ตอนที่ 18 เห็ดฟางเพาะง่ายในถุงปุ๋ยที่ใช้แล้ว


เพาะเห็ดฟาง,ถุงปุ๋ย,วัสดุเพาะ

 

ฉบับนี้ยาวหน่อยนะครับ แต่น่าสนใจมากที่เดียว  เพราะเห็ดฟางเป็นเห็ดที่มีคุณค่าคู่ครัวคนไทยมาเนิ่นนาน เพราะมีคุณสมบัติดีที่รสชาติอร่อย นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิดทั้งผัด  ต้ม  ยำ และแกง พร้อมสรรพไปด้วยคุณค่าทางอาหารที่มีมากทั้งโปรตีนและเกลือแร่  คือความชื้น 88.9 %  โปรตีน 3.4 % ไขมัน 1.8 % คาร์โบไฮเดรต 3.9 %  กากใย 1.4 %  พลังงาน 44  แคลอรี่  และธาตุแคลเซียม 0.08 %  แต่ด้วยความยุ่งยากสำหรับการเพาะ ตั้งแต่การเตรียมวัสดุและการจัดการใน โรงเรือนที่ยุ่งยากจึงทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสนใจในการเพาะเห็ดฟาง  แต่สำหรับอาจารย์สำเนาว์ ฤทธิ์นุช  คิดค้นดัดแปลงวัสดุและวิธีการเพาะเพื่อให้เกิดความสะดวก  เพื่อให้สามารถที่จะเพาะเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือจะทำในเชิงธุรกิจก็คงจะไม่ผิดหวังถ้ามีความตั้งใจที่แท้จริง

อาจารย์สำเนาว์   ฤทธิ์นุช  อาจารย์  3  ระดับ  8  ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท  ผู้คิดค้นวิธีการเพาะเห็ดฟางดังกล่าว  กล่าวว่า   การเพาะเห็ดฟางในถุง ซึ่งสามารถเพาะใต้ร่มไม้ชายคาหรือเพาะในใต้ถุนบ้าน สามารถขนย้ายได้  วัสดุอุปกรณ์เพาะหาซื้อได้ง่าย  ถ้าเกิดโรคและศัตรูจะระบาดเฉพาะถุง  มีระยะเวลาใน การเพาะ 8 – 10 วัน แต่ยังคงมีข้อจำกัดคือการผลิตแต่ละครั้งจะเก็บผลผลิตได้เพียง 1 – 2 ครั้งเท่านั้น และต้องนำวัสดุเพาะเห็ดฟางมาหมักก่อนนำมาใช้เพาะเห็ดฟางในถุง เช่นนำขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดนางรม หรือเห็ดนางฟ้า เมื่อจะนำมาใช้เพาะเห็ดฟางต้องนำมาหมักก่อนด้วยอีเอ็มหรือจุลินทรีย์

  ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในถุง คือเตรียมวัสดุ(จำนวนที่ใช้ต่อ 1 ถุง) ดังนี้  ก้อนขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมาแล้ว 12-15   ก้อน เชื้ออีเอ็ม (หัวเชื้อ)  20 – 40  ซีซี  น้ำสะอาด 20  ลิตร  แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี 1 ช้อนชา  เชื้อเห็ดฟางที่ดี 1 ถุง ผักตบชวาสดหั่น (อาหารเสริมที่ใช้ในขั้นตอนการเพาะ) 1   กิโลกรัม  

  การดำเนินงานโดยใช้อีเอ็ม (หัวเชื้อ) และขี้วัวแห้งหรือดินร่วน ร่วมหมักขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมาแล้ว ประมาณ 3 เดือน ไม่มีเชื้อราปนไม่มีกลิ่นเน่าหรือแฉะน้ำ และไม่มีโรคแมลงทำลายก้อนขี้เลื่อย นำมาทุบให้แตกออกหยาบๆ โดยบางส่วนอาจมีความละเอียดบ้างเล็กน้อย ตรวจสอบความชื้น ให้มีความชื้นหมาดๆ หรือมีความชื้นในระดับที่เมื่อใช้มือกำขี้เลื่อยนั้นแรงๆ จะมีน้ำซึมออกมาจากซอกนิ้วเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจึงจะถือว่าพอเหมาะ (มีความชื้นประมาณ 60 % ใช้เพาะเห็ดฟางในถุงได้   ผลดี) นำขี้เลื่อนมากองบนพื้นซีเมนต์ ใช้อีเอ็ม (หัวเชื้อ) จำนวน 20 – 40 ซีซี ผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร ราดน้ำที่ผสมอีเอ็มนั้นลงในขี้เลื่อยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตรวจสอบความชื้นของวัสดุเพาะนั้นปรับให้มีความชื้น 60 – 65 %   กองขี้เลื่อยเป็นกองสามเหลี่ยมคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด  กลับกองขี้เลื่อยทุก 2 วันครั้ง หรือวันเว้นวัน  หมักขี้เลื่อยไว้ 10 วัน

เมื่อได้วัสดุต่างๆ  แล้วดำเนินการเพาะเห็ดฟางตามกรรมวิธีการเพาะเห็ดฟางในถุง นำวัสดุเพาะผสมกันบรรจุลงในถุง โดยมีส่วนผสม 3 อย่าง คือ วัสดุเพาะ  อาหารเสริมหรือผักตบชวาสดหั่น และ เชื้อเห็ดฟาง นำส่วนผสมทั้ง 3 อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนนำมากองลงพื้น เกลี่ยแผ่กองวัสดุเพาะเห็ดฟางออกหนาประมาณ 2 – 3 นิ้ว นำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้ว ผสมคลุกเคล้าเข้ากับวัสดุเพาะเห็ดฟางให้ทั่วถึง  จึงบรรจุลงในถุงๆ ละประมาณ 5 กิโลกรัม ยกถุงกระแทกกับพื้นหรือใช้มือกดให้วัสดุเพาะเห็ดฟางแน่นพอสมควร กดจากภายนอกถุงเพาะให้วัสดุเพาะเห็ดฟางมีความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร . จับและรวบปากถุงเป็นจีบเข้าหากัน แล้วมัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น โดยมัดในจุดที่สูงสุดของปากถุง เพื่อให้ถุงมีลักษณะเป็นกระโจม ซึ่งเมื่อฝนตกลงมามาก ต้องพับปากถุงลงมา เพื่อป้องกันน้ำฝนเข้าภายในถุง พับตรงระดับที่ 50 – 70 เซนติเมตรจากก้นถุง ให้ปากถุงที่มัดห้อยลงด้านล่าง หรือด้านข้างของถุงนั้น และนำถุงบรรจุวัสดุเพาะเห็ดฟางไปตั้งไว้ในสถานที่เพาะหรือแขวนไว้ในที่ที่มีความชุ่มชื้น เช่น ในร่มเงาต่างๆ หรือใต้ร่มไม้ก็ได้ ตั้งไว้เช่นนั้นนานประมาณ 8 – 10 วัน ดอกเห็ดฟางจะเกิดขึ้นบนผิวของวัสดุเพาะเห็ดฟางภายในถุงนั้น รอจนได้ขนาดเหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวผลผลิต  การเก็บเกี่ยวผลผลิต จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในวันที่ 8 หรือ 9 โดยมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1-2 วันต่อรุ่นต่อถุง 

 

อาจารย์สำเนาว์  ฤทธิ์นุช  ฝากบอกถึงผู้อ่านว่า  ฤดูกาลเพาะเห็ดฟางในถุงควรเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) จะได้ผลผลิตสูง  สถานที่เพาะควรมีความชุ่มชื้นและมีร่มเงาโดยเฉพาะจากต้นไม้ ขนาดดอกเห็ดฟางที่ได้รับมีขนาดใหญ่มาก บางดอกมีน้ำหนักถึง 100 กรัม  ผลผลิตเห็ดฟางที่ได้รับ  0.58-9.00 กิโลกรัม/ ถุง  เก็บเกี่ยวผลผลิตได้  3-5  ครั้งต่อรุ่นต่อถุง และการเพาะเห็ดฟางในถุงมีอีกหลายสูตรที่ใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร สามารถให้ผลผลิตใกล้เคียงกับสูตรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผู้อ่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  หรือเข้าฝึกการเพาะเห็ด และการเกษตรอื่น ๆ  ติดต่อได้ที่  01 – 9532507  ยินดีต้อนรับทุก ๆ ท่านด้วยความยินดีครับ ชัด  ขำเอี่ยม/รายงาน  

[email protected]

หมายเลขบันทึก: 143233เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
ว่าที่ร.ต.ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์

ดำเนินการคล้ายกับเพาะเห็ดฟางในตะกร้า แต่ข้อดีน่าจะไม่ต้องสร้างกระโจมคุมความร้อน

เทดนิคที่ง่ายดี ที่  สฎ.มีเกษตรกรเพาะเห็ดตะกร้าอยู่ น่าจะนำไปเผยแพร่ต่อ

น่าสนใจทำต่อไปนะครับคุณชัด ชัยนาทที่นี่(ชัยนาท)มีอะไรดีๆอยู่เยอะนำเสนออีกนะครับ จากคนชอบอ่านแต่ไม่ถนัดเขียน เกษตรน้อย
  • ขอขอบพระคุณพี่ดุจเดี่ยว พี่ใจทิพย์ และคุณเกษตรน้อยมากครับที่แวะมาเยี่ยม และให้กำลังใจ
  • อาจารย์สำเนาว์ เป็นผู้คิดค้นวิธีเพาะเห็ดในตะกร้า เห็นในถุง ตอไปเห็นบอกว่าจะเพาะเห็นในห้องควบคุมอุณหภูมิ เรื่องอืนๆ อีกเช่น มะนาวบนต้นตอมะขวิด เครื่องปั้นเม็ดเอนกประสงค์ เครื่งสกัดสมุนไพรไอระเหย

           หลายเรื่องที่น่าสนใจแล้วจะติดตามนำมาเสนอครับ (ถ้ามีผู้สนใจ)

ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมกัน

ดีจังได้ความรู้อีกแล้ว มีเกษตรกรที่อยากเพาะเห็ดฟางอยู่กลุ่มหนึ่งเขาลองเพาะในตะกร้าแต่ไม่ได้ผล เดี๋ยวจะเอาวิธีนี้ไปบอกกเขา

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ดีๆ

เขียวเอง

 

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายค่ะ เพาะเห็ดในถุงปุ๋ยดีมากค่ะ

ฝากขอบคุณอาจารย์สำเนาว์ด้วยค่ะ  ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าและในถุงปุ๋ย วันนี้ได้ทดลองเพาะในตะกร้าและในถุง  ได้ผลดีแค่ไหนจะมาเล่าให้ฟังค่ะ

ได้เข้าอบรมกับอาจารย์สำเนาว์ที่บ้านอาจารย์วิชิต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่5 พฤษภาคม 2551 อาจารย์มีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังและสอนเทคนิคการเพาะและดูแลเห็ดให้ด้วย ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

สนใจการเพาะเห็ดฟางในถุงมากครับผมอยากได้รายละเอียดในการเพาะจะติดอาจารย์โดยตรงที่ไหนครับพอจะมีความรู้ที่เพาะในตะกร้าพลาสติก อยากได้รายละเอียดและขั้นตอนต่างๆอย่างละเอียดครับขอบคุณ

สุกรี ปังหลีเส็น

lสนใจการเพาะเห็ดฟางในถุงมากเป็นครูระดับประถมต้องการวิธีเพาะเห็ดฟางในถุงอย่างละเอียดจะทำอย่างไรจะนำความรู้ไปสอนเด็กเพราะมั่นใจว่าเด็กระดับประถมมีความสามารถทำได้ อยากได้ที่ติดต่ออาจารย์สำเนาโดยตรง กรุณาติดต่ออีเมล[email protected]ขอบคุณครับ

เยี่ยมมากเลยครับ ผมขออนุญาตนำไปเผยแพร่นะครับ

ที่เกษตรชัยนาทมีเชื้อเห็ดนางฟ้าขายหรือเปล่าครับ

สนใจมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท