนตรีพื้นเมืองหรือหมอลำทางอีสาน  ส่วนใหญ่ฟังม่ค่อยได้เพราะอุปสรรคเรื่องภาษา  ถ้าต้องการสึกษาดนตรีทั่วโลกที่จำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาทั่งโลกเช่นเดียวกัน

 

       ดนตรีเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง  มีโครงสร้างใหญ่ เช่นเดียวกับภาษาศาสตร์   คือมีภาษาพูด(ใช้วิธีการต่างๆ กันหลายวิธี เช่นการบรรเลงด้วยการใช้เสียงจากร่างกาย  เช่นการร้องเพลงหรือการพูดเป็นทำนองดนตรี  หรือการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี)  มีภาษาเขียน  ใช้สัญลักษณ์โดยทั่วไปเรีบกว่า" โน้ต"  เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ทางภาษาที่มีตัวอักษร  พยัญชนะ  สระและมีหลักไวยากรณ์  สำหรับข้อบังคับกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น  Harmonic  ในดนตรีสากลและใช้กลอน( counter  point) ในดนตรีไทย  นอกจากนี้ก็มีประวัติดนตรี(History  Of Music) เช่นเดียวกับประวัติความเป็นมาของภาษาต่างๆ

 

         ในการค้นคว้าหลักฐานประวัติความเป็นมาของเครื่องดนตรีแต่ล่ะชนิด    นอกจากการศึกษาด้านสังคมศาสตร์แล้วยังต้องประกอบกับการพิจารณาอีกในหลายๆด้าน   เช่นหลักการเจริญเติบโต  ส่วนใหญ่จะเริ่มจากสิ่งเล็กไปหาสิ่งใหญ่เสมอ  หรือจากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยากกว่า  เช่น เครื่องดนตรีที่มีสายเส้นเดียว   ควรจะเกิดก่อนเครื่องดนตรีที่มี  2 หรือ  3 สาย  หรือจากสภาพภูมิศาสตร์ดินแดนแถบทะเลทราย  มนุษย์ที่อยู่บริเวณที่อยู่บริเวณนี้ต้องอพยพย้ายถิ่น   ส่วยใหญ่ต้องดิ้นรนเอาชีวิตให้อยู่รอด    เมื่อท้องยังหิวอยู่  การใช้สติปัญญามาประดิษฐ์สิ่งปราณีตละเอียดอ่อนย่อมเกิดขึ้นยาก

 

     ฉะนั้น  มนุษย์เผ่าใดที่มีความเจริญในด้านวิทยาการทุกๆด้านเจริญดีแล้ว   บ้านเมืองมีความสงบร่มเย็นเป็นปกติสุขวิทยาการด้านดนตรีจึงจะเจริญไปถึงระดับสูงสุดเฉกเช่นเดียวกับดนตรีไทยของชนชาติเราชาวไทย............

       

หมายเลขบันทึก: 148711เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2007 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ


ดนตรีทำให้เพลิดเพลิน ชอบฟัง แต่เล่นไม่เป็น อิๆ

ไม่ค่อยมีคนเขียนเรื่องดนตรีสักเท่าไหร่

ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับดนตรีมาเล่าสู่กันฟัง คงมีคนสนใจเยอะเลยครับ

แวะมาทักทายผู้มีดนตรีในหัวใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท