อึ้ง ทึ่ง กับวัฒนธรรมองค์กรห้องสมุด ม.น.


วัฒนธรรมองค์กร

      ชุมชนชาวห้องสมุด เป็นอีกชุมชนหนึ่ง ที่มีหลายคนมีความรู้ความสามารถ แต่ธรรมชาติของชาวห้องสมุดคือ ขี้อาย ชอบปิดทองหลังพระ ความจริงแล้วหลังจากที่ผมได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสกับการทำงานของชาวห้องสมุด ผมพบเรื่องน่าทึ่งหลายเรื่องภายในห้องสมุดแห่งนี้ เรื่องแรกคือ

  • ชาวห้องสมุดเค้าทำงานกันด้วยใจ ผมสังเกตุหลายครั้งที่ชาวห้องสมุดเค้าทำงานกันโดยไม่ต้องมีผู้บริหารต้องคอยมาสั่ง ผู้บริหารไม่อยู่ก็สามารถทำงานกันได้
  • ห้องสมุดเค้าอยู่กันเหมือนพี่เหมือนน้อง อาจจะด้วยวัยที่ไม่แตกต่างกันมาก ทำให้เมื่อเข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมขององค์กรที่นี่จะมีการหยอกล้อกัน และมีความรู้สึกเป็นกันเอง เหมือนอยู่ในกลุ่มคนที่มีความเอื้ออาทรกัน
  • ที่ห้องสมุดมีความเข้าใจในเรื่องของ QA ค่อนข้างดี ตอนเข้ามาอยู่ที่นี่ผมรับผิดชอบงานประกันคุณภาพ เมื่อดำเนินงานนี้แล้ว เราใช้พลังความคิด และการขับเคลื่อนโดยกลุ่ม ถึงแม้ว่าการดำเนินกิจกรรมโดยอาศัยพลังความคิดโดยกลุ่มจะเชื่องช้า และหลากหลายความคิด มีทั้งเห็นด้วย และเห็นต่าง แต่ก็พบว่าเป็นการขับเคลื่อนที่มีพลัง และรับรู้ได้เลยว่าคนของห้องสมุดมีความเข้าใจ QA เป็นอย่างดี (ต้องขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ทำให้วัฒนธรรม QA เป็นวัฒนธรรมขององค์กรแห่งนี้)
  • ห้องสมุดมีความเป็นเครือข่ายที่เหนียวแน่นมากๆ ผมเคยภาคภูมิใจในความเป็นเครือข่ายของนักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเรามีเครือข่ายในระดับต่างๆ มีกิจกรรมเครือข่าย มีสมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย มีการจัดประชุมนักเทคโนในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศทุกปี แต่เมื่อมาเจอเครือข่ายห้องสมุดยอมรับเลยว่าคำว่าเครือข่าย หรือ Network จริงๆ นี่มันเป็นอย่างไร ห้องสมุดมีเครือข่าย Pulinet เครือข่าย Thailis เครือข่าย IUG เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ทุกปีเครือข่ายต้องประชุมกันอย่างน้อย 3 ครั้ง แต่ละเครือข่ายมี อนุกรรมการ ที่เรียกว่าชุดทำงานย่อยอีก 5-6 ชุด แต่ละชุดหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ทำให้เกิดงานและประโยชน์จากเครือข่ายมากมาย อาทิ เช่น การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ การรวมพลังในการต่อรองในการจัดหาฐานข้อมูลร่วมกันในรูปของ การร่วมกันพัฒนาระบบแคตตาล็อกหนังสือ คือ เมื่อที่หนึ่งที่ใดแคตฯ หนังสือแล้ว ห้องสมุดอีกที่หนึ่งสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อได้ การยืมหนังสือระหว่างห้องสมุด
  • ห้องสมุดใช้ไอที เป็นปกติวิสัยในการทำงาน ชาวหอสมุดเป็นคนอีกกลุ่มที่เมื่อผมดูบุคลิกและการแต่งกายของ บรรณารักษ์ แล้วนึกว่าเค้าต้องเป็นคนเชยๆ ไม่ทันสมัย แต่เมื่อมารู้จักแล้วพบว่าบรรณารักษ์ เป็นคนหนึ่งที่ใช้ไอทีในการทำงาน ติดต่อสื่อสารอยู่เป็นประจำ และไม่น่าเชื่อว่า ผมจะพบว่ามีแฮกเกอร์ตัวฉกาจซุกซ่อนอยู่ในองค์กรแห่งนี้
หมายเลขบันทึก: 13973เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ในฐานะบรรณารักษ์ ขอตอบ อ. หนึ่งว่า ในกลุ่มบรรณารักษ์ของเรา Content สำคัญมาก เราจึงเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อนำมาซึ่งการให้บริการ Content ที่ดีของงานห้องสมุดค่ะ  แต่ไม่ได้เลือกใช้เทคโนโลยีเพราะว่ามัน(ดู)ทันสมัยค่ะ :-)

  ตอนที่เลือกเรียน  ชื่อเต็มของสาขานี้ คือ library and information science   เพราะคำว่า  Information science แท้ ๆ จึงเลือก คิดว่าต้องเป็นอะไรที่มันทันสมัย  เพราะตัวเองก็ไม่ชอบอะไรที่โบราณ  ศาสตร์ในสาขาอื่น ๆ พัฒนาไปเท่าทันเทคโนโลยีเท่าใด   ห้องสมุดเองก็ต้องเป็นแหล่งรวมศาสตร์ที่ทันสมัยเหล่านั้นด้วยเช่นกัน  

  55555  เคยแอบไปดูห้องทำงานของอาชีพอื่น ๆ นะค่ะ   แต่ก็ชอบสภาพแวดล้อมการทำงานของตัวเองที่สุดเพราะมีทุกอย่าง เท่าทันเทคโนโลยีเท่าที่เค้าจะผลิตออกมาขาย  !!!! (มีแต่ใช้ไม่เป็นก็ค่อย ๆ ฝึกฝนกันต่อไปนะจ๊ะ)   ส่วนเสื้อผ้า หน้า ผม อันนี้คงต้องตามไปดูวันหยุด  ว่าจริง ๆ แล้วก็เปรี้ยวเป็นเหมือนกัน นะค่ะ  อิอิอิ

แล้วกัน  เร็วพวกเรา อาจารย์หนึ่งว่าเราขี้อาย ไม่จริ้งไม่จริง ยิ่งกว่านี้เราก็ทำมาแล้ว จริงมั้ย (หาแนวร่วม) อาจารย์ก็ยังเคยเห็นเนาะ อย่าช้านะจ้ะ มาลงเรื่องแลกเปลี่ยนเกร็ดที่มีอยู่ในไส้ในพุงของเรา เร้ว ......

ไม่รู้จะออกความคิดเห็นอะไร ก็เพราะพูดถึงแต่บรรณารักษ์  แต่ก็ออกความคิดเห็นตรงนี้ก็แล้วกัน  จริงด้วยซิค่ะว่า เราทุกคนชาวหอสมุดนะ ทำงานกันด้วยใจ มีอะไรก็ช่วยกันทำ ทำด้วยความสมัครใจ และจริงใจ  ทำงานร่วมกันแล้วรู้สึกว่ามีความสุขกันดี รู้สึกสนุกกับการได้ร่วมกันทำงานอย่างที่ปฏิบัติกัน อย่างที่อาจารย์หนึ่งเคยพบเห็นและสัมผัสกับชาวหอสมุดนั้นและค่ะ  (เราก็เป็นบุคคลที่อยู่ในองค์กรนี้)

แม้ไม่ค่อยชอบคำว่า " บรรณารักษ์ " เพราะรู้สึกว่ามันเชย ( ทั้งชื่อและตัวคน )  เรียนจบแล้วก็เคยไปทำงานอย่างอื่นมาแล้ว แต่สงสัยอาชีพนี้จะเหมาะกับตัวเองที่สุด โลกจึงเลือกเรา   555  ... ทุกวันนี้รู้สึกโชคดีที่ได้ทำงานห้องสมุด ที่อยู่กับข้อมูลความรู้ ทำให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ  ได้สัมผัสเทคโนโลยีทันสมัยไม่น้อยกว่าอาชีพอื่น  ... เคยมีความคิดอยากให้เขาเปลี่ยนชื่อเป็น "นักสารสนเทศ  " จะได้ทันกับยุคสมัย   แต่คิดอีกที  ..ชื่อนั้น สำคัญไฉน  เราควรแสดงบทบาทและความสามารถให้คนอื่นได้เห็นจะดีกว่านะคะ  

    หม่อมกลาง  ก็อึ้ง ทึ่ง  เหมือนอาจารย์หนึ่งเลยค่ะ  เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของหอสมุด คงต้องย้อนเวลา....ปี ไปก่อนที่จะได้มาทำงานที่หอสมุด ซึ่งที่ทำงานเดิม(กองแผนงาน) นั้นขนาดขององค์กรก็ต่างกันก็คิดว่ามันต้องวุ่นวายแน่ๆเลย  แต่เมื่อได้เข้ามาสัมผัสต้องยอมรับว่ามันตรงกันข้ามเลย  ที่ห้องสมุดเราอยู่กันแบบครอบครัวจริงๆ 

*เรื่อง การประกันคุณภาพ QA นั้นชาวหอสมุดเราได้มีการดำเนินงานมาหลายปี  ซึ่งส่วนใหญ่ได้นำมาปฏิบัติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร(ต้องบอกว่าเราภาคภูมิใจกับรางวัลที่ได้มาทุกปี มันทำให้เราหายเหนื่อยกับการทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ)

**  เรื่องห้องสมุดกับเครือข่ายต่างๆ นั้น  ต้องยอมรับจริงๆว่ามีความเหนียวแน่นมากๆ(เปรียบไปแล้วก็เหมือนใยแมงมุม)เพราะเรามีเครือข่ายงานครอบคลุมทั้งในจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ  เช่นความร่วมมือของฝ่ายวารสารและเอกสาร ในความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษา ในปี 2548  ก็ได้เกิดโครงการ NewspaperLink ที่ได้รวบรวมรายการหนังสือพิมพ์ที่ห้องสมุดต่างๆมีให้บริการ  หรือจะเป็นในส่วนภูมิภาค(Pulinet) เราก็มีคณะทำงานความร่วมมือฝ่ายวารสารและหนังสือพิมพ์ ก็มีโครงการต่างๆ เช่น โครงการฐานกลางรายชื่อวารสารภาษาไทยที่จัดทำดรรชนี  มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการทำดรรชนีวารสารซ้ำซ้อนกัน  หรือจะเป็นโครงการฐานข้อมุลกลางการบอกรับวารสารภาษาต่างประเทศ  มีวัตถุประสงค์ลดการจัดซื้อวารสารภาษาต่างประเทศซ้ำซ้อนเพื่อประหยัดงบประมาณที่เสียไปในแต่ละปี 

***ส่วนเรื่องสุดท้ายนี่แหม เห็นบรรณารักษ์แต่ละคนออกมาปกป้องตัวเองว่าไม่ได้เชยตามชื่อวิชาชีพและยังมีการพัฒนาการทำงานด้วยไอทีก็เราต้องอยู่กับข้อมูลและสารสนเทศน่ะมันจำเป็นต้องหาความรู้  ส่วนความเห็นของหม่อมกลางในเรื่องที่บรรณารักษ์ที่แต่งตัวเชยในความคิดของหลายคน  ต้องขอบอกว่าคงต้องฟังหูไว้หูน่ะเพราะบางครั้งเราต้องมีการปรับปรุงบุคลิกภาพให้มันน่าเชื่อถือไปพร้อมกับน่าชื่นชม(ไม่เชยนั่นเองแหละ)

 

เห็นชื่อวิชาเชยเชย แต่จริงจริงแล้ววิชาชีพของบรรณารักษ์อย่างเรา เดิ้นจะตายไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท