วิสาหกิจปุ๋ยอินทรีย์


โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
 ความเป็นมา
                            โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน   ได้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.  2544  เรื่องการจัดทำข้อมูลแผนแม่บทชุมชนตำบล บางจาก   และได้นำเสนอสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี  พ.ศ.2545  หลังจากได้งบประมาณได้จัดขบวนการเรียนรู้จากทีมงานของคุณลุง ประยงค์ รณรงค์  และอาจารย์  จำนง  แรกพินิจ  ในเรื่องการบริหารจัดการชุมชน  เริ่มผลิตในปี  พ.ศ.  2547  ใช้สูตร  กศน. โดย   ดร.  วินัย  ไชยทอง  เป็นผู้ควบคุมสูตรในการผลิต  โดยคณะกรรมการโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  เป็นผู้ควบคุมสูตร   ปัจุบันเป็นสูตรของโรงงานปุ๋ยอินทริย์ชีวภาพเอง  ได้รับรองคุณภาพจากสถานีวิจัยพืชลำตะคอง
 
 
     การก่อตั้ง   สมาชิกผู้ก่อตั้งและดำเนินการโรงงานปุ๋ยชีวภาพชุมชนตำบลบางจาก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2544 ลงหุ้น หุ้นละ 50 บาท คนในชุมชนเป็นผู้ถือหุ้นมีผู้นำ ผู้ใหญ่ กำนันเป็นผู้บริหาร คนในชุมชนเป็นสมาชิก  ในการก่อตั้งนี้ชุมชนเป็นเจ้าของโรงงานผู้ถือหุ้นทั้งหมด 285 ราย  กรรมการจะทำการบริหารโรงงานอยู่ในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
   

วัตถุประสงค์ของโรงงานปุ๋ยชีวภาพชุมชน
    1. เพื่อสร้างเศรษฐกิจระดับชุมชน  ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  2.เพื่อสนับสนุนการลงทุนตามแผนงานโครงการในแผนแม่บทชุมชนตำบล                                                                         บางจาก       จังหวัดนครศรธรรมราช
    3. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ และเสริมสร้าง   ศักยภาพและความเข้มข้นชุมชน
  4.เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสมาชิกและระบบวิสาหกิจชุมชนเครือข่าย
  จังหวัดนครศรีธรรมราช
    5.เพื่อลดต้นทุนการผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีของเกษตรกร
   
6. เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกลับคืนสู่ธรรมชาติ
 
วิธีการดำเนินการ
    ชุมชนถือหุ้นได้ไม่เกิน 2% มีกิจกรรมร่วมกับกลุ่มอยู่เสมอ
1. สมาชิกต้องภายในตำบลบางจาก
2. ประกอบอาชีพการเกษตร
3. หากกลุ่มมีกิจกรรมต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสมอ
4. กรรมการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 ปี
5. สิ่งที่สมาชิกทำขึ้นต้องจำหน่ายให้สมาชิกก่อน
6.ทุนของโรงงานที่เป็นเงินให้คณะกรรมการเปิดบัญชีกับธนาคารโดยใช้ชื่อโรงงานปุ๋ยอินทรีชีวภาพ

ผลการดำเนินการ
จากการดำเนินงานมาทั้งหมดทำให้สภาพดินดีขึ้นสมาชิกได้นำปุ๋ยไปใช้ ลดรายจ่ายได้มากกว่าครึ่งดีกว่าใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น วัสดุซื้อได้ในหมู่บ้านราคาไม่แพง ทำให้ชุมชนลดค่าใช้จ่ายได้มาก
 
ปัญหาและอุปสรรค
 1. สมาชิกเรียนรู้แล้วไปทำใช้เอง
 2. คนส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยหมักแต่อีกส่วนหนึ่งยังใช้ปุ๋ยเคมีอยู่
 3.สมาชิกบางส่วนไม่ชอบใช้ปุ๋ยหมักเพราะผลผลิตจะได้น้อยกว่าปุ๋ย          
เคมี
4. ราคาปุ๋ยอินทรีชีวภาพสูง
 
          ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาวิสาหกิจสู่ความยั่งยืน
           จากวิเคราะห์ผลการดำเนินงานปัญหาและอุปสรรคของโรงงานปุ๋ยชีวภาพ ราคาสูง  ผลผลิตต่ำ  ถ้าเราจะพัฒนาโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  ให้ความรู้กับสมาชิกเรื่องปุ๋ยชีวภาพ  และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม   นำผลกำไรมาปัญผลให้กับสมาชิกทุกปี  และจัดศูนย์เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งตน                           
หมายเลขบันทึก: 141637เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับ เป็นโครงานคือรูปแบบของ
  • the development that last long of oval fertilizer
  • นี้ก็เป็นรูปแบบของการพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น
  • ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท