สนุกกับภาษาไทย – ภาษาอัชฌาไศรย ๒๗. ชายคาภาษาไทย (๖)


กรทยชาย / กระทาชาย

         ผู้เขียนได้พบความว่า “อันว่า กรทย ชายผู้หนึ่งดำ” ในวรรณกรรม มหาชาติคำหลวง ทำให้นึกถึงวลีที่ว่า “กระทาชายนายหนึ่ง” ซึ่งเข้าใจว่า เป็นสำนวนใหม่กว่า จึงเรียนถาม “เจ้าคุณใหญ่” ของผมคือ รองศาสตราจารย์เสมอ บุญมา ว่า เกี่ยวข้องกับคำทางพุทธศาสนาหรือไม่ ท่านเสนอว่า มาจากคำบาลีประเภทนิบาตบอกกาลเวลา คือ คำว่า กทา แปลว่า เวลาใด หรือ กทาจิ แปลว่า บางเวลา ซึ่งตามปกติจะใช้เรียงไว้ต้นประโยคเพื่อบอกกาลเวลาก่อนดำเนินเรื่องเป็นภาษาไทยก็คงตรงกับคำว่า กาลครั้งหนึ่ง เป็นรูปแบบการเล่าเรื่องนิทานในสมัยก่อน ซึ่งมักจะขึ้นต้นด้วยการบอกกาลเวลาก่อน คือคำว่า กทา – กาลครั้งหนึ่ง เรื่องนิทานดังกล่าาวแต่เดิมส่วนใหญ่มักนำมาจากเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และชาดกต่างๆ เช่น เวสสันดรชาดก สำนวนที่ว่า “กทา กาลครั้งหนึ่ง มีชายคนหนึ่ง ….” คงได้ย่อลงมาเหลือ “กทา ชาย” และ “กทาชาย” “กระทาชาย” ผิดถูกอย่างไรก็ขอให้ท่านผู้รู้ช่วยพิจารณาบอกด้วย
 

หมายเลขบันทึก: 148577เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2007 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท