มาตรการการอนุรักษ์พลังงาน กับ สาร CFC


พวกเราควรที่จะมีส่วนร่วมในการพิทักษ์โลก ด้วยการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ หรือเลือกใช้น้ำยาแอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

          คุณจักรพงศ์  แสงจักร  นายช่างเทคนิค ของคณะสหเวชศาสตร์ หนุ่มหล่อผู้โชคดี  เพราะกำลังจะสละโสดในเร็ววันนี้  P ได้ร่าง ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง มาตรการการอนุรักษ์พลังงานและการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค  มาให้ดิฉันช่วยตรวจสอบก่อน (ตั้งสามหน้ากระดาษ)

          มีทั้ง

  • มาตรการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า
  • มาตรการประหยัดการใช้น้ำ
  • และมาตรการประหยัดค่าโทรศัพท์ 

          รายละเอียดครบถ้วน ทุกข้อแจกแจงครบครัน อ่านเข้าใจง่าย

          แต่ทว่า.....มีเพียง ข้อที่ 1 ที่ดิฉันไม่เข้าใจ  เพราะเธอเขียนว่า

          "ใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟน้อย  และไม่เพิ่มสาร CFC แก่อากาศ"

          เอาละซี....มนุษย์เจ้าปัญหาอย่างดิฉัน ก็เริ่มงงทันที ถามในใจว่า

  1. สาร CFC คืออะไร? 
  2. อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟน้อย  กับ สาร CFC  มันเกี่ยวกันตรงไหน??
  3. จะรู้ได้ยังงัยว่า อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า นั้นๆ เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มสาร CFC แก่อากาศ?
  4. แล้วต้องเลือกอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบไหน ถึงจะไม่เพิ่มสาร CFC แก่อากาศ?
  5. การมีสาร CFC แก่อากาศมากๆ เกี่ยวอะไร กับการอนุรักษ์พลังงาน?

           อารามเกรงใจคุณจักร กลัวเธอจะต่อว่าดิฉันว่าอุตสาห์ร่างประกาศมาให้อย่างดีแล้ว ยังจะเซ้าซี้ มากมายอะไร  ดิฉันจึงแอบไปหาข้อมูลสนองความอยากรู้ของตนเอง (และเอามาเผื่อท่านผู้สนใจด้วย) ดังนี้ค่ะ

          ในโลกปัจจุบันนี้ เรากำลังเผชิญกับปัญหา ปรากฏการณ์ "ภาวะโลกร้อน" (Global Warming) ซึ่งสิ่งที่เป็นสัญญาณเตือน ได้แก่  น้ำแข็งขั้วโลกละลาย  ระดับแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น  แนวชายฝั่งเกิดการกร่อนตัว  ป่าไม้ในเขตภูเขาสูงแห้งแล้ง ฯลฯ

          สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องมาจากแก๊ซโอโซนกำลังถูกทำลายอย่างมาก เพราะการปล่อยแก๊ซพิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม  การตัดไม้ทำลายป่า และที่สำคัญคือ การใช้สารฟลูออโรคาร์บอน หรือที่เรารู้จักกันในนาม สาร CFC นั่นเอง

          ในประเทศที่เจริญแล้ว เขาเลิกใช้สาร CFC กันหมดแล้ว แต่ประเทศไทยยังใช้อยู่ในปริมาณร้อยละ 1 ของสาร CFC ที่ใช้ทั่วโลก

          สาร CFC ประมาณร้อยละ 33 ของปริมาณทั้งหมด ถูกใช้ในอุสาหกรรมเครื่องทำความเย็น  เพื่อใช้ในตู้เย็น  ตู้แช่ และเครื่องปรับอากาศ  ทั้งในอาคารและในรถยนต์  ประมาณร้อยละ 25  ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  และร้อยละ 42 ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ

          หากมองแค่ตู้เย็น ที่ผลิตประมาณปีละ 1.3 ล้านเครื่อง ก็ใช้สาร CFCประมาณ 260 ตันต่อปี นอกจากสาร CFC แล้ว  ยังมีอุตสาหกรรมที่ใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFC) และไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC)

          ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้  โดยได้ร่วมมือกันทั่วโลก ในการเปลี่ยนน้ำยาเครื่องปรับอากาศ จากเดิมคือ R-22  ซึ่งเป็นสาร HCFC  มาเป็น R-410a ซึ่งเป็นสาร HFC  ตามสนธิสัญญามอนทรีออล (Montreol  Protocol) ที่กำหนดให้ ภายในปี 2020 เครื่องปรับอากาศทุกยี่ห้อต้องเปลี่ยนน้ำยามาใช้ตัวนี้ 

          คุณสมบัติเด่นของตัวยาใหม่นี้ อยู่ที่การไม่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก  อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  โดยสารทั้ง 3 ชนิดมีความสัมพันธ์กับการทำลายโอโซน (Ozone Depletion Potential (ODP) ดังนี้

ชนิดสาร 

น้ำยาแอร์ 

ความสามารถในการคงอยู่และทำลายโอโซน 

 CFC  R-11

25 ปี

   R-12  
     
 HCFC  R-22

5 ปี 

   R-407c  
     
 HFC  R-410a

0 ODP*

   R-134a  
   RS-24  
   RS-44  
     
 HC  HC-600a

 0 ODP*

(ไฮโดรคาร์บอน)  HC-290 lสลายตัวอย่างรวดเร็วเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ 
   

 * แต่ยังมีผลต่ออุณหภูมิของโลกบ้าง (GWP)

          ดังนั้น  ในฐานะประชากรที่ดีของโลก  พวกเราควรที่จะมีส่วนร่วมในการพิทักษ์โลก ด้วยการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ หรือเลือกใช้น้ำยาแอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

          ก็ทำตามมาตรการที่คุณจักร ว่ามาเถอะค่ะ ไม่ต้องสงสัยแล้ว


เอกสารอ้างอิง: จดหมายข่าว  Premium Solutions volumn23// year7 April-June2007 ของบริษัท ไทยอินดัสเตรียล แก๊ส จำกัด (มหาชน)

 

 

หมายเลขบันทึก: 142175เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2007 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"ว่าที่เจ้าบ่าวสุดหล่อ...ของเรา อย่าลืม ! สร้างมาตรการพ่อบ้านมือใหม่...ไว้เสนอคณบดี รับทราบด้วยนะ...ค๊า"

  • โลกร้อนจน คนร้อนจิต คิดแก้ไข
  • บ้างจุดไฟ เผานา น่าปวดหัว
  • เผาขยะ เผากระดาษ น่าหวาดกลัว
  • เผากันทั่ว รถยนต์ พ่นควันดำ
  • ซีเอฟซี นี้หนอ สารหล่อเย็น
  • มันซ่อนเร้น ทั้งที่เรา ใช้เช้าค่ำ
  • ถ้าละเลย ปล่อยให้ ใช้ประจำ
  • คงขย้ำ โอโซน โดนทำลาย
  • สารพัด รังสี ย่ำยีโลก
  • วิปโยค อาดูร สูญเสียหาย
  • น้ำจะท่วม โลกา พาคนตาย
  • ท่านทั้งหลาย จงตระหนัก รักษ์โลกเรา
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2550 เทศบาลจะจัดมหกรรม ภาวะโลกร้อนที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน  อยากชวนมาร่วมกิจกรรมด้วยครับ
  • กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก เยาวชน  และผู้ที่สนใจครับ  เห็นเอากะเค้าทุกเรื่อง  อิอิ
  • รีบประสานงานมานะครับ  จะได้เอารูปท่านคณบดีขึ้นคัทเอ้าท์ทัน อิอิ

          คุณกมลพร P ไม่ต้องกังวลหรอกค่ะ  คุณจักรหน่ะ  เป็นพ่อบ้านดูแลบ้านของเรา (AHS) จนชำนาญการแล้ว  เรื่องใหญ่ๆ ไม่ต้องห่วง  แต่เรื่องเล็กๆ นี่ซิ  เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน คุณจักรอาจต้องร่างมาตรการดูแลเจ้าตัวน้อยในอนาคตไว้ด้วยนะคะ  แล้วก็นำเสนอว่าที่เจ้าสาวให้พิจารณาเป็นครั้งสุดท้ายก่อนแต่งด้วย

          ขอขอบพระคุณคุณพิสูจน์Pอย่างมากเลยค่ะ  ดิฉันชอบกลอนนี้มาก ขออนุญาตนำไปใช้เป็นประโยชน์นะคะ  ดิฉันกะว่าจะต้องทำเป็นป้ายกลอนไว้ติดตรงสวิทซ์ไฟสำหรับเปิดแอร์ทุกจุด  จะเปิดทีไร  จะได้สะดุดตา สะดุดใจ จนฝังหัว

          คุณหมอPคะ  จัดมหกรรม ภาวะโลกร้อนที่โรงแรมอมรินทร์ลากูนเนี่ย  คงใช้แอร์เปลืองน่าดูชมเลยนะคะ  แล้วอีกอย่าง ถ้าคุณหมอจะเอารูปดิฉันเป็น cutout ละก็ เกรงว่าโลกจะยิ่งร้อนค่า.... : )  : )

           

ยินดีกับคุณจักรด้วย เสียดายไม่ได้ไปร่วมงาน ขอให้อยู่ด้วยกันจนถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชรนะครับ ยินดีต้อนรับสู่สมาคมพ่อบ้าน AHS
ชิติสรรค์ สิทธิ์ปีวราเดช

อยากทราบข้อมูลของสารทำความเย็นครับ

1. คุณสมบัติของสารทำความเย็น R-407c, R410a, และ RS-44

2. ทั้ง 3 ชนิดสามารถใช้ทดแทน R-22 จริงหรือไม่

3. ทั้ง 3 ชนิดมีความมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร

4. ชนิดใดบ้างที่สามารถทดแทน R-22 ได้เลยโดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องทำความเย็นในการทำความเย็นใดๆ

5. อยากทราบแหล่งผลิตหรือจำหน่ายครับ

ขอแสดงความนับถือ

ชิติสรรค์

ต้องขออภัย  ดิฉันไม่มีความรู้จริงๆ ค่ะ  ความรู้ข้างต้นคัดลอกมาทั้งหมดจากเอกสารที่อ้างอิง

ทุกคำตอบของ R410a, R407c, R417a, R424a, R427a และสารทำความเย็นบนโลกใบนี้มีให้คุณที่...

www.blueplanet.co.th ครับ (ฉบับภาษาไทย) มีให้อ่านแล้วทั่วราชอาณาจักร

johnie blue

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท