โครงการ ชุมชนร่วมใจสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยในวันพระ ณ วัดลาดทราย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระน


                            คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                              หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
โครงการบริการสุขภาพรายวิชา ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการทางการพยาบาล ( พย. 614
                        ภาคการศึกษาที่
1                  ปีการศึกษา 2549

ชื่อโครงการ ชุมชนร่วมใจสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยในวันพระ ณ วัดลาดทราย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ผศ. ดร. เกษร  สำเภาทอง

ผู้รับผิดชอบ  
                    
1.นางณัฐธยาน์           ประเสริฐอำไพสกุล
                      2.นางอุษา                    ทัศนวิน
                      3.นางสาวสมฤทัย          ปานเจริญ
                      4.นางสาวธัญญา            มนต์ศิลป์
                      5.นางสาวศิริขวัญ          พรหมจำปา
                      6.นางสาวรุ่งศิริ              ลิ้มสุขสันต์
                      7.นางจารุณี                     จันทร์เปล่ง

หลักการและเหตุผล

                กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชากรผู้สูงอายุมีมากขึ้นเรื่อยๆจะเห็นได้จาก องค์การสหประชาชาติ ได้ให้ตัวเลขที่แสดงให้เห็น ถึงความสำคัญของเรื่องผู้สูงอายุในอนาคต เช่น  เมื่อสิ้นปี พ.ศ.2518 ประชากรโลกทั่วโลกมีจำนวน 4,100 ล้านคน และมีจำนวนผู้สูงอายุเพียง 350 ล้านคน จากการศึกษาทางประชากรศาสตร์ ทำให้ทราบได้ว่า ในปี พ.ศ.2568 (50 ปีข้างหน้า จาก พ.ศ.2518) ประชากรโลกทั้งโลก จะเพิ่มเป็น 2 เท่า คือ 8,200 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 100%) ในขณะที่ประชากรโลกสูงอายุ จะเพิ่มเป็น 1,100 ล้านคน เพิ่มขึ้น 22.4% และรศ.ดร.ปราโมทย์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ กล่าวว่า ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในปี 2543 มีเกือบ 9 % ของประชากรทั้งหมดแต่ถ้าจะแบ่งประชากรตามอายุจริงๆแล้วตั้งแต่อายุ 60-79 ปีมี 8 % และประชากรผู้สูงอายุที่อายุ 80 ปีขึ้นไปมี 3 แสน5 หมื่นคนและในอนาคต 10-20 ปีจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีจะมีจำนวนถึง 10 ล้านคน จากการข้อมูลผู้สูงอายุในปี 2546 จำนวนประชากร 596,639 คน มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 73,060 คน คิดเป็นร้อยละ 12.24 %, ปี 2547 จำนวนประชากร 604,752 คนมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 77,615 คน  คิดเป็นร้อยละ 12.83 % และในปี 2548 จำนวนประชากร 611,296 คนมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 81,841 คนคิดเป็นร้อยละ 13.38 % 

                โลกกำลังจะกลายเป็นโลกของผู้สูงอายุ นี่คือประเด็นที่ทุกคนในโลกนี้ต้องสนใจเพื่อดำเนินการ สำหรับการรองรับกับภาวะที่โลก จะเข้าสู่โลกของผู้สูงอายุในอนาคต งานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ มิใช่เป็นแต่เรื่องสุขภาพอนามัยอย่างเดียว หากแต่เป็นงานหลายวิชาชีพ หลายสาขามาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลในด้านการพัฒนา และด้านมานุษยธรรมแก่ผู้สูงอายุ อาทิเช่น งานด้านการศึกษา การอาชีพ รายได้ สวัสดิการ สังคม วัฒนธรรม ครอบครัว ฯลฯ ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีองค์กร ประสานงานกลาง ในการดำเนินงานบริหารจัดการเกี่ยวกับลักษณะทางประชากร จำนวน   และการกระจายตัว และอัตราการเป็นภาระของผู้สูงอายุ ซึ่งในปี พ.ศ.2537 ประชากรทั้งสิ้น 59,243,740 คน เป็นผู้สูงอายุ 4,011,854 คน เท่ากับ 6.8% ของประชากรทั้งหมด ชาย : หญิง = 1,801,780 : 2,210,074 คน อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล : นอกเขตเทศบาล = 1 : 4.3 อัตราส่วนการเป็นภาระ Dependency ratio = 58.2 (หมายความว่า ประชากรวัยทำงาน 100 คน ต้องแบกภาระจะเท่ากับ 10.7 ซึ่งน้อยกว่า การเป็นภาวะกับเด็ก แต่แนวโน้มในอนาคต ผู้สูงอายุจะมีจำนวนและอัตราส่วนสูงขึ้น (บรรลุ ศิริพานิช,2548)

         สำหรับประชากรในอำเภอวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาในปี 2546 จำนวนประชากร 49,132 คนมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 4,331 คน คิดเป็นร้อยละ 8.81 % และในปี 2547จำนวนประชากร 51,000 คนมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน3,500 คน  คิดเป็นร้อยละ 6.9 %และ ปี 2548 จำนวนประชากร 56,100 คนมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 3,850 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 %   ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

                ความหมายสำคัญของประเด็นผู้สูงอายุไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพ เพราะเมื่อมีวัยสูงขึ้นย่อมมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บและปัญหาด้านจิตใจเพิ่มมากขึ้นด้วย สาเหตุหลักๆที่พบในตำบลลำไทรอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาคือพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่นขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม ดื่มน้ำอัดลม มีภาวะเครียดค่อนข้างสูง ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี  จึงเป็นสาเหตุทำให้กลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง จากการตรวจสุขภาพพบว่า ผู้สูงอายุมีค่า BMI ผิดปกติ คือ น้ำหนักเกินร้อยละ27.30 โรคอ้วนร้อยละ10.53 ค่าความดันโลหิตมากกว่า140/90mmHg ร้อยละ *4.56 ค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 140 mg/dl ร้อยละ 24.64 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง รวมถึงการนำหลักธรรมคำสั่งสอนมาเป็นกลวิธีหรือสอดแทรกในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ถือว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้ ในปัจจุบันหลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาเป็นอีกมิติหนึ่งซึ่งนักวิจัยได้ให้ความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหลักธรรมกับการส่งเสริมภาวะสุขภาพพุทธศาสนิกชน การเข้าถึงประชาชนโดยยึดหลักปฏิบัติตามบริบทของ  สังคมวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในชุมชน ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับพุทธพิธีเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธทุกคน  นักศึกษาปริญญาโท คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของข้อมูลผู้สูงอายุ จึงได้มีโครงการ ชุมชนร่วมใจสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยในวันพระ ณ วัดลาดทราย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ขึ้น.

วัตถุประสงค์
1.เพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุในชุมชน
2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามภาวะสุขภาพ การรับประทานอาหาร การจัดการกับความเครียดและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
3.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
4.เพื่อให้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุเกิดการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเอง

เป้าหมาย
1.       80 % ของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
2.       อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 8 คน
3.       พระนักเทศน์ จำนวน 1 รูป
4.       แกนนำชุมชน จำนวน 6 คน

ระยะเวลาดำเนินการ
เดือน กรกฏาคม 2549 – ธันวาคม 2549
สถานที่ดำเนินโครงการ
ศาลาการเปรียญวัดลาดทราย หมู่ 4  ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมโครงการ
1.  ระยะเตรียมการ
      - เตรียมทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลวังน้อย
      - ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในชุมชน เช่น แกนนำต่างๆ เพื่อเตรียมพื้นที่
      - จัดทำโครงการ
      - จัดอบรมให้ความรู้แก่ทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
      - เตรียมเครื่องมือ/วิธีการเก็บข้อมูล
                *  เครื่องมือ 7  ชิ้น  ของหมอโกมาตร
                *  การสังเกต
                *  การพูดคุย/ สัมภาษณ์ แกนนำ, ชาวบ้าน
                *  เวทีเสวนาชุมชน, เวทีชาวบ้าน
2.ระยะการศึกษาชุมชน
-  ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับชุมชน
                -  เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบริบทชุมชน  สำรวจสถานการณ์ชุมชนและองค์กรต่างๆ ในชุมชน
                -  วิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน  จัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล
3. ระยะการวางแผนพัฒนา
-  เปิดเวทีเสวนาชุมชน  วิเคราะห์สาเหตุปัญหาและแนวทางแก้ไขทางเลือกในชุมชน  โดยประชาชน  แกนนำชุมชน  ในการเสนอแนวทาง  ทางเลือกและทางออก  แนวทางในการแก้ไขปัญหา
                -  จากการเปิดเวทีเสวนา  ได้ค้นพบปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนต้องแก้ไข คือ ปัญหาสุขภาพ  โดยประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม  โดยมีทางเลือกในการแก้ไขปัญหา 
4. ระยะปฏิบัติการ
-  การจัดการองค์ความรู้  โดยใช้เทคนิคกระบวนการ  วิธีการต่างๆ ในการพัฒนาชุมชน ได้แก่  Empowerment
5.ระยะประเมินผลการปฏิบัติงาน
เดือนที่ 4 และ 6
-          ติดตามเยี่ยมบ้าน
-          ประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

กิจกรรมโครงการ แบ่งกลุ่มตามภาวะสุขภาพ
๏ ครั้งที่1 เดือนที่ 1
-          ประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
-          คัดกรองโรคเรื้อรัง DM, HT
-          ประเมินภาวะโภชนาการ
-          กิจกรรมการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม “ โยนไข่ ”
-          กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายแบบจีน
-          พระภิกษุเทศน์ให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ เช่น  การรับประทานอาหาร, การออกกำลังกาย , การทำสมาธิและการจัดการกับความเครียด โดยยึดหลักธรรมคำสั่งสอนตามพระพุทธศาสนา
๏ ครั้งที่2 เดือนที่ 2
-        ประเมินสมรรถนะของร่างกาย
-        เสริมทักษะการออกกำลังกาย
-        กิจกรรมสร้างความตระหนักเพื่อให้ผู้สูงอายุมีอายุยาวยืน “ ฉีกกระดาษ”
-        นวดคลายเครียด
-          พระภิกษุเทศน์ให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ เช่น การทำสมาธิ, การจัดการกับความเครียด เป้าหมายของชีวิต การเดินทางสายกลาง, การช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยยึดหลักธรรมคำสั่งสอนตามพระพุทธศาสนา
๏ ครั้งที่ 3 เดือนที่ 3
-        ตรวจสุขภาพปากและฟัน
-        กิจกรรมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่คาดหวัง ” ตัดแปะภาพ”
-          พระภิกษุเทศน์ให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ เช่น การดูแลสุขภาพตนเอง , การพึ่งพาตนเอง ( ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ), การเดินทางสู่นิพพาน ( End of  life )โดยยึดหลักธรรมคำสั่งสอนตามพระพุทธศาสนา
๏ ครั้งที่4  เดือนที่ 4
-          ติดตามเยี่ยมบ้าน
-          ประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
๏ ครั้งที่ 5 เดือนที่ 6
-          ติดตามเยี่ยมบ้านรายบุคคลในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ส่วนในกลุ่มปกติติดตามเยี่ยมหลังเข้าโครงการ 1 ปี
-          ประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
-     การรับผิดชอบต่อสุขภาพ
-     การรับประทานอาหาร
-     การออกกำลังกาย
-     การจัดการกับความเครียด
-     การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน
-     การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ

ประมาณค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา
๏ งบประมาณ / แหล่งสนับสนุน
1.  ได้รับการสนับสนุนจากกองสุขศึกษา  กระทรวงสาธารณสุข
2.  ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร
3.  ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลวังน้อย
4.  ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชน
5.  ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไป
6.  สมาชิกระดมทุนกันเอง
 
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
1.ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน คนละ 100 บาท×100 คน ×3ครั้ง = 30,000 บาท
2.ค่าอุปกรณ์เจาะระดับน้ำตาลในเลือด คนละ 20 บาท  × 100 คน = 2,000 บาท
3.ค่าวัสดุอุปกรณ์เอกสาร คนละ 10 บาท× 100 คน× 3 ครั้ง = 3,000 บาท
4.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จำนวน 2,000 บาท
รวม                 37,000   บาท

การประเมินผลลัพธ์และผลผลิต
1. 80% ของผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ
2. ผู้สูงอายุมีความรู้และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
    -  ทำ Post-  test คะแนนสูงกว่า Pre –test
    -  ผู้สูงอายุรับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว, ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันหมู, รับประทานแกงส้มแทนแกงกะทิและรับประทานสัตว์เล็กแทนสัตว์ใหญ่ เช่นปลา
    - ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน เช่น สมัครเป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ           ( ซึ่งมีชมรมเดิมอยู่แล้ว ) ออกกำลังกายรำไม้พลองที่บ้าน  ทำบุญตักบาตรหน้าบ้านทุกเช้า เวลาเครียดมีวิธีการคลายเครียดที่เหมาะสม เช่น สวดมนต์ไหว้พระ  พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว
3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์
4. ผู้สูงอายุสามารถนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เช่น การเดินสายกลาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร โดยการรับประทานสัตว์เล็กแทนการรับประทานสัตว์ใหญ่ และรับประทานผักมากขึ้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้สูงอายุสามารถดูแลและพึ่งตนเองได้ มีชีวิตอย่างผาสุกตามบริบทสังคมและวัฒนธรรม
2. ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ
3.เกิดชมรมผู้สูงอายุ ตำบลลำไทร

การเทียบผลลัพธ์และค่าใช้จ่าย
1.       ลดอัตราการป่วย/การตายจากโรค DM/HT
2.       มีภาวะสุขภาพดีขึ้น ( องค์รวม )
3.       เพิ่มสมรรถนะ  ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ , สามารถประกอบอาชีพได้ , มีรายได้และลดปัญหาทางเศรษฐกิจ

หมายเลขบันทึก: 14294เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2006 01:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายรุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย
น่าสนใจมากครับ สำหรับรายวิชานี้ หวังว่าคงได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุมากขึ้นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท