30 บาท ในอนาคต


ไม่รู้ว่าเงินเพิ่มขึ้นเพราะไปเบี้ยวสิทธิที่พึงได้ของประชาชนหรือเปล่า

วันนี้ สวรส จัดสัมนา ข้อเสนอการปรับปรุงระบบหลักประกัน มีเรื่องน่าเล่ามากมาย ผมขอเล่าสั้นๆเกี่ยวกับ 2 ประเด็นสำคัญที่ได้พูดคุยกัน

เรื่องที่หนึ่งว่าด้วยเงินพอไม่พอ ปรากฏว่าพูดกันต่างๆนานา ต่างก็ยกตัวขี้วัดที่ตนเองมองเห็น เช่น บางคนก็ว่า เงินสะสมบาง รพ เริ่มร่อยหรอลงตามลำดับหลังมี 30 บาท แปลว่าเงินที่ได้น้อยกว่าเงินที่ต้องจ่ายเพื่อให้บริการ เลยต้องชักเนื้อ ทำให้เงินสะสม ร่อยหรอ

มีผู้อ้างคุณหมอเกรียงศักดิ์ ผอ รพ ภูกระดึงที่บอกว่า เงินทั้งระบบ(ไม่ใช่ราย รพ)เพิ่มขึ้น แม้หลัง 30 บาท แล้ว แปลว่าเงินพอ ผมคุยกับคุณหมอเกรียงศักดิ์ หลังกาประชุม เขาบอกว่าทางภาคกลาง เพิ่มเร็ว และมากกว่าภาคอื่น ผมไม่ได้ถามว่า แล้วมี รพที่ไม่เพิ่ม แต่กลับลดไหม ผมเชื่อว่ามี แปลว่าเงินไม่ได้ขาดแคลนทั้งระบบ แต่ต้องดูแลที่ที่ขาดทุน

บ้างก็ว่าเงินพอ เพราะดูจากสัดส่วน GDP แล้วเราไม่ได้ใช้น้อยเท่าไรนัก

บ้างก็ว่าเงินไม่พอ เพราะเงินที่จ่ายผู้ป่วยในตาม DRG ตำ่กว่าต้นทุนที่ควรเป็น

ผมว่าข้อเท็จจริงคือมี รพที่มีปัญหาการเงิน และมี รพที่มไ่มีปัญหาการเงิน เพราะผลักภาระไปที่ผู้ป่วย ด้วยการสร้างเงื่อนไขมห้จ่ายน้อย หรือไม่ก็ให้คนไข้จ่ายเงินโดยอาศัยช่องว่างของระบบ และการมีข้อมูลที่ไม่เท่ากัน 

อีกเรื่องคือเรื่องการให้เอกชนเป็นคนมาดูแลการประกันสุขภาพ โดยขอให้ สปสช ประกาศให้เอกชนมาเสนอว่าจะจัดการยังไง แล้วให้สปสช จ่ายเงินให้เอกชนไปทำ

ท่านเลขา สปสช คุณหมอสงวนบอกว่า สปสชลองประกาศแล้ว ไม่มีบริษัทไหนมารับเลย ถ้ากล้ารับ สปสช กล้าให้ทำ

ผมเห็นว่าเป็นการคิดปละพูดโดยไม่ยึดหลักระบบประกันสุขภาพอย่างที่ควรเป็น เพราะที่แน่ๆต้องยึดหลัก่อนว่า เรากำลังทำระบบประกันที่ไม่ใช้แนวทางที่เรียกว่า indemnity คือไม่ใช่ประกันแบบ ช่วยลดภาระการเงิน (ด้วยการบอกว่าจะจ่ายให้ส่วนหนึ่ง ตามแต่ขนาดของกรมธรรม์ที่ซื้อ แบบเดียวกับการประกันบ้าน)

แต่เรากำลังสร้างระบบประกันที่เป็น managed care คือบริษัทรับประกันต้องไปสร้างเครือข่ายหน่วยบริการ และดูแลให้ผู้ประกันตนได้รับบริการตามเงื่อนไข 30 บาทรักษาทุกโรค

แถมยังต้องทำตามเงื่อนไขระบบวิธีการจ่ายเงินของสปสช ไม่ใช่ไปกำหนดกติกาตามใจชอบ ไม่ั้งั้นจะไม่เป็นธรรมกับคนแต่ละกลุ่มตามที่ปรากฏในนโยบาย และหลักการที่พยายามประกาศมาโดยตลอด

ผมจึงไม่แปลกใจที่ไม่มีบริษัทมารับเงินไปจัดการ ยิ่งถ้าเงินค่าหัวที่รัฐบาลให้มีจำนวนน้อย น่าจะไม่พอค่าบริหารจัดการที่บริษัทเขาตั้งไว้

ไม่แน่ว่าอีกหน่อย ระบบนี้อู้ฟู่ มีเงินเหลือแยะ และเราเริ่มเมาว่าควรมีกติกากลางแบบไหนดี เลยปล่อยให้ใครก็ได้ไปทำตามใจ ตราบเท่าที่กลุ่มเป้าหมายพอใจ อาจมีบริษัทที่มองเห็นโอกาส ตักครีมไปกิน 

เช่นมารับเงินค่าหัวไปตามที่ัรัฐบาลให้ แล้วก็ประกาศว่าจะจัดบริการให้แต่เนื่องจากเป็นบริการที่จะดีกว่าที่รัฐจัดให้โดยตรง จึงขอเก็บค่าเบี้ยเพิ่มอีก เท่าที่รัฐบาลจ่าย โดยจะมีบริการตรวจร่างกายให้ฟรีก่อนรับเป็นสมาชิก

คนที่รู้เรื่องระบบประกัน เห็นเข้าก็หัวเราะรู้ว่าจะมาไม้ไหน และแบบนี้เอกชนที่รับเงินไปจะเจ๊ง หรือจะรวย

แต่คนไม่มีประสบการณ์ หรือแก้งไม่มีประสบการณ์ก็จะดีใจบอกว่าเห็นไหมเอกชนมารับไปจัดการแล้ว และก็โฆษณาไม่หยุดว่าได้เปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วม แต่ไม่บอกว่าในที่สุดมีไม่กี่เจ้า เพราะครีมที่จะให้ตักมีไม่มาก

แต่ที่เหลือิให้ระบบรัฐดูแลต่อมีแต่หางน้ำ้้นมที่ใช้เลี้ยงทารกยังไม่ได้เลย 

ว่างๆว่าจะเขียน series ว่าด้วย สัมมาทิฏฐิ และมิจฉาทิฏฐิว่าด้วยการประกันสุขภาพซะหน่อย ก่อนที่เราจะเมากันไปทั่วหน้า จนไม่รู้ว่าระบบหลักประกันควรยืนอยู่บนหลักการอะไรดี

ผมรู้อย่างนึงว่ามีหลายคนอยากให้ระบบของเรา make money available โดยมีกติกาน้อยๆ โดยอ้างว่าเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชน

ถ้าทำแบบนั้น ไม่นาน money ที่เคย available ก็จะกลายเป็น money ที่ unaffordable ไปในพริบตา

แต่เราจะมีกติกาก็ต้องมีกติกาที่ดี อยู่บนฐานความจริง ซึ่งไม่มีวันเกิดขึ้นได้ ถ้าเราไม่มีระบบข้อมูลที่ดีพอ

แต่วันนี้แค่ถ่มว่าเงินพอไม่พออย่างที่เล่าไว้ตอนต้นก็ไม่มีข้อมูลดีพอจะให้หาข้อสรุป หรือเจาะลึกได้

ผมหวังว่าเราจะรีบสร้างเครื่องมือ
ที่จะใหเราเห็นภาพที่ชัดเจน และมีคนที่เป็นหลักมาคอยดูและหาทางออก และเรื่องที่ควรทำ(เรียกกันว่าการปฏิรูประบบ)อย่างจริงจังโดยเร็ว

อย่าเพิ่งได้หลงเชื่อว่าระบบเราเข้าที่แล้ว เพราะเงินเริ่มเพิ่มขึ้นแล้ว ไม่ได้ขาดอย่างที่เคยคิดกัน (ซึ่งจริงๆก็ยังไม่รู้ว่า เพิ่มขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น หรือเปล่า หรือว่าเพิ่มเพราะไปเบี้ยวสิทธิของประชาชน แต่ประชาชนไม่โวย เพราะรู้ไม่ทัน หรือไม่ก็ไม่อยากเอาเรื่อง) 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14289เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2006 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท