การ coaching กับการพัฒนาผู้บริหาร


ทำอย่างไรผู้บริหาร ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการจึงจะเห็นความสำคัญของการชี้แนะ

โจทย์ใหญ่ของการดำเนินการชี้แนะ เวลาเข้าไปอยู่ในบริบทของสถานศึกษา คือ ทำอย่างไร ผู้บริหารจึงจะมีฉันทะ มุ่งมั่นที่จะเข้าไปสังเกตการสอน ชี้แนะการสอนกระตุ้นให้ครูสอนได้

คำถามนี้มาจากศึกษานิเทศก์ทางอาชีวะ มาถามผม ผมก็อึ้ง...ไปเหมือนกัน มันเป็นเรื่องของจิตใจล้วน ๆ ถ้าใจไม่เอา ต่อให้เอาช้างมาลากก็คงไม่ทำ

แต่ก็มานึกได้ว่า เอ..ก็มีผู้บริหารหลายแห่งเขาก็ทำอยู่นะ และก็เรียกว่าประสบความสำเร็จด้วย  แต่กว่าจะเป็นเช่นนั้นได้ ระยะทางก็เหยียดยาว 

แรกๆ ที่เราเริ่มการนิเทศการสอนด้วยการศึกษาชั้นเรียน ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Lesson Study (ถ้ามีเวลาจะเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้) ศึกษานิเทศก์เข้าไปโรงเรียนและขอเริ่มในชั้นเรียนที่ครูอาสา เป็นหน่วยหน้ากล้าตายก่อน (การมีคนแปลกหน้าไปนั่งในห้องเรียนนี่ เป็นเรื่องที่ไม่เคยอยู่ในวัฒนธรรมการสอนของไทยมาก่อนเลยนะ อย่างลืม) ทำไปเรื่อย ทำให้ครูได้คิดทบทวนเกี่ยวกับการเรียนการสอนของตนเองมากขึ้น   คนที่ไม่กล้าให้ใครมาดู ก็ให้เป็นผู้สังเกตการณ์ไปก่อน   ทำไประยะหนึ่งก็ชวนผู้บริหารมาดูด้วย เวลาสะท้อนบทเรียน จะไม่พูดอะไรเลยก็ได้  นานเข้าบางคนเริ่มมัน ก็อาจลองพูดบ้าง จนปีหนึ่งผ่านไป ผู้บริหารบางคนขอเป็นผู้นำในการสะท้อนบทเรียนเองด้วย เพราะเริ่ม "มัน"  คิดว่ายุทธวิธีฝึกผู้บริหารแบบนี้คือ "ทำให้ดู อยู่ให้เห็น

ถ้าผู้บริหารไม่ไปสังเกตชั้นเรียน และร่วมสะท้อนบทเรียน เวลาวางแผนงานต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นงบประมาณ การพัฒนาบุคลากร ฯลฯ ก็นึกภาพห้องเรียนไม่ออก แล้วจะบริหารงานได้อย่างไรเล่าครับ   

คำสำคัญ (Tags): #coaching
หมายเลขบันทึก: 145291เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท