หลักสูตรท้องถิ่น น่าจะเป็นอย่างไร


หลักสูตรท้องถิ่น เป็นฐานในการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การแก้ปัญหาท้องถิ่น และการเรียนรู้เพื่อความภาคภูมิใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู

 เมื่อวานครูวุฒิยกทีมครู และชาวบ้านมาเยี่ยมนาผมตอนเย็นๆ หลังจากไปแวะมาหลายจุดตามรายทาง ก็เลยได้มีโอกาสคุยกันในแปลงนา

 071027+047

และตอนทานข้าวเย็น

 0709000271007

 เรื่อง ความน่าจะเป็นของการทำหลักสูตรท้องถิ่น ที่ควรทำงานให้ครบสามเส้า ที่เป็นระบบการเรียนรู้ ๓ ส่วน  

คือ

  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       หลักสูตรท้องถิ่น เป็นฐานในการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การแก้ปัญหาท้องถิ่น และการเรียนรู้เพื่อความภาคภูมิใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       วิจัยในชุมชน ที่สามารถวิเคราะห์ ค้นหาประเด็นที่เป็นสาระสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นที่จะทำให้ครูมีความรู้มากพอที่จะสอนและพัฒนาความรู้ต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับการพัฒนาภูมิปัญญาและการพัฒนาชุมชน และ</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       ศูนย์เรียนรู้ ที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งเพื่อสนับสนุนหลักสูตรท้องถิ่น และสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีชีวิต พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นตัวอย่างให้กับสถาบันการศึกษาและชุมชนอื่นๆ ได้ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาค และระดับประเทศ</p>   <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">การพัฒนา ทั้งสามส่วนนี้จะได้ผลที่ทำให้เกิดผลต่อเนื่องในการ</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       หนุนช่วยซึ่งกันและกัน (integrative learning processes)</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       ทำให้เกิดการเข้าใจกัน ระหว่าง ครู ชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน (participatory learning)</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       เกิดการเรียนรู้ทางวิชาการที่เริ่มจากสภาพท้องถิ่น (local or area based knowledge development)</p><blockquote><p> ·       ลูกอาจเรียนไปพร้อมๆกับพ่อแม่ (learning family) </p></blockquote><p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       ผู้นำเรียนรู้ไปพร้อมๆกับชุมชน (learning community)</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       ครูเรียนรู้ภูมิปัญญาและวิชาการไปพร้อมๆกับนักเรียน (science technology and wisdom integration) และ</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       เกิดสังคมและชุมชนแห่งการเรียนรู้ (COP- community of practice)</p>   <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">ที่น่าจะทำให้หลักสูตรท้องถิ่นมีเนื้อหาสาระเชิงการเรียนรู้ ที่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์และนโยบายการพัฒนา</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       การศึกษา</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       การเรียนการสอน</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       การวิจัย</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       การพัฒนาชนบท</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       การพัฒนาคุณภาพชีวิต</p><blockquote><p> ·       การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งดี   </p></blockquote><p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในรูปแบบนี้ จะเห็นว่า</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       ครูต้องเรียนรู้จึงจะผูกใจผู้ปกครองได้ </p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       ชุมชนพัฒนาภูมิปัญญาและชุดความรู้ได้</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       ผู้ปกครองมีความผูกพันกับโรงเรียน</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       นักเรียนมีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นและบ้านเกิดของตนเอง</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       ระบบการศึกษามีการพัฒนาที่สอดคล้องกับชีวิตจริง และ</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 49.85pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 36.0pt list 49.85pt" class="MsoNormal">·       สามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน</p>   <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">เพื่อจะแก้ไขปัญหาการเชิญชาวบ้านมาช่วยสอน ที่ทำให้ผู้ปกครองอึดอัด</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">ที่เป็นเหตุให้ครูที่จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นก็ไม่มีทางเลือก และทำงานการสอนแบบออกนอกเรื่อง ให้ผู้ปกครองสบายใจ(เพราะผู้ปกครองไม่รู้เรื่องว่าครูสอนอะไร แต่รู้ว่าเป็นเรื่องใหม่)</p>  <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">และเป็นที่มาของหลักสูตรแบบบ้าๆบอๆ ท่องมาสอน ท่องไปสอบ จบแบบไม่รู้เรื่อง</p>   <p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">ผมจึงคิดว่า การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการดังกล่าว น่าจะเป็นวิธีการที่ดี แต่เราต้องมีต้นแบบให้คนอื่นเห็น</p><p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">และผมเชื่อว่า ครูวุฒิ และทีมงาน จะสามารถเป็นครูและโรงเรียนต้นแบบให้กับกระทรวงศึกษาธิการได้</p>  ครูวุฒิ ว่าอย่างไรครับ?   <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 142721เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2007 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • ผมมั่นใจว่าครูวุฒิทำได้ครับอาจารย์
  • อยากเห็นหลักสูตรท้องถิ่นที่ออกมาอย่างน่าสนใจ
  • ดีใจที่อาจารย์ได้พบครูวุฒิครับ

สวัสดีค่ะP

ขออภัยอาจารย์ค่ะ  ตอนนี้ อาจารย์ พูดถึง หลักสูตรท้องถิ่น เป็นฐานในการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การแก้ปัญหาท้องถิ่น และการเรียนรู้เพื่อความภาคภูมิใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู

ขอนอกเรื่องหน่อยค่ะ

 

เป้าหมาย ที่อยากให้เกษตรกรเราทำคือ การสามารถดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี อยู่ติดกับที่ดินทำกิน   ด้วยสมมติฐานที่ว่า "ขนาดเล็กนั้นงดงาม (small is beautiful)" ใช่ไหมคะ คือเราไม่อยากให้เป็นscaleใหญ่ ใช่ไหมคะ

 

P

ครับ

คงไม่ใช่อย่างนั้นครับ

แต่เป็นการเน้นการพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนางานของทั้ง

  • ครู
  • ผู้ปกครอง
  • ชุมชน
  • นักเรียน
  • การเรียนรู้ และ
  • ภูมิปัญญา

จะเล็กใหญ่ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนครับ

P

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ เข้าใจค่ะ

สำหรับประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยดูแลชาวไร่บ้าง

ในเฉพาะเรื่อง scale ไม่ค่อยอยากให้เป็น scale ใหญ่ เพราะดิฉันเคยทำcontract farming มา เกษตรกรที่ไปได้ดี ในช่วงต้น ให้ทำพอสมตัว ดีที่สุด

 กลยุทธ์ แนวทางระบบเศรษฐกิจพอเพียง ดีที่สุดค่ะ 

 ส่วนเรื่อง ชุมชนเข้มแข็ง จะพบว่า "ทุน" สำคัญที่สุดของพวกเขาไม่ใช่ดิน ไม่ใช่ป่าหรือทรัพยากรต่างๆ ไม่ใช่แรงงาน ไม่ใช่เงิน แต่เป็นความรู้ และปัญญาอย่างที่อาจารย์บอก

สิ่งที่สำคัญมากคือ  การพึ่งตนเอง การเป็นตัวของตัวเองในการคิด การตัดสินใจ การจัดการชีวิต จัดการทรัพยากร นะคะ

ถ้าเน้นปัญญาแล้ว อย่างอื่นจะเล็กไปเอง

ครูบาสุทธินันท์ ตอนนี้ก็กว่า ๗๐๐ ไร่

ครูบาคำเดื่องก็ เกือบ ๔๐๐ ไร่

ที่เริ่มจากเล้กไปใหญ่ มันเป็นไปเอง ไม่เดือดร้อน

ขอให้มีความรู้พอใช้ เป็นใช้ได้ครับ

ผมจึงชอบคิดถึงคำพูดของขงเบ้ง ที่พูดกับเล่าปี่ว่า

ท่านมีใจแค่ไหน เรามีแผนแค่นั้น

ที่สะท้อนถึงความรู้ ความคิด แผนงาน และการจัดการทรัพยากรต้องสอดคล้องกัน

ใหญ่เล้ก ไม่สำคัญ

และ ยุทธศาสตร์ของพระเจ้าตากสิน ที่

ทำจากเล็กไปใหญ่ ก็พิสูจน์มาแล้วว่า

"กู้กรุงศรี" ได้จริง

ขอบพระคุณมากครับ

หลักสูตรท้องถิ่น น่าจะเป็นอย่างไร

เห็นชื่อหัวข้อบทความแล้วผมรู้สึกว่าใกล้ตัวมาก จึงคลิกเข้ามาทันที ไม่ผิดหวังเลยครับอาจารย์ เจอชุดความรู้ของหลักสูตรท้องถิ่นว่ามันต้องมีเพื่อนอย่างวิจัยชุมชนและศูนย์เรียนรู้อยู่ด้วย เป็นเกลอกันสามเกลอ ที่เรียกว่าสามเส้า ทำให้เปิดสมองผมไปได้อีกพอสมควร

มันต้องวิเคราะห์วิจัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นจริงในชุมชน เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นจริง จึงจะพบภูมิปัญญา องค์ความรู้ ตามมา จึงนำสิ่งเหล่านั้นเอามาทำหลักสูตร

สถานศึกษาพัฒนาสิ่งเหล่านั้นขึ้นเป็นหลักสูตรท้องถิ่น

พัฒนาเครื่องมือศูนย์เรียนรู้ ขึ้นมาเป็นเครื่องมืออีกตัวหนึ่งเพื่อเร่งปฏิกิริยาให้การเกิดการพัฒนาและแลกเปลี่ยน เพื่อการใช้ผลการวิจัย ตั้งโจทย์ใหม่ แสวงหาคำตอบร่วมกันใหม่ เพื่อจัดทำหลักสูตรใหม่ ฯสลฯ

ได้ความรู้จากอาจารจย์ไปอีกแล้วครับ ทีหลังถ้าใครพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่น ผมจะละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าพ่วงเข้าไปอีกสองประการตามที่ทอาจารย์ว่าเป็นอย่างน้อยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

  • กระทรวงทรัพยากรฯกับคณะวิทยาศาสตร์ ม.สารคาม
  • เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเรื่อง"การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ"
  • จัดที่ห้อง สันตรัตน์ รร.ตักสิลา จ.มหาสารคาม
  • ดูรายชื่อที่มาทั่วประเทศแล้ว เอาแต่พวกขี้คุยที่ไม่เคยทำจริงมาประชุมทั้งนั้น
  • สงสัยจะเป็นหลักสูตรทิ้งถิ่นเหมือนเดิม
  • อาจารย์ว่างไม๊ละ
  • มาร่วมฮาหน่อย
  • กระทรวงทรัพยากรฯกับคณะวิทยาศาสตร์ ม.สารคาม
  • เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเรื่อง"การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ"
  • จัดที่ห้อง สันตรัตน์ รร.ตักสิลา จ.มหาสารคาม
  • ดูรายชื่อที่มาทั่วประเทศแล้ว เอาแต่พวกขี้คุยที่ไม่เคยทำจริงมาประชุมทั้งนั้น
  • วันที่ 21 พย.นี้
  • สงสัยจะเป็นหลักสูตรทิ้งถิ่นเหมือนเดิม
  • ไม่ศึกษาดูว่า ทำไมหลักสูตรนี้ขยายไม่ออก กระบวนการในระบบเป็นยังไง ความไม่เข้า และความเข้าใจที่ปนเปื้อนเป็นยังไง
  • จัดประชุมก็ นกแก้ว แจ้วเจื้อยไปก็จบ
  • แล้วก็จัดอีก จัดใหม่ ไม่เบื่อรึไงก็ไม่รู้
  • ไปดูครูวุฒิเสียก๋สิ้นเรื่องไม่ต้องจ่ายค่าโง่หลายแสน เฮ้อ
  • อาจารย์ว่างไม๊ละ
  • มาร่วมฮาหน่อย
  • ช่วง เสวนา ความคิดเห็น 14.00-16.00  น.

 

เกษตรทิ้งถิ่นเกือบจะหมดแล้ว

หลักสูตรท้องถิ่น ยังง่องแง่งอยู่เลย

นี่แหละการศึกษาไทย

ใครพูดถึงก็โกรธอีกนะ ยิ่งไปว่าโง่ก็ยั๊วะอีกแน๊ะ

ห้ามพูดความจริง

ต้องอุ้มชูกันไปจนไม่มีท้องถิ่นให้ทิ้ง

ได้เลยครับครูบา

ผมจองเวลาไว้แล้วครับ ๒๑ พย ทั้งวันนะครับ

เข้าใจว่าเป็นวิทยาเขตในเมืองใช่ไหมครับ

Pครับ

ก็เป็นแนวทางเบื้องต้นนะครับ

เมื่อสี่ปีก่อนผมได้วางแนวทางไว้ ตั้งแต่ ครม ชุด ทักษิณ ๑ อนุมัติโครงการ ๔๑๓ ล้าน แต่มีปัญหาภายใน ล่าช้ามาจนซึนามิถล่มภาคใต้ โครงการเลยพับไป

ผมมาดำเนินการกับกลุ่มครูทางอุบลก็ได้ผลดี ทำให้เกิดทั้ง

  • ศูนย์เรียนรู้
  • หลักสูตรท้องถิ่น และ
  • การวิจัยในชุมชน

อย่างมากมาย

 

ถ้าไม่โดนอันธพาลก่อกวน ต่อรองผลประโยชน์ป่านนี้คงเดินหน้าไปได้ไกลทีเดียว

ผมถอยกลับมาทำที่ขอนแก่น

  • ผมได้ใช้แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ของผม และสมาชิกเครือข่ายเป็นศูนย์เรียนรู้
  • ผมทำวิจัยเกษตรอินทรีย์ร่วมกับสมาชิกเครือข่าย
  • ภรรยาผมใช้แปลงเป็นฐานงานหลักสูตรท้องถิ่นของครูในโรงเรียน และจังหวัดต่างๆ ทั่วภาคอีสาน ที่เป็นสมาชิกเครือข่าย
  • ผมใช้แปลงเป็นที่ดูงานของนักศึกษาปริญญาตรี โท เอก
  • เป็นพิ้นที่ทำปัญหาพิเศษ ของนักศึกษา
  • เป็นแปลงต้นแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์
  • เป็นที่ประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานของเครือข่าย และนักวิชาการทั้งใน และต่างประเทศ
  • เป็นแปลงสาธิตเชิงเทคนิค ที่สามารถนำสู่นโยบายระดับชาติได้ ทั้งด้านการจัดการ ดิน น้ำ พืช สัตว์ และระบบนิเวศ

ผมจึงมั่นใจในโมเดลการทำงานนี้ครับ

  • เมื่อสมัยเรียนประถมครูให้ทำแปลงปลูกผัก ปลูกไปกังวลไปว่าผักจะไม่งาม ไม่ได้คะแนน
  • ไปแปลงผัก รดอยู่นั้นเช้าเที่ยงเย็น จนผักแทบจะสำลักน้ำตาย
  • เมื่อปลายเทอมผักของผมไม่งามเอาเสียเลย ได้คะแนน้อยเพราะตอนตรวจแปลง ผักของผมเริ่มโรยแล้ว ในขณะที่เพื่อนอีกคนปลูกหอมยังงามอยู่เหมือนเดิมได้คะแนนไปมาก  ผมฝังใจเรื่องนี้และจำได้แม่น
  • หลักสูตรท้องถิ่นหากครูยังไม่เข้าใจเด็กในท้องถิ่น เกษตรในท้องถิ่น เรื่องในท้องถิ่น ก็อย่าสอนเลยเพราะจะทำให้เด็กเกียจแปลงผักเอาง่ายๆ
  • อ่านบันทึกของอาจารย์เสร็จ กะจะปริ้นไปฝากเพื่อนครูที่สอนเกษตร เผื่อครูจะเข้าใจบ้าง.....
  •  อ้อ รวมทั้งครูที่จะทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องอื่น ๆ ด้วย
  • อิอิ
  • น่าสนใจไปรับฟัง...หลักสูตรนี้นะครับ
  • เสียดายที่ไม่ได้อยู่คณะวิทยาศาสตร์แล้ว....ข่าวคงมาไม่ถึง....อิอิ
  • แม้ว่าจะช่วยสอน เรื่องที่เกี่ยวข้อง แต่ตอนนี้อยู่ศึกษาทั่วไปครับ...อิอิ
  • ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นน้อย ๆ ด้วยคนนะครับ
  • กว่า 2 ปีมาแล้ว ผู้น้อยได้ชมวิดีทัศน์ชาวอังกฤษคนหนึ่งที่มาอยู่เมืองไทย เขาเล่าว่า คนอีสานตอนนี้เหมือนคนอังกฤษเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน คือ นิยมเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ แต่คนอังกฤษต่างจากคนอีสาน คือ คนอีสานยังสามารถกลับบ้านเกิดได้ เพราะยังมีที่ทำกิน แต่คนอังกฤษกลับบ้านเกิดไม่ได้อีกแล้วเพราะขายที่ดินให้นายทุนไปแล้ว
  • ผมเชื่อว่า สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง อนิจจัง

สวัสดีครับท่าน ดร.แสวง  และคุณพี่อัมพร

  • ผมต้องขออภัยที่ยังไม่ได้เข้ามาในช่วงเวลาที่เหมาะควร  เป็นเพราะมีภารกิจในต่างอำเภอตั้งแต่เช้า  กลับมาช่วงเย็นก็หลับตั้งแต่หัวค่ำ เพราะความล้าที่ต่อเนื่องมาจากการหลับพักไม่พอในคืนที่ผ่านมาครับ
  • ขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้

เกิดการผิดพลาดทางเทคนิคนิดหน่อย ระบบจัดเก็บความคิดเห็นทำงานเอง โดยไม่ได้ตั้งใจสั่งงาน  ขออนุญาตต่อครับ

  • ขออนุญาตใช้พื้นที่ครงนี้

ปุ่มเว้นวรรค  กลายเป็นปุ่มสั่งบันทึกครับ  เดี๋ยวจะลองใหม่ครับ

  • ผมและคณะจากศรีสะเกษ ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อัมพรเป็นอย่างสูง ในความกรุณา ความอนุเคราะห์และความเอื้อเฟื้อของท่านทั้งสองรวมทั้งน้องน้อยหน่า ที่มากมายล้นเหลือ ชนิดขนกลับศรีสะเกษไม่หมด
  • คำแนะนำจากการแลกเปลี่ยนเรื่อง"หลักสูตรท้องถิ่น"บนโต๊ะอาหารมื้อเย็น เชื่อมโยงกับการเสวนาย่อยๆเกี่ยวกับเรื่องนี้กับท่าน ดร.ศักดิ์พงศ์ หอมหวล และคณาจารย์จาก มมส.รวมทั้งท่านเข้าของสถานที่ที่บ้านพ่อครูบา  มาถึงบันทึกนี้ของท่าน ช่วยให้โคกเพชรมีความมั่นใจในภารกิจอันสำคัญในการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะในบันทึกนี้ที่ท่านได้ช่วยขยายความและสรุปสาระสำคัญอันเชื่อมโยงกันและกันอย่างมีเหตุมีผลของทั้ง 3 เส้าที่ชัดเจนยิ่ง
  • และก็เพื่อให้ครบส่วนอย่างเข้มแข็งของ 3 เส้านี้แหละครับ  ที่เป็นแรงขับให้ผมต้องพาคณะดั้นด้นไปรบกวนท่านและครอบครัวถึงแปลงนา
  • นี่หมายความว่า "หลักสูตรท้องถิ่นที่เน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิต" ของโรงเรียนบ้านโคกเพชร ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผลผลิตที่มึความสามารถในการสร้างชุดและองค์ความรู้ที่สามารถนำไปสู่....

               1) แก้ปัญหา "การทำนาด้วยต้นทุนที่สูง ขาดทุน ได้ข้าวไม่พอกิน การอพยพแรงงาน การละ/การทิ้งครอบครัว ครอบครัวแตกแยก การสูญเสียที่ทำกิน "

               2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ  อย่างมีเหตุผล และเหมาะควร

               3) การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่  ด้วยวัฒนธรรมประชาธิปไตยเนื้อแท้อย่างสร้างสรรค์

                  ฯลฯ

                น่าจะมีความเป็นไปได้ในระดับหนึ่งแล้วใช่ไหมเนี่ย...  และครูวุฒิเดินมาถูกทาง ถูกที่ ถูกอาจารย์แล้วใช่ไหมครับ?

          เอ๊ะ.... ครูวุฒิฝันไกลมากไปหรือเปล่าเนี่ย....

(ปล.  ครูวุฒิจำเป็นต้องฝันไกล  เพราะไม่อยากสอนเด็กครึ่งคน ที่เกิดมาจากความไม่ตั้งใจของคนเป็นพ่อแม่ และถูกเลี้ยงมาอย่างทิ้งๆขว้างๆ อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน....น่ะครับ...)

Pครับ

ผมว่าเรามีแสงส่องทางและเข็มทิศพร้อมขนาดนี้ ไม่น่าจะมาผิดทาง

มากกว่านั้น

เรายังมียานพาหนะ (เทคนิค วิธีการ) ที่แข็งแรง เชื่อถือได้ ผ่านสนามทดสอบมาแล้ว

คนขับเราก็พร้อม ฝึกหัดมาดีแล้ว

ผมจึงมั่นใจ ๑๐๐% ในกระบวนของเราครับ

ครูบาเห็นด้วยไหมครับ

Pครับ

มันเป็ฯโศกนาฏกรรมทางการศึกษาครับ ที่ผู้แสดงเป็นครูตามหน้าที่นั้น ไม่แสดงบท "ครู" ที่ดี

กลับเอาส่วนที่ไม่เหมาะสมมาแสดง อาจเนื่องด้วยอัตตา หรือการขาดความรู้ หรือทั้งสองอย่าง

จึงทำให้คุณออด เกิด bad impression กับการปลูกผักที่ผ่านมา

แต่ผมว่าดีนะที่ทำให้มาชอบผ้าทอ ไม่งั้นอาจจะยังปลูกผักขายอยู่ก็ได้ครับ

 

Pครับ

ผมว่าเรายังอยู่ในระบบครับ และน่าจะคุยกันมากกว่านี้นะ

 

P

เห็นด้วยครับ อนิจจัง ๆ

น่าสนใจครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท