เรื่องเล่าครูเล็ก ๒


เมื่ออั้มได้ใส่ชุดใหม่ มีพี่ ๆ ถามว่าน้องรู้สึกอย่างไร น้องอั้มตอบว่ารู้สึกสบายตัว คงเป็นความรู้สึกจากใจจริงของน้องอั้มจริง ๆ ที่อึดอัดกับเสื้อผ้าชุดเก่าที่เล็กกว่าตัวมานาน ดิฉันดีใจมากที่มีส่วนช่วยอั้มได้ชุดนักเรียนใหม่

  เรื่องที่ ๒ ของครูเล็กพิมพ์ในบล็อกได้เร็วเพราะ มึครูต้อยธุรการ (ต้องเรียกอย่างนี้เพราะมีชื่อซ้ำอีกแล้ว)ใจดีช่วยพิมพ์ให้ก่อน จึง copy ใส่ใน notepad แล้วนำมาลง (ตามคำแนะนำของ อ.Beeman)

  ความประทับใจเมื่อไปเยี่ยมบ้านน้องอั้ม

  น้องอั้มเป็นชื่อเล่น  เด็กชายศุภกร  เป็นชื่อจริง  แต่เพื่อน ๆชอบเรียกว่า  เด็กชายสุกรที่แปลว่า “ หมู”  อั้มเป็นเด็กที่มีน้ำหนักมากเกือบ    60   กิโลกรัม  อายุ   8  ปี  กินทุกอย่างที่ขวางหน้า เขียนหนังสือไม่สวยแต่เรียนเก่ง นิสัยชอบช่วยเหลือผู้อื่น  อั้มอาศัยอยู่กับ ปู่   ย่า และอา ในบ้านเช่า  ราคา  800  บาท /  เดือน  พ่อของอั้มเสียชีวิตตั้งแต่อั้มอายุ    4  ปี  พอพ่อเสียชีวิตแม่ก็มีสามีใหม่  ปู่กับย่าของอั้มมีอาชีพขายข้าวแกง ทุกวัน  ปู่   ย่าต้องตื่นตี  3  ตี  4  ไปซื้อของเพื่อทำกับข้าวขายตอนเช้า  โดยทิ้งอั้มนอนอยู่ที่บ้าน   อั้มจะตื่นนอน  6  โมงเช้า  อาบน้ำ  ล้างหน้า แปรงฟัน  แต่งตัว แล้วไปซื้อข้าวกิน  แลเดินไปโรงเรียนเองตอนเย็นเลิกเรียนก็เดินกลับบ้าน  ทำเช่นนี้ทุกวันตั้งแต่อายุ  5  ปีมาแล้ว  อั้มดูแลตัวเองแทบทุกเรื่อง  ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เด็กอายุเท่ากันกับอั้มทำไม่ได้

  ปัญหาของอั้มคือค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน  และอื่น ๆ  ปู่กับย่าก็แก่แล้วแต่ก็พยายามจะเลี้ยงดูอั้ม  ให้ความอบอุ่นเหมือนเด็กคนอื่น ๆ และหวังเพื่ออนาคตของอั้ม เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะเลี้ยงตัวเอง   ช่วยเหลือตัวเองได้

  แต่ตอนนี้อั้มมีน้ำหนักตัวมาก  จึงทำให้ชุดนักเรียนที่ใส่มาตั้งแต่  ป.1  นั้น มันดูอึดอัดมาก  ดิฉันจึงลองไปปรึกษาคุณครูดวงเดือน  เล่าเรื่องราวต่างให้ฟัง  ครูดวงเดือนก็ใจดี  ขอทุนกลุ่มยุววินเซนเดอปอลให้  1,000  บาท  ไปซื้อชุดนักเรียนใหม่  2  ชุด  เมื่ออั้มได้ใส่ชุดใหม่  มีพี่ ๆ ถามว่าน้องรู้สึกอย่างไร  น้องอั้มตอบว่ารู้สึกสบายตัว คงเป็นความรู้สึกจากใจจริงของน้องอั้มจริง ๆ ที่อึดอัดกับเสื้อผ้าชุดเก่าที่เล็กกว่าตัวมานาน  ดิฉันดีใจมากที่มีส่วนช่วยอั้มได้ชุดนักเรียนใหม่

  ดิฉันรู้สึกว่าโครงการเยี่ยมบ้านเป็นโครงการที่ดีมากทำให้รู้ชีวิตของนักเรียนแต่ละคน  เด็ก  1  คน ที่เราศึกษาเหมือนเราอ่านหนังสือนิยาย 1  เรื่อง  เด็ก  20  คน  ก็  20  เรื่อง  ซึ่งแต่ละเรื่องมีเรื่องราวที่แตกต่างกันไปไม่เหมือนกัน  น่าสนใจ  น่าติดตาม  และเกิดความประทับใจระหว่างลูกศิษย์กับครูตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 143235เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ทัศนีย์ ไพฑูรย์พงษ์

ถ่ายทอดเรื่องเล่าได้ดีค่ะ สั้น กะทัดรัด และได้ใจความ อยากเห็นการดำเนินงานต่อเนื่องค่ะ  นอกจาก การซื้อเสื้อให้เขาแล้ว มีอะไรอีกไหมคะ  ถ้ามีจะเป็นการจัดการความรู้เกี่ยวกับ เด็กอ้วน  เด็กทีไม่ได้อยู่กับพ่อแม่    มีหลายโรงเรียนที่เก่งเรื่องนี้ค่ะน่ามาแลกเปลี่ยนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท