สมศ. กับ การประเมินภายนอกรอบ 3 เก็บมาเล่าจาก QA-Forum


ป็นครั้งที่ 2 ของชีวิตที่มีโอกาสเข้าร่วมวงเสวนา QA-Forum ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 อาคารจามจุรี 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน  2550 ศ.นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล ราชบัณฑิต เป็นประธาน

ความโชคดีอย่างที่ 1 ครั้งนี้ท่าน ผอ.สมศ. คือ ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ มาเล่าถึง (ใบ้) แนวทางของการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 3 อุดมศึกษา มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อการเตรียมการในอีกสองสามปีข้างหน้า คือ

  1. การจัดกลุ่มสถาบัน ยังคงยืนยันขณะนี้มีแน่ 2 กลุ่มเป็นอย่างน้อย คือ 1)กลุ่มผลิตบัณฑิตและวิจัย 2)กลุ่มผลิตบัณฑิต โดยสถาบันใดเลือกที่จะอยู่ในกลุ่มผลิตบัณฑิตและวิจัย การประเมินจะเน้นเรื่องของระดับบัณฑิตศึกษา งานวิจัย ความเป็นสากล การจัดอันดับโลก ส่วนสถาบันใดเลือกที่จะอยู่ในกลุ่มผลิตบัณฑิต การประเมินจะเน้นการวัดบัณฑิตอุดมคติ หลักสูตร และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  2. สำหรับกลุ่มผลิตบัณฑิตและบริการวิชาการแก่ชุมชุน กับ กลุ่มผลิตบัณฑิตและทำนุบำรุงศิลปะฯ สมศ. ยังไม่แน่ใจ
  3. การทำหน้าที่ของคณะกรรมการประเมินภายนอก จาก สมศ. ในรอบที่ 3 อาจจะเน้นเรื่องของการสอบทานผลการประกันคุณภาพภายในเท่านั้น
  4. จะเน้นลงไปถึงหลักสูตรสาขาวิชา
  5. มีคำถามที่ว่า กลุ่มสาขาจำเป็นหรือไม่ต้องอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามที่สถาบันเลือก? ประเด็นนี้ ทาง ผอ.สมศ. กล่าวว่าอยากได้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากสถาบันต่างๆ เพื่อไปประกอบการตัดสินใจ ดังนั้น ในการประชุมเพื่อสร้างเครือข่าย ครั้งที่ 1 ณ มฟล. ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 51 จะนำไปเป็นหัวข้อในการพูดคุยในครั้งนี้ด้วย เพื่อรวบรวมแก่ สมศ. ต่อไป
  6. มีคำถามที่ว่า เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่องค์ประกอบของคณะกรรมการประเมินภายนอกจะมีผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างชาติด้วย? คำตอบยังไม่แน่ชัด

สรุปโดยส่วนตัวเพื่อการเตรียมความพร้อมรอบที่ 3 มมส.

  1. สถาบันต้องสร้างระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในให้ดีที่สุด เข้มแข็ง ตามแนวทาง ของ ต้นสังกัด คือ สกอ. อย่ากังวลกับการประเมินภายนอก เพื่อ สมศ. จะทำหน้าที่สอบทานผลภายในเท่านั้น สรุปคือ ถ้าทำภายในดี ภายนอกจะดีตามมาเอง
  2. สถาบันต้องทบทวนและตัดสินใจได้แล้วว่า ควรจะเลือกอยู่ในกลุ่มใด ตามจุดเน้นและบริบทของตัวเอง
  3. สถาบันต้องหวนกลับมาดูหลักสูตรที่เปิดอยู่ปัจจุบัน รวมถึงที่กำลังจะเปิด ว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรหรือไม่
  4. สถาบันต้องกำหนดให้มีการประเมินโดยเริ่มตั้งแต่ระดับสาขา หรือระดับหลักสูตร หรือภาควิชา
  5. สถาบันต้องทำความเข้าใจกับประชาคมภายใน ให้รู้ และเข้าในทิศทางที่จะเป็นไป รวมถึงการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง
  6. สถาบันต้องส่งเสริมให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ ให้มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เผื่อมีผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างชาติเป็นผู้ประเมิน

ความโชคดีอย่างที่ 2 มีโอกาสได้คุยทักทายกับคุณตูน เจนจิต หลังจากเจอกันหลายครั้ง หลายที่ประชุม เฉียดไปเฉียดมา พร้อมแจกอีเมลให้ผม ประเด็นคือผมอย่าง ลปรร. ประสบการณ์ที่ มน. เคยนำเอาเครื่องมือธารปัญญามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ จากผลประเมิน

กัมปนาท

19พย50
หมายเลขบันทึก: 147584เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2007 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ถ้า สมศ ประเมิน มหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามบริบทของมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นก็ดีครับ
  • มาสนับสนุนประเด็นนี้
  • สถาบันต้องส่งเสริมให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ ให้มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เผื่อมีผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างชาติเป็นผู้ประเมิน
  • เพราะปัจจุบัน
  • มีชาวต่างประเทศมาศึกษาในบ้านเรามากขึ้น
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่ขจิต

ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ไม่ว่าทั้งสายอาจารย์หรือบุคลากรสายสนับสนุนการเรียนการสอน ย่อมมีทักษะการสื่อสารภาษาที่สองครับ

ไม่งั้นแข่งเขาไม่ทันแน่ครับ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่อยู่ภูมิภาคครับ

ขอบคุณครับ

  • ที่ มน
  • ช่วงนี้ QA ต้องที่ สหเวช
  • ของ ท่านบอย และ ท่าน รศ.มาลินี มาแรง ครับ

ขอบคุณครับท่านอาจารย์จิตเจริญ

ได้ข่าวมานานแล้วว่าที่คณะสหเวชศาสตร์ มน. มีดีครับ

อ.จารุฉัตร คณะวิทยาศาสตร์ มมส. ก็ยืนยันมาแล้วอีกเสียงหนึ่ง ว่าดีจริงครับ

ผมก็ยืนยันอีกเสียงครับ

เรียนท่าน อ.แจ๊คและชาว อุดมศึกษา

ผมเป็น ผอ.โรงเรียน ขอแสดงความคิดเห็นและอยากให้เผยแพร่แนวคิดการประกันคุณภาพภายในที่เฉพาะเจาะจงในกระบวนการที่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพของผู้เรียน นั่นคือการประกันการสอนของครู ครูทุกคนควรจะประกันคุณภาพการสอนของตนเอง เช่น ประกันปัจจัยพื้นฐานของครู การจัดทำแผนการสอน ออกแบบการสอน การสอน การสอบ ว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรและส่งผลให้เด็กหรือผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขในการใช้ชีวิตและสุขในการเรียนรู้ โดยครูหรืออาจารย์ดำเนินการอย่างประกันคุณภาพ โดยใช้แนวทางประกันคุณภาพภายในเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ประกันคุณภาพการสอนของครู ทั้งปัจจัย กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ ที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนของครูหรือคณาจารย์ ในส่วนผู้บริหารเน้นประกันการบริหารจัดการ เป็นต้น

การประกันดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพภายในสถาบันทางการศึกษาผมเองก็จะผลักดันแนวคิดนี้เช่นกัน และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าคุณภาพของผลผลิตจะดีอย่างแน่นอน

คุณภาพการศึกษาไม่ได้เกิดจากความบังเอิญแต่เกิดจากความพยายามทุ่มเทดำเนินการอย่างชาญฉลาด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท