การเดินทางศึกษาดูงาน


ยุทธศาสตร์การพัฒนา

คณะนักศึกษาปริญญาโท สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เกือบ 30 ชีวิต เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์การเกษตรกรณ์บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และสวนส้มนายดำ จังหวัดชุมพร โดยคณะของพวกเรามีกำหนดการศึกษาดูงานระหว่างวันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 49

          การเดินทางออกเดินทาง 04.00 น. ของวันที่ 1 พวกเราเดินทางไปดูงานสหกรณ์การเกษตรณ์บ้านลาด ได้รับฟังการบรรยายสรุป แต่จุดที่น่าสนใจกลับอยู่ที่ผู้บริหารองค์กรได้ทำความเข้าใจและให้สมาชิกสหกรณ์มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของสหกรณ์อย่างแท้จริง นี่คือ การทำงานที่ให้ความสำคัญกับบรรดาสมาชิก และเป็นการทำงานที่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ การทำงานที่ประทับใจคือการส่งออกกล้วยหอมโดยเป็นการขายระหว่างสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด กับ สหกรณ์ผู้บริโภคกล้วยหอมญี่ปุ่น ซึ่งเหลือเชื่อมากเลยว่า ประชาชนคนธรรมดา สามารถส่งออกสินค้าโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง แถมด้วยมีการตรวจสอบคุณภาพและมีการให้ความรู้แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างสมาชิกสหกรณ์อยู่เสมอ และมีอีกหลายอย่างของความประทับใจ น่าสนใจไว้สรุปเสร็จจะมาเพิ่มเติมให้    แต่ว่าการเดินทางครั้งนี้อย่างที่บอกออกเดินทาง 04.00 น. กว่าพวกเราถึงกรุงเทพฯ (โรงแรมสวนดุสิต เพลส) ก็ปาเข้าไป 20.30 น.

       รุ่งเช้าเดินทางไปดูงานโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ออกเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทำให้เห็นว่า เกษตรกรในชนบทว่ามีฐานะยากจน  จึงได้มีการทดลองและปรับปรุงผลผลิตต่าง ๆ โดยนำมาทดลอง วิเคราะห์และวิจัย เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และให้ส่วนราชการนำไปเผยแพร่แก่ประชาชน อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต และรายได้ของเกษตรกรในชนบท อีกความประทับใจคือใช้วัสดุต่าง ๆ อย่างครบวงจร โดยไม่มีการของเหลือทิ้ง ถือว่าเป็นพระอัจฉริยะภาพของพระองค์

      ตอนบ่ายไปศึกษาดูงานสภาพัฒน์ เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้ได้ทราบประวัติความเป็นมาของแผนแต่ละฉบับ น่าใจในว่าการจัดทำแผนมุ่งเน้นประเด็นการพัฒนาคนมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง และประเด็นทางสังคมแม้กำหนดในแผนไว้แต่ความสนใจก็ไม่มากนัก อีกอย่างทำให้เกิดเห็นแสงสว่างว่า แผนของสภาพัฒน์ กับแผนบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี ต่างกันอย่างไรก็ต่างที่ แผนของสภาพัฒน์ เป็นแผนภาพรวมของประเทศใช้กับทุกหน่วยทั้งรัฐ เอกชน    ส่วนแผนบริการราชการแผ่นดิน 4 ปี เป็นแผนหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ส่วนแนวทางการทำแผน 10 ในปีหน้า เน้นประเด็นทางสังคมค่อนข้างมาก และเกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนด้วย แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนมีมาตั้งแต่สมัย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล  เป็นเลขาธิการแล้ว

        รุ่งเช้าเดินทางไปหอสมุดแห่งชาติ บอกเลยเป็นครั้งแรกของการเดินทางเข้าไป มีหนังสือมากมายสำหรับการค้นคว้า ซึ่งได้ไป ค้นเอกสารสำหรับการเตรียมทำวิทยานิพนธ์ มีวิทยานิพนธ์มากมาย เจ้าหน้าที่เป็นกันเองดีมาก ส่วนตอนบ่ายเดินทางไปทำหนังสือเดินทาง(นอกโปรแกรม) ทำให้เห็นเรื่องระบบการบริการประชาชนของภาครัฐ ดีมากเลย บริการยอดมาก เอาใจใส่กับผู้ใช้บริการ แต่ความรู้ใหม่คือการทำหนังสือเดินทางเป็นงานที่ภาคเอกชนสามารถทำแทนรัฐได้ จึงมีการว่าจ้างบริษัทเอกชนมารับทำ แต่มีเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ควบคุม คนเยอะมาก ตอนไปรอมีคนก่อนผม 200 กว่าคน แต่ 200 กว่าคน ใช้เวลา แค่ 2 ชั่วโมง และเมื่อถึงคิวผม เจ้าหน้าที่พูดจาดีมาก ให้โอกาสเลือกภาพที่ถูกใจที่จะอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง และใช้เวลาในการทำหนังสือเดินทางไม่นานเกิน 10 นาที ตกกลางคืน 

     รุ่งเช้าวันที่ 4 เป็นวันเดินทางกลับเพื่อกลับบ้านเรา นั้น เพื่อน ๆ เกือบ 25 ชีวิต ได้ตื่นแต่เช้า 05.00 น. ออกเดินทางไปดูงานสวนส้มนายดำ จังหวัดชุมพร ส่วนผมติดภารกิจเลยไม่ได้ไปกับเพื่อน ๆ แต่ถ้าได้ข้อมูลจากเพื่อน ๆ จะเล่าสู่กันฟังต่อไป แต่ถามเพื่อน ๆ บอกว่าดี และเดินทางถึงบ้านเรา  10.00 น.   

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14429เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2006 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แวะมาทักทายเจ้าค่ะ
  • ว่างๆทักทายได้นะเจ้าค่ะ
  • เคยคิดว่า...บนหนทางที่เลือกเดิน
    ต่างคนต่างเผชิญสิ่งแปลกใหม่
    ต่างคนต่างทิศทางที่เดินไป
    ก้าวเท้าไม่เหยียบใครเป็นดี

    แต่วันนี้ได้มองเห็นหลายมุมอับ
    ซึ่งมันซ่อนลึกลับเต็มที่
    ยังมีอีกกลุ่มคนคลุกฝุ่นผงธุลี
    ใต้ฝ่าเท้าที่มีของสิ่งที่เรียกว่าคนด้วยกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท