หน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน
ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาทางไกลมานานแล้ว
และได้พัฒนา รูปแบบ และวิธีการจัด มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 5
ปี ที่ผ่านมา ได้พูดกันถึงเรื่อง e-Learning มากขึ้น
และได้ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมมาโดยลำดับ โดยเริ่มจากการสร้าง
e-book เผยแพร่บน Internet และปัจจุบัน
ก็เริ่มเปิดการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning กันแล้ว
ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
หลายท่านเริ่มเป็นห่วงว่า
การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ จะมีคุณภาพหรือไม่ จึงต้องเริ่มมาดูรูปแบบ
และวิธีการมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ยอมรับ
คือ การเรียนการสอนคงจะไม่เหมือนกับเรียนในโรงเรียน ในชั้นเรียน
ดังนั้นการศึกษาในลักษณะนี้ จึงน่าจะเหมาะสมกับ บางเรื่องบางกลุ่ม
และบางสถานที่ และประเด็นที่สำคัญคือ เทคโนโลยี ทางด้าน
ICT ที่จะนำมาช่วยในการพัฒนา สื่อ และ วิธีการเรียนการสอน ให้เกิด
ประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ ว่ามีความเป็นไปได้เพียงใด
มีอีกคำถามหนึ่ง ที่ถามว่า
เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนต้องลงทุนสูงไปหรือเปล่า
เพราะต้องมีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใช้ Internet ได้ ชาวบ้านที่ยากจน
จะเรียนได้อย่างไร ประเด็นนี้ ก็นำมาสู่การพูดคุยกันว่า
ทำอย่างไร
จะทำให้ประชาชนเข้าถึงรูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะนี้ได้
ประเด็นแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ
การเรีบนทางไกล ในระบบ e-Learning คงจะไม่เหมาะสมกับทุกคนแน่ๆ
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา
ประเด็นที่ 2 คือ ทำอย่างไร
ที่จะทำให้ผู้ที่สามารถจะเรียนด้วยวิธีการอย่างนี้ มีอุปกรณ์
ที่จะใช้เรียนได้ (คอมพิวเตอร์ และ Internet) แนวทางหนึ่งคือ
หาคอมพิวเตอร์ ไว้ใกล้ๆ ผู้เรียน ซึ่ง กศน. ก็ต้องมองไปที่ระดับตำบล
ก็มองไปที่ ศูนย์การเรียนชุมชน หรือ อบต. จะเป็นไปได้ไหม
ประเด็นที่ 3 มองไปที่เทคโนโลยี Internet ว่า
ถ้ามีคอมพิวเตอร์ แล้ว ทำอย่างไร จะให้ใช้งาน internet ได้ และเป็น
Internet ที่สามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
ซึ่งปัจจุบัน จะต้องมองไปที่ Internet
ความเร็วสูง ที่สามารถนำเสนอสื่อ Multimedia ได้
โดยเฉพาะสื่อประเภท เสียง และ video หรือ โทรทัศน์
ประเด็นที่ 4 รูปแบบการเรียนการสอน ทำอย่างไร จึงจะเกิด
ประสิทธผล จะต้องมีการเรียนรู้
จากการศึกษาด้วยตนเองจากสื่อ มีกิจกรรมการเรียนรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน
ผู้เรียนกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ หรือกล่าวตามภาษานักการศึกษาคือ
ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธ์ทางการเรียนตามที่กำหนดในหลักสูตร
ประเด็นที่ 5 การจัดทำหลักสูตร และสื่อ จะทำอย่างไร
โดยเฉพาะสื่อการเรียนรู้ เพราะสื่อต่างๆ เหล่านี้
จะต้องเผยแพร่ผ่านทาง Internet โดยผู้เรียน เรียนผ่านหน้าจอ (On
Screen Learning) ซึ่งนักเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ทั้งหลาย
ที่พัฒนา WBI (web base
Instruction) จะต้องพิจารณาอย่างมาก
ประเด็นสุดท้าย มาดูที่แนวโน้ม
และความเป็นไปได้ ในการพัฒนาในอนาคต ก็จะพิจารณาความเป็นไปได้ จาก 3
เรื่อง คือ
1 ผู้เรียน มีความพร้อม
ที่จะใช้วิธีการเรียนในรูปแบบ e-Learning หรือไม่
เพราะส่วนมากเรายังเคยชินกับการเรียนการสอนในรูปแบบที่ต้องมีครูสอนในชั้นเรียน
(แต่คนส่วนหนึ่ง ก็คุ้นเคยกับการเรียนเรียนด้วยตนเอง
และการเรียนในระบบนี้มากขึ้น)
2 ผู้สอน มีทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผ่าน เครือข่าย Internet เพียงใด
3 เทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะอำนวยความสะดวก
ในเรื่องนี้เพียงใด ซึ่งในเรื่องนี้ จะพบว่า ปัจจุบัน
กำลังพัฒนาระบบไร้สายขึ้นมาอย่างมาก และที่เราจะได้ยินบ่อยขึ้นคือ
wimax ซึ่งคิดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ คิดว่า wimax
จะเข้ามามีบทบาททางการศึกษามากขึ้น เพราะให้นึกถึงภาพ โทรศัพท์มือถือ
ที่อยู่ที่ไหนก็พูดคุยกันได้ ต่อไป คอมพิวเตอร์อยู่ตรงไหน ก็ใช้
Internet ได้
สิ่งทั้งหลายที่กล่าวมานี้ เพื่อจะบอกว่า ช่องทาง
ที่เปิดให้สำหรับการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย Internet นั้น
มีความเป็นไปได้ และทำได้ง่ายขึ้นทุกที คำถามคือ เราเตรียมบุคลากร
โดยเฉพาะนักการศึกษา และผู้จัดการศึกษา ให้พร้อม
และเริ่มดำเนินการในเรื่องนี้เพียงใด เพราะถ้าระบบต่างๆ พร้อมแล้ว
แต่หลักสูตร และสื่อ ต้องใช้เวลาพัฒนาอีก 3 ปี ก็คงเข้าลักษณะ
กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ มีท่อความรู้ ต่อถึงบ้านนักเรียน
แต่ไม่มีความรู้ใส่เข้าไปในท่อ ไปให้นักเรียน
ไม่มีความเห็น