ยุติธรรมชุมชนเชิงสมานฉันท์


ยุติธรรมชุมชนเชิงสมานฉันท์

วันที่  31  มกราคม 2548 ได้ไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการถอดบทเรียนจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเรื่องยุติธรรมชุมชนเชิงสมานฉันท์ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยในพื้นที่ ๓ จังหวัดคือเชียงใหม่ ร้อยเอ็ดและขอนแก่น  จากการร่วมประชุมดังกล่าวจึงรู้ถึงหลักการของยุติธรรมชุมชนเชิงสมานฉันท์ซึ่งเป็นกรอบคิดใหม่ด้านงานยุติธรรมซึ่งตรงข้ามกับยุติธรรมกระแสหลักที่เน้นการลงโทษผู้กระทำผิดและตัดผู้กระทำผิดออกจากสังคมด้วยการกักขัง/คุมขัง  แต่ยุติธรรมชุมชนเชิงสมานฉันท์เป็นการคืนเยาวชนให้กับครอบครัวและชุมชนเพื่อให้ชุมชนเป็นผู้ดูแล

หลักการดังกล่าวก็เพื่อการลดคดีขึ้นสู่ศาลและการประคับประคอง ปรองดองลดข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชนเพราะเยาวชนสุดท้ายก็ต้องกลับสู่ชุมชนอยู่ดี การถูกกักขัง/อบรมในสถานฝึกของสถานพินิจฯ เมื่อกลับมาสู่ชุมชนก็จะเกิดตราบาป นอกจากนี้การกักขังยังไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อผู้เสียหาย  การประนีประนอมปรองดองในชุมชนตามหลักยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นั้นผู้กระทำผิดจะได้เกิดความละอาย  การสำนึกผิด  และขออภัยทางสังคม  ผู้เสียหายจะได้รับการเยียวยาและการดูแลโดยสังคมส่วนรวมด้วย  งานยุติธรรมชุมชนเชิงสมานฉันท์ของกรมพินิจฯ นั้งคล้ายกับงานของสำนักงาน ป.ป.ส. ในส่วนของ "อาสาทำความดีเพื่อแผ่นดิน" หรือ "นักค้ากลับใจ" ที่ให้ชุมชนวิเคราะห์ปัญหา  และดูแลผู้หลงผิด  กระบวนการนี้อาจนำมาใช้กับการค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในชุมชนได้  อยู่ที่ว่าคนทำงานจะรู้จักประยุกต์หรือไม่หากคิดนอกกรอบกันบ้างน่าจะเดินงานได้มากขึ้น ที่สำคัญคนเราชอบยึดติดกับรูปแบบหรือเครื่องมือที่เกิดจากการออกแบบมาตามหลักการทำให้งานที่เกิดขึ้นมันผิดเพี้ยนและไม่ได้ผล ทั้งนี้ก็เพราะการยึดติดเครื่องมือหรือการคัดลอกเอาเครื่องมือไปใช้บางครั้งมันไม่ได้สอดคล้องกับบริบทหรือสภาพของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเลย  เราจึงควรยึดหลักการของยุติธรรมชุมชนเป็นสำคัญแล้วไปออกแบบเครื่องมือหรือวิธีการที่เหมาะสมกับพื้นที่

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14803เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท