สอนคณิตศาสตร์เด็กอ่อนให้เก่ง ด้วยวิธีการง่ายๆ


สวัสดีครับทุกท่าน

           สบายดีกันนะครับ วันนี้นำวิธีการพื้นฐานง่า่ยๆ ในการสอนคณิตฯ ให้กับเด็กที่อ่อนเพื่อให้เค้าเก่งได้ในวันหนึ่ง

แนวคิดพื้นฐานของครู

  • ครูไม่ควรคาดหวังกับเด็กสูง หรือเอาแบบเรียนมาเป็นมาตรฐานในเบื้องต้น

  • ครูควรจะเปิดใจกว้างว่าเด็กทุกคนรับได้และคิดได้ต่างๆ กัน แต่สามารถพัฒนาตนเองได้ทุกคน

  • ครูสอนเด็กด้วยศรัทธานำ ทำเพื่อพัฒนาเด็กเป็นสำคัญ

  • ครูไม่ควรเอาเด็กเก่งและ่อ่อนมาเทียบกัน แต่ให้สร้างแรงจูงใจให้กับเด็กอ่อนในการพัฒนาตน มองพัฒนาการเป็นรายบุคคลเป็นสำคัญ

  • ครูมีการเสริมแรงเมื่อเด็กทำโจทย์ หรือเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ แม้้ว่าจะดูว่าง่ายสำหรับครู แต่ไม่ง่ายสำหรับเด็ก

  • เอาใจเด็กมาใ่ส่ใจครู เอาความรู้ในครูไปเสริมให้เด็ก

ลักษณะแนวทางการสอนหรือทำแบบฝึกหัดในภาคการศึกษา

  • เตรียมข้อสอบวัดพื้นฐานเด็กเพื่อทราบว่าเด็กอยู่ในระดับใด (รู้เขารู้เรา รู้จุดอ่อนเขา รู้จุดอ่อนเรา)

  • ประมวลระดับพื้นฐานเด็ก

  • เตรียมกระดาษที่ใช้แล้วและอีกหน้าหนึ่งยังว่างอยู่

  • เขียนโจทย์ไว้ให้เยอะๆ เรียงตามหมวดหมู่ความยากง่ายตามลำดับ

  • แบ่งกลุ่มเด็กกลุ่มละสามคน โดยให้เด็กจับกลุ่มกันเองตามสมัครใจ

  • ให้โจทย์ในระดับที่ต่ำสุดที่เด็กไม่รู้ ให้ไปทำ เขียนโจทย์ลงกระดาษ ให้แต่ละกลุ่มไปทำกันมา ทำเสร็จเอามาส่งครู แล้วรับโจทย์ใหม่ไปทำต่อ พร้อมให้อธิบายคร่าวๆ ว่าเข้าใจอย่างไรบ้างในการพบแต่ละครั้ง

  • ครูสามารถให้โจทย์แนวเดิมไปต่อได้อีกแต่เปลี่ยนรูปแบบให้ระดับง่ายๆ ไปเพื่อดูว่าเด็กเข้าใจและเสริมพื้นฐานให้แน่นขึ้น

  • การให้โจทย์แต่ละครั้งแล้วเด็กทำได้ ก็ให้เช็คเครื่องหมายระดับและจำนวนโจทย์ที่ทำได้

  • โจทย์ต่างๆ ครูอาจจะเอามาจากในหนังสือในห้องสมุดเพิ่มเติม ก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กไปเปิดหนังสือว่าครูเอาโจทย์มาจากไหน เปลี่ยนตัวเลขให้คล้ายๆ เพื่อเสริมทักษะของเด็ก

  • ให้ทำไปเรื่อยๆ จนครบเทอม หรือจนกว่าจะจบโรงเรียนไปเลยก็ได้ครับ แล้วแต่นโยบายของโรงเรียน หรือภาควิชา หรือมหาวิทยาลัย

  • ให้เด็กประเมินตัวเองว่ารู้อย่างไรบ้าง

  • เด็กจะมีการถามเพื่อนคนอื่นก็ได้ ช่วยกันคิดภายในกลุ่มเพื่อมีการแข่งขันกับกลุ่มอื่นๆ หากเด็กไม่เข้าใจ ไปหาครูได้ ครูอาจจะมีการแบ่งเนื้อหากันเป็นหมวดๆ ก็ได้ ไปหาคนไหนเรื่องไหน

  • ที่สำคัญครูต้องเข้าถึงจุดบอดของเด็กว่าเด็กบอดในส่วนไหนแล้วเสริมจุดบอดนั้นให้เค้า อุดรูรั่วให้เค้า

  • หากเราทำแบบนี้ในระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย ได้ดี

  • ผมเชื่อว่า การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยจะง่ายขึ้น และต่อยอดได้เร็วยิ่งขึ้นครับ

  • วิชาอื่นๆ ก็ทำทำนองนี้ได้เช่นกันครับ ที่สำคัญคือ ครูต้องอุทิศตัวจริงๆ เพื่อพัฒนาการของเด็กครับ

  • อย่าลืมว่า การสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากจะเรียนรู้นั้น สำคัญกว่าสอนให้เด็กรู้จากการรับฟังจากเราเพียงฝ่ายเดียว

หากวิธีการนี้สำเร็จ สิ่งที่สังเกตุคือ

  • เด็กอ่อนๆ ทั้งหลายจะรู้สึกมันส์ในการทำโจทย์ จะมาขอโจทย์อยู่เรื่อยๆ

  • การเรียนการสอนในวิชานั้นๆ จะเคลื่อนตัวไปได้ง่ายขึ้น

  • เด็กจะรู้สึกว่า ครูเหมือนเพื่อนที่ดีและลดช่องว่าทางการเรียนได้มาก จากความรู้สึก สังเกตและสัมผัสได้ด้วยหัวใจของผู้สอนและผู้เรียน

  • เมื่อเด็กสนุกแล้ว เค้าจะนำไปสู่การถ่ายทอดให้กับผู้อื่นและรุ่นน้องๆ ต่อไปได้ ครูจะเหนื่อยน้อยลงด้วยครับ

  • อื่นๆ ครับ 

ลองเอาไปทดสอบ ทดลองใช้กันดูนะครับ เพราะแนวทางนี้ ทำให้เด็กที่เกลียดๆ คณิตศาสตร์ เลือกที่จะเอ็นท์ เรียนสาขาคณิตศาสตร์มาแล้วครับ วิธีการนี้ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งเท่านั้นครับ ควรปรับใช้ตามรูปแบบที่เหมาะสมครับ

ขอบอกว่า ไม่ว่าวิชาใดๆ ครูมีผลต่อทัศนะ แนวคิดของเด็กว่าจะชอบหรือไม่ชอบวิชานั้นๆ จริงๆ ครับ  เพียงแค่การไม่สนใจให้ทั่วถึงกันของเด็กในห้อง ก็ส่งผลให้เด็กเกลียดวิชานั้นได้แล้วครับ

ความเห็นหรือวิธีการอื่นๆ นั้น ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้นะครับ

 

ด้วยมิตรภาพ

เม้งครับ 

หมายเลขบันทึก: 140223เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

พี่แอมป์รีบกระโดดตุ๊บเข้ามาโดยยังมิได้ถอดหมวก(ในบันทึกก่อน)  ที่จริงพิมพ์ไว้ยืดยาวแต่อ่านแล้วเป็นความรู้สึกมากกว่าแนวทางแก้ปัญหา  ก็เลยเก็บไว้อ่านเองสนุกเอง  เม้งจะได้ไม่ปวดหัวตามพี่  : )

ข้อคิดสำหรับครูสอนเลขนี้ดีจังค่ะ  พี่แอมป์ชอบข้อนี้มาก  " เอาใจเด็กมาใ่ส่ใจครู เอาความรู้ในครูไปเสริมให้เด็ก"  ดูใกล้ชิดและเป็นกัลยาณมิตรดีชะมัด

พี่แอมป์เห็นอย่างนึงนะคะ  (สำหรับเด็กไม่เก่งอย่างพี่แอมป์)  เวลาเราเรียนเลขยากๆ  โดยไม่รู้ว่าเราต้องเรียนไปทำไม  และที่ครูให้เราฝึกทำแบบฝึกหัดยากๆ(ทุกหัวข้อเนื้อหา) เป็นคุณอย่างไรแก่ชีวิตเรา   เราจะเรียนด้วยความรันทดอย่างแท้จริง  
....เพราะเราไม่รู้จริงๆว่าทำไมครูบังคับให้เราทำสิ่งยากๆนี้ (และตำหนิอย่างแรงเมื่อเราทำไม่ได้อีกต่างหาก) เศร้าชะมัด....

ถ้าครูจะกรุณาบอกให้ซาบซึ้งจับใจ ว่าที่เรียนไปนี้สักวันจะเป็นคุณอย่างไร  แม้เราจะเรียนไม่เก่ง  แต่ความรู้นี้จะเป็นประโยชน์แก่เราเพียงไหน 

ถ้าเพียงแต่ครูบอกเราด้วยความรัก  ด้วยความเมตตา  ด้วยความรู้สึกว่าเรายังมีความป็นมนุษย์เท่าเพื่อนคนอื่นๆ 

.....ถึงแม้เราจะไม่เก่งเลยสักนิด  แต่เราก็รู้จักคิด  และเข้าใจได้เหมือนกัน.....  คือพี่นึกแล้วก็ไม่ได้งอนเลย แค่รู้สึกจ๋อยๆนิดหน่อยเท่านั้น  : )

รอบอกตอนมัธยมไม่ทันดอกจ๊ะเม้ง  ต้องบอกเด็กๆตั้งแต่อยู่อนุบาล  เด็กอนุบาลก็มีหัวใจ  อิอิ  ถ้าครูมองเด็กเป็นมนุษย์ และบอกเขาด้วยหัวใจ  ชี้ให้เขาเห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์เพื่อชีวิตอย่างง่าย   เด็กจะรับรู้ถึงความปรารถนาดีและเปิดใจรับความรู้นี้อย่างง่ายดาย ตั้งแต่อนุบาล ประถม และมัธยม(แม้ว่าเด็กบางคนจะไม่ชอบวิชานี้สักเท่าไหร่นักก็ตาม)

....ขอแค่บอกเขาดีๆเท่านั้น... 

และจุดหักเหของความรู้สึกที่มีต่อวิชานี้  พี่แอมป์คิดว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมปลายและมัธยมต้นนะจ๊ะ  เด็กๆเขากำลังรับรู้ตัวตนว่าเขาเป็นใคร  กำลังก่อร่างสร้างรูปตัวตนที่พึงประสงค์ (ด้วยกำลังของวัยพายุบุแคม)

ถ้ามีใครสักคนประณามว่าเขาช่างไร้ความสามารถ  ปราศจากสติปัญญา   ด้วยการสื่อสารบางชุดที่ไม่จำเป็นต้องตรงเด๊ะตามตัวอักษรแบบที่พี่ว่า  แค่นี้ก็ทลาย"ตัวตน"ที่กำลังพยายามหาจุดภูมิใจของเขาได้อย่างชะงัด  

น่าเสียใจที่สุดเลย  ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิตเช่นนี้  ต้องพบจุดจบด้วยการสื่อสารที่เกิดจากความไม่รัก เป็นพื้นฐาน  และพี่แอมป์ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปเลย  คิดแล้วเป็นห่วงหลานๆชะมัด 

 ขอบคุณเม้งที่เปิดประเด็นให้พี่คิดก่อนนอนนะคะ  ขออภัยหากความเห็นนี้เต็มไปด้วยความรู้สึกมากกว่าแนวทางแก้ปัญหา  เพราะพี่แอมป์คิดว่าสำหรับบางเรื่องนั้น อารมณ์ความรู้สึก และทัศนคติ ก็มีส่วนเกี่ยวข้อง และอาจเป็นตัวแปรสำคัญ  เป็นถึงขั้นกุญแจไขปัญหาได้เลยอะค่ะ    

ขอบคุณเม้งมากๆอีกที และขอให้งานวิจัยของเม้งผ่านฉลุยโดยเร็วด้วยจ๊ะ  : )   

 

 

สวัสดีครับพี่แอมป์

        ขอบคุณพี่แอมป์มากๆ เลยครับ ขอท่อนที่ตัดออกไปด้วยนะครับ หากยังมีอยู่นะครับ เพราะว่าอยากได้มากๆ นะครับ แล้วผมจะมาตอบอีกรอบแบบยาวๆ นะครับ เพราะว่าอยากได้คำระบาย เยอะๆ ครับ จะได้วางแผนได้ครับผม 

ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

พี่แอมป์แวะเข้ามาคุยกับเม้งต่ออีกหน่อยค่ะ แล้วก็จะกลับไปตรวจข้อสอบและตัดเกรด ....อ่านลายมือสมรภูมิของเด็กๆแล้วสนุกชะมัด    คาดว่าจะวิงเวียนตาลายไปอีกสักสองสามวัน  : )
 
จากความเห็นที่แล้ว  พี่แอมป์คิดว่าถ้าคุณครูพยายามช่วยอธิบายเด็กมัธยมต้นสักนิด   ว่าทำไมต้องเรียน  เลขเศษส่วน  ทศนิยม  สมการ  ตรีโกณ ฯลฯ     และเรื่องเหล่านี้   “สัมพันธ์ และสำคัญ”   ต่อชีวิตเขาอย่างไร  (เรียนอะไร  เรียนทำไม  เรียนแล้ว เชื่อมและช่วย ชีวิตเขาได้อย่างไร)

โดยออกแบบการสื่อสารให้ดี  โน้มน้าวใจให้เด็กเห็นคุณค่า วางแผนคำพูดและวิธีการพูดอย่างละเอียดอ่อนลึกซึ้ง  เพราะสิ่งที่ครูพูดคือ การวางทิศทางอนาคตคณิตศาสตร์ของชาติไทย   และส่งไม้ต่อมือคำอธิบายเหล่านี้ให้ต่อเนื่องไปทุกระดับชั้น  ประหนึ่งส่งต่ออุดมการณ์  

ก็น่าจะช่วยให้เด็กๆจำนวนหนึ่งเดินเข้ามาหาวิชาคณิตศาสตร์อย่างเต็มอกเต็มใจ  และรู้เป้าหมายชีวิตที่จะเป็นคุณแก่ชาติมากขึ้น 

ให้โอกาสเขาได้รู้  ได้ตระหนักสักนิด  เด็กเขาก็น่าจะรู้คิดในวันหนึ่งข้างหน้านะคะ 
 
ส่วนเด็กมัธยมปลายนั้น  เขาได้เลือกเส้นทางชีวิต (ที่มีให้เลือกจำกัด)ของเขาแล้ว  เขาอาจไม่มีคำถามมากนัก 
 
เรื่องการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก  โดยเฉพาะเด็กเล็ก   พ่อคุยกับพี่แอมป์บ่อยๆค่ะ และพี่แอมป์ก็ได้แต่ตั้งใจฟัง  (คือตอนเล่าพี่พ่อก็คงจะทำใจแล้วว่าถึงฟังก็ไม่รู้เรื่องแหงๆ  แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้จะคุยกับใคร)

เหตุที่นำมาเล่าต่อ    เพราะประเด็นที่พ่อพูดถึงดูจะใกล้เคียงกับชื่อบันทึกของเม้ง  หากเรื่องที่เล่านี้มีข้อผิดพลาดประการใด ในฐานะเลขาจดบันทึก    พี่แอมป์ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ 

ต่อไปนี้เป็นมุมมองของพ่อ  เรื่องการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กค่ะ

 

  • ในการเรียนคณิตศาสตร์  ทฤษฎีเซ็ต  เป็น concept  สำคัญมาก   (ขอใช้คำนี้นะคะจะได้ไม่ต้องแปล)
  • ต้องทำให้คนรู้และเข้าใจความแตกต่างของ  คาร์ดินัล  นัมเบอร์ และ  ออร์ดินัล นัมเบอร์ ก่อน  ให้จับ concept พื้นฐานนี้ให้แม่น  
    แต่เวลาสอนจริงเราไม่ค่อยย้ำเรื่องนี้    แต่ผ่านไปเรื่องยากๆเลย
  • ลำดับการเรียนที่น่าจะเหมาะกับเด็กไทย คือ 
    1.  พูดจำนวนให้ได้
    2. เขียนจำนวนให้ได้
    3. คิดจำนวน (คิดคำนวณให้ได้)
    เรื่องสุดท้ายคือเรื่องคำนวณ  เป็นเรื่องที่พลิกแพลงได้  เปลี่ยนแปลงได้  จะคิดอย่างไรก็ได้   แต่สองเรื่องแรกต้องให้  concept  แม่นยำก่อน
  • เรากำลังพูดถึงเลขในชีวิตประจำวัน  เรานับหนึ่งถึงสิบ เท่านั้น  ไม่นับเกินนั้น
  • เราเอาสิบสองไปบวกกับอะไรไม่ได้  เพราะ สิบสองไม่มี  มีแต่สิบกับอีกจุดจุดจุด....  เท่าไหร่ก็ว่าไป  เป็นกฏเกณฑ์คณิตศาสตร์พื้นฐาน (อันนี้พี่แอมป์สงสัยแต่ยังนึกแย้งพ่อไม่ทัน  เลยให้พ่อพูดไปก่อน)
  • ตัวอย่างของการ “พูด”  จำนวนให้ได้    “เห็น”  จำนวนนั้น อยู่ในหัวเป็นอัตโนมัติ  เช่น 
    เมื่อเด็กเห็น 1  ให้รู้ว่า   1    คือ   1   
    เมื่อเด็กเห็น 2   ให้รู้ว่า  2    คือ   2
    เมื่อเด็กเห็น 3  ให้รู้ว่า   3    คือ   3 
    ถ้าเด็กไม่มี concept  ของ 3  ไม่รู้จัก 3 ก็จบ 
  • เราต้องให้เด็กสร้าง concept นี้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง
    3  คือจำนวนสาม     3  ไม่ใช่  ลำดับที่ 3 
  • ข้อพึงสังวรณ์ก็คือ  หากสอนให้เด็กเริ่มด้วยการนับนิ้ว เพื่อสร้าง concept ของ  3     ก็ผิดกระบวนการสร้าง concept    และนี่คือเรื่องยากที่จะเปลี่ยน
  • จากนั้น  เด็กที่ฐานจำนวน  ไม่แม่น  ก็จะสับสนเดินต่อไม่ถูก 
  • ที่ผ่านมา   เราไม่เริ่มพูดเรื่อง  “พูดจำนวน”  และไม่พูดให้หมด
  • เมื่อเราเอา “จำนวนลำดับ”  มาเรียน คือลำดับที่ 1  ลำดับที่ 2   ลำดับที่ 3  ก็เกิดความสับสน
  • สมัยเด็กๆ เล่นที่ทอยกองได้ (ตัวอย่างคลาสสิกชะมัดเลยพ่อ)   เรานับได้ว่าหินมีกี่ลูก  คือเกิด concept จำนวนตามธรรมชาติ 
  • แต่พอมาเรียนเลข    ก็กลายเป็นนับแบบเดิมไม่ได้   ไม่รู้เรื่อง 
  • เดิม   น้ำสามขวด กับน้ำครึ่งขวด เป็นน้ำสามขวดครึ่ง  เด็กพูดได้เลย  ไม่ต้องบวกไม่ต้องคำนวณซับซ้อน (เห็น concept อัตโนมัติมังคะ)
    แต่เมื่อพูด สามเศษหนึ่งส่วนสอง  เด็กไม่เข้าใจ
  • การเริ่มต้นสอนความรู้เกี่ยวกับตัวเลขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น   จึงน่าจะผิดวิธี
  • หากอธิบายโดยธรรมชาติของสิ่งนั้น จะเข้าใจหมด แต่หากอธิบายให้ยากซับซ้อน โดยกระบวนการยุ่งยาก คนก็จะไม่เข้าใจ (อันนี้พี่แอมป์อยากให้พ่อขยายความอีกหน่อย)

พี่แอมป์แทรกนิดนึงนะจ๊ะ  ตอนแรกพี่แอมป์สงสัยว่า   จำนวน  จำนวนนับ  และจำนวนลำดับ   ต่างกันยังไง  พอดีไปเจอลิงก์นี้     และชอบใจวิธีอธิบาย  ที่เขาบอกว่าอะไรเป็นอะไร  และอะไร  ไม่ใช่อะไร    (ไม่ได้แปลว่าพี่แอมป์เข้าใจ   แต่ชอบวิธีอธิบาย  เลยขอนำลิงก์มาแปะไว้) 

และลิงก์นี้ของ อ.ธวัชชัย  ด้วยค่ะ  ท่านเขียนไว้น่าสนใจมาก    เลยรู้สึกว่าถ้าลูกหลานเราเข้าใจพื้นฐานคณิตศาสตร์อย่างดีเสียแต่ต้น  เราจะไล่ทันเวียตนามได้เป็นอย่างน้อย
 
 

  • ทีนี้พูดถึง การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กไทย ดังที่เคยเล่าสู่กันฟังในบันทึกนี้ คำในภาษาไทย  ตรงกับ “จำนวน” ที่เป็นตัวเลข  พูดแบบเรียงพยางค์  ระบุเลขหลักชัด  ทำให้เราเห็นและพูดหลักเลขโดยไม่ต้องแปลอีก  เช่น  เจ็ดพันห้าร้อยยี่สิบสาม
  • เราพูดเลขเดี่ยว  ตั้งแต่ หนึ่ง  ถึง  เก้า   (มี concept  ของเลขเดี่ยวอยู่แล้วเป็นฐาน)
  •  เลขเดี่ยว   เทียบได้กับพยัญชนะพื้นฐาน   เห็น ก ไก่  คือตัว ก  ไก่    พูดว่า ก  ไก่   โดยไม่ต้องคิด   เห็น  1   คือ  1   ก็บอกว่า  1    เห็น 7  คือ 7  ก็บอกว่า  7    โดยไม่ต้องหยุดคิด  ไม่ต้องนับนิ้ว 
  • แปลว่าเห็นปุ๊บเราพูด คำ  นั้นออกมาได้ทันทีเป็นอัตโนมัติ
  • ส่วนหลักหน่วย     หลักสิบ  เราพูดเลขหลักสิบทีละ หนึ่งกลุ่มสิบ  โดยพูดเลขเดี่ยวไว้ข้างหน้า   เช่น  สามสิบ  ห้าสิบ   เก้าสิบ  กี่กลุ่มสิบก็ว่าไป 
    ถ้าเป็นหลักร้อย หลักพัน    โดยภาษาไทยก็เอื้อให้อีก    เช่น   สามร้อย   ห้าร้อย  เจ็ดพัน  เก้าพัน  เป็นต้น 
  • ยกเว้นบางคำเช่น  หนึ่งหมื่น     หนึ่งแสน   เราต้องแปลคำว่าหมื่น (แปลว่า สิบพัน)   กับคำว่า  แสน (แปลว่า สิบหมื่น)  ก่อน  เป็นต้น 
  • ภาษาไทยจึงเอื้อให้เราพูดจำนวนนับได้เกือบครบจำนวน
  • เฉพาะเลขภาษาไทย  ควรสอนให้เด็กเข้าใจ(ให้เกิดconcept) ว่า หนึ่งคืออะไร สองคืออะไร  อย่างที่กล่าวไปข้างต้น  และเข้าใจว่าเราไม่สามารถเรียนรู้เกินกว่าสิบได้เลย  (ประโยคหลังนี้พี่แอมป์ยังสงสัยว่าจริงรึปล่าว  แต่ยังไม่ได้ถามพ่อ)
  • ตัวเลขจะมีเท่าไหร่ก็ตาม  เราบวกได้ทีละคู่เท่านั้น  เช่น 3 กับ 4 เป็น 7 สามพันกับสี่พัน เป็นเจ็ดพัน สามล้านกับสี่ล้าน เป็นเจ็ดล้าน
  • ดังนั้นในท้ายที่สุด  หากฝึกให้เด็กแม่นเรื่อง  จำนวน   และบวก จำนวน  ระหว่างจำนวน หนึ่ง ถึง สิบ  ให้ได้แม่นยำเป็นอัตโนมัติ  แบบไม่ต้องคิดแล้ว (พี่แอมป์ก็สรุปแบบตามใจฉันว่า)  เขาก็จะพัฒนาไปสู่การนั่งทางในเอ๊ยจินตภาพขั้นสูงได้เอง  : )  อย่างที่เม้งทำได้ในบันทึกนี้ 
  • ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงแนวคิดนะคะ  ในทางปฏิบัติจริงๆพี่แอมป์ก็ไม่ทราบว่าตอนนี้การเรียนการสอนพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก มีทิศทางอย่างไร
  • เพียงแต่ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องน่าจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อจะนำข้อมูลไปสังเคราะห์  ออกมาเป็นแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา  อย่างที่เม้งวางแนวทางไว้นี้เป็นการดีแล้ว 

นึกแล้วขำอีกแล้วแฮะ  อันนี้พี่แอมป์เพ้อเจ้อไปเองนะคะ    พี่แอมป์คิดว่าที่คนเวียตนามใจเด็ดและเก่งคณิตศาสตร์นั้นถูกแล้ว  เพราะตอนเดินข้ามถนน   ทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์จะขับแบบพรูพรั่งหลั่งไหลเรื่อยไปเต็มถนน  (ย้ำ  เต็มถนน)ยังกะฝูงปลาน็อนสต็อป   แปลว่ารถของเขาไม่หยุดจนกว่าจะไปถึงจุดหมาย  น่าทึ่งจริงๆ 
   
ดังนั้น   หลังจากคนข้ามคำนวณและตัดสินใจแล้วว่า “เอาละฟะ”   เขาจะก็เดินตัดถนนข้ามตรงดิ่งไปเรื่อยๆๆ    ฝ่าฝูงปลาที่ไหลเรื่อยด้วยสติแน่วแน่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว   ภาษาใต้บ้านเราว่า “เซ้อพลี้” ไป 
  
คนขับรถทั้งหลายในท้องถนนก็ต้องคำนวณเอาเอง ว่าจะหยุดให้ตอนไหน  จะหยุดในระยะแค่ไหนจึงจะไม่ชน  (แค่เกือบๆไป)  วัดใจแบบแมนๆกันไปเลย  การคำนวณขั้นสูงเลยนะนั่น  : )
    
สุดท้ายนี้  พี่แอมป์รู้สึกชื่นชมเม้งที่รับฟังเงียบๆอย่างนุ่มนวลเสมอเวลาที่พี่แอมป์เข้ามาเล่าอะไรต่อมิอะไรตามใจตัว   (เพราะอาจารย์ธวัชชัยไม่ได้ทำระบบ pop up ให้โพสต์แย้งขึ้นมาทันควันได้  ซึ่งนับว่าประเสริฐจริงๆ )   อิๆๆ  

ขอบคุณเม้งมากๆที่รับฟังอย่างใจดีอยู่เสมอนะคะ  : )

อ่านแล้วชอบมาก  ขออนุญาตใส่ในplanetนะคะ  ลืมตัวใส่ไปแล้วถึงได้มาขอ  ต้องขอโทษจริงๆค่ะ 

P 3. ดอกไม้ทะเล 

สวัสดีครับพี่แอมป์

  • สบายดีไหมครับ เข้ามารายงานตัวก่อนนะครับ บ่มๆ ไว้ก่อนนะครับพี่ อิอิ
  • อิ่มอุ่นใจไปเลยครับ ได้อ่านบทความอย่างสุนทรีย์เช่นนี้ครับ อ่านไปหลายรอบแล้วครับ เพลินครับ
  • แล้วจะมาต่ออีกครับผม

P 4. นางสาว รัชน์รพี ทัศนสว่าง

สวัสดีครับ คุณรัชน์รพี

  • ด้วยความยินดีนะครับ หากจะเกิดประโยชน์่ร่วมกันกับนักเรียนและสังคมนะครับ
  • ขอให้สนุกกับการสอนและเรียนรู้ร่วมกันกับเด็กๆ นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ 

ชอบบทความนี้มากๆครับ ขออนุญาตนำไปแนะนำให้เพื่อนครูปฏิบัตินะครับ

สวัสดีครัีบคุณครู

    ด้วยความยินดีครับ หากช่วยให้เด็กสนุกและพัฒนาขึ้นนะครัีบ ถ่ายทอดเล่าสู่กันฟังด้วยนะครัีบ ผมไปเจอลิงก์เกี่ยวกับ หนังสือระดับมัธยมวิชา คณิตศาสตร์ของ สสวท. ครัีบ

http://www.ipst.ac.th/smath/index.asp

    จริงๆ อยากจะแจกแจงเลยว่าในแต่ละบทที่เรียนกันนั้น เอาไปทำอะไรได้บ้างในรอบตัวเรา แต่เนื่องจากผมไม่เคยเห็นเนื้อหาจริงภายในเล่มจึงไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดอย่างไร และเหมือนว่าแต่ละบทจะมีการเขียนถึงการนำไปใช้อยู่ด้วยแล้วด้วยครัีบ

คณิตศาสตร์ควรเน้นการนำไปใช้และเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัวในการอธิบายให้เด็กคิดและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น เมื่อเด็กเข้าถึงสิ่งรอบตัวเด็กก็จะเข้าถึงคณิตศาสตร์เช่นกันครัีบ

ขอบคุณมากครับ

อ่านแล้ว..ดีจังทั้งเจ้าของต้นคิดและเพื่อน ๆ ที่เข้ามาคุยด้วยกัน

สอนเด็กอนุบาลค่ะ...แต่อ่านแล้วทำให้เข้าใจในการจะปลูกฝังกับลูกศิษย์ตัวน้อยให้รักคณิตศาสตร์ได้อย่างไร...

จริง ๆ ในเด็กปฐมวัยรักในการเรียนรู้คณิตศาสตร์นะค่ะ เพราะเด็ก ๆ จะเรียนรู้แบบบูรณาการเช่นเรียนเรื่องเดียว..แต่รู้ไปหมด แบบไม่รู้ตัวทั้ง คณิต ภาษา วิทย์และอีกจิปาถะ

แต่เมื่อโตขึ้นก็มีบ้างที่มี หลายกำแพงทำให้เด็กเกิดไม่ชอบเรียนคณิตเพราะรู้สึกยาก

แต่เมื่อเจอเพื่อน ๆ ในหน้านี้ก็รู้สึกดีใจที่มีเพื่อน ๆ ร่วมอุดมการณ์ในการรักและส่งเสริมในการเรียนคณิตศาสตร์ให้เด็กไทยนะค่ะ ( โอ้โฮ้..ยิ่งใหญ่จริง)

ประมาณนั้นนะค่ะ...ไปละค่ะ

เห็นครูไทยสนใจ เด็กก็ดีจัยค่ะ เป็นครูคณิตที่อยากสร้างเด็กๆ ให้ชอบวิชาคณิต เป็นความฝันที่ต้องทำให้ได้ค่ะ สู้ๆๆๆๆ แต่ด้วยภาวะที่งานราชงานหลวงเยอะมาก ไม่รู้ว่าจะเริ่มงานไหนดี งานsmis งานระบบดูแล ฯลฯ ล้วนเป้นงานที่เรื่อย

กำลังหาผู้ร่วมอุดมการณ์ค่ะ

อยากชวนครูคณิต ร่วมมือกันสร้างสื่อ นวัตกรรมที่ใช้สอนได้

แบ่งปันให้คนอื่น ๆ นำไปใช้ 

ตอนนี้เจอปัญหาเด็กอ่านไม่ออก และไม่รู้ว่าเลขอะไรค่ะ นี่

ป.4 ค่ะ  แต่ไม่รู้จะเริ่มยังงัย

ช่วยหน่อยนะค่ะถ้ามีแบบฝึกแล้ว

ถือว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่

 

หนูเพิงสอบบรรจุได้ไม่นาน อยู่ปัตตานีคะ ขอบพระคุณมากสำหรับวิธีสอน หนูจะนำไปใช้คะ

หนูดีใจมากหนูได้ขึ้นชั้นป.3

ตอนนี้แม่เครียดมากเลยลูกสอบตกอ่อนทุกวิชา ไม่รู้จะโทษใครนอกจากตัวแม่เอง คงไม่โทษใครอื่นเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ต้องทำทุกอย่างพยายามแล้วแต่ไม่สำเร็จ ช่วยด้วยค่ะแม่เจอศึกหนักบรรดาญาติแม่ก็ซ้ำเติมว่าเลี้ยงลูกไม่ดีไม่รู้จะปรึกษาใครเครียด

อาจารย์เกสิณี ชิวปรีชา

มาเป็นครูถ่ายทำผ่านออนไลน์ กับบริษัทเรา มั๊ยคะ เรา จ้าง และเราต้องการทำให้ประเทศไทย ฟรี ๆ อยากให้เรียนง่าย เข้าใจง่าย สนุกกับการเรียน ทุกคนมีโอกาสเรียนฟรี ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท